Wednesday, 15 May 2024
สภาพภูมิอากาศ

เปิด 8 ผลกระทบ ส่งฝนกระหน่ำหนักไทยครึ่งปีหลัง 65 ภายใต้การกู้สถานการณ์เร็ว ลดสูญเสียหนัก จากรบ. 'บิ๊กตู่'

นับตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากสภาพภูมิอากาศ เกิดร่องมรสุม และพายุอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีปริมาณฝนตกเป็นจำนวนมาก สร้างความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง 

ส่งผลให้ในปีนี้ประเทศไทยมีสถิติฝนตกสูงมากกว่าปกติ และในบางจังหวัดทุบสถิติฝนตกมากที่สุดในรอบ 30 ปี

ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีดังนี้...

1. ร่องมรสุมพัดพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 2 - 8 สิงหาคม 

ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย หลายพื้นที่ในภาคเหนือ, ตะวันตก, ตะวันออก, ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่า 125  มิลลิเมตร (125 ลิตรต่อตารางเมตร) ในหลายพื้นที่

2. พายุดีเพรสชัน มู่หลาน ระหว่างวันที่ 11 – 13 สิงหาคม

ส่งผลให้ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมแทบจะทุกภูมิภาคของประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดน่านตอนบนที่ รองลงมาคือเชียงรายและเชียงใหม่, กาญจนบุรี, สระแก้ว และปราจีนบุรี 

ในหลายพื้นที่มีฝนตกหนักมากกว่า 100 มิลลิเมตร (100 ลิตรต่อตารางเมตร)

3. ร่องมรสุมพัดพาดผ่านภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 20 – 22 สิงหาคม

ส่งผลให้ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดยโสธร, ร้อยเอ็ด, กาฬสินธุ์, น่าน, พังงา และระนอง รองลงมาคือจังหวัด สกลนคร, อุดรธานี, พิษณุโลก, จันทบุรี และตราด 

ในหลายพื้นที่มีฝนตกหนักมากกว่า 100 มิลลิเมตร (100 ลิตรต่อตารางเมตร)

4. พายุดีเพรสชัน หมาอ๊อน ระหว่างวันที่ 24 – 26 สิงหาคม

ส่งผลให้ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดปราจีนบุรี, ลำปาง, พังงา และภูเก็ต รองลงมาคือจังหวัดลพบุรี, นครสวรรค์, ชัยนาท, สิงห์บุรี และกระบี่ 

ในหลายพื้นที่มีฝนตกหนักมากกว่า 100 มิลลิเมตร (100 ลิตรต่อตารางเมตร)

5. ร่องมรสุมกำลังแรงพัดพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 5 – 9 กันยายน

ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือกรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ, ปทุมธานี, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, เลย, ตาก, นครสวรรค์, พิษณุโลก, ระนอง, พังงา และสุราษฎร์ธานี รองลงมาคือจังหวัดปราจีนบุรี, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, มหาสารคาม, เชียงใหม่, เชียงราย และ กำแพงเพชร

บางพื้นที่มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่า 200 มิลลิเมตร (200 ลิตรต่อตารางเมตร)

6. ร่องมรสุมพัดพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 6 – 11 กันยายน

ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือกรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ, ปทุมธานี, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, สระแก้ว, ปราจีนบุรี, นครราชสีมา, เลย, อุดรธานี, หนองบัวลำภู, อุตรดิตถ์, พิษณุโลก, นครสวรรค์, เชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, ระนอง และพังงา

บางพื้นที่มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่า 300 มิลลิเมตร (300 ลิตรต่อตารางเมตร)

7. พายุดีเพรสชัน โนรู ระหว่างวันที่ 28 – 30 กันยายน

ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดอุบลราชธานี, อำนาจเจริญ, ยโสธร, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, บุรีรัมย์, นครสวรรค์, เพชรบูรณ์, ลพบุรี, ระนอง, พังงา. สุราษฎร์ธานี และสตูล รองลงมาคือจังหวัดเลย, อุดรธานี, ตาก และชุมพร

