Sunday, 19 May 2024
วันสตรีสากล

“นายกฯ” ยัน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงานสตรี เร่ง แก้กฎหมายลาคลอด จ่ายค่าจ้างให้ครบ 98 วัน

ที่ทำเนียบรัฐบาล รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่เครือข่ายสตรี มีข้อเรียกร้องถึง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในวันสตรีสากล 8 มี.ค.ที่ผ่านมา  เกี่ยวกับสิทธิของลูกจ้าง เรื่องวันลาคลอดบุตร ที่ปัจจุบันให้ลาได้ 98 วัน แต่จ่ายค่าจ้างเพียง 90 วัน เนื่องจากข้อกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ กำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างลา แต่ไม่เกิน 45 วัน โดยค่าจ้างอีกครึ่งหนึ่ง (45วัน) ลูกจ้างรับจากสำนักงานประกันสังคม(สปส.) ของค่าจ้างเฉลี่ย 90 วัน โดยวันลา 8 วัน ที่เพิ่มขึ้น ลูกจ้างยังไม่ได้รับความคุ้มครองในเรื่องค่าจ้าง

น.ส.รัชดา กล่าวว่า นายกฯรับข้อเรียกร้อง และติดตามการปรับปรุงข้อกฎหมาย เพื่อให้นายจ้าง และสปส. ร่วมกันจ่ายค่าจ้างให้ครอบคลุมวันลาทั้งหมด ขณะนี้กระทรวงแรงงาน อยู่ระหว่างดำเนินการให้สปส.เสนอปรับแก้ไขกฎหมาย เพิ่มสิทธิให้กับลูกจ้าง โดยจะปรับเพิ่มประโยชน์ทดแทนให้ผู้ประกันตน จากร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 90 วัน เป็นร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 98 วัน จะมีผลให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างในวันลาเพิ่มขึ้นจากสิทธิเดิม อีก 4 วัน ในส่วนของค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตร อีก 4 วัน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงานประเมินผลสัมฤทธิ์กฎหมาย เพื่อปรับแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพิ่มสิทธิให้กับลูกจ้างต่อไป

‘บิ๊กตู่’ ยัน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงานสตรี เร่ง แก้กม.ลาคลอด จ่ายค่าจ้างให้ครบ 98 วัน

เมื่อวันที่ 10 มี.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่เครือข่ายสตรี มีข้อเรียกร้องถึง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในวันสตรีสากล 8 มี.ค.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับสิทธิของลูกจ้าง เรื่องวันลาคลอดบุตร ที่ปัจจุบันให้ลาได้ 98 วัน แต่จ่ายค่าจ้างเพียง 90 วัน เนื่องจากข้อกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ กำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างลา แต่ไม่เกิน 45 วัน โดยค่าจ้างอีกครึ่งหนึ่ง (45 วัน) ลูกจ้างรับจากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ของค่าจ้างเฉลี่ย 90 วัน โดยวันลา 8 วัน ที่เพิ่มขึ้น ลูกจ้างยังไม่ได้รับความคุ้มครองในเรื่องค่าจ้าง

น.ส.รัชดา กล่าวว่า นายกฯ รับข้อเรียกร้อง และติดตามการปรับปรุงข้อกฎหมาย เพื่อให้นายจ้าง และสปส. ร่วมกันจ่ายค่าจ้างให้ครอบคลุมวันลาทั้งหมด ขณะนี้กระทรวงแรงงาน อยู่ระหว่างดำเนินการให้สปส.เสนอปรับแก้ไขกฎหมาย เพิ่มสิทธิให้กับลูกจ้าง โดยจะปรับเพิ่มประโยชน์ทดแทนให้ผู้ประกันตน จากร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 90 วัน เป็นร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 98 วัน จะมีผลให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างในวันลาเพิ่มขึ้นจากสิทธิเดิม อีก 4 วัน ในส่วนของค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตร อีก 4 วัน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงานประเมินผลสัมฤทธิ์กฎหมาย เพื่อปรับแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพิ่มสิทธิให้กับลูกจ้างต่อไป

8 มีนาคม ของทุกปี กำหนดเป็น ‘วันสตรีสากล’ วันยกระดับความเท่าเทียมของผู้หญิง

วันสตรีสากล (International Women's Day) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่เหล่าสตรีจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพใด จะร่วมเฉลิมฉลองความเสมอภาคที่ได้รับมา และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันในสังคมอีกด้วย

