Sunday, 19 May 2024
สถานีกลางบางซื่อ

พระราชทานชื่อ รถไฟสีแดง-สถานีกลางบางซื่อ ‘นครวิถี-ธานีรัถยา’ และ ‘สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์’

พระราชทานชื่อรถไฟชานเมืองสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) "นครวิถี" สีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) “ธานีรัถยา” หมายถึง เส้นทางของเมือง สถานีกลางบางซื่อ “สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์” หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองยิ่งแห่งกรุงเทพมหานคร เผย (8 ก.ย. 65) ผู้โดยสารทำนิวไฮ 2.2 หมื่นคน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า จากที่กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ขอพระราชทานชื่อเส้นทางรถไฟ โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) และสถานีกลางบางซื่อ โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) มีหนังสือที่ นร 0508/ท 4784 ลว. 2 กันยายน 2565 แจ้งกระทรวงคมนาคมทราบว่า สลค.ได้ขอให้ราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทต่อไปแล้ว และได้รับแจ้งจากสำนักพระราชวังว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อเส้นทางรถไฟฯ และสถานีกลางบางซื่อ ดังนี้

1. พระราชทานชื่อเส้นทางรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ระยะที่ 1 ว่า "นครวิถี" อ่านว่า “นะ-คอน-วิ-ถี” (Nakhon Withi) หมายถึง เส้นทางของเมือง

2. พระราชทานชื่อเส้นทางรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) ระยะที่ 1 “ธานีรัถยา” อ่านว่า “ทา-นี-รัด-ถะ-ยา” (Thani Ratthaya) หมายถึง เส้นทางของเมือง

3. พระราชทานชื่อสถานีกลางบางซื่อว่า “สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์” อ่านว่า “สะ-ถา-นี-กลาง-กรุง-เทบ-อะ-พิ-วัด” (Krung Thep Aphiwat Central Terminal) หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองยิ่งแห่งกรุงเทพมหานคร

สำหรับโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ระยะทาง 15 กิโลเมตร จำนวน 3 สถานี ใช้เวลาเดินทาง 15 นาที โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) ระยะทาง 26 กิโลเมตร จำนวน 10 สถานี ใช้เวลาเดินทาง 25 นาที

เริ่มแล้ว!! รฟท.เปิดขายตั๋วรถไฟทางไกล ย้ายบริการจากหัวลำโพง สู่ 'สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์'

รฟท.ดีเดย์ (1 พ.ย. 65) เปิดบริการจำหน่ายตั๋วรถไฟที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เตรียมการย้ายขบวนรถทางไกล รถด่วน รถเร็วทุกสาย ยกเว้นสายตะวันออก จาก ‘หัวลำโพง’ ไปสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ย้ำมีความพร้อมเดินทางสะดวก เชื่อมสายสีแดง และ MRT สีน้ำเงิน

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ตามที่การรถไฟฯ ได้จัดทำแผนการเปิดใช้ ‘สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์’ ซึ่งจะปรับเปลี่ยนสถานีต้นทางปลายทางของรถไฟทางไกล กลุ่มขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน และรถเร็วทุกสาย (ยกเว้นสายตะวันออก) จากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

โดยจะเปิดให้บริการจำหน่ายตั๋วโดยสารรถไฟที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการปรับสถานีต้นทางปลายทางรถไฟทางไกลของรถไฟทางไกล อำนวยความสะดวก และเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้ใช้บริการ พร้อมเปิดให้บริการในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565

สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์มีเคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วโดยสารของระบบรถไฟทางไกลอยู่ในบริเวณชั้น 1 ฝั่งทางด้านทิศเหนือ ที่ให้บริการขบวนรถไฟทางไกล (ฝั่ง LD) และฝั่งทางด้านทิศใต้ อยู่ระหว่างระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้า MRT (ฝั่ง CT)

ในเบื้องต้นจะเปิดให้บริการจำหน่ายตั๋วรถไฟทางไกล บริเวณด้าน CT ก่อน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นจุดเชื่อมต่อกับผู้โดยสารที่เดินทางด้วยระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารที่มีความประสงค์ซื้อและจองตั๋วโดยสารขบวนรถไฟทางไกล สามารถซื้อตั๋วโดยสารได้ทุกขบวน ทั้งตั๋วประจำวัน ตั๋วล่วงหน้า และตั๋วขบวนรถนำเที่ยวของการรถไฟฯ

