Saturday, 27 April 2024
สถานศึกษา

รมว.สุชาติ ส่ง เลขาฯ สักขีพยานลงนาม MOU เครือข่ายสถานประกอบการ - สถานศึกษา มุ่งพัฒนากำลังคนรองรับความต้องการของประเทศ

รมว.แรงงาน มอบ เลขาฯ สุเทพ เปิดงาน Techno Chon & Prabhassorn "Think Different" ชื่นชมสถานศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี โรงเรียนประภัสสรวิทยา จัดการศึกษาทศวรรษใหม่ ด้วยนวัตกรรมบริหารแนวใหม่ “Think Different” ได้อย่างมีคุณภาพ ก่อให้เกิดการพัฒนากำลังคนด้านวิชาชีพ มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.00 น.นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานพิธีเปิดงาน Techno Chon & Prabhassorn "Think Different" และร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความร่วมมือกับสถานประกอบการ 30 แห่ง พร้อมมอบโล่-เกียรติบัตรให้กับหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน และร่วมพัฒนาการจัดการเรียนการสอนกับทางวิทยาลัยฯ 19 แห่ง โดยมี ดร.อุไรวรรณ ตันประภัสร์ ประธานกรรมการบริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงานและกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนภาครัฐและเอกชน หัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานกระทรวงแรงงานจังหวัดชลบุรี ร่วมให้การต้อนรับ ณ หอประชุมลีลาวดี วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
    

นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ขอชื่นชมที่ผู้บริหารสถานศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี และโรงเรียนประภัสสรวิทยา ที่ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนาการจัดการศึกษาทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอาชีวศึกษา บนเส้นทางการจัดการศึกษาอันยาวนานของโรงเรียนประภัสสรวิทยากว่า 54 ปี และ 38 ปี ของวิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี ซึ่งได้เห็นการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความมุ่งมั่นในการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับการเตรียมคนสู่ศตวรรษที่ 21 และ “การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดการศึกษาในจังหวัดชลบุรี นับว่ามีความสำคัญอย่างมาก เพราะอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่มีการลงทุนในด้านอุตสาหกรรม ทั้งหน่วยงานภายในประเทศและจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก การเตรียมความพร้อมด้านกำลังคนจึงนับเป็นปัจจัยสำคัญ สถานศึกษาทุกระดับจึงเป็นหน่วยงานที่สำคัญต่อการผลิตและพัฒนากำลังคน ในฐานะที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับ กระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่พัฒนาและส่งเสริมแรงงานให้มีศักยภาพสูง รวมถึงประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในการผลิตกำลังคนให้สอดคล้องทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ เพื่อรองรับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมสมัยใหม่ การดำเนินงานของโรงเรียนประภัสสรวิทยา และวิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี ได้สะท้อนให้เห็นถึงการเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษาที่จะผลิตนักเรียน นักศึกษา ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึง อาชีวศึกษาที่มีความเชื่อมโยงกัน รวมถึงการที่วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี ได้มีการประสานความร่วมมือและพัฒนาเครือข่ายกับสถานประกอบการ สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันพัฒนาการจัดการศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมด้านกำลังคนสู่ภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรม โดยการลงนามความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการศึกษาในระบบทวิภาคี เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ได้เรียนไปด้วย ทำงานไปด้วย สามารถมีรายได้ระหว่างเรียน ซึ่งสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงานกับกระทรวงศึกษาธิการในการส่งเสริมการศึกษาและการมีงานทำของนักเรียนนักศึกษาและแรงงานทุกระดับ นอกจากนี้ สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการให้นักเรียนนักศึกษาฝึกงานในสถานประกอบการในระบบทวิภาคี สามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 100 ของค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการฝึกอบรม 10 รายการ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์ของสถานประกอบการจากการฝึกอบรมกรณีรับนักเรียนนักศึกษาฝึกเตรียมเข้าทำงานตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 