ความเป็นมาของวันสตรีสากล เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คน ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1857 (พ.ศ. 2400)

จากนั้นในปี ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทนไม่ไหวต่อการเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใด ๆ เป็นผลให้เกิดการเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก

ความอัดอั้นตันใจจึงทำให้ 'คลาร่า เซทคิน' (CLARE ZETKIN) นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมัน ตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้การเรียกร้องครั้งนี้จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ 'คลาร่า เซทคิน' และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น

เพิ่มพลังสตรีไทย ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. พปชร. ร่วมหารือเนื่องในวันสตรีสากล มุ่งสร้างพื้นที่-ขยายโอกาสสตรี-มอบสิทธิพื้นฐานเท่าเทียม

(8 มี.ค.66) นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ  (พปชร.) กล่าวว่า พรรคพปชร. ได้ระดมความคิดเห็นของกลุ่มสตรีพรรคพลังประชารัฐ ‘พลังประชารัฐ เพิ่มพลังสตรีไทย’ เนื่องในวันสตรีสากล 8 มี.ค. ระดมความเห็นและรับฟังเสียงสะท้อนให้แก้ไขปัญหา และข้อเสนอของเครือข่ายองค์กรสตรี เพื่อลดช่องว่าง ความเหลื่อมล้ำทางสังคมให้กับกลุ่มสตรี และเยาวชน ได้รับสิทธิเท่าเทียมในทุกมิติ โดยมีนางฮูวัยดีย๊ะ พิศสุวรรณ ที่ปรึกษาด้านสิทธิสตรี และว่าที่ผู้สมัครพปชร. อาทิ น.ส.ชญาภา ปรีภาพาก นางนฤมล รัตนาภิบาล น.ส.ณิรินทร์ เงินยวง น.ส.บุณณดา สุปิยพันธุ์ และ น.ส.สุชาดา เวสารัชตระกูล รวมถึงนายศันสนะ สุริยะโยธิน นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ นายระพีพัฒน์ สุเมธโชติเมธา ร่วมระดมความคิดเห็นของที่ผู้สมัครจากการลงพื้นที่ เช่น แก้ไขปัญหาความรุนแรงทุกรูปแบบ จัดตั้งศูนย์สุขภาพจิตในชุมชนเพื่อคนทุกช่วงวัย เพิ่มโอกาสการเข้าถึงสิทธิการรักษาและป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม การจัดสวัสดิการเพื่อการดูแลคุณภาพชีวิตแม่เลี้ยงเดี่ยว และยกระดับศูนย์รับเลี้ยงเด็กเล็กก่อนวัยเรียนในชุมชนเป็นต้น ให้สอดรับกับบริบทการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 

ส่งเสริมบทบาทสตรี ‘บิ๊กตู่’ หนุนสร้างศักยภาพสตรี สู่พลังขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ ย้ำ!! รบ. มุ่งยกระดับบทบาท-ส่งเสริมสิทธิสตรี ให้ครอบคลุมทุกมิติ

นายกฯ ปราศรัยวันสตรีสากล ปี 2566 ย้ำรัฐบาลเล็งเห็นศักยภาพสตรีเป็นพลังขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ ยกระดับส่งเสริมบทบาทสตรีให้มีส่วนร่วมเป็นพลังทางสังคม รณรงค์ทุกภาคส่วน ปรับเปลี่ยนเจตคติต่อบทบาทสตรี บนพื้นฐานการเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ 

(8 มี.ค. 66) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวปราศรัยเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล ประจำปี 2566 ผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล ประจำปี 2566 ที่บรรจบครบรอบอีกวาระหนึ่งในนามของรัฐบาล ขอส่งความระลึกถึงและความปรารถนาดีมายังสตรีไทย และผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาสตรีทุกคน ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีเป็นวันสตรีสากล เพื่อให้ประเทศสมาชิกทั่วโลกได้ตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญ และการเคารพในศักดิ์ศรี รวมทั้งการพัฒนางานด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างความเสมอภาคทางสังคมให้แก่สตรี

