Sunday, 12 May 2024
สมชัย_ศรีสุทธิยากร

'สมชัย' ยกคดี 'วัฒนา' เป็นบทเรียนการเมืองต้นทุนสูง ชี้!! นี่คือคำตอบว่าทำไมผู้มีอำนาจไม่อยากลงจากหลังเสือ!

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกกต. สมาชิกพรรคเสรีรวมไทย โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊ก Somchai Srisutthiyakorn ระบุว่า... กรณีวัฒนา เมืองสุข คือ บทเรียนการเมืองต้นทุนสูง

4 มีนาคม 2565 วันที่ผมรับปากวัฒนา เพื่อนสมัยมัธยมที่รู้จักกันกว่า 50 ปี ว่าจะไปให้กำลังใจในวันตัดสินสุดท้ายของศาลฎีกา

ก่อนหน้าหนึ่งวัน ผมโทรหาเขาเพื่อขอรายละเอียด สถานที่และเวลา เขาบอกว่าศาลฎีกาสนามหลวง ให้มาถึงก่อนสักหนึ่ง ชม. เพื่อมีการตรวจ ATK ผมสะอึกเล็กน้อย เพราะไม่ชอบให้ใครมาแยงจมูก ทั้ง ๆ ก็เคยโดนมาหลายรอบ แต่ช่างมัน แยงก็แยง

บ่ายโมง หลังจากเสร็จภารกิจที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผมข้ามฟากมาที่ศาลฎีกา เจอกับวัฒนา ที่บริเวณห้องอาหารของศาล เขายังดูสนุกสนานร่าเริง มั่นใจ และบอกว่าไม่หนีไม่ไหน ในขณะที่คนใกล้ชิดและญาติ สีหน้าดูกังวลไม่น้อย

บ่ายสอง เจ้าหน้าที่ศาลบอกให้คณะผู้ติดตามและผู้สื่อข่าวเข้าไปฟังคำพิพากษาได้ แต่ด้วยมาตรการป้องกันโควิด ให้แยกคนละห้องกับจำเลย มีทีวีวงจรปิดจอใหญ่หลายเครื่องถ่ายทอดมาให้เห็นบรรยากาศในห้องตัดสิน

14.45 น. ศาลออกนั่งบัลลังก์ ใช้เวลาอ่านคลี่ทีละประเด็นอย่างยาวนานเกือบสองชั่วโมง จากคนที่ไม่เคยรู้เรื่องราวอะไร ค่อย ๆ เห็นตัวละครต่าง ๆ โผล่ขึ้นมามากมาย และ การเชื่อมโยงจุดต่าง ๆ เข้าด้วยกันในมุมมองของคณะผู้พิพากษาที่มีองค์คณะถึง 9 คน และ สรุปในตอนท้ายเกือบทุกประเด็นว่าความเห็นเป็นเอกฉันท์

ผมนั่งฟังอย่างมีสติและตั้งใจ คนอื่นคิดอย่างไรไม่ทราบ แต่ผมชมในใจว่า เขามีกระบวนการสอบสวน ไต่สวน และหาข้อยุติได้ดีกว่าศาลรัฐธรรมนูญในหลายกรณีที่ใช้ตรรกะในตัดสิน

สิ่งที่ทราบจากคำพิพากษา คือ โครงการบ้านเอื้ออาทร ของการเคหะนับแสนยูนิต มีนายหน้าคนหนึ่ง อ้างว่าเป็นที่ปรึกษา (จำเลยที่สี่) และผู้หญิงคนหนึ่งอ้างว่าเป็นเลขาของจำเลยที่สี่ (จำเลยที่ห้า) เรียกเงินทอนจากผู้รับเหมา ยูนิตละประมาณ 10,000 บาท และมีการจ่ายเงินจริงนับร้อยล้าน เพื่อให้ได้โครงการก่อสร้าง ส่วนการเชื่อมโยงถึงจำเลยที่หนึ่ง (วัฒนา) อาศัยคำบอกกล่าว และหลักฐานการส่งเอกสารต่างๆ ของการเคหะไปยังจำเลยที่สี่ ว่ามีสถานะเป็นที่ปรึกษาของจำเลยที่หนึ่ง แต่ไม่มีหลักฐานเส้นทางทางการเงินที่กลับมายังจำเลยที่หนึ่ง

'สมชัย' เขียนจดหมายเปิดผนึกถึง 'บิ๊กป้อม' ช่วยส่งสัญญาณให้รัฐสภาฯ รื้อทิ้งอำนาจส.ว.