‘นายกฯ’ หารือ อดีตนายกฯ สหราชอาณาจักร ผลักดันความร่วมมือด้านสภาพภูมิอากาศ

เมื่อวานนี้ (18 ม.ค.67) ณ ศูนย์ประชุม Congress Centre เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พบหารือกับนาย Tony Blair ประธานกรรมการบริหาร Tony Blair Institute of Global Change และอดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า นาย Tony Blair อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ได้มาพบและคุยเกี่ยวกับ Tony Blair Institute of Global Change ซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นโดยไม่หวังผลกำไร และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกันของโลก โดยมีความตั้งใจที่จะหาความร่วมมือกับประเทศไทย โดยเฉพาะด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human development)

โดยทางนาย Tony Blair มีความเชื่อมั่นว่า การร่วมมือระหว่างรัฐบาล และองค์กรต่าง ๆ จะช่วยทำให้ประเทศมีการพัฒนาขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยนายกรัฐมนตรีได้ให้มีการตั้งคณะทำงานขึ้น เพื่อให้ทางสถาบัน Tony Blair Institute of Global Change ได้เข้ามาศึกษาข้อมูลในประเทศไทย เพื่อพัฒนา และต่อยอดในประเด็นต่าง ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกัน

‘คณะกรรมาธิการยุโรป’ ประกาศลดปล่อย ‘ก๊าซเรือนกระจก’ 90% ตั้งเป้า!! สู่ความเป็นกลางทางสภาพภูมิอากาศ ภายในปี 2040

(7 ก.พ.67) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิภายในสหภาพยุโรปลงร้อยละ 90 ภายในปี 2040 เมื่อเทียบกับระดับในปี 1990 โดยข้อเสนอทางกฎหมายจะจัดทำโดยคณะกรรมาธิการฯ ชุดต่อไปภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภายุโรปในเดือนมิถุนายน

เป้าหมายดังกล่าวสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของสหภาพยุโรปซึ่งจัดทำในปี 2021 ที่มุ่งบรรลุความเป็นกลางทางสภาพภูมิอากาศ (climate neutrality) ภายในปี 2050 โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิอย่างน้อยร้อยละ 55 ภายในปี 2030 เทียบกับระดับในปี 1990

คณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า การกำหนดเป้าหมายสภาพภูมิอากาศปี 2040 จะช่วยวางกรอบการทำงานที่ชัดเจนสำหรับอุตสาหกรรม นักลงทุน ประชาชน และรัฐบาลของยุโรปในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ในช่วงทศวรรษนี้ และรับรองว่าสหภาพยุโรปจะอยู่บนเส้นทางสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางสภาพภูมิอากาศต่อไป

นอกจากนี้ เป้าหมายข้างต้นยังจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของยุโรปต่อวิกฤตการณ์ในอนาคต และเสริมสร้างความเป็นอิสระด้านพลังงานของสหภาพยุโรปโดยลดการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของสหภาพยุโรปในปี 2022

‘อ.พงษ์ภาณุ’ แนะรัฐหาแรงจูงใจเอกชน ลุยธุรกิจลดโลกร้อน ปั้นระบบนิเวศให้พร้อม สู่การสร้างเงินจากสภาพภูมิอากาศ

ทีมข่าว THE STATES TIMES ได้พูดคุยกับ อ.พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อดีตปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ระดับประเทศ ที่มาร่วมพูดคุยในรายการ Easy Econ ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุ ส.ทร. FM93.0 MHz และสื่อออนไลน์ ในเครือ THE STATES TIMES ในประเด็น 'การเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศ' (Climate Finance) เมื่อวันที่ 24 มี.ค.67 โดย อ.พงษ์ภาณุ กล่าวว่า…

การกำหนดราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) โดยการเก็บภาษีคาร์บอน และการใช้กลไกตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต จะเป็นกุญแจสำคัญสู่เป้าหมาย Net Zero แต่การเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกสีเขียว (Green Transition) ได้อย่างราบรื่นจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากภาคการเงินการคลังไม่ช่วยระดมทรัพยากรมาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน บุคลากร และเทคโนโลยี ที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว

ประการแรก ด้วยข้อจำกัดของทรัพยากรของรัฐบาล เงินลงทุนส่วนใหญ่จึงต้องมาจากภาคเอกชน ภาครัฐต้องจัดโครงสร้างสิ่งจูงใจ (Incentive Structure) ที่เอื้อให้เอกชนกล้าลงทุนในโครงการ/อุตสาหกรรมที่ลดโลกร้อน การเก็บภาษีคาร์บอนและคาร์บอนเครดิตเป็นก้าวแรก ที่สำคัญกว่านั้นคือ การยกเลิกการอุดหนุนคาร์บอน (Carbon Subsidies) ที่มีอยู่มากมายในปัจจุบัน

ประการที่สอง การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยคาร์บอนอย่างเป็นมาตรฐานและมีการรับรอง รวมทั้งการจัดกลุ่ม/นิยามกิจกรรมที่ลดโลกร้อน (Green Taxonomy) จะช่วยให้ตลาดการเงินและสถาบันการเงินทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและจัดสรรทรัพยากรอย่างตรงเป้ามากขึ้น

ตลาดการเงินและธนาคารพาณิชย์เริ่มนำผลิตภัณฑ์สีเขียวมาให้บริการบ้างแล้ว สินเชื่อเพื่อความยั่งยืนของธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเริ่มเป็นที่นิยม กองทุน ESG มีจำนวนมากขึ้นและได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ แม้ว่ายังไม่ชัดเจนว่าหลักเกณฑ์ ESG ของตลาดกับเป้าหมายการลดคาร์บอนจะตรงกันหรือไม่ หรือบางทีอาจขัดแย้งกันด้วยซ้ำ และอาจนำไปสู่การฟอกเขียว (Greenwashing)

ในสาขาพลังงาน ซึ่งเป็นสาขาที่ปล่อยคาร์บอนมากที่สุด ปัจจุบันยังมีโครงสร้างที่พึ่งพา Fossils อยู่ค่อนข้างสูง กล่าวคือ การผลิตพลังงานไฟฟ้าในไทยยังอาศัยก๊าซธรรมชาติและถ่านหินเป็นตัวขับเคลื่อนถึงกว่า 80% และใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นสัดส่วนน้อย ดังนั้นภาคพลังงานจึงมีความจำเป็นต้องลงทุนอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งจากภาครัฐในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานและระบบสายส่ง และภาคเอกชนในรูปแบบโรงไฟฟ้า IPP SPP และ VSPP รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วย

การลงทุนและการแบ่งรับภาระความเสี่ยงระหว่างรัฐกับเอกชนร่วมกันในรูปแบบ PPP น่าจะเป็นทางออกสำคัญ IPP และ SPP เป็นโมเดลความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับเอกชนที่ประสบความสําเร็จมาแล้วในภาคพลังงาน มีความเป็นไปได้ที่จะขยาย PPP ในโครงการลดคาร์บอนในสาขาอื่นๆ ด้วย

ตลาดการเงินและสถาบันการเงินระหว่างประเทศมีเครื่องมือทางการเงินมากมายที่สามารถเสริมทรัพยากรในประเทศได้ รัฐบาลประเทศร่ำรวยประกาศใน COP 28 สนับสนุนงบประมาณแก่ประเทศกำลังพัฒนา 100,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มีบริการพิเศษที่จะช่วยส่งเสริมการลงทุนในโครงการลดคาร์บอนในประเทศกำลังพัฒนา

ประการสุดท้าย ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่โลกสีเขียว ย่อมมีกลุ่มเปราะบางที่อาจไม่สามารถรับมือกับผลกระทบได้ จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะนำรายได้ที่จัดเก็บได้เพิ่มเติมจากภาษีคาร์บอนไปช่วยเป็นมาตรการรองรับทางสังคมแก่กลุ่มคนเหล่านี้

‘ดร.เสรี’ ชี้ ‘ไทย’ สิ้นสุดความร้อนแรงแล้ว  เตรียมรับฝน ตั้งแต่วันนี้!! อุณหภูมิลดลงทุกพื้นที่

(6 พ.ค.67) รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ประธานกรรมการบริหาร Futuretales LAB, MQDC และผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ออกมาไขคำตอบ ผ่านโพสต์บนเพจ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ เรื่อง ‘Climate promise 2025 สัญญาสภาพภูมิอากาศ 2568’ อาจจะทำให้คนไทยเจ็บตัวบ้างไม่มากก็น้อย ทางออกของโลก และหนึ่งเดียวของไทยคืออะไร ?

ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 67 เราจะสิ้นสุดความร้อนแรงทั่วประเทศแล้ว โดยสัปดาห์นี้ พื้นที่ที่มีโอกาส 50-80% ยังคงมีอุณหภูมิสูง > 40°C จะเป็นพื้นที่ในภาคกลาง ได้แก่ จ.สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐมชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง นครสววรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร และสุโขทัย ส่วนพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี จ. นครราชสีมา บุรีรัมย์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และสระแก้ว แต่ตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม อุณหภูมิจะลดลงตามลำดับ (ยังคงร้อนอยู่นะครับ) ในบางพื้นที่เริ่มมีฝนตกประมาณ 10-20 mm ต่อวันให้ได้รับความชุ่มชื้นบ้างโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ พอผ่อนคลายความร้อนได้มากน่ะครับ

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้รับเชิญไปพูด แลกเปลี่ยนเรียนรู้หลายเวทีเช่น สถานทูตเนเธอร์แลนด์ (Amphibious transformation by design) การไฟฟ้านครหลวง (โลกเดือด) สำนักข่าวกรอง (การจัดการภัยพิบัติจาก Climate change) เพื่อชี้ให้ทุกหน่วยได้ตระหนักว่า เรากำลังเผชิญกับวิกฤติสภาพอากาศรุนแรงทั่วโลก คนไทยทั่วทุกภูมิภาคเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นอกเหนือจากผลกระทบต่อสุขภาพ ผลผลิตภาคเกษตรเสียหายรุนแรง โดย GDP ภาคการเกษตรสาขาพืช -6.4% (ทุเรียนสุกเร็วไม่หวานเสียหาย 30-40% มะพร้าวไม่ติดลูกเสียหาย 90% องุ่นให้ผล และน้ำน้อยเสียหาย 70% เป็นต้น) โลกจะไปอย่างไรต่อ ? คนไทยจะอยู่กันอย่างไร ? ภาคธุรกิจจะปรับตัวอย่างไร ? ภาครัฐจะมียุทธศาสตร์อะไร ?

ล่าสุด UNDP ได้ออกแคมเปญ ‘Climate promise 2025 สัญญาสภาพภูมิอากาศ 2568’ Dr. Cassie Flynn ผู้อำนวยการด้าน Climate change, UNDP ได้กล่าวเมื่อวันที่ 23 เมษายน ที่ผ่านมาว่า โลกยังมีความหวัง โดยทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง (Ambition, Acceleration และ Inclusivity) ผมฟังดูแล้วรู้สึกเหนื่อย และเป็นกังวลในฐานะคณะทำงาน IPCC ว่าเราจะเดินไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร ? ในขณะที่ประเทศร่ำรวย 10 % มีส่วนสำคัญในการปล่อย GHG 60 % แต่ประเทศกำลังพัฒนากว่า 60% มีสัดส่วนการปลดปล่อยไม่ถึง 10%

ภายใต้แรงกดดันของสังคมโลก สงครามการค้า (Below 1.5°C by 2025) ภาครัฐ ภาคเอกชน และคนไทยต้องเจ็บตัวกันไม่มากก็น้อยน่ะครับ กลุ่มเปราะบางจะเปราะบางมากขึ้น ค่าครองชีพจะเพิ่มขึ้น จากค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้น จากราคาอาหาร และวัตถุดิบต่างๆ ในขณะที่รายได้ไม่ได้เพิ่มขึ้น รัฐบาลจำเป็นต้องปรับแผนยุทธศาสตร์ สร้างความได้เปรียบบนฐานทรัพยากรที่มีอยู่ เปลี่ยนวิกฤติทั่วโลกให้เป็นโอกาส “ครัวของโลก” เปลี่ยนผ่านประเทศด้วยนวัตกรรมการปรับตัวภาคเกษตรกรรม 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top