พม. จับมือเพจ Because We Care ผนึกกำลังสถานศึกษา หนุน “รัก…ในวัยเรียน” รณรงค์ยุติความรุนแรงทุกมิติ ไม่บูลลี่ (Bully)

วันนี้ (26 พ.ค. 66) เวลา 13.00 น. นายธนสุนทร  สว่างสาลี รองปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รองปลัด พม.) เป็นประธานเปิดกิจกรรมโครงการ “รัก...ในวัยเรียน” จัดโดย เพจ Because We Care ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวง พม. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อสร้างความตระหนักถึงการยุติการกระทำความรุนแรงในทุกรูปแบบ รวมถึงการบูลลี่ (Bully) ให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชน อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นสร้างการมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อการสร้างสรรค์สังคมน่าอยู่และมีความสุขสำหรับทุกคน โดยมี พ.ต.อ.หญิง ศิริกุล ศรีสง่า พยาบาล (สบ 5) โรงพยาบาลตำรวจ ในฐานะที่ปรึกษาปลัด พม. กล่าวแนะนำกิจกรรมโครงการ “รัก...ในวัยเรียน” โดยมี นางอภิญญา ชมภูมาศ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน ว่าที่ร้อยตรี สุริยัน จันทรา ผู้อำนวยการโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ  คุณชลทิชา สัตยมานะ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) และศูนย์เยี่ยมบ้านโรงพยาบาลตำรวจ เข้าร่วม ทั้งนี้ มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจ โดยสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ได้แก่ กิจกรรม “เสริมสร้างความรู้ด้านกฎหมาย (Cyber Bullying)” กิจกรรม “เพศกับวัยรุ่น” กิจกรรมร้องเพลง “อยากจะฟัง” และกิจกรรมสันทนาการสานสัมพันธ์ อีกทั้งการจัดนิทรรศการโครงการ “รัก...ในวัยเรียน” การเฝ้าระวังปัญหาสังคม และการแจ้งเหตุให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมทุกรูปแบบ โดยศูนย์ช่วยเหลือสังคม กระทรวง พม. ณ โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ กรุงเทพฯ

นายธนสุนทร กล่าวว่า สืบเนื่องจากกระแสสังคมไทยในปัจจุบัน มีการเกิดเหตุการกระทำความรุนแรง ซึ่งเป็นการทำร้ายทั้งทางร่างกายและทางจิตใจต่อผู้อื่น โดยผู้ถูกกระทำส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กและเยาวชน อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ รวมถึงกลุ่มสตรีและผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ซึ่งการกระทำความรุนแรงต่อผู้อื่นทั้งที่เป็นการจงใจใช้กำลังหรืออำนาจทางกาย ข่มขู่ คุกคาม ทำร้ายผู้อื่น ทำให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตเท่านั้น ในขณะที่การใช้คำพูดที่เป็นการล้อเลียน ดูหมิ่น และเหยียดหยามผู้อื่น ถือว่าเป็นอีกหนึ่งการกระทำที่ทำร้ายสภาพจิตใจของผู้อื่น หรือที่เรียกว่า "การบูลลี่ (Bully)" ทั้งนี้ เพจ Because We Care ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว พร้อมทั้งมีความมุ่งมั่นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการยุติและรณรงค์ในการลดปัญหาความรุนแรงในทุกรูปแบบต่อเด็กและเยาวชน รวมถึงกลุ่มสตรีและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม 

