Saturday, 18 May 2024
สภาพอากาศ

เตรียมรับมือ!! ‘กรมอุตุฯ’ ออกประกาศเตือน รับมือ ‘พายุฤดูร้อน’ ช่วงวันที่ 12-14 มีนาคม แนะ!! ติดตามข่าวสารใกล้ชิด

(9 มี.ค. 66) กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง “พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 1 (71/2566) (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 12 - 14 มีนาคม 2566)” ระบุว่า ในช่วงวันที่ 12 - 14 มีนาคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ

ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ขณะที่รายงานลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีหมอกบางในตอนเช้า มีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน แต่ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ไว้ด้วย

สำหรับลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนบางแห่งเกิดขึ้นได้ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 12 - 14 มีนาคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ โดยมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีแนวโน้มการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันมาก เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนและการระบายอากาศไม่ดี

ผลรายงาน ชี้ บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกหลายแห่ง ไม่คืบหน้า!! ลดการปล่อยมลพิษ ตั้งแต่ปี 2018

จากรายงานของ ESG Book ชี้ว่า บริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งทั่วโลก ไม่ได้ดำเนินมาตรการอะไรเลยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เพื่อลดการปล่อยมลพิษ ที่เป็นตัวการสร้างความร้อนให้กับโลก และการกระทำเหล่านี้ ทำให้โลกยากต่อการหลีกเลี่ยงภัยพิบัติธรรมชาติ ที่ทำให้เกิดความเสียหายได้อย่างรุนแรง พร้อมเผยว่า บริษัทหลายแห่ง มีแนวโน้มการดำเนินงานที่มีส่วนช่วยให้เกิดภาวะโลกร้อนในระดับที่รุนแรง หรือ ปกปิดค่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 

ผู้ให้บริการข้อมูลด้านความยั่งยืนชั้นนำ พบว่า มีความพยายามเพียง 22% ของบริษัทมหาชนที่ใหญ่ที่สุด 500 แห่งของโลก มีการดำเนินการที่สอดคล้องไปกับ ‘ความตกลงปารีส’ ซึ่งเป็นความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งเป้าไปที่การควบคุมอุณหภูมิให้ไม่สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรม (Pre-Industrial Levels) 

นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศ วิเคราะห์ว่า การที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเฉลี่ย 1.5 องศาเซลเซียส เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ นอกจากนี้ โอกาสที่จะเกิดน้ำท่วมรุนแรง ภัยแล้ง ไฟป่า และการขาดแคลนอาหารอาจเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

ทั้งนี้ ราว 45% ของบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความร้อนอย่างน้อย 2.7 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับความร้อนรุนแรง ที่อาจทำให้ประชาชนหลายพันคนต้องเผชิญอากาศร้อนจัดจนเป็นอันตรายได้ 

‘ดาเนียล ไคลเออร์’ ประธานเจ้าหน้าที่ ESG Book กล่าวว่า ข้อมูลของพวกเขาสื่อความหมายอย่างชัดเจน ที่ผู้คนต้องเร่งดำเนินการมากขึ้น และต้องรีบจัดการอย่างรวดเร็ว หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในวิธีการดำเนินงานของเศรษฐกิจโลก มันก็ไม่ชัดเจนว่า เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้อย่างไร

ในการวิเคราะห์ของ ESG Book กำหนด ‘คะแนนอุณหภูมิ’ ให้กับบริษัทโดยอ้างอิงข้อมูลการปล่อยก๊าซที่รายงานต่อสาธารณะ และปัจจัยต่างๆ เช่น เป้าหมายการลดมลพิษ เพื่อพิจารณาการมีส่วนร่วมของริษัทในการบรรลุสู่เป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ โดยการวิเคราะห์นี้ ครอบคลุมบริษัทในสหราชอาณาจักร จีน อินเดีย และสหภาพยุโรป ที่มีมูลค่าตลาดอย่างน้อย 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3.45 แสนล้านบาท 

โดยความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศในสหรัฐฯ และจีนเริ่มดีขึ้น แม้ว่าจะยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ โดยในสหรัฐฯ บริษัทที่ดำเนินตามความตกลงปารีสคิดเป็น 20% เพิ่มจาก 11% ในปี 2018 ส่วนในจีน บริษัทที่ดำเนินตามความตกลงปารีสคิดเป็น 12% เพิ่มจาก 3% ในปี 2018

นอกจากนี้ นักลงทุนสถาบัน (Institutional Investors) ก็มีบทบาทสำคัญในการควบคุมเงินทุนให้มุ่งสู่เทคโนโลยีหมุนเวียนมากขึ้น จากข้อมูลของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ คาดว่า การลงทุนในพลังงานแสงอาทิตย์ จะแซงหน้าการลงทุนในการผลิตน้ำมันเป็นครั้งแรกในปีนี้

อย่างไรก็ตาม องค์การพลังงานระหว่างประเทศ หรือ ‘IEA’ คาดว่า จะมีเงินลงทุนมูลค่ามากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 34.5 ล้านล้านบาท จะไหลไปสู่น้ำมัน ก๊าซ และถ่านหินในปีนี้

ทั้งนี้ รายงานชิ้นนี้ เป็นหนึ่งในชุดข้อมูลล่าสุดที่บ่งชี้ให้เห็นว่า โลกอยู่ห่างออกไปจากเส้นทางที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ ขณะเดียวกัน บริษัทผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ อย่าง Shell และ BP กำลังเปลี่ยนความสนใจหันมาสู่การผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิล หลังจากผลกำไรพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากการที่ราคาน้ำมัน และก๊าซพุ่งทะยาน

ไคลเออร์ กล่าวว่า การผสมผสานระหว่างนโยบายของรัฐบาลที่เข้มงวดมากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค รวมถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จะต้องนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายในเส้นทางการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน
 

‘บิ๊กป้อม’ หารือแนวทางรับมือสภาพอากาศผันผวน เร่งสร้างความเข้าใจ ปชช. ลดผลกระทบรุนแรง

(25 ส.ค. 66) ที่มูลนิธิป่ารอยต่อฯ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแห่งชาติ (กนภ.) ครั้งที่ 3/66 มีนายวราวุธ ศิลปอาชา รมว. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม 

โดยที่ประชุมเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการปรับปรุงองค์ประกอบคณะอนุกรรมการภายใต้ กนภ.จำนวน 8 คณะ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และเสนอให้ส่วนราชการต่างกระทรวง มีหน่วยงานรองรับร่วมขับเคลื่อนภารกิจดังกล่าวไปด้วยกัน

นอกจากนั้นที่ประชุมรับทราบ การปรับปรุงกฎกระทรวงและการแบ่งส่วนราชการ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 ที่เปลี่ยนชื่อมาจาก กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยจะทำหน้าที่จะเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเป็นหน่วยประสานงานกลางของประเทศ ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นหน่วยให้บริการข้อมูลข่าวสารเพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ศึกษาวิจัย พัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทุกภาคส่วนต่อไป

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง ผันผวนและทวีรุนแรงมากขึ้น มีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมของประเทศอย่างมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่รอไม่ได้ต้องเตรียมการรับมือ จึงกำชับขอให้คณะกรรมการฯ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ศึกษา ติดตามและขับเคลื่อนดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและระหว่างประเทศ เตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นไปด้วยกัน โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความตระหนักรู้ ความเข้าใจและความร่วมมือกัน รับมือกับการเปลี่ยนแปลง ทั้งการป้องกันและการแก้ปัญหาไปพร้อม ๆ กัน เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นให้มากที่สุด