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการสร้างโอกาสให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มทุกช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสตรีซึ่งถือเป็นประชากรที่มีจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ โดยรัฐบาลได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของสตรีในการเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในหลากหลายมิติ จึงได้ยกระดับการส่งเสริมบทบาทสตรีให้สามารถมีส่วนร่วมในการเป็นพลังทางสังคม พร้อมทั้งการรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนในสังคมปรับเปลี่ยนเจตคติต่อบทบาทสตรี บนพื้นฐานของการเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นมนุษย์ 

คนไทยเท่าเทียมกัน!! ‘ก้าวไกล’ เปิด 10 นโยบายความเท่าเทียมทางเพศ สานต่ออุดมการณ์ 'อนาคตใหม่' สร้างสังคมคนเท่ากัน

‘ก้าวไกล’ เปิดนโยบายเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ เนื่องในวันสตรีสากล ชู คำนำหน้านามตามความสมัครใจ - ผ้าอนามัยไม่เก็บ VAT แจกฟรีในโรงเรียน - ตำรวจหญิงทุกสถานี - สมรสเท่าเทียม - ยุติตั้งครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ รับยาฟรี ทุก รพ.สต. - ศูนย์เลี้ยงเด็กใกล้บ้าน ห้องปั๊มนมในที่ทำงาน ด้าน ‘พรรณิการ์’ ชี้ภารกิจสร้างคนเท่ากันของอนาคตใหม่ยังไม่จบ หวัง ‘ก้าวไกล’ สานต่อสำเร็จ

(8 มี.ค. 66) พรรคก้าวไกล ร่วมกับ ศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต (Think Forward Center) จัดกิจกรรม “กาก้าวไกล เพศไหนก็คนเท่ากัน” เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคมของทุกปี โดยปีนี้ เครือข่าย International Women’s Day ได้กำหนดรูปแบบการจัดงานที่มีชื่อว่า ‘การโอบรับอย่างเท่าเทียม’ (Embrace Equity)

กิจกรรมเริ่มต้น โดยพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวเปิดตัวนโยบายเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ ยืนยันพร้อมสานต่อภารกิจของพรรคอนาคตใหม่ ในการสร้างประเทศไทยที่ ‘คนไทยเท่าเทียมกัน ประเทศไทยเท่าทันโลก’ โดย 10 นโยบายเพื่อความเท่าเทียมทางเพศของพรรคก้าวไกล ซึ่งเรียงตามช่วงอายุของคนคนหนึ่งตั้งแต่เกิดจนแก่ ประกอบด้วย

1. ผ้าอนามัยไม่เก็บ VAT แจกฟรีในโรงเรียน

ด้วยการยกเลิกการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในสินค้าหมวดหมู่ผ้าอนามัยและของใช้สิ้นเปลืองสำหรับวัยเจริญพันธุ์ และแจกผ้าอนามัยฟรีในสถานศึกษาและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนผ้าอนามัยและความจนประจำเดือน (Period Poverty) โดยเฉพาะสำหรับผู้มีประจำเดือนในวัย 10-25 ปี

2. ปฏิรูปการสอนเพศศึกษา ส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ

ด้วยการออกแบบหลักสูตรใหม่ ให้การสอนเรื่องเพศศึกษา (Sex education) ให้ความสำคัญกับค่านิยมต่างๆ เช่น ความเข้าใจเรื่องความยินยอม (consent) ความหลากหลายทางเพศ และสอนเรื่องทางกายภาพอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้เยาวชนเข้าใจความสำคัญของการป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่ประสงค์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

3. ตำรวจหญิงทุกสถานี

ด้วยการเพิ่มจำนวนตำรวจหญิง เพื่อให้อย่างน้อยมีเพียงพอต่อการมีพนักงานสอบสวนหญิงประจำทุกสถานีตำรวจ เช่น เพิ่มจำนวนรับให้สูงขึ้น เปิดรับจากบุคคลภายนอกมากขึ้น พิจารณากลับมาเปิดรับนักเรียนนายร้อยหญิง เนื่องจากสถิติของกระทรวงยุติธรรม พบว่าไม่ต่ำกว่า 75% ของผู้หญิงไทยที่เคยถูกคุกคามทางเพศ เลือกที่จะไม่แจ้งความ เหตุผลส่วนหนึ่งคือความไม่สบายใจ เพราะผู้เสียหายสะดวกใจกับพนักงานสอบสวนที่เป็นผู้หญิงมากกว่า นอกจากนี้ ต้องออกแบบกระบวนการอบรมและประเมินตำรวจทุกคนไม่ว่าเพศใด ที่รับผิดชอบคดีคุกคามทางเพศ ให้สามารถดำเนินการด้วยวิธีการและบรรยากาศที่เข้าใจถึงความละเอียดอ่อนของคดีและสนับสนุนให้เหยื่อรู้สึกปลอดภัยในการให้ข้อมูลในกระบวนการยุติธรรมด้วย

