Saturday, 18 May 2024
สถานที่ท่องเที่ยว

สายมูต้องลอง ตามรอย ‘รัฐพะโค’ ในเมียนมา ขอพรตามคิด ลิขิตดังใจ

เชื่อได้ว่าใครที่ได้มีโอกาสบินมาเที่ยวเมียนมา มักจะไม่พลาดที่จะแวะเวียนมายัง ‘ย่างกุ้ง’ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เอย่า อยากบอกว่ามีอีกหมุดหมายหนึ่งที่ไม่อยากให้พลาด นั่นก็คือ ‘เมืองพะโค’ หรือ ‘เมืองหงสาวดี’ นั่นเอง 

นั่นก็เพราะในหงสาวดีมีจุดหมายหลักๆ 3 ที่ ซึ่งใครมาก็ต้องไป ได้แก่...พระราชวังบุเรงนอง / เจดีย์พระธาตุมุเตา และวัดพระนอนตาหวานชเวตาเลียว แต่ไม่หมดเท่านี้ในรัฐพะโค ยังอุดมไปด้วยสถานที่ที่น่าสนใจมากมายทั้งในเมืองพะโคเองและนอกเมืองพะโค ซึ่งวันนี้เอย่าขอปรับอารมณ์พาผู้อ่านมาทัวร์ชมหมุดหมายที่น่าสนใจ เผื่อใครสนใจจะตามรอย ก็มิว่ากัน…

เริ่มที่ ‘ศาลโบโบจี’ (Shwe Nyaung Bin) ตั้งอยู่บริเวณไฮเวย์มุ่งสู่เมืองพะโค เลยสุสานทหารสงครามโลกมาไม่ไกลนัก โดยศาลนี้ผู้คนชาวพม่ามีความเชื่อว่า ถ้าหากออกรถใหม่ต้องขับรถมาไหว้ขอพรที่นี่เพื่อเป็นสิริมงคลและความปลอดภัยในการขับขี่

ต่อมากับ ‘วัดกองมูดอว์’ (Kaung Mhu Daw Pagoda) ในเมืองตองอู วัดนี้เป็นวัดที่พระเจ้าบุเรงนอง ทรงสร้างขึ้นด้วยความเชื่อว่าถ้าสักการะแล้วจะได้ชัยชนะทุกครั้ง ในวัดมีรูปปั้นบุเรงนองสักการะพระธาตุอยู่ รอบฐานจะมีลานทรายเล็กๆ อยู่ โดยเชื่อว่าถ้าอธิษฐาน แล้วเดินวนในทราย3รอบ คำอธิษฐานจะเป็นผลสำเร็จ (เหล่านักธุรกิจชาวพม่าที่มาสักการะที่นี่จะนิยมเก็บทรายไว้ติดตัวเพื่อความเป็นมงคลในด้านชัยชนะ หากใครทำธุรกิจระหว่างประเทศแนะให้มาสักการะจะเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง)

‘ททท.’ รับเทรนสายมู ทำ E-Book โปรโมตสถานที่ 60 แห่งทั่วไทย หวังสร้าง Soft power เปิดตลาดกลุ่มใหม่ ดึงนทท.เข้าประเทศมากขึ้น

เมื่อวานนี้ (24 ก.ย.66) การท่องเที่ยวเชิงศรัทธากำลังเป็นที่สนใจในตลาดโลก ตามรายงานข้อมูลจาก Future Market Insight ในปี 2566 ได้รายงานว่า การท่องเที่ยวมีแนวโน้มการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และคาดการณ์ว่าการท่องเที่ยวเชิงศรัทธาจะสร้างมูลค่าเศรษฐกิจทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า

ททท. เล็งเห็นโอกาสจากกระแสการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณและการเติบโตของ ‘เศรษฐกิจสายมู’ ซึ่งกำลังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ หันส่งเสริมกระแสการท่องเที่ยวสายมูในประเทศไทยสนับสนุนการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ‘Connecting to Spiritual Thailand’ โปรโมทสถานที่ท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับศรัทธาและวัฒนธรรม 60 แห่งสร้าง Soft power เปิดตลาดกลุ่มใหม่เพื่อดึงความสนใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจากหลากหลายประเทศ

ทั้งนี้ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ‘Connecting to Spiritual Thailand’ จัดทำขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจและอธิบายถึงความเชื่อ ของสถานที่ท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณต่างๆ แก่ชาวต่างชาติ ให้เข้าใจถึงประวัติความเป็นมาของความศักดิ์สิทธิ์และความศรัทธา รวมถึงประวัติศาสตร์ของสถานที่นั้น