เปิดให้ ‘สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์’ รองรับรถไฟทางไกล รวม สายเหนือ-อีสาน-ใต้ 52 ขบวน เริ่ม 19 ม.ค. 66

ยืนยันแล้ว!!! 19 มกราคม 2566 นี้ เตรียมเปิดให้บริการสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ( #สถานีกลางบางซื่อ ) รองรับรถไฟทางไกล เหนือ-อีสาน-ใต้ 52 ขบวน

โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure ได้โพสข้อความว่า ข่าวล่ามาแรง จากการรถไฟ ซึ่งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) ได้มีมติให้ เปิดให้บริการขบวนรถไฟทางไกลจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2566 เป็นต้นไป 

โดยจะมีการจัดเดินรถไฟขบวนปฐมฤกษ์ จาก สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ - สถานีอยุธยา ด้วยขบวนรถไฟดีเซลราง KIHA

โดยรถไฟทางไกลที่จะเริ่มให้บริการในวันที่ 19 มกราคม 2566 จะมีทั้งหมด 52 ขบวนทั้ง 3 เส้นทาง ได้แก่

- สายเหนือมี 18 ขบวน ได้แก่
3 4 7 8 9 10 13 14 51 52 109 102 105 106
107 108 111 และ 112

รถไฟทางไกลสายใต้ มี 24 ขบวน ได้แก่
31 32 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46
83 84 85 86 167 168 169 170 171 172
173 และ 174

รถไฟทางไกลสายอีสาน มี 24 ขบวน ได้แก่
21 22 23 24 25 26 67 68 71 72 75 76
77 78 133 134 135 136 139 140
141 142 145 และ 146 

โซเชียลไม่ติดใจป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อ 33 ล้าน แต่ทำไมถึงได้มาเปลี่ยนชื่อสถานีทีหลัง

(4 ม.ค. 66) เพจ 'LivingPop' ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ 'เรื่องป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อ ราคา 33 ล้าน' ความว่า...

ส่วนตัวผมไม่ค่อยติดใจเรื่องราคาป้าย เพราะป้ายเป็นป้ายไฟขนาดใหญ่มหึมามาก ตัวอักษรไทยสูง 3 เมตร ตัวอักษรอังกฤษสูง 2 เมตรกว่า ความยาวรวมเกือบ 50 เมตร แถมยังมี Logo การรถไฟขนาดสูง 7 เมตรอีก ซึ่งโลโก้การรถไฟก็เป็นแบบโบราณที่รายละเอียดค่อนข้างเยอะ

ผมมองว่ามีทั้งค่าเนื้องานป้ายทั้ง 2 ฝั่ง ค่ารื้อถอนของเดิมแบบไม่ทำลาย (รื้อแล้วคืนเจ้าของ) ค่าขนส่ง ค่าติดตั้ง ค่ารับประกันงาน ค่าความเสี่ยงการทำงานกับราชการอีก 33 ล้านก็ค่อนข้างสมเหตุสมผล แต่ด้วยความที่การจัดซื้อจัดจ้างเป็นแบบที่มีการล็อกผู้รับเหมา ก็ทำให้เรื่องนี้มีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

❌ แต่! สำหรับผมและทีม LivingPop คิดว่าคำถามของเรื่องนี้อยู่ที่...
"ทำไมถึงได้มาเปลี่ยนชื่อสถานีทีหลัง" ❌ 

ในเมื่อสถานีก็สร้างของมันมาตั้งเกือบ 10 ปีแล้ว ที่สำคัญช่วงที่ติดตั้งป้ายชื่อก็เป็นช่วงรัฐบาลนี้เอง ถ้าคิดว่าจะขอพระราชทานชื่อ แล้วจะทำป้ายชื่อที่ยังไงมันก็จะโดนเปลี่ยนแน่ๆ ออกมาทำไม?