4. ปรับปรุงกฎหมายต่อต้านความรุนแรงทางเพศ

ด้วยการแก้ประมวลกฎหมายอาญา และกฎ ก.พ. เพื่อกำหนดนิยามใหม่ของการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ การกระทำอนาจาร และการกระทำชำเราเสียใหม่ เพื่ออุดช่องว่างของกฎหมายให้ครอบคลุมปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมมากขึ้น
 

มูลนิธิรักษ์ไทยและมูลนิธิเพื่อนหญิง ร่วมกันจัดกิจกรรมเนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day)

มูลนิธิรักษ์ไทย มูลนิธิเพื่อนหญิง จับมือร่วมกับกรุงเทพมหานคร ศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์ เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม และพันธมิตรภาคธุรกิจเป็นภาคีในการจัดงานวันสตรีสากล (International Women’s Day 2023) โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ การเสริมสร้างพลังผู้หญิงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Women Empowerment and Sustainable Development) การสร้างความเท่าเทียม และ ยุติความรุนแรง (Gender Equality and Stop Violence) ณ ศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์ ลานควอเทียร์อเวนิว ในวันที่ 8 มีนาคม 2566  เวลา 10:00-20:00 น. 
ในการนี้มูลนิธิฯ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิด ร่วมกับ คุณอรธิรา  ภาคสุวรรณ กรรมการผู้จัดการอาวุโส ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม และ ดิ เอ็มควอเทียร์  คุณสุพรทิพย์ ช่วงรังษี กรรมการมูลนิธิรักษ์ไทย พร้อมทั้งร่วมพูดคุยกับแขกรับเชิญกิตติมศักดิ์ ได้แก่ แพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์, คุณแอนนา เสืองามเอี่ยม (Miss Universe Thailand 2022), 

คุณแอนชิลี สก๊อต-เคมมิส (Miss Universe Thailand 2021), คุณญดา นริลญา (เจ้าของรางวัล Thailand National Film Association 2021), การสาธิตสอนศิลปะป้องกันตัวด้วยมือเปล่า โดย พ.ต.อ.หญิง กัญญา แดนมะตา, ทพญ. กัญจน์ภัสสร สุริยาแสงเพ็ชร์ กรรมการและผู้ก่อตั้ง Ooca application ที่เป็น platform สำหรับปรึกษานักจิตวิทยาและจิตแพทย์แห่งแรกในไทย และปิดท้ายด้วยมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดังของไทย นำโดย คุณพรีน รวิสรารัตน์ และ คุณที วง Jetset’er โดยมีพิธีกรมากความสามารถอย่างคุณนาขวัญ รายนานนท์ มาสร้างสีสันบนเวทีตลอดทั้งงาน

นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมยังได้รับความรู้และความสนุกสนานจากนิทรรศการ SHE IS ME ในการสร้างแรงบันดาลใจจากพลังผู้หญิง 

รวมถึงการมีส่วนร่วมในการรณรงค์ลดการเลือกปฏิบัติ และสร้างความเท่าเทียม ยุติความรุนแรง เสริมสร้างพลังผู้หญิงเพื่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ในสังคมไทย พร้อมทั้งสามารถสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนผู้หญิง ที่มูลนิธิรักษ์ไทย และ มูลนิธิเพื่อนหญิงร่วมสนับสนุน พัฒนา และเคียงข้าง สร้างสังคมเท่าเทียมมาตลอดระยะเวลากว่า 25 ปี 