ขยายความหมายและเหตุผลว่าทำไมนักท่องเที่ยวชาวไทย ถึงให้ความศรัทธาและเดินทางไปบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ หรือสถานที่นั้นๆ ในแง่วัฒนธรรมที่หลอมรวมกลายเป็นวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาค ของประเทศไทยที่น่าสนใจในความแตกต่างและความหลากหลาย สะท้อนถึงพหุวัฒนธรรมที่ผสมผสานกันระหว่าง ความเชื่อกับศาสนานำมาเชื่อมโยงกับสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อสร้างประสบการณ์การเดินทางในเส้นทางแห่งความศรัทธาให้ นักท่องเที่ยว

โดยรวบรวมข้อมูลของสถานที่ท่องเที่ยวสายมูเตลูตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันรวม 60 แห่ง โดยเน้นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงทั้งในเมืองหลัก และจังหวัดเมืองรอง เพื่อส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนจากการท่องเที่ยวในเขตเมืองรองเพิ่มขึ้น โดยเน้นการนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจและมีคุณค่า พร้อมทั้งภาพถ่ายที่งดงามเพื่อให้ผู้อ่านได้สัมผัสประสบการณ์อย่างใกล้ชิด

โดยเนื้อหาประกอบด้วยการแนะนำสถานที่ด้วยภาพถ่ายประกอบแผนที่การเดินทาง และสร้างเนื้อหาบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อสร้างความเข้าใจในแต่ละสถานที่ และทำให้นักท่องเที่ยวสามารถวางแผนในการไปเยี่ยมชมได้ง่าย ได้รับข้อมูลที่สร้างความเข้าใจที่มากขึ้นในแง่ประวัติศาสตร์และความเป็นมาว่าทำไมสถานที่นี้จึงถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ประกอบกับรายละเอียดวิธีการเคารพบูชา การอธิษฐานขอพร หรือการภาวนาที่ถูกต้อง ณ สถานที่แต่ละแห่งนั้น

ทั้งนี้ สถานที่ท่องเที่ยวสายมูที่แนะนำภายใน E-book เล่มนี้ ได้แก่

ศาลหลักเมือง ศาลพระพรหมเอราวัณ วัดศรีมหามาเรียมมัน (วัดแขก) ศาลแม่นาคพระโขนง ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
วัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
วัดสมานรัตนาราม วัดโพรงอากาศ (พระอาจารย์สมชาย) อุทยานพระพิฆเนศ องค์ยืน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา
ปราสาทสัจธรรม พัทยา จังหวัดชลบุรี
วัดเจดีย์หอย จังหวัดปทุมธานี
วัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม วัดทับศิลา จังหวัดกาญจนบุรี วัดป่าพุทธาราม จังหวัดราชบุรี
ศาลพุ่มพวง จังหวัดสุพรรณบุรี
สวนสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
พระมหาธาตุนภเมทนีดล-นภพลภูมิสิริ และวัดพระธาตุดอยคำ จังหวัดเชียงใหม่
วัดบ้านปาง (วัดครูบาศรีวิชัย) จังหวัดลำพูน
ศาลหลักเมือง จังหวัดเชียงราย
อุทยานไทรงาม พิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ศาลปู่พญานาค อนันตนาคราช จังหวัดมุกดาหาร
พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม
สะดือแม่น้ำโขง วัดภูทอก และถ้ำนาคา จังหวัดบึงกาฬ
คำโชนด จังหวัดอุดรธานี
วัดถ้ำเอราวัณ จังหวัดหนองบัวลำภู
ถ้ำพระยานคร เขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
หอพระอิศวร วัดเจดีย์ไอ้ไข่ หลวงปู่ทวด เกาะนุ้ยนอก จังหวัดนครศรีธรรมราช
วัดถ้ำเสือ จังหวัดกระบี่

'อ.ศศิน' เผย 'สร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึง' อาจมีประโยชน์ แต่ยังมีโจทย์ 3 ข้อ ที่ยังไม่มีใครตอบ หากตัดสินใจจะสร้างจริงๆ

(7 ธ.ค. 66) นายศศิน เฉลิมลาภ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม อดีตประธานมูลนิธิ สืบนาคะเสถียร โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า...

#กระเช้าภูกระดึง โจทย์ที่ต้องตัดสินใจของประเทศไทย 3 ข้อ

ถ้าทำกระเช้าภูกระดึง จะมีสิ่งที่อาจเป็นประโยชน์หลายประการ...