เมื่อวันที่ 2 กันยายน นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบาย พรรคเสรีรวมไทย และเป็นอดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะคณะผู้รณรงค์แก้ไข ม. 272 ได้เขียนจดหมายเปิดผนึก ถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รักษาราชการนายกรัฐมนตรี เรื่อง ขอเสียงสนับสนุนอย่างจริงใจในการแก้รัฐธรรมนูญ ม. 272 โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

“วันที่ 6 และ 7 กันยายน พ.ศ.2565 นี้ ประธานรัฐสภาได้กำหนดให้เป็นวันประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาวาระสำคัญเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยในเรื่องด่วน วาระที่ 6 เป็นข้อเสนอในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของประชาชน 64,151 รายชื่อ เพื่อแก้ไขในบทเฉพาะกาลมาตรา 272 ประเด็นการตัดอำนาจสมาชิกวุฒิสภาในการเลือกนายกรัฐมนตรีในช่วง 5 ปีแรกของรัฐสภา

หลักการแก้ไขดังกล่าว เป็นการทำให้ประเทศคืนสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่เป็นสากลและเคยเป็นหลักปฏิบัติในรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาทุกฉบับ ตลอดจนความจำเป็นที่ต้องมีรัฐบาลที่วุฒิสภาร่วมให้ความเห็นชอบเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการทำงานตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศนั้นสิ้นสุดลงแล้ว โดยอิงจากรายงานผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ได้ระบุถึงความสำเร็จของการดำเนินงานในทุกเรื่อง และจะสิ้นสุดในปลายปี พ.ศ. 2565 นี้

‘เด็จพี่’ บุกโรงพักแจ้งความ ‘สมชัย ศรีสุทธิยากร’ ฐาน สมัคร สส. ทั้งที่มีลักษณะต้องห้ามตาม กม.

(22 ก.ย. 66) ที่สถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อดีต สส.บัญชีรายชื่อ และอดีตโฆษกพรรคเพื่อไทย ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน เพื่อขอให้สอบสวนและดำเนินคดีกับนายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง จาก กรณีที่เห็นว่านายสมชัย ได้สมัครรับเลือกตั้ง สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย ปี 2566 และสมัคร สส.แบบแบ่งเขต จังหวัดสมุทรสาคร เขตเลือกตั้งที่ 2 เมื่อปี 2562 ทั้งที่อาจมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย

นายพร้อมพงศ์ ได้กล่าวว่า เหตุที่ได้เดินทางมายื่นหนังสือกล่าวโทษให้พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนและดำเนินคดีกับนายสมชัย ในวันนี้ สืบเนื่องมาจากตนได้ตรวจสอบ ข้อมูลพบว่า เมื่อครั้งที่นายสมชัย ดำรงตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้ง ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายสมชัย ได้ถูกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 4/2561 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2561 ให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่กรรมการการเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลถึงการที่นายสมชัย ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกระบวนการและกำหนดการเลือกตั้งที่ไม่สมควรเกิดความสับสนที่จะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของ กกต. และการจัดการเลือกตั้ง และนายสมชัย ยังได้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นเลขาธิการ กกต. โดยไม่ได้ลาออกจากการปฏิบัติหน้าที่กรรมการการเลือกตั้ง ผลของคำสั่งดังกล่าวจึงอาจถือได้ว่า นายสมชัย ได้ถูกคำสั่งให้พ้นจากราชการเพราะประพฤติมิชอบในวงราชการ อันเข้าลักษณะเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ 2566 มาตรา 98 (8) ประกอบมาตรา 42 (10) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561

ซึ่งหากมีการสอบสวนแล้ว พบว่ามีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวจริงก็ถือว่านายสมชัย กระทำการอันฝ่าฝืนมาตรา 151 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 - 200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนด 20 ปี

นายพร้อมพงศ์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าเมื่อวันที่ 21 ก.ย. ที่ผ่านมาตนได้ไปยื่นหนังสือต่อประธาน กกต. เพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวแล้วเช่นกัน หาก กกต. ตรวจแล้วพบว่ามีการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายจริง กกต. ก็จะได้ทำการสืบสวนและไต่สวนต่อไป เพราะถือว่าเรื่องดังกล่าวปรากฏต่อ กกต. ที่จะตรวจสอบมูลกรณีดังกล่าวได้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 ตนเป็นเพียงผู้แจ้งข้อมูลให้ตรวจสอบเท่านั้น นายพร้อมพงศ์ ได้ให้เหตุผลที่มายื่นกล่าวโทษนายสมชัย ว่าเมื่อนายสมชัย ตรวจสอบคนอื่นได้ นายสมชัย ก็ต้องพร้อมที่จะต้องถูกตรวจสอบได้เช่นกันก็ต้องให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