นายธนสุนทร กล่าวเพิ่มเติมว่า เราในฐานะอนาคตของชาติ ต้องรวมพลังกันยุติการกระทำความรุนแรงในทุกรูปแบบ รวมทั้งการบูลลี่(Bully) โดยลำดับแรก เราควรต้องเริ่มต้นจากตัวเราก่อน ต้องรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่นและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น เพราะทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน ไม่มีใครเข้มแข็งหรืออ่อนแอกว่าใคร และความรักไม่จำเป็นต้องทำร้ายผู้อื่น เมื่อพบเห็นเหตุการณ์ความรุนแรง เด็กและเยาวชนอยู่ในสภาวะความเสี่ยงที่จะถูกกระทำความรุนแรง เราไม่ควรเพิกเฉย หรือมองว่าเป็นเรื่องของคนอื่น  ควรเข้าไปช่วยเหลือหรือแจ้งตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที โดยเฉพาะ 1) ศูนย์ช่วยเหลือสังคม โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ 2) สายด่วน พม. โทร. 1300 บริการฟรี 24 ชั่วโมง  และ 3) ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินทางสังคม "ESS Help Me" ปักหมุด หยุดเหตุ ใน LINE OA บนมือถือ

พ.ต.อ.หญิง ศิริกุล กล่าวเพิ่มเติมว่า เพจ Because We Care ได้ตระหนักถึงปัญหาการกระทำความรุนแรงในทุกรูปแบบ รวมถึงการบูลลี่ (Bully) ที่ส่งผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน จากการนำเสนอข่าวผ่านสื่อต่างๆ  โดยกลุ่มเด็กและเยาวชน นับเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือในการทำงานร่วมกันของหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม รวมทั้งประชาชน ทั้งนี้ จึงมีการประสานความร่วมมือเป็น "พลังทางสังคม" ด้วยการดำเนินโครงการ "รัก...ในวัยเรียน" เพื่อปลูกจิตสำนึกและลดการกระทำความรุนแรงทุกมิติในวัยเรียน และเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและการรับรู้ในการป้องกันและยุติการกระทำความรุนแรงอย่างเข้มแข็งต่อกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งวันนี้ นับเป็นการจัดกิจกรรมโครงการ "รัก...ในวัยเรียน" ครั้งที่ 2 และครั้งต่อไป จะมีการจัดกิจกรรมฯ ในวันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม 2566 ณ โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระราชูปถัมภ์ฯ กรุงเทพฯ


#ช่วย24ชั่วโมง #พม24ชม #ข่าวพม

‘รศ.อัศวิณีย์’ หวั่น สถานศึกษากลายเป็นที่บ่มเพาะความแตกแยก สอนเรียกร้องประชาธิปไตยด้วยวิธีเผด็จการ อ้างสิทธิเพื่อละเมิดผู้อื่น

เมื่อวันที่ 2 มิ.ย 66 รศ.อัศวิณีย์ หวานจริง อดีตคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ ภาควิชาศิลปะไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว ชื่อ ‘Asawinee Wanjing’ ถึงเรื่องการให้ความสำคัญกับสถานศึกษา ก่อนจะกลายเป็นแหล่งบ่มเพราะเผด็จการในคราบนักประชาธิปไตย สร้างความแตกแยกให้ประเทศชาติบ้านเมือง โดยระบุว่า…

“วันใดที่การศึกษา เป็นเพียงสถานสร้างวิชา ละเลยคุณธรรม บ่มเพาะความก้าวร้าว พัฒนาการต่อต้าน สร้างความแตกแยก ชี้นำคำลวง ให้โกหกกลายเป็นถูก สอนเรียกร้องประชาธิปไตยด้วยวิธีเผด็จการ สนับสนุนใช้อำนาจกฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย ให้สิทธิเสรีภาพในการละเมิดผู้อื่น ใครใคร่ละเลยปล่อยเยาวชนตกเป็นเครื่องมือ บำเรอความใคร่อุดมการณ์ จินตนาตนเป็นนักสู้ ผู้สอนแอบหลังเด็กบังหน้า อ้างวิชาการ ไปปะทะและทำลาย ใครหมดความหมายย้ายคนใหม่ ทนอยู่ได้ อยู่รักษาตัวให้รอดเป็นยอดดี