ทั้งนี้ผู้ที่เข้าร่วมยังได้เพลิดเพลินกับจับจ่ายซื้อของ และ ได้รับผลิตภัณฑ์จากกิจกรรมในบูธอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น บูธจากสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร แบรนด์กระเป๋าไทยชื่อดังอย่าง NaRaYa แบรนด์ชุดชั้นใน Wacoal  บริษัท ทิพยประกันภัย สินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกล ที่มูลนิธิฯได้ทำการสนับสนุนและช่วยเหลือ และอื่นๆอีกมากมาย พร้อมด้วยกิจกรรมเวิร์คช็อปจากชุมชนและครอบครัวหญิงสาวชาวบ้านที่มูลนิธิรักษ์ไทยร่วมเคียงข้าง ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มผ้าเขียนเทียน ต.ป่ากลาง อ.ปัว / กลุ่มวิสาหกิจชมชน บ้านดอนมูล ต.คู่ใต้ อ.เมืองน่าน การทำใบไม้ยัดนุ่น / กลุ่มส่งเสริมอาชีพบ้านกูยิ ต.ตะปอเยาะ อ.ยี่ง้อ จ.บุราธิวาส

‘พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ’ เสด็จฯ ประทานรางวัล ‘สตรีทำงานดีเด่น’ เชิดชู 'พลังหญิงไทย' แรงขับเคลื่อนสำคัญแห่งยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จไปประทานโล่รางวัลสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2561 เนื่องในงานวันสตรีสากล ที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิด พลังแรงงานสตรีไทย ก้าวไกลสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ณ ห้องมิราเคิล แกรนด์บอลรูม ชั้น 4 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น โดยมี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.แรงงาน และผู้บริหารกระทรวง เฝ้ารับเสด็จ

การนี้ เมื่อเสด็จถึง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เข้าเฝ้าถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุน ‘กองทุนยาพระวรราชาทินัดดามาตุสำหรับผู้ติดเชื้อเอดส์ สภากาชาดไทย’ จากนั้นนายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน เข้าเฝ้าถวายสูจิบัตรและหนังสือที่ระลึก จากนั้น พล.ต.อ.อดุลย์ กราบทูลรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กราบทูลเบิกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2561 เข้ารับประทานโล่รางวัลสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2561 

หลังจากนั้นทรงเสด็จออกจากห้องมิราเคิล แกรนด์ บอลรูม เพื่อทอดพระเนตรประวัติสตรีทำงานดีเด่นฯ และนิทรรศการ และเสด็จไปฉายพระรูปร่วมกับคณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน สตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2561 คณะกรรมการจัดงานวันสตรีสากล ประจำปี พ.ศ.2561 และคณะอนุกรรมการสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น และเสด็จกลับในเวลาต่อมา

สำหรับปีดังกล่าว มีเหล่าคนดังที่ได้รับรางวัลสตรีทำงานดีเด่นประจำปี 2561 อาทิ นางสาริณี อังศุสิงห์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด, นางทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดีที บริษัท ดีทีจีโอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด, นางฐาปณี เตชะเจริญวิกุล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประจำสำนักงาน เจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดใหญ้ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน), นางจรรยา สว่างจิตร ประธานเจ้าที่บริหาร บริษัท พี.โอเวอร์ซีส์สตีล จำกัด (มหาชน), นางสาวณัฐชไม ถนอมบูรณ์เจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชียแปซิฟิกกลาส จำกัด (บริษัทในเครือ บมจ.คาราบาวกรุ๊ป) และ นางสาวศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

มอบประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติ ให้กับสตรี ที่มีผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือเด็ก สตรี ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และงานจราจร เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day)

ศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศพดส.ตร.) มอบประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติ ให้กับสตรี ที่มีผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือเด็ก สตรี ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และงานจราจร เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day)

วันสตรีสากล (International Women’s Day) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี การถือกำเนิดของวันสตรีสากลนี้เป็นเสมือนจุดเริ่มต้นในการขจัดการแบ่งแยกและการเหยียดเพศให้หมดไป ดังจะเห็นได้ว่าโลกในยุคใหม่นี้ ให้ความสำคัญและยอมรับผู้หญิงมากขึ้น ทำให้ผู้หญิงในปัจจุบันมีบทบาทอย่างแพร่หลายต่อการขับเคลื่อนของสังคม ดังนั้น "วันสตรีสากล" จึงเป็นอีกวันหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงทุกคนได้แสดงความสามารถ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความทัดเทียมกันได้อย่างดี ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะ มุ่งให้เห็นความสำคัญของสุภาพสตรีเช่นกัน ดังนั้น ในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2532 ประเทศไทยจึงได้ก่อตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยสังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของผู้หญิงในสังคม รวมทั้งระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้เพื่อให้ได้ซึ่งความเสมอภาค ยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนา ทุกวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี ประเทศไทยจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองเนื่องในวันสตรีสากล โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดนิทรรศการต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้จักและเห็นความสำคัญของวันสตรีสากล และยังได้จัดให้มีการประกาศเกียรติคุณแก่สตรีดีเด่นประจำปี เนื่องในวันสตรีสากล ทั้งนี้ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติสตรีผู้สร้างประโยชน์ในสาขาอาชีพต่าง ๆ อีกด้วย