แล้วไม่ใช่แค่ป้าย 33 ล้านอันนี้ด้วย นี่เป็นแค่จุดนึงที่เห็นเด่นชัดเท่านั้น แต่การเปลี่ยนชื่อสถานีในวันที่สร้างเสร็จแล้ว มันกระทบไปถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่เขามาเกี่ยวข้องเชื่อมโยงด้วย ที่ต้องมาไล่เปลี่ยนชื่อเปลี่ยนป้ายตามทั้งหมด

เปิดรายละเอียดป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อ 33 ล้าน พบ!! ขอบเขตของงานมากกว่าแค่การเปลี่ยนป้าย

ผู้ใช้เฟซบุ๊ก 'Pat Sangtum' ได้โพสต์ข้อความอธิบายรายละเอียดราคาป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อ 33 ล้านบาทที่เป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ ว่า...

อ่านดูก่อน - มันไม่ใช่การถอดตัวอักษรเก่าแล้ว เอาตัวใหม่ไปแปะ มันคือการรื้อวัสดุกระจกทั้งหมดเพราะเป็นกระจกหล่อพิเศษ ที่ตอนหล่อจะต้องทำรูเจาะ ตามตำแหน่งการติดตั้งตัวอักษร ไม่ใช่เอาสว่านเจาะ เหมือนข้างฝาไม้เชอร่าที่หอพัก ตัวอักษรขนาดใหญ่ยักษ์ สูง 3 เมตร หนา 40 ซม. ความยาวป้ายรวม 60 เมตร ป้ายนี้ไม่ได้ทำด้วยพลาสติกแบบป้ายหน้าร้านข้าวมันไก่ และป้ายชื่อใหม่ ต้องเปลี่ยนทั้งสองด้านของสถานี เท่ากับ 33 ล้าน หาร 2 ต่อป้าย หรือ 16.5 ล้าน ทำงาน 5 เดือน รับประกัน 12 เดือน

การถอดป้ายเก่า การรื้อถอนผนังกระจกเดิม และการติดตั้ง เป็นการทำงานที่ตำแหน่งสูงเท่าตึก 9 ชั้น การทำงาน ระยะ 5 เดือน ให้การรับประกัน 12 เดือน ฯลฯ

ถ้าไม่เข้าใจเรื่องการ custom design, manufacturing technology และ เทคนิคการติดต้้ง ก็คงคิดว่าใช้งบ แบบป้ายหน้าคอนโด

อย่าทำตัวเป็น เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเงินแผ่นดินทิพย์ อ่านให้เข้าใจ และค้นคว้าราคาวัสดุ ค่าชิ้นงานที่เป็นลักษณะพิเศษ และการลงทุนในการด้านเนินการด้านวิศวกรรม เช่นการสร้างกระเช้าสลิง ในการปฎิบัติงาน

ขอบเขตของงานที่หลากหลาย ไม่ได้มีเพียงแค่การเปลี่ยนป้ายชื่อเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจัดทำระบบไฟ งานรื้อถอน ที่มีความละเอียดอ่อนและต้องปรับปรุงอย่างระมัดระวัง รวมถึงมีการรับประกันความชำรุดบกพร่อง เพื่อให้โครงการเกิดความรอบคอบ เสร็จสิ้นเรียบร้อยตามกำหนด ซึ่งมีขอบเขตงานทั้งหมด ประกอบด้วย...

'ก้าวไกล' ชี้ ราคาป้ายสถานีกลางบางซื่อ 33 ล้านแค่เรื่องรอง แต่มีความจำเป็นอะไรถึงต้องเปลี่ยนป้ายให้สับสน

'สุรเชษฐ์’ แนะใช้ทั้ง 2 ชื่อสถานีกลางบางซื่อ ชื่อใหม่ใช้ในเอกสารราชการ ไม่ต้องเสียเงินเปลี่ยนป้ายให้คนงง ฝากประชาชนจับตาคมนาคม ใกล้เลือกตั้งขยันผิดปกติ ดันเมกะโปรเจกต์หลายแสนล้านผ่าน ครม. ทั้งที่งานเก่ายังไม่เสร็จ แต่โฆษณาเอาหน้าไปเรื่อย ๆ