‘52 จังหวัด’ อ่วม!! ค่าฝุ่นพิษ PM 2.5 เกินมาตรฐาน วอนปชช.เฝ้าระวังสุขภาพ ใส่แมสก์ป้องกันอย่างมิดชิด

(11 ธ.ค.66) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ จิสด้า-GISTDA รายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมผ่านแอปพลิเคชัน ‘เช็คฝุ่น’ พบ 52 จังหวัดของประเทศไทย มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐานเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) ที่ส่งผลต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคกลาง อาทิ สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง ลพบุรี และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ กาฬสินธุ์ อุดรธานี หนองคาย และมหาสารคาม ที่มีค่าคุณภาพอากาศระดับสีแดง

ในขณะที่กรุงเทพมหานคร พบค่าฝุ่น PM2.5 ระดับสีแดงสูงสุดเพียง 1 เขต คือที่เขตหนองแขม 82.3 ไมโครกรัม ส่วนพื้นที่เขตอื่นอยู่ระดับสีส้ม ซึ่งยังเกินมาตรฐานกว่า 40 เขต

ขณะเดียวกัน กรมควบคุมมลพิษ รายงานสถานการณ์ฝุ่นเช้านี้เช่นกัน โดยระบุว่า

ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ในช่วง 27.3-65.9 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) และพบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) อยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 71 พื้นที่ ได้แก่

1.แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 49.4 มคก./ลบ.ม.
2.ริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 50.5 มคก./ลบ.ม.
3.แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 46.7 มคก./ลบ.ม.
4.แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 39.1 มคก./ลบ.ม.
5.ช่องนนทรี เขตยานาวา กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 44.0 มคก./ลบ.ม.
6.ริมถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 40.4 มคก./ลบ.ม.
7.ริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 46.2 มคก./ลบ.ม.
8.ริมถนนลาดพร้าว เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 42.2 มคก./ลบ.ม.
9.ริมถนนดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 48.8 มคก./ลบ.ม.
10.แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 56.6 มคก./ลบ.ม.
11.เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 48.3 มคก./ลบ.ม.
12.เขตจอมทอง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 44.4 มคก./ลบ.ม.
13.ริมถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 49.7 มคก./ลบ.ม.
14.เขตบางแค กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 40.4 มคก./ลบ.ม.
15.ริมถนนพระราม 2 เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 48.4 มคก./ลบ.ม.
16.เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 39.2 มคก./ลบ.ม.
17.สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 39.1 มคก./ลบ.ม.
18.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 40.7 มคก./ลบ.ม.
19.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 40.2มคก./ลบ.ม.
20.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 39.4มคก./ลบ.ม.

21.สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 44.2 มคก./ลบ.ม.
22.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 46.4 มคก./ลบ.ม.
23.สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 39.9 มคก./ลบ.ม.
24.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 52.4 มคก./ลบ.ม.
25.สวนหนองจอก เขตหนองจอก กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 42.7 มคก./ลบ.ม.
26.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 43.0 มคก./ลบ.ม.
27.ริมถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 41.1 มคก./ลบ.ม.
28.ริมถนนสุขุมวิท เขตพระโขนง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 42.2 มคก./ลบ.ม.
29.ริมถนนราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 47.2 มคก./ลบ.ม.
30.ริมถนนพระราม 5 เขตดุสิต กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 40.5 มคก./ลบ.ม.
31.ริมถนนกรุงเกษม เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 39.6 มคก./ลบ.ม.
32.ริมถนนตรีมิตร วงเวียนโอเดียน์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 47.5 มคก./ลบ.ม.
33.ริมถนนพระราม 6 เขตพญาไท กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 38.7 มคก./ลบ.ม.
34.ริมถนนลาดพร้าว ซอยลาดพร้าว 95 เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 54.2 มคก./ลบ.ม.
35.ริมถนนพระรามที่ 4 หน้าสามย่านมิตรทาวน์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 37.6 มคก./ลบ.ม.
36.ริมถนนนราธิวาส เขตบางรัก กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 54.2 มคก./ลบ.ม.
37.แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 49.1 มคก./ลบ.ม.
38.ริมถนนซอยสุขุมวิท 63 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 43.0 มคก./ลบ.ม.
39.ริมถนนพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 52.4 มคก./ลบ.ม.
40.ริมถนนบางนา-ตราด เขตบางนา กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 55.3 มคก./ลบ.ม.