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์  หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รับผิดชอบ งานด้านความมั่นคง และงานจราจร และในฐานะ ผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ได้เล็งเห็นความสำคัญ ถึงบทบาท หน้าที่ของสตรี ในยุคปัจจุบัน ที่มีความรู้ความสามารถ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดี จึงมีแนวคิดที่จะมอบประกาศเกียรติคุณให้กับข้าราชการตำรวจหญิงที่ปฏิบัติงานด้านการปกป้อง คุ้มครองเด็กและสตรีดีเด่น ,ข้าราชการตำรวจหญิงที่ปฏิบัติงานจราจรดีเด่น และสตรีผู้ปฏิบัติงานในองค์การนอกภาครัฐ (NGOs) ซึ่งมีผลงานด้านการปกป้อง คุ้มครองเด็ก และสตรีดีเด่น เพื่อเชิดชูเกียรติ และสร้างขวัญกำลังใจให้กับสตรี เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day) โดยได้ให้หน่วยงาน เสนอรายชื่อผู้มีคุณสมบัติ และมีผลการปฏิบัติงานเป็นที่ประจักษ์  ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือก  โดยมีผู้ที่ได้รับประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติ  เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day) ดังนี้

ข้าราชการตำรวจหญิงที่ปฏิบัติงานด้านการปกป้อง คุ้มครองเด็กและสตรีดีเด่น ได้แก่
พ.ต.อ.หญิง กษิรานิษฐ์ เตชิตวรเศรษฐ์  รอง ผบก.สก.สกพ.(ฝอ.ศพดส.ตร.)
พ.ต.อ.หญิง จรีย์วรรณ พุทธานุรักษ์ ผกก.(สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน บก.สส.ภ.5
พ.ต.ท.หญิง จารุวรรณ มากยงค์ รอง ผกก.(สอบสวน) สภ.เมืองระนอง ภ.จว.ระนอง
พ.ต.ท.หญิง ชมภูนุช อนันตญากุล รอง ผกก.(สอบสวน) สภ.ป่าตอง ภ.จว.ภูเก็ต
พ.ต.ท.หญิง ฐิติพร เรืองรอด รอง ผกก.วป.ผอ.
พ.ต.ท.หญิง เมธาวรินทร์ เอี่ยมชู  รอง ผกก.ปพ.ผอ.
พ.ต.ท.หญิง ชนัญชิดา ตุ่ยสิมา สว.(สอบสวน) กก.6 บก.ปคม.
พ.ต.ท.หญิง พรรัมภา พัฒนาวาท สว.กก.ดส.
ว่าที่ พ.ต.ต.หญิง ภูษณิศา จันทรรัชภ์ สว.(สอบสวน) สภ.เมืองเพชรบุรี ภ.จว.เพชรบุรี
ร.ต.อ.หญิง ขวัญดาว หิรัญ รอง สว.กลุ่มงานต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเตอร์เน็ต บก.ตอท.
ร.ต.อ.หญิง พิสมัย วิชัยศร รอง สว.กก.สืบสวน 3 บก.สส.ภ.4 (ชป.TICAC ภ.4)
ร.ต.อ.หญิง พรรณวดี เกสร  รอง สว.(สอบสวน) กตค.บก.กค.ภ.4
ร.ต.ท.หญิง ณัฐวดี ศรีคำสุข รอง สว.กลุ่มงานต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเตอร์เน็ต บก.ตอท.
จ.ส.ต.หญิง ทิพยรัตน์  สมสวัสดิ์ ผบ.หมู่ 1 กก.สืบสวน 2 บก.สส.ภ.4 (ชป.TICAC ภ.4)    