(4 ม.ค. 66) สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์เรื่องความเหมาะสมของการเปลี่ยนป้ายสถานีกลางบางซื่อ วงเงิน 33 ล้านบาท ระบุว่ามอบหมายให้ปลัดกระทรวงคมนาคมตรวจสอบแล้ว และเรื่องนี้มีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบด้วย จึงไม่ต้องกังวลว่า ตนขอโต้แย้งสิ่งที่รัฐมนตรีคมนาคมตอบ ประเด็นแรก ป้าย 33 ล้านบาท จะราคาแพงเกินไปหรือไม่ ไม่ใช่สิ่งที่สังคมสงสัยเพียงอย่างเดียว สิ่งที่สังคมสงสัยมากกว่าคือ มีความจำเป็นอะไรถึงต้องเปลี่ยนป้ายจริงๆ เพราะโดยหลักการตั้งชื่อของสถานีขนส่ง ควรเป็นชื่อที่คนจำง่ายและทำให้รู้ว่าตำแหน่งของสถานีอยู่ตรงไหน เช่น สถานีรถไฟชินจูกุ (Shinjuku) ที่ตั้งอยู่ที่แขวงชินจูกุของกรุงโตเกียว สถานีกลางบางซื่อก็ตั้งอยู่ในเขตบางซื่อ กทม. ประชาชนคนต่างจังหวัด คนต่างชาติได้ยินชื่อก็นึกออกว่าต้องไปที่ไหน

‘ศักดิ์สยาม’ ลงนามตั้ง 10 คณะกรรมการ สอบปมเปลี่ยนป้ายชื่อ ‘สถานีกลางบางซื่อ’

(5 ม.ค. 65) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อ 4 ม.ค.ที่ผ่านมา นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ลงนามในคำสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงการก่อสร้างในโครงการปรับปรุงป้ายชื่อ ‘สถานีกลางบางซื่อ’ เป็น ‘สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์’ และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แล้ว

โดยประกาศเนื้อหาระบุว่า ตามที่ปรากฏข้อมูลทางโซเชียลมีเดีย (Social Media) และ เว็บไซต์ข่าว เกี่ยวกับการลงนามในสัญญาจ้างการก่อสร้างโครงการปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่มีมูลค่าสูงถึง 33 ล้านบาทเศษ (วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจำนวน 34 ล้านบาท) มีราคากลางคำนวณ ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2566 จำนวน 33,169,726.39 บาท โดยใช้วิธีการจัดซื้อหรือจ้างแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งผู้ที่ได้รับ การคัดเลือกและราคาที่ตกลงซื้อหรือจ้าง ได้แก่ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ

เป็นเหตุให้มีการตั้งข้อสังเกตถึงความเหมาะสมในการใช้งบประมาณ รวมถึงนายสราวุธ สราญวงศ์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ยื่นหนังสือเพื่อขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ตรวจสอบเรื่องดังกล่าว เนื่องจากไม่ใช่เหตุของความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการโดยใช้วิธีการว่าจ้างเอกชนด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง ซึ่งจะทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทยสูญเสียงบประมาณในการว่าจ้างปรับปรุงป้ายชื่อที่มีมูลค่าสูงเกินกว่าปกติ

ทั้งนี้ หากดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยวิธีการประกาศเชิญชวนหรือวิธีการคัดเลือกก่อนจะทำให้การใช้งบประมาณของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นไปอย่างเหมาะสมเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงการดังกล่าวว่า ได้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างไร และการใช้งบประมาณเหมาะสมกับปริมาณงาน และราคากลางของกรมบัญชีกลางหรือไม่ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมตามหลักธรรมาภิบาลและรักษาผลประโยชน์ของชาติ จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 แต่งตั้ง คณะกรรมการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงการก่อสร้างในโครงการปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้

ไขความจริง!! ปมจัดจ้างเปลี่ยนป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อ เดินงานตามระบบ ผสานทริกตัดจบข้อพิพาทเพื่อให้งานวิ่ง

เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ใช้ tiktok นามว่า 'Phongthon ( ปป )' พูดถึงเรื่องของการเปลี่ยนป้ายชื่อ ‘สถานีกลางบางซื่อ’ มาเป็นชื่อ ‘สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์’ ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ หลายคนอาจจะมีความสงสัย ว่าเหตุใดต้องเปลี่ยน และถึงจะเป็นเรื่องปกติที่ต้องเปลี่ยน จะมีการล็อกสเปคการจัดจ้างงานหรือไม่? อย่างไร? โดยระบุว่า…

