Wednesday, 15 May 2024
สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา

ต้านสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา อ้างลดทอนคุณค่าโบราณสถาน แม้สร้างห่างพื้นที่ร่วม 1.5 กิโลเมตร แต่ก็ไม่วายโดนดรามา

(5 ก.ย.66) เฟซบุ๊ก 'Ringsideการเมือง' ได้โพสต์ข้อความกรณี นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ สส. อยุธยา เขต 1 พรรคก้าวไกล เตรียมเสนอตั้ง กมธ.วิสามัญศึกษาผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรมต่อแหล่งมรดกโลกเมืองเก่าอโยธยาจากโครงการรถไฟความเร็วสูง สถานีอยุธยา ว่า...

ความพยายามที่เกิดขึ้น มีการมองว่า จะยิ่งทำให้โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเสร็จช้าขึ้นไปอีก

สำหรับโครงการนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 

ช่วงที่กำลังถกเถียงกันอยู่คือ ช่วงเส้นทาง 13.3 กิโลเมตร จากสถานีบ้านโพมาถึงสถานีพระแก้ว

โดยฝ่ายที่กังวลเรื่องการก่อสร้าง มองว่าที่ตั้งของสถานี อาจไปกระทบกับวิวทิวทัศน์ลดทอนคุณค่าของโบราณสถาน 

เรื่องนี้ มีทั้งคนเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ซึ่งฝ่ายหลังมองว่า อยากให้จังหวัดท่องเที่ยวแห่งนี้ มีรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อพัฒนาศักยภาพของจังหวัด แต่ฝ่ายแรกมองว่า สถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง อาจทำลายคุณค่าทางวัฒนธรรม

ข้อเท็จจริงจากฝ่ายการรถไฟแห่งประเทศไทย คือ...

ทางหน่วยงาน ได้ทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งมีการศึกษาในด้านการศึกษาผลกระทบต่อโบราณสถาน พร้อมกำหนดมาตรการลดผลกระทบ ซึ่งได้รับการอนุมัติไปแล้วตั้งแต่ปี 2562 

และปัจจุบันยังได้ทำการศึกษาการประเมินผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (HIA) ของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ผ่านทางที่ปรึกษาจากทางมหาวิทยาลัยศิลปากร

ซึ่งประเมินผลกระทบที่มีต่อแหล่งมรดกโลก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านทัศนียภาพ ด้านกายภาพ และด้านสังคมและเศรษฐกิจ

ที่น่าสนใจคือ...

ในการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา พื้นที่ก่อสร้างสถานีได้ตั้งอยู่ในเขตทางรถไฟเดิม 

ซึ่งมีระยะห่างจากพื้นที่แหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มากถึง 1.5 กิโลเมตร

จุดนี้การรถไฟฯ เชื่อว่า การก่อสร้างจะไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อโบราณสถานหรือทัศนียภาพในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์อย่างแน่นอน

สรุป...

สถานีรถไฟความเร็วสูงที่ดรามา ก็สร้างในเขตรถไฟเดิม ห่างจากแหล่งมรดก 1 กม. ครึ่ง

แล้วมันมีปัญหาตรงไหน ??? นี่คือคำถามคาใจของฝ่ายที่เชียร์ให้เดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง

การรถไฟแห่งประเทศไทย โดย นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ ให้ความเห็นว่า...

"การก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงในพื้นที่เขตทางรถไฟเดิม ถือเป็นข้อดีที่ช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวให้กับพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา และพื้นที่โดยรอบอย่างยั่งยืน สามารถอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยว การกระจายความเจริญ สร้างงานสร้างรายได้แก่คนในชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง ตลอดจนยังช่วยเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 

"ด้วยการลดการเดินทางรถยนต์ และปรับโหมดการเดินทางไปสู่ระบบรางมากขึ้น ซึ่งการพัฒนาและการอนุรักษ์ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาประเทศให้รุ่งเรืองและคงไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมอันดีของไทย 

"ทั้งสองสิ่งสามารถดำเนินการควบคู่กันได้ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของประชาชนชาวไทย และทุกภาคส่วน เพื่อสร้างประเทศไทยให้มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนต่อไป"

'สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา' สร้างประโยชน์อะไร ให้ชาวอยุธยาได้บ้าง

ชวนส่อง!! ประโยชน์ 3 ด้าน จาก ‘สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา’ 🚅💨 ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้พี่น้องชาวอยุธยาได้อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย!! 🇹🇭✨💵


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top