ผู้บริหารปิดตา ไม่มอง ไม่รู้ ไม่ดู ไม่เห็น ไม่ฟัง ไม่ได้ยิน เพื่อไม่เดือดร้อน เพราะภาระงานมาก เร่งทำ Ranking หารายได้บริหารงบ ปล่อยแกนนำนักศึกษาจะนำไหนก็นำไป ขอให้จ่ายครบจบส่งออก คืนปัญหาสู่สังคม ไปกัดเซาะโครงสร้าง สถาบันแตกร้าว สุดท้ายพุพองในบ้าน ให้ครอบครัวคอยเยียวยา เมื่อนั้นคือ ความอัปยศทางการศึกษา เข้าสู่กลียุคอย่างแท้จริง

ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่จะให้ความสำคัญกับสถานศึกษา ก่อนจะกลายเป็นแหล่งบ่มเพราะสร้างปัญหา การละเลยเห็นประกายไฟเป็นเรื่องเล็กน้อยปล่อยให้ลุกลาม สุดท้ายก็จะไม่เหลืออะไรเลย

‘ลุงตู่’ ปลื้ม จุฬาฯ-มหิดล-มช.-มข.  ขึ้นท็อป 100 ด้านความยั่งยืนปี 2566

เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ยินดีที่ Times Higher Education (THE) ผู้จัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาที่ดีที่สุดโลกที่เป็นที่ยอมรับแห่งหนึ่ง ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) หรือ THE Impact Rankings ประจำปี 2566

โดยมีสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลก เข้าร่วมการจัดอันดับทั้งสิ้น 1,591 แห่ง จาก 112 ประเทศ และสถาบันอุดมศึกษาไทยเข้ารับการจัดอันดับทั้งสิ้น 65 แห่ง เพิ่มขึ้นจากเดิมในปี 2022 ที่มีจำนวน 52 แห่ง โดยสถาบันอุดมศึกษาไทยในปีนี้ที่ติดอันดับ Top 100 แบบคะแนนรวม มีจำนวน 4 สถาบัน เพิ่มจากปีที่แล้วที่ติดอันดับ Top 100 มีจำนวน 2 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดอันดับที่ 17 มหาวิทยาลัยมหิดล ติดอันดับที่ 38 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ติดอันดับที่ 74 และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ติดอันดับที่ 97 นอกจากนี้ ยังมีสถาบันอุดมศึกษาของไทย ที่ได้รับการจัดอันดับ Top 10 ของโลกในด้านต่าง ๆ อีก 6 ประเด็น ดังนี้ 

มหาวิทยาลัยมหิดล อันดับที่ 3 ใน SDG3 เรื่องสร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกวัย รวมทั้งอันดับ 5 ใน SDG7 เรื่องสร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเยาว์ และยังได้อันดับ 5 ใน SDG17 เรื่องเสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้อันดับที่ 4 ใน SDG1 เรื่องขจัดความยากจนทุกรูปแบบในทุกพื้นที่,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันดับที่ 7 ใน SDG5 เรื่องบรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ และเสริมอำนาจให้แก่สตรีและเด็กหญิง และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้อันดับที่ 9 ใน SDG2 เรื่องยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

“นายกฯ ยินดีและชื่นชมสถาบันอุดมศึกษาของไทย ที่มีความโดดเด่นไม่แพ้ชาติใด ทุกสถาบันต่างมีความแตกต่างและความเป็นเลิศที่เฉพาะตัว โดยเฉพาะการมุ่งสู่ความยั่งยืนในทุก ๆ ด้าน รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาของไทยมีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล ทั้งนี้ ประเทศไทยมีสถาบันอุดมศึกษาที่มีพื้นฐานที่ดี ในการทำงานที่ตอบโจทย์ของประเทศรวมทั้งความยั่งยืนที่กำหนดโดยสหประชาชาติ ซึ่งรัฐบาล และ อว. พร้อมสนับสนุนอย่างเต็มกำลังเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาไทยก้าวสู่ความสำเร็จและเป็นกลไกสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืนต่อไป” นายอนุชา กล่าว

