Friday, 3 May 2024
ลดหย่อนภาษี

คนมีรายรับต้องรู้!! ลดหย่อนภาษีปี 2565 สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง? มีเงื่อนไข่อย่างไร?

คนมีรายรับต้องรู้!!  ลดหย่อนภาษีปี 2565 สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง? มีเงื่อนไขอย่างไร?

‘กรณ์’ เคลียร์ชัด!! ‘เงินเดือน 4 หมื่นบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี’ ชี้!! ช่วยลดหย่อนสูงสุด 4.8 แสนต่อปี ผู้เสียภาษีเป็นปลื้ม!!

เมื่อไม่นานมานี้ นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้าและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรึ ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ ฟังหูไว้หู ทางช่อง 9 MCOT HD ดำเนินรายการโดย ชุติมา พึ่งความสุข และอาจารย์วีระ ธีรภัทร ในหัวข้อ ‘The Special: คุยกับ ชาติพัฒนากล้า’ ในบางช่วงบางตอนได้พูดถึงนโยบายเงินเดือน 4 หมื่นบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี โดยนายกรณ์ระบุว่า..

หากคุณมีเงินเดือน 6 หมื่นบาท ถามว่าคุณได้ประโยชน์จากนโยบายนี้ไหม คำตอบคือ ได้!! เพราะว่าผมเขียนว่า 4 หมื่นบาทแรกไม่ต้องเสียภาษี นี่คือความหมายที่ต้องการจะสื่อนะครับ และก็เป็นแบบนี้ในทุก ๆ เดือน ไม่ใช่เอาเงินทั้งหมด 12 เดือนมารวมกัน แล้วคิดแค่ 4 หมื่นบาทแรกนะครับ แต่ต้องคิดแบบนี้ครับ เอาเงินเดือนในทุกเดือน ๆ มาคูณ 12 และหักลบค่าใช่จ่าย ลดหย่อนต่าง ๆ และหัก 480,000 ออกไป แล้วเหลือเท่าไหร่ค่อยมาเอามาคำนวณภาษี

“ก่อนหน้านี้ เกณฑ์การเสียภาษีอยู่ที่ 26,000 บาท ซึ่งมันนานมาแล้ว และค่าครองชีพทุกวันนี้ก็สูงขึ้น เท่ากับว่า 40,000 บาทในวันนี้ ก็คือ 26,000 เมื่อวันนู่นนั่นแหละ” นายกรณ์กล่าว

นายกรณ์ ยังกล่าวอีกว่า ผมเจอคำถามที่ว่า แบบนี้รัฐไหวเหรอ? ในแง่ของรายได้จากภาษีมันลดลงจริง ๆ แต่ลดลงแค่นิดเดียว พอเราบอกว่า 4 หมื่นบาทแรกไม่ต้องเสียภาษี ทุกคนที่มีเงินเดือนได้ประโยชน์หมด หรือจำนวนกว่า 4 ล้านคน แต่สมมติว่ามีเงินเดือนเกิน 4 หมื่นบาท ก็จะได้ประโยชน์ 7,500 ต่อเดือน แต่หากคิดเป็นสัดส่วนของรายได้ กลุ่มคนที่มีรายได้น้อยเขาจะประหยัดมากกว่า แต่โดยรวมทั้งหมดจะทำให้รายได้จากภาษีส่วนบุคคลของรัฐลดลงปีละ 2.1 หมื่นล้าน ชาติพัฒนากล้าคำนวณมาเรียบร้อยแล้ว เทียบกับรายได้ปกติประมาณ 1.5 หมื่นล้าน ก็ถือว่าลดลงไม่เยอะ 

นอกจากนี้นายกรณ์ยังกล่าวถึงสาเหตุที่คิดนโยบายนี้ในช่วงเวลานี้อีกว่า…มีเหตุผลอยู่ 3 ประเด็น 

1.ค่าครองชีพที่สูงขึ้น กลุ่มคนมีเงินเดือนคือกลุ่มที่เสียภาษีตลอด และหลีกเลี่ยงไม่ได้ แบกรับภาระมาเยอะ 

2. ลดภาษีนิติบุคคลมา 10 กว่าปีแล้ว จาก 30% ลดลงมาเหลือ 20% ถ้าไปดูกันจริง ๆ มันมีสิ่งที่เรียกว่า ลักลั่นอยู่ ก็เลยเป็นสาเหตุให้คนที่มีรายได้สูง เช่น หมอ นักแสดง เขาไปตั้งบริษัท และรับรายได้ผ่านบริษัท เพราะบริษัทจ่ายภาษีน้อยกว่าภาษีบุคคล

และ 3. ปีนี้ สำนักงบฯ ประเมินแล้วว่า เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 1.7 หมื่นล้าน จึงมองว่านี่คือเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเริ่มทำนโยบายนี้

‘คลัง’ เตรียมปล่อยแพ็กเกจอุดหนุน ESG ลงทุนเพื่อ ‘สิ่งแวดล้อม’ ลดหย่อนภาษีได้

(9 ม.ค. 67) นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงการคลัง อยู่ระหว่างการจัดทำมาตรการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) รวมถึงการดำเนินการตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมสังคมและธรรมาภิบาล (Environment, Social, Governance: ESG) ซึ่งเป็นไปตามเทรนด์การลงทุนของโลกเนื่องจากธุรกิจที่มี ESG ที่ดีจะสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการแข่งขัน และศักยภาพของการเติบโตในระยะยาว