ประการแรก ธุรกิจที่สัมพันธ์กับอสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน อาคารพาณิชย์ ที่มีคนครอบครองอยู่รอบ ๆ ภูเขาภูกระดึง และเส้นทางสู่ภูกระดึงจะคึกคัก ทั้งการเพิ่มมูลค่า การหมุนเวียนของเม็ดเงินต่าง ๆ ในการขยายกิจการเพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะมีมากขึ้น และหมุนเวียนมาเยือนเพื่อขึ้นลงกระเช้าไปที่ราบกว้างใหญ่บนยอดเขา ที่ก่อนหน้านี้ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากใช้สองเท้าเดิน

ประการที่สอง ทำให้คนที่คิดว่าตัวเองขึ้นไม่ไหว ไม่มีเวลา และไม่กล้าขึ้น รวมถึงผู้มีข้อจำกัดเรื่องอายุและสภาพร่างกายมีโอกาสขึ้นไปได้

และกระเช้าไฟฟ้าอาจช่วยนำคนเจ็บป่วย บาดเจ็บ ขยะ ขนส่งข้าวปลาอาหาร เครื่องใช้ขึ้นไปได้ง่ายขึ้น

นี่เป็นเหตุผลง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน และไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น

แต่…การสร้างกระเช้าภูกระดึง มีโจทย์ที่ไม่มีใครคิดจะตอบ 3 ข้อ 3 ระดับ...

#ระดับที่ 1 ภูกระดึงเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเดินขึ้นเขาที่เป็น Trekking trail ที่ดีที่สุดของประเทศ เมื่อประเมินจากระยะทางที่ไม่ไกลมาก แทบไม่มีอันตรายอะไรถ้าไม่เกิดอุบัติเหตุจากความประมาท การจัดการที่ลงตัว มีค่าใช้จ่ายในการไปเที่ยวไม่แพง รวมถึงเมื่อขึ้นไปแล้วมีที่สวย ๆ ให้เดินเที่ยวมากมาย เรียกว่าคุ้มค่าเดินขึ้นและเดินเที่ยวสิ่งที่ว่ามาทำให้ภูเขาลูกนี้ทำหน้าที่มอบความรักธรรมชาติ ให้เราได้ซึมซับความงามทั้งจากธรรมชาติและมิตรภาพระหว่างทาง รวมถึงการเรียนรู้ที่บังเกิดขึ้นมากมายระหว่างความอดทนตอนเดินขึ้น สถานที่แบบนี้ในไทยมีที่เดียวคือ 'ภูกระดึง' ส่วนที่อื่น ๆ มีถนนขึ้นถึง หรือเดินไกลเกินไป เดินไปถึงแล้วก็ไม่มีอะไรให้ดูมากนัก

ดังนั้น เมื่อมีกระเช้า ความท้าทายให้ไปถึงเรื่องที่ว่ามา ย่อมสู้ความสบายเย้ายวนจากการขึ้นกระเช้าไม่ได้

คนจะเดินขึ้นก็คงมีน้อยยิ่งกว่าน้อย

พวกที่เลือกเดินจึงเป็นคนที่รักธรรมชาติมากมายอยู่แล้ว คนที่ขึ้นกระเช้าไปก็ไม่ได้ซึมซับอะไร ไม่ต่างจากการขับรถขึ้นภูเรือ ดอยอินทนนท์ หรือภูเขาอื่น ๆ ที่กลับมาแล้วไม่มีความหมายอะไร ภูกระดึงทำหน้าที่นี้ให้ประเทศไทยมากว่า 50 ปี ตั้งแต่รุ่นปู่จนถึงปัจจุบัน

การมีกระเช้าหมายถึงเราเลิกใช้ฟังก์ชันนี้ของภูกระดึงแล้ว จะเทียบไปคงเหมือนเปลี่ยนวัด โบสถ์ วิหาร เป็นบอร์ดนิทรรศการพุทธศาสนา

นี่คือเรื่องที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจจะเลือกทิ้งคุณค่าจากสิ่งนี้ไปหรือไม่

#ระดับที่ 2 จากผลการศึกษาและการออกแบบระบบกระเช้า คาดว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย (เช่นตัดต้นไม้ไม่กี่ต้น) แต่ผลที่ตามมาหลังจากมีกระเช้า ยังไม่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

เช่นเมื่อคนจำนวนมากขึ้นไปข้างบนแล้วจะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมแน่ ๆ เช่น อาคารกลางแหล่งธรรมชาติ