กทม.ปลดล็อก โรงเรียนในสังกัด ให้อิสระทรงผม-ไม่ต้องใส่เครื่องแบบ 1 วัน/สัปดาห์

เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2566 กรุงเทพมหานคร (กทม.) ออกหนังสือถึงโรงเรียนในสังกัดจำนวน 437 แห่ง เพื่ออนุญาตให้โรงเรียนกำหนดการใส่ ชุดนักเรียน และ ไว้ทรงผม ได้อย่างอิสระ โดยไม่กระทบสิทธิมนุษยชน และริดรอนสิทธิของนักเรียน

กทม. จึงได้มีการออกหนังสือถึงสำนักงานเขต จำนวน 2 ฉบับ ว่าด้วยการอนุโลมให้นักเรียน สามารถไว้ทรงผมได้อย่างอิสระ และแต่งกายมาเรียนด้วยชุดอะไรก็ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ลงนามเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 โดย นางวันทรีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร รักษาราชการแทนปลัดกรุงเทพฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้

แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียน
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 และ พ.ศ 2566 ประกาศ ณ วันที่ 16 ม.ค. พ.ศ. 2566 เพื่อเป็นการเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของนักเรียน จึงให้โรงเรียนจัดทำข้อกำหนดฯ ให้นักเรียนไว้ทรงผมได้อย่างอิสระบนพื้นฐานสุขอนามัยที่ดี สะอาด ส่งเสริมบุคลิกภาพและความมั่นใจ จากนั้นให้นำไปประชาสัมพนธ์ให้ทราบเป็นการทั่วไปก่อนนำไปประกาศใช้ โดยในกรณีมีนักเรียนไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวได้ ให้โรงเรียนรับฟังความคิดเห็นจากนักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อทำความเช้าใจและตกลงร่วมกัน แต่ห้ามไม่ให้มีการดำเนินการในลักษณะที่จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพทางร่างกายและจิตใจของนักเรียน เช่น การตัดผม ทำให้อับอาย ฯ

แนวทางการแต่งกายของนักเรียน
นอกจากนี้ กทม.ยังได้ออกหนังสือแนวทางการแต่งกายของนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยระบุว่า กทม.จัดทำข้อกำหนดใหม่ให้แก่โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยอนุญาตให้นักเรียนสามารถแต่งกายชุดใดก็ได้ที่ไม่เป็นการบังคับจำนวน 1 วันต่อสัปดาห์ หากไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ก็สามารถใส่ชุดนักเรียนได้ตามความประสงค์ของนักเรียน โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพทางร่างกายและจิตใจ ยึดหลักคำนึงถึงอัตลักษณ์ ความหลากหลาย ความเชื่อทางศาสนาและเพศวิถีตามที่ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 ข้อ 15 กำหนดว่า สถานศึกษาใดจะกำหนดให้นักเรียนแต่งเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี นักศึกษาวิชาทหาร หรือแต่งชุดพื้นเมือง ชุดไทย ชุดลำลอง ชุดฝึกงาน ชุดกีฬา ชุดนาฏศิลป์ หรือชุดอื่นๆ แทนเครื่องแบบนักเรียนตามระเบียบนี้ในวันใด ให้เป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนด โดยคำนึงความประหยัดและเหมาะสม เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง

จึงให้โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครจัดทำข้อกำหนดให้นักเรียนแต่งกายด้วยชุดใดก็ได้ที่ไม่เป็นการบังคับอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ โดยให้นักเรียนเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนด จากนั้นให้นำไปประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นการทั่วไปก่อนไปประกาศใช้โดยในกรณีที่มีนักเรียนไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ ให้เป็นไปตามความประสงค์ของนักเรียนผู้นั้นที่จะสวมชุดนักเรียน ชุดพละ หรือชุดอื่นใดที่โรงเรียนกำหนดให้มีไว้อยู่แล้ว แต่ห้ามไม่ให้มีการดำเนินการในลักษณะที่จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งให้คำนึงถึงอัตลักษณ์ความหลากหลาย ความเชื่อทางศาสนา และเพศวิถีของนักเรียน