41.ริมถนนพหลโยธิน แยก ม.เกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 46.2 มคก./ลบ.ม.
42.เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 39.4 มคก./ลบ.ม.
43.ริมถนนสุขาภิบาล5 เขตสายไหม กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 43.8 มคก./ลบ.ม.
44.แยกสวนสยาม-รามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 46.4 มคก./ลบ.ม.
45.ริมถนนลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 51.9 มคก./ลบ.ม.
46.ริมถนนสีหบุรานุกิจ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 46.8 มคก./ลบ.ม.
47.ริมถนนเลียบวารี เขตหนองจอก กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 51.3 มคก./ลบ.ม.
48.ริมถนนศรีนครินทร์ เขตประเวศ กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 54.6 มคก./ลบ.ม.
49.ริมถนนรัชดาภิเษก-ท่าพระ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 47.5 มคก./ลบ.ม.
50.ริมถนนเจริญนคร เขตคลองสาน กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 51.9 มคก./ลบ.ม.

51.ริมถนนแยกท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 51.5 มคก./ลบ.ม.
52.ริมถนนซอยนิคมบ้านพักรถไฟธนบุรี 5 เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 57.7
53.ริมถนนพุทธมณฑล 1 เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 50.0 มคก./ลบ.ม.
54.ริมถนนคลองทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 59.1 มคก./ลบ.ม.
55.ริมถนนเพชรเกษม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 51.1 มคก./ลบ.ม.
56.ริมถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 เขตหนองแขม กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 59.3 มคก./ลบ.ม.
57.ริมถนนเอกชัย เขตบางบอน กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 50.7 มคก./ลบ.ม.
58.ริมถนนประชาอุทิศ เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 40.6 มคก./ลบ.ม.
59.ริมถนนสามเสน เขตพระนคร กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 41.8 มคก./ลบ.ม.
60.แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 47.8 มคก./ลบ.ม.

61.แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 44.0 มคก./ลบ.ม.
62.แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 46.2 มคก./ลบ.ม.
63.ริมถนนพหลโยธิน เขตบางเขน กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 48.9 มคก./ลบ.ม.
64.เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ : มีค่าเท่ากับ 39.5 มคก./ลบ.ม.
65.ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี : มีค่าเท่ากับ 55.9 มคก./ลบ.ม.
66.ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี : มีค่าเท่ากับ 55.9 มคก./ลบ.ม.
67.ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี : มีค่าเท่ากับ 48.5 มคก./ลบ.ม.
68.ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ : มีค่าเท่ากับ 56.2 มคก./ลบ.ม.
69.ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ : มีค่าเท่ากับ 65.9 มคก./ลบ.ม.
70.ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร : มีค่าเท่ากับ 56.4 มคก./ลบ.ม.
71.ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร : มีค่าเท่ากับ 47.8 มคก./ลบ.ม

‘นักวิจัยจีน’ ผุด ‘เสื้อผ้าพลังงานแสงอาทิตย์’ ประสิทธิภาพสูง ช่วยคุมอุณหภูมิร่างกายมนุษย์ให้รู้สึกสบาย แม้อากาศผันผวน

เมื่อวานนี้ (17 ธ.ค.66) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ทีมนักวิจัยของจีนจากมหาวิทยาลัยหนานไคออกแบบระบบเสื้อผ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ยืดหยุ่น พึ่งพาพลังงานในตัวเอง และมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งช่วยควบคุมให้ร่างกายมนุษย์คงอยู่ในช่วงอุณหภูมิที่ทำให้รู้สึกสบาย แม้ว่าอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมจะผันผวน

ระบบเสื้อผ้าที่ขับเคลื่อนด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบยืดหยุ่นนี้ไม่ต้องอาศัยแหล่งพลังงานภายนอก ยกเว้นเพียงแสงแดด และต่างจากเสื้อผ้าควบคุมความร้อนรุ่นก่อนหน้า ตรงที่สามารถสร้างความอบอุ่นและทำความเย็นด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าที่สามารถปรับเปลี่ยนอุณหภูมิสองทางตลอดทั้งวัน

การศึกษาระบุว่าอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ตลอด 24 ชั่วโมง หลังได้รับพลังงานแสงอาทิตย์เพียง 12 ชั่วโมง

นอกจากนั้น อุปกรณ์ข้างต้นทำงานเพื่อรักษาอุณหภูมิผิวหนังของมนุษย์ให้อยู่ในช่วงที่ทำให้รู้สึกสบาย ระหว่าง 32-36 องศาเซลเซียส แม้อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงที่ระหว่าง 12.5-37.6 องศาเซลเซียส

อุปกรณ์ใหม่นี้สามารถช่วยปรับปรุงความปลอดภัยและความรู้สึกสบายของร่างกายมนุษย์ ท่ามกลางอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่ผันผวน และยังอาจยืดระยะการเอาชีวิตรอดในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง เช่น ในอวกาศ หรือบนดาวเคราะห์ดวงอื่น

อนึ่ง การศึกษาฉบับดังกล่าวเผยแพร่เมื่อวันศุกร์ (15 ธ.ค.) ในวารสารไซแอนซ์ (Science)

‘จีน’ เผย ‘ท่องเที่ยวเชิงอุตุนิยมวิทยา’ เทรนด์ตลาดเกิดใหม่มาแรง ชู ‘การท่องเที่ยว-ภูมิอากาศ-ภูมิทัศน์-วัฒนธรรม’ ดึงเม็ดเงินเข้าประเทศ

(21 ธ.ค. 66) สำนักข่าวซินหัว, เจิ้งโจว รายงานจากสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอุตุนิยมวิทยาแห่งประเทศจีน ระบุว่า การท่องเที่ยวเชิงอุตุนิยมวิทยาในจีนเติบโตอย่างต่อเนื่องช่วงไม่กี่ปีมานี้ และจะรักษาแนวโน้มการเติบโตที่รวดเร็วในปีต่อๆ ไป จนเกิดเป็นตลาดการท่องเที่ยวเกิดใหม่

รายงานว่า ด้วยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอุตุนิยมวิทยาจากสถาบันฯ ที่เผยแพร่ในการประชุมการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงอุตุนิยมวิทยาแห่งประเทศจีน ครั้งที่ 2 ระยะ 2 วัน เผยว่า การพัฒนาที่รวดเร็วของการท่องเที่ยวดังกล่าวในจีน มีปัจจัยหลักมาจากการแสวงหาประสบการณ์ด้านอุตุนิยมวิทยาอันเป็นเอกลักษณ์ที่เพิ่มขึ้นของประชาชน รวมถึงนวัตกรรมและการยกระดับอย่างต่อเนื่องของการท่องเที่ยว

รายงานที่เผยแพร่ในการประชุมฯ ซึ่งปิดฉากลงเมื่อวันพุธที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา ในมณฑลเหอหนานทางตอนกลางของจีน คาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมบริการเชิงอุตุนิยมวิทยาของจีนจะมีมูลค่าสูงกว่า 3 แสนล้านหยวน (ราว 1.5 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2025

‘ชวีหย่า’ เลขาธิการสมาคมอุตุนิยมวิทยาแห่งประเทศจีน กล่าวว่า ดวงอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม พายุฝนฟ้าคะนองที่งดงาม ผืนฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว น้ำแข็งและหิมะ น้ำค้างแข็ง และป่าฝนล้วนเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงอุตุนิยมวิทยา

อนึ่ง ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงอุตุนิยมวิทยา แบ่งแบบกว้างออกเป็น 3 หมวดหมู่ ได้แก่

1.) ทรัพยากรภูมิทัศน์และสภาพอากาศ อาทิ เมฆ ฝน หิมะ แสงสว่าง และปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่พบได้ยาก

2.) ทรัพยากรภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม อาทิ การรักษาสุขภาพ ประสบการณ์ และวัตถุโบราณภูมิอากาศบรรพกาลที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ

3.) ทรัพยากรเชิงอุตุนิยมวิทยาแนวมนุษยนิยม อาทิ อุตุนิยมวิทยาและประวัติศาสตร์ ภูมิทัศน์ที่มนุษย์สร้างขึ้น ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกและสิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น

‘ดร.เสรี’ ชี้!! ปีนี้มีสิทธิร้อนเพิ่ม ผลพวงที่ส่งต่อมาจากปี 2023

(11 ม.ค. 67) รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า #โลกร้อนสุด 2023 อะไรจะเกิดขึ้นตามมาในปี 2024 นอกเหนือการควบคุม

ปี 2023 เป็นปีที่นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้มีการคาดการณ์ไว้ว่าจะเป็นปีที่ร้อนที่สุด แต่อุณหภูมิเฉลี่ยกลับเพิ่มขึ้นกว่า 1.48oC เมื่อ 100 ปีที่แล้ว และสูงกว่าปี 2016 ที่เคยเป็นสถิติสูงสุด ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งมาจากปรากฏการณ์ El Nino ที่กำลังเกิดขึ้น และคาดการณ์ว่าจะแตะระดับสูงสุด ในเดือนมกราคมปีนี้ ดังนั้นการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงสภาพอากาศสุดขั้วต่างๆจึงเกิดตามมาโดยไม่สามารถควบคุมได้ ดังตัวอย่างการเกิดคลื่นความร้อน และไฟป่าในแคนาดา US และยุโรป น้ำท่วมใหญ่ในแอฟริกาตะวันออก รวมทั้งน้ำท่วมรุนแรงในภาคใต้ประเทศไทย

จากข้อมูลอุณหภูมิเฉลี่ยรายวันในปี 2023 ยังบ่งชี้ว่าตั้งแต่เดือนมิถุนายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายวันทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (173 วันที่อุณหภูมิสูงเกิน 1.5 oC) ตั้งแต่มนุษย์เริ่มมีการใช้พลังงานฟอสซิล ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงยังคงไม่มั่นใจว่าเหตุการณ์ความรุนแรงจากสภาพอากาศสุดขั้วใด จะเกิดขึ้นบ้าง และจะเกิดขึ้นเมื่อไรในอนาคต แม้แต่การคาดการณ์ปริมาณฝนยังมีความคลาดเคลื่อนสูง และไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าในระยะยาวเป็นรายเดือน รายฤดูกาล เป็นต้น เนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลก็ยังสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์เหมือนกัน

ดังนั้นด้วยโมเมนตัม และการถ่ายทอดพลังงานความร้อนต่อเนื่องจากปี 2023 ทำให้ปี 2024 จึงเป็นปีที่มีความเสี่ยงสูงที่จะร้อนกว่าปี 2023 การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิดังกล่าวบ่งชี้การเกิดขีดจำกัด 1.5oC ตามข้อตกลงปารีสซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยในรอบ 20-30 ปี และอาจจะแตะ 3oC จากการประเมินรายงาน NDC (National Determined Contribution) ของแต่ละประเทศที่ส่งมาในปัจจุบัน ดังนั้นเหตุการณ์ความรุนแรงจากสภาพอากาศสุดขั้วจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และต้องเฝ้าระวังกันต่อไป 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top