อันที่จริง ถ้าโฟกัสในส่วนเรื่องป้ายที่เป็นข่าวออกมาฮือฮากันก่อนหน้านี้ จะพยายามโยงไปถึงการเลือกผู้ดำเนินงานว่าใช้วิธีใด โปร่งใสหรือไม่นั้น ก็ต้องบอกว่าโปร่งใส ชัดเจน โดยในกรณีนี้ จะเรียกระบบดังกล่าวว่า ‘การจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ’ คือ 'ไม่ได้ประมูล' 

หลักการของ การจัดจ้างแบบไม่ได้ประมูลนั้น หมายความว่า ผู้ได้รับการจัดจ้างพิเศษ จะต้องมี 'ความชำนาญเป็นพิเศษ' อยู่แล้ว และมีความ 'เร่งด่วน' เป็นพิเศษของโครงการนั้น ๆ ซึ่งในกรณีโครงการจัดทำป้ายชื่อสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นไปตามระเบียบของกรมบัญชีกลาง และมีความเร่งด่วน จึงต้องมีการรีบดำเนินการให้เสร็จโดยเร็วที่สุด

เตรียมอำลา ‘สถานีกรุงเทพ’ ต้นสายการเดินทาง สู่ ‘สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์’ ศูนย์กลางใหม่รถไฟไทย

เมื่อวานนี้ (9 ม.ค. 66) เพจ ‘โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure รู้สึกได้รับพรที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง (Bangkok Railway Station)’ ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการอำลาสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เพื่อเปลี่ยนไปใช้สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ศูนย์กลางใหม่ของรถไฟไทย โดยระบุว่า…

อีก 10 วัน!!! เตรียมอำลาสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) สู่สถานีรอง มุ่งสู่ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ศูนย์กลางใหม่ของรถไฟไทย!!!

วันนี้ผมมาเก็บภาพสถานีกรุงเทพ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า หัวลำโพง ก่อนที่จะถูกย้ายต้นทางหลักของการรถไฟไปสู่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) ในวันที่ 19 มกราคม 66 นี้ ซึ่งเหลืออีกแค่ 10 วันเท่านั้น!!!!

รายละเอียดการย้ายศูนย์กลางระบบรางสู่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ตามลิงก์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1584694601969013/?mibextid=cr9u03

บรรยากาศสถานีหัวลำโพงที่เราคุ้นเคย ก็ยังคึกคักอยู่เหมือนเดิม พร้อมกับผู้โดยสารที่รอเดินทางอยู่หลายร้อยคน บริเวณโถงสถานีรถไฟหัวลําโพง

ระงับเปลี่ยนป้ายสถานี ‘บางซื่อ’ 33 ล้านบาท หลังผู้ว่าฯ รฟท.ทำหนังสือแจ้ง ‘ยูนิคฯ’

รฟท.สั่งด่วน! ระงับโครงการรื้อย้ายเปลี่ยนป้ายสถานีจาก ‘บางซื่อ’ เป็น ‘กรุงเทพอภิวัฒน์’ งบประมาณ 33 ล้านบาท หลังผู้ว่าฯ รฟท.ทำหนังสือถึง ‘ยูนิคฯ’ เมื่อ 9 ม.ค. 66

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แจ้งว่า วันที่ 9 ม.ค. 2566 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ รฟท. ได้ทำหนังสือถึงกรรมการผู้จัดการ บริษัทยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) แจ้งขอให้ระงับการรื้อย้าย จัดหา และติดตั้งงานก่อสร้างปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อ กรุงเทพอภิวัฒน์ และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟฯ

โดยในหนังสือระบุว่า ตามที่การรถไฟฯ ได้ลงนามสัญญาจ้างผู้รับจ้าง บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) โครงการปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางชื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ต่อมาการรถไฟฯ ได้มีหนังสือแจ้งวันส่งมอบสถานที่ ก่อสร้างและแจ้งให้เริ่มงานในวันที่ 3 มกราคม 2566 นั้น การรถไฟฯ มีความประสงค์ขอให้ระงับงานรื้อย้าย จัดหา และติดตั้ง งานก่อสร้างปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางชื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยไปก่อน

ทั้งนี้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจงในการตอบกระทู้สด เรื่อง กรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จ้างปรับปรุงป้ายสถานีกลางบางซื่อ มูลค่า 33.169 ล้านบาท ว่า กระทรวงคมนาคมได้ติดตามตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินโครงการ ปริมาณงานและข้อเท็จจริง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top