'ม.ขอนแก่น' มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิต จ่อปรับโฉม 'หอพัก-คอมเพล็กซ์' สร้างพื้นที่ 'น่าอยู่-ปลอดภัย' แก่ 'นักศึกษา-คณาจารย์'

มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีการวางแผนยุทธศาสตร์การบริหาร คือการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ (Transformation) เพื่อวิสัยทัศน์ในการเป็น ‘มหาวิทยาลัยวิจัยและพัฒนาชั้นนําระดับโลก’ ทั้งด้านการจัดการศึกษาการวิจัยการบริการวิชาการการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลและด้านการบริหารจัดการองค์กรเพื่อให้มหาวิทยาลัยยังคงมีความก้าวหน้าและการพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน

สำหรับด้านระบบนิเวศของมหาวิทยาลัย (Ecological) ซึ่งอยู่ภายใต้การรับผิดชอบของฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยขอนแก่น นั้น ผศ.อาวุธ ยิ้มแต้ รองอธิการบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อม เผยว่า การสร้างมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้เป็นที่น่าทํางาน (Best place to work) ให้เป็นที่ทํางานที่สนุกและท้าทายทําให้คณาจารย์และบุคลากรอยากทํางานด้วยมากที่สุด โดยจะมีการสร้างมหาวิทยาลัยให้เป็นที่น่าอยู่ (Great place to live) เพื่อให้เป็นสถานที่ที่มีความเหมาะสมในการใช้ชีวิตมีสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวมีห้องเรียนด้านพฤกษศาสตร์และมีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต (Biodiversity)

ผศ.อาวุธ ยิ้มแต้ กล่าวว่า “โครงการที่เป็นเรือธงในการพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่น (Flag ship projects) ของฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อม คือ การเพิ่มจำนวนที่พักบุคลากรที่พักนักศึกษาและบุคลากรให้มีจำนวนมากขึ้น นำพื้นที่สนามซอฟท์บอล หลังหอ 26 สร้างเป็นหอพักนักศึกษา โดยจะจัดหาพื้นที่ใหม่สำหรับสร้างสนามซอฟท์บอลทดแทน และพื้นที่อยู่ด้านหลังปั๊มน้ำมัน ปตท. รวมสองพื้นที่นี้จะรองรับนักศึกษาได้ประมาณ 4,000 คน ส่วนที่พักบุคลากรนั้นจะอยู่บริเวณฝั่งบึงสีฐาน เป็นพื้นที่ใกล้ๆ กันกับพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ การดำเนินการเป็น 2 เฟส คาดว่าจะรองรับบุคลากรได้ประมาณ 2,000 คน ขณะนี้มีความก้าวหน้าอยู่ในช่วงทำร่างขอบเขตงาน (Term of Reference) หรือ TOR เสร็จแล้ว จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนหาผู้ร่วมลงทุนมาดำเนินการก่อสร้างต่อไป”

“อีกส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับงานพลิกโฉมที่ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบก็คือ เรื่องของการปรับปรุงศูนย์อาหารและบริการ หรือ คอมเพล็กซ์ นั้น เป็นการปรับปรุงใหญ่ซึ่งท่านอธิการให้ความสำคัญเนื่องจาก Complex เป็นพื้นที่ที่บุคลากรส่วนใหญ่ทั้งมหาวิทยาลัยมาใช้งานในพื้นที่นี้ร่วมกัน ขณะนี้อยู่ในช่วงของการออกแบบพื้นที่”