ปัจจุบันมีมาตรการหลากหลายในการส่งเสริม และจูงใจที่จะพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืนซึ่งในส่วนของกระทรวงการคลังนั้นจะพิจารณามาตรการภาษีคาร์บอนเพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนในธุรกิจสีเขียวใช้พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสะอาดมากขึ้น

ขณะเดียวกันต้องมีมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับการชำระภาษีบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลสำหรับการสนับสนุนด้าน ESG ด้วย นอกจากนี้ยังมีมาตรการสินเชื่อธุรกิจสีเขียวดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจสีเขียวหรือการติดตั้งแผงโซลาร์ตามบ้านเรือนซึ่งสถาบันการเงินของรัฐได้ดำเนินการไปแล้ว

“มาตรการใดพร้อมก็จะเดินหน้าไปก่อนได้เลยไม่ต้องรอให้ออกมาเป็นแพ็กเกจเพราะหากรออาจใช้เวลาในการดำเนินการ และไม่ทันต่อสถานการณ์ได้”

ด้าน นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า ในปีนี้กรมฯ มีแผนที่จะผลักดันมาตรการทางภาษีเพื่อดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อมใน 4 รายการประกอบด้วย 

1.มาตรการสนับสนุนการผลิตและใช้แบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) และรวมถึงแบตเตอรี่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่นโซลาร์เซลล์

2.มาตรการภาษีลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน 

3.มาตรการสนับสนุนการผลิตไบโอพลาสติก 

และ 4.มาตรการภาษีเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุโดยกรมฯ อยู่ระหว่างการศึกษา และเร่งหาข้อสรุปเพื่อเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาต่อไป

สำหรับมาตรการสนับสนุนการผลิต และใช้แบตเตอรี่ BEV จะผูกกับเงื่อนไขกับการมีระบบรีไซเคิลแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วเพื่อไม่ให้เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต

ในปีที่ 2566 ยอดการจดทะเบียนรถ BEV สูงกว่าปีก่อนหน้าถึง 700% และคาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าการใช้รถ BEV จะสูงขึ้นกว่านี้ดังนั้นจึงจำเป็นต้องวางแผนการกำจัดซากแบตเตอรี่ในอนาคตด้วย ทั้งนี้กรมฯ จะได้วางระบบ Track and Test เพื่อติดตามแบตเตอรี่ลูกนั้น ๆ ว่าปัจจุบันอยู่ที่ไหนด้วย

ทั้งนี้หลักคิดในการจัดเก็บภาษีแบตเตอรี่คือ ปัจจุบันกรมสรรพสามิตเก็บภาษีสรรพสามิตแบตเตอรี่ในอัตรา 8% แต่หากมีการรีไซเคิลแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วหรือเป็นแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพการให้พลังงานได้สูง และมีน้ำหนักเบา เป็นต้น อัตราภาษีที่กรมฯ จะคิดนั้นก็จะต่ำลงโดยอาจกำหนดอัตราภาษีเป็นหลายอัตราตามประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ เช่น 1%, 3%, 5% และ 8%

ขณะเดียวกันกรมฯ อาจต้องทบทวนเงื่อนไขการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับแบตเตอรี่ที่ผูกติดกับเงื่อนไขที่ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องมีแผนการรีไซเคิลแบตเตอรี่ที่ขายออกไปด้วย เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่าแนวทางนี้มีความยุ่งยากเพราะเมื่อกรมฯ ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี แก่ผู้ประกอบการไปแล้วจะต้องติดตามไปตลอดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ลูกนั้นซึ่งอาจนานถึง 20 ปีหากผู้ประกอบการไม่ได้รีไซเคิลตามที่ตกลงกรมฯ จะต้องเรียกสิทธิประโยชน์ทางภาษีคืน และต้องมีค่าปรับทางภาษีด้วย ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นผู้ประกอบการรายดังกล่าวอาจเลิกกิจการไปแล้วก็ได้ การติดตามทวงภาษีคืนก็อาจทำไม่ได้

“กรมฯ จะต้องทบทวนระบบการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ผูกกับการรีไซเคิลซึ่งมีหลายรูปแบบโดยในบางประเทศใช้ระบบ Deposit Refund โดยตั้งเป็นกองทุนเพื่อการนี้ซึ่งเมื่อมีการนำซากแบตเตอรี่ มาคืนกองทุนนี้ก็จะจ่ายเงินให้จำนวนหนึ่งสำหรับแนวทางหนึ่งที่กรมฯ กำลังพิจารณาคือ การมอบให้คนกลางหรือบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านรีไซเคิลแบตเตอรี่มาทำหน้าที่รีไซเคิลแทนผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเป็นต้น”

ส่วนมาตรการภาษีคาร์บอนนั้นหลักคิดคือ นอกเหนือจากมีเป้าหมายจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในประเทศแล้วยังเพื่อรองรับการค้าระหว่างประเทศที่ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (อียู) แต่ต้องไม่เป็นภาระต่อประชาชนผู้ใช้สินค้า และบริการ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top