ข้าราชการตำรวจหญิงที่ปฏิบัติงานจราจรดีเด่น ได้แก่
พ.ต.ท.หญิง ปวีณา  ชุมฤทธิ์ สว.จร.สภ.เมืองภูเก็ต
ร.ต.อ.หญิง เนตรนฤมนต์  ปล้องใหม่ รอง สว.ป.สภ.กงหรา ภ.จว.พัทลุง
ร.ต.อ.หญิง สุชิรา  ยะโกะ รอง สว.(สอบสวน) สภ.เบตง ภ.จว.ยะลา
ร.ต.อ.หญิง ธวัลรัตน์  เอี่ยววิบูลธนกิจ รอง สว.จร.สภ.บางละมุง ภ.จว.ชลบุรี
ร.ต.ท.หญิง กุลภัสสร์สรณ์  นิลวรรณ รอง สว.(ป.) สน.บางรัก
จ.ส.ต.หญิง มัลลิกา  รามบุตรดี ผบ.หมู่ (ป.) สภ.โนนศิลา ภ.จว.ขอนแก่น
จ.ส.ต.หญิง บุษบา  กำเลิศภู  ผบ.หมู่ (ป.) สภ.เมืองอุดรธานี ภ.จว.อุดรธานี
จ.ส.ต.หญิง สิริยุพา  ศิริวัจนพร ผบ.หมู่ (ป.) สภ.หนองสองห้อง ภ.จว.ขอนแก่น
สตรีผู้ปฏิบัติงานในองค์การนอกภาครัฐ (NGOs) ซึ่งมีผลงานด้านการปกป้อง คุ้มครองเด็ก และสตรีดีเด่น ได้แก่
นางอภิญญา  ทาจิตต์  Stella Maris
น.ส.ณัฐกานต์  โนรี  โครงการสปริง มูลนิธิการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม
น.ส.นันทิรา  ศิริราช  มูลนิธิเพื่ออิสรภาพ ( The Exsodus Road)
นางวีรวรรณ  มอสบี้  โครงการฮัก ภายใต้มูลนิธิสานสัมพันธ์ครอบครัว
น.ส.พรนิภา  คำสม  มูลนิธิเพื่อความเข้าใจเด็ก (FOCUS)
น.ส.พรรณรัชฏ์ ยุทธวารีชัย  องค์การ โอ ยู อาร์ ประเทศไทย (O.U.R.)
น.ส.พชรลิตา  หรรษคุณาฒัย องค์การ โอ ยู อาร์ ประเทศไทย (O.U.R.)
น.ส.นันท์นารี  หลวงมอย  มูลนิธิศูนย์เพื่อน้องหญิง

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล กล่าวว่า สตรีที่ได้รับรับประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติจากศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศพดส.ตร.) เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day) ในครั้งนี้ เป็นสตรีที่มีความรู้ความสามารถ มีความเสียสละในการปฏิบัติงาน ทั้งด้านงานจราจร และด้านงานปกป้อง คุ้มครองเด็ก และสตรี  ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เล็งเห็นความสำคัญ และสิทธิความเท่าเทียมของสตรี มาโดยตลอด ซึ่งในปัจจุบันสตรีเป็นที่ยอมรับในสังคมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงานในสายอาชีพต่าง ๆ เช่น หมอ ตำรวจ ทหาร เป็นต้น จากอาชีพที่ยกตัวอย่างมานี้ล้วนแล้วแต่เป็นอาชีพที่ส่วนใหญ่เพศชายมักจะทำกันทั้งสิ้น แต่สตรีก็สามารถทำงานสายนี้ได้เช่นกัน และอีกส่วนที่สำคัญ คือ สตรีที่ทำหน้าที่องค์การนอกภาครัฐ (NGOs) ที่มีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองเด็ก และสตรี ด้วยกันเอง มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการช่วยเหลือ คุ้มครอง และเพิ่มบทบาทให้กับสตรีในสังคมไทย สุดท้ายนี้ ขอแสดงความยินดี กับสตรีที่ได้รับประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติ เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day) จาก ศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศพดส.ตร.) ด้วยอีกครั้งนึง…

สมุทรปราการ-วันสตรีสากล!! 'เทศบาลตำบลแพรกษา' จัดโครงการ ฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำสตรีและวันสตรีสากล ประจำปี 2567