“นอกจากนี้ยังมีระบบประปา ที่มหาวิทยาลัยลงทุนขุดลอกบ่อเก็บน้ำดิบ เพื่อเก็บกักน้ำที่ผลิตได้ให้มากขึ้น ป้องกันการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ลดความเสี่ยงการขาดน้ำของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้มีการดำเนินการเกือบสมบูรณ์แล้ว สำหรับการสำรองน้ำที่ผลิตเป็นน้ำประปานั้น มีแผนจะนำเอาถังเก็บน้ำที่เลิกใช้เอากลับมาบูรณะใหม่ เพื่อจะเพิ่มปริมาตรการเก็บกักน้ำที่ผลิตเป็นน้ำประปาให้มีน้ำใช้ได้ตลอดปี ส่วนน้ำที่ใช้ในด้านการเกษตร เช่น คณะเกษตรศาสตร์ได้มีการวางท่อจ่ายน้ำที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสีย และสูบน้ำดิบที่ได้มาตามธรรมชาติ สุ่มจ่ายไปหลายจุดนำไปใช้รดต้นไม้ ซึ่งในอนาคตจะมีการพัฒนาบึงต่างๆ ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น เช่น การขุดลอกหนองหัวช้างซึ่งเป็นสระเก็บน้ำเก่าแก่ของมหาวิทยาลัยที่ปัจจุบันมีความตื้นเขินเพื่อจัดเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร ทั้งยังสร้างระบบนิเวศให้น่าอยู่ ร่มรื่น เพิ่มความผาสุขการทำงานบุคลากรต่อไป” ผศ.อาวุธ ยิ้มแต้  รองอธิการบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อม  กล่าวในที่สุด

‘ฝรั่งเศส’ เตรียมทดลอง ‘แต่งชุด นร.’ หวังลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมเพิ่มวิชาให้ศึกษาความหมายของ ‘เพลงชาติ’ ให้ลึกซึ้ง

เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 67 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ว่า ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง กล่าวถึงเครื่องแบบนักเรียน ว่าสามารถลดความไม่เท่าเทียม หรือความเหลื่อมล้ำระหว่างครอบครัว... 

ในเวลาเดียวกัน เครื่องแบบนักเรียนคือการกำหนดแนวทาง ที่เป็นเงื่อนไขของการเคารพและการให้เกียรติ ด้วยเหตุนี้ นับตั้งแต่ปีการศึกษาปัจจุบันเป็นต้นไป กระทรวงศึกษาธิการฝรั่งเศส มีแผนการให้สถานศึกษาของรัฐ 100 แห่งในประเทศ ร่วมโครงการนำร่องการสวมเครื่องแบบนักเรียน โดยสถานศึกษาสามารถเข้าร่วมได้ตามความสมัครใจ

หากการทดลองดังกล่าวได้ผลดี จะมีการบัญญัติเป็นกฎหมาย และบังคับใช้ในระดับเดียวกัน สำหรับสถานศึกษาของรัฐทั่วประเทศ ในปี 2569 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่มาครงจะดำรงตำแหน่งผู้นำฝรั่งเศส ก่อนการเลือกตั้งครั้งใหม่ ในปี 2570 และจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศส ที่นักเรียนในโรงเรียนของรัฐต้องสวมเครื่องแบบ

นอกจากนี้ ผู้นำฝรั่งเศสกล่าวถึงแผนการให้นักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา เรียนรู้และมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ต่อความหมายของเพลง ‘ลามาร์แซแยซ’ (La Marseillaise) ซึ่งเป็นเพลงชาติ และการกำหนดให้วรรณกรรม ภาพยนตร์ และการละครเป็นวิชาบังคับ ตั้งแต่เดือน ก.ย. 2568 โดยผู้นำฝรั่งเศสเชื่อว่า เป็นวิชาที่จะสามารถสร้างความมั่นใจ ฝึกฝนการพูดในสถานที่สาธารณะ และการเรียนรู้เนื้อหาที่มีคุณค่า


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top