'สมชัย' ฟันโชะ!! 4 ข้อชง ‘ยุบพรรคก้าวไกล’ แนวโน้มมีแต่ข่าวร้าย ควรรั้ง สส.ไว้ให้มากที่สุด

(12 มี.ค. 67) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘สมชัย ศรีสุทธิยากร’ ดังนี้…

กรณี กกต. ส่งเรื่องยุบพรรคก้าวไกล

1. ระยะเวลาที่ กกต.พิจารณา ไม่ช้า ไม่เร็วเกินไป คือ ใช้เวลาราว 1 เดือน 10 วัน หลังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อ 31 มกราคม 2567

2. ขั้นต่อไป ในขั้นศาลรัฐธรรมนูญ ไม่น่าจะเกิน 2 เดือนจากนี้ คือ อยู่ในราวต้นเดือนพฤษภาคม 2567 ซึ่งมีแนวโน้มเกือบไม่มีทางเป็นสิ่งที่เป็นข่าวดีต่อพรรคก้าวไกลได้

3. การยุบพรรค จะมีผลต่อการตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคด้วย ซึ่งพรรคก้าวไกลต้องประเมินว่า จะรักษาหลักการที่รอผลคำวินิจฉัย หรือ จะให้ สส.บัญชีรายชื่อที่เป็นกรรมการบริหารลาออกเพื่อเลื่อนลำดับคนขึ้นมาแทนที่เพื่อรักษาจำนวน สส.หลังยุบพรรคให้มีจำนวนเท่าเดิม

4. การย้ายไปสังกัดพรรคใหม่ ของ สส. ต้องทำภายใน 60 วัน จึงเป็นเรื่องที่ต้องพยายามรักษา สส. ให้อยู่ให้มากที่สุด ท่ามกลางข้อเสนอที่เย้ายวนจากพรรคการเมืองอื่น ที่ต้องมีข้อเสนอเชิญชวนให้สังกัดพรรคอย่างมากมายแน่นอน

‘อ.สมชัย’ ชี้ ‘แบงค์ชาติ’ วิจารณ์ได้ แต่คนพูดก็ต้องถูกวิจารณ์ ย้ำ!! ต้อง ‘มีพื้นฐานความรู้-ปราศจากอคติ-มีตรรกะของเหตุผล’ 

(6 พ.ค.67) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘สมชัย ศรีสุทธิยากร’ เกี่ยวกับการวิจารณ์การทำงานของ ‘ธนาคารแห่งประเทศไทย’ โดยได้ระบุว่า ...

แบงค์ชาติ วิจารณ์ได้

แบงค์ชาติ เป็นสถาบันที่มีหน้าที่กำกับนโยบายด้านการเงินของประเทศ ดูแลอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ปริมาณเงินในตลาด และอัตราแลกเปลี่ยน ทำงานดีก็ต้องชม ทำงานไม่เข้าท่าก็วิจารณ์ได้

แต่การวิจารณ์ แบงค์ชาติ ต้องอยู่บนพื้นฐานความรู้ ปราศจากอคติ และมีตรรกะของเหตุผล เช่น จะบอกว่าประเทศไทยมีหนี้สาธารณะเยอะ เพราะการไม่ลดดอกเบี้ยธนาคาร ดูจะเป็นการเชื่อมโยงของสิ่งห่างไกลเกินไป

หนี้สาธารณะ (Public Debt) นั้น มาจากกู้ยืมเงินของรัฐจากการทำงบประมาณขาดดุล ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีหนี้สาธารณะ 11.4 ล้านล้านบาท จะลดลงต่อเมื่อเราตั้งงบประมาณใช้คืนมากขึ้น กู้ใหม่ให้น้อยลง หรือกู้มาลงทุนเพื่อให้มีรายได้มาใช้คืนไม่ใช่กู้มาแจก

หนี้ครัวเรือน (Household debt) ของไทย คือ หนี้ของชาวบ้านที่ไปกู้ยืมสถาบันทางการเงิน เช่น ผ่อนบ้าน ซื้อรถ กู้ยืมมาเพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 16.8 ล้านล้านบาท หากมีอัตราดอกเบี้ยสูง ย่อมผ่อนคืนยาก ส่งต้นได้น้อย ส่งเท่าไรก็ส่งได้แต่ดอก 

เพราะดอกเบี้ยเงินกู้แบงค์ ประมาณร้อยละ 7 ส่วนดอกเบี้ยนโยบายตอนนี้ ร้อยละ 2.5 

แบงค์ชาติ วิจารณ์ได้ครับ แต่คนวิจารณ์แบงค์ชาติด้วยตรรกะที่ตื้นเขิน ก็ย่อมถูกวิจารณ์ได้เช่นกัน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top