ที่สำคัญคือ ถนนหนทางข้างบนที่ต้องรองรับผู้มาเยือนที่ไม่เตรียมตัวไป ‘เดิน’ และไม่พร้อมจะรับรู้ทั้งนั้นว่าทำไมไม่มีรถวิ่งไปชมที่ท่องเที่ยวที่ห่างจากสถานีกระเช้าหลายกิโลเมตรในแต่ละที่

รวมถึงการจำกัดคนค้างแรม การจัดการขยะ ต่าง ๆ ภายใต้สถานภาพความเป็นอุทยานแห่งชาติ ที่มีข้อจำกัดเรื่องกฎหมาย กำลังคน งบประมาณในการดูแลให้คงสภาพธรรมชาติ

เราพร้อมจะปล่อยให้ที่สวย ๆ ข้างบนพังไปอีกที่ใช่หรือไม่

#ระดับที่ 3 ถ้ามีคนขึ้นไปจำนวนมาก เราพร้อมเปลี่ยนพื้นที่อนุรักษ์อันอุดมด้วยธรรมชาติไปรองรับการบริการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวข้างบนในอนาคตเลยหรือไม่

หากนโยบายวันข้างหน้าจะเอาอย่างนั้น ยกเลิกพื้นที่อุทยานแห่งชาติไปเลย

นี่คือเรื่องที่ต้องตัดสินใจตามกระเช้ามาในระดับท้ายสุด

รัฐบาลนี้ต้องตอบทั้ง 3 คำถามก่อนตัดสินใจ ผมรอฟังอยู่ ก่อนตัดสินใจขึ้นกระเช้าไปทำลายภูกระดึงเดิม ๆ ด้วยกัน

พบลายมือปริศนา ที่ ‘สะพานนากาเมกุโระ’ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ดราม่ากันสนั่น ชาวเน็ตสวมวิญญาณโคนัน สันนิษฐาน อาจเป็นคนไทย 

(8 เม.ย.67) เป็นดราม่าที่กำลังมาแรง เมื่อมีคนไทยไปเที่ยวที่สะพานนากาเมกุโระ สถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิตของโตเกียว ซึ่งช่วงซากุระบาน จะมีนักท่องเที่ยวไปถ่ายรูปจำนวนมาก

โดยดราม่าที่ว่านี้ เริ่มจากนักท่องเที่ยวไทยรายหนึ่ง ถ่ายภาพราวสะพานจุดชมวิวซากุระสุดลูกหูลูกตา แต่กลับพบว่า ที่ราวสะพานมีร่องรอยการเขียน ว่า “Beer   Mayvy 2024” ผู้โพสต์ได้ระบุว่า “ วันนี้ผมไปถ่ายรูปที่ Nakameguro แล้วเจอกับสิ่งนี้ครับ อยากรู้เหมือนกันว่าชาติไหน?”

คอมเมนต์ที่เข้ามาต่างวิพากษ์วิจารณ์และสันนิษฐานว่า ชื่อ เบียร์ นั้น อาจจะเป็นคนไทยหรือไม่ เพราะถือเป็นการตั้งชื่อเล่นที่ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยพอสมควร รวมถึงแสดงความไม่พอใจ ว่า การกระทำแบบนี้เป็นการทำลายสถานที่ท่องเที่ยวไม่ว่าที่ไหนก็ไม่ควรทำ

ดูเหมือนว่า ข้อสันนิษฐานของชาวเน็ตนั้นค่อนข้างจะถูกต้องว่า ผู้เขียนดูเหมือนว่าจะเป็นคนไทยจริงๆ เนื่องจาก มีคนไปค้นหาและพบว่า เจ้าของลายมือนี้ เคยไปเขียนที่สะพานนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อปี 2022 และโพสต์ภาพดังกล่าวลงในโซเชียลด้วย

โดยโพสต์เจ้าของลายชื่อ เบียร์รักเมวี่ ได้โพสต์ภาพราวสะพาน พร้อมเขียนข้อความว่า “แล้วเราก็กลับมาที่สะพานนี้อีกครั้ง แต่ชื่อที่เขียนไว้มันหายไปแล้ว 2024 เราก็เขียนใหม่ เดี๋ยวปี 2025 เราจะกลับมาดูใหม่ #ความทรงจำ2022”

หลังจากมีคนขุดโพสต์นี้ขึ้นมาก็เรียกว่าทัวร์ลงอย่างหนักและงงว่าทำไมจึงเขียนลงไปแบบนั้นซึ่งมีชาวเน็ตให้เบาะแสอีกว่าปัจจุบันเจ้าของลายมือเบียร์รักเมวี่ได้ปิดเฟซบุ๊กไปแล้ว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top