วันที่ 8 มีนาคม 2567 เวลา 10.00 น. เทศบาลตำบลแพรกษา จัดกิจกรรมภายใต้ชื่อ โครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำสตรีและงานวันสตรีสากล ประจำปี 2567 ณ ห้องประชุมอาคาร ชั้น 5 สำนักงานเทศบาลตำบลแพรกษา ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 

ภายในงานได้รับเกียรติจากนายสุพจน์ ภูมิเกียรติขจร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ให้เกียรติมาเป็นประธาน พร้อมทั้งกล่าวเปิดโครงการ โดยมี นางอรัญญา สุวรรณบุตร นายกเทศมนตรีตำบลแพรกษา เป็นผู้กล่าวรายงานและวัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ จากนั้น ท่าน ดร.ยงยุทธ สุวรรณบุตร อดีต สส.สมุทรปราการ สมัยที่ 25 และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์นายกเทศมนตรีตำบลแพรกษา กล่าวให้การต้อนรับคณะแขกผู้มีเกียรติที่เดินทางมาร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ ประกอบกับ ภายในงานมีพี่น้องประชาชนและกลุ่มผู้สูงอายุร่วมในกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

ภายในงานยังได้รับเกียรติจากนาย ประทีป นทีทวีวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมด้วย นางอรวรรณ  ชิณศรี นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรปราการ นางสาวสุขนันท์ทิพย์ ศรีสมวงษ์ พัฒนาการจังหวัดสมุทรปราการ นางสากัลยาณี กิจนพเกียรติ นางสาวนริสา คงรอด จากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสมุทรปราการ ตลอดจน คณะผู้บริหาร คณะสมาชิกสภาเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการ คณะกรรมการสตรีศรีแพรกษา ตัวแทนกลุ่มแม่บ้านและสตรีตำบลแพรกษาทั้ง 32 ตำบล เข้าร่วมในกิจกรรม

ภายในงานมีการแสดงนิทรรศการ 4 ภาค ประกอบด้วย การเเข่งขันการเดินแบบผ้าไทยจากตัวแทนทั้ง 32 ตำบล การแสดงสินค้าผ้าท้องถิ่นของหน่วยงานต่างๆ การจำหน่ายสินค้า otop และสินค้ากลุ่มอาชีพในเขตเทศบาลตำบลแพรกษา และการแสดงดนตรีและการแสดงรำไทยประยุคต์จากนักเรียนโรงเรียนแพรกษาวิเทศศึกษา PWS (ฝ่ายมัธยม) 

โดยทางด้าน นางอรัญญา สุวรรณบุตร นายกเทศมนตรีตำบลแพรกษา กล่าวว่า การจัดกิจกรรมขึ้นในครั้งนี้ ทางเทศบาลตำบลแพรกษามีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมไทย ดึงดูดคนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ให้กลับมานิยมผ้าไทย แต่งกายด้วยผ้าไทย ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย ประกอบกับ เพื่อรณรงค์ให้สวมใส่ผ้าไทย และเพื่อเชิญให้กลุ่มสตรีทุกกลุ่มร่วมยืนหยัดในสิทธิขั้นพื้นฐานและป้องกันการเกิดการล่วงละเมิดทางเพศ รวมถึงการหยุดใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง ตลอดจนร่วมพลักดันให้ผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้นในทุกสายอาชีพ

และสำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 ในการประกวดการเดินแบบผ้าไทยจากสตรีศรีแพรกษา ได้แก่ นางสาวทิพย์ ศรีวัฒน์ปาน จากชุมชนเอื้ออาทร 1 เฟส 1 รางวัลรองชนะลิศ อันดับ 1 ได้แก่ นางสาวสำรวย สุริยะกมล จาก ชุมชนทรัพย์ธานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ นางนงคะลักษณ์ บุดดาจันทร์ จาก ชุมชนรุ่งทวี ส่วนรางวัลชมเชย ได้แก่ นางสาว กุลลภัทร์ ดวงเนตร จากชุมชนเอื้ออาทร 14 นิติ 3

อย่างไรก็ตาม ทางเทศบาลตำบลแพรกษา มุ่งหวังที่จะพัฒนากลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ ให้มีความรู้ ความสามารถ สร้างรายได้ให้กับตนเองและชุมชนด้วยผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ให้มีรายได้ตามหลักปัญาเศรษฐกิจพอเพียง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top