Monday, 13 May 2024
รายได้ประชาชาติ

ศ.สุชาติ! แบงค์ชาติ​ควรค่อยๆ​ ขึ้นดอกเบี้ย​ ไม่ทำให้เงินบาทแข็งค่ามากไป​ เพื่อรักษาอัตราการเติบโตของการส่งออกและรายได้ประชาชาติ

ศ​าสตราจารย์​ ดร.สุชาติ​ ​ธา​ดา​ธำ​รง​เวช​ อดีตรัฐมนตรี​ว่าการกระทรวงการคลัง​ และอดีตหัวหน้าพรรค​เพื่อ​ไทย​ ให้ความเห็นว่า​

1. แบงค์ชา​ติ​ อาจขึ้นดอกเบี้ย​ 0.25% เพื่อทำให้ดอกเบี้ยที่แท้จริง​ (ดอกเบี้ยหักด้วยเงินเฟ้อ)​ ไม่ติดลบมากนัก​ โดยดอกเบี้ยไม่ต้องสูงเท่าดอกเบี้ยสหรัฐ​ เพราะเศรษฐกิจ​สหรัฐ​เติบโตเกินกำลังการผลิต​ จึงเกิดเงินเฟ้ออันเนื่องมาจากพิมพ์​เงินดอลลา​ร์​ มาใช้มากเกินไป​ แต่ไทยเป็นเงินเฟ้อที่มาจากต้นทุนนำเข้า​ เศรษฐกิจ​ไทยเพิ่งเริ่มฟื้นตัว​ การผลิตและการจ้างงาน​ยังต่ำอยู่มาก

2. การขึ้นดอกเบี้ย​ ไม่ควรทำให้เงินบาทแข็งค่ากว่าเงินประเทศอื่น ๆ​ ที่อ่อนค่าลง​ทั่วโลก​ อันเนื่องมาจากเงินสหรัฐ​ แข็งค่าขึ้นอย่างมาก

3. การส่งเสริมการส่งออกสินค้าบริการ​ รวมต่างชาติมาท่องเที่ยว (Exports-E)​ เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะ​การส่งออกคือ​ "ร​ายได้​ " แต่​เราไม่ควรส่งเสริมการนำเข้า (Imports-M)​ โดยไม่มีเป้าหมาย​ เพราะ​การนำเข้า คือรายจ่าย​ "เราส่งเสริมให้​ เพิ่มรายได้​ ลดรายจ่าย​ ขยายโอกาส" 

4. หาก​รัฐบาล​ไปทำให้ค่าเงินบาทแข็ง​เกินไป การนำเข้าก็จะเพิ่มขึ้น​ ซึ่งจะไปลด​รายได้ประชาชาติ​ (GDP)​ เพราะ​ใน​สมการ GDP​=C+I+G+E-M ตัว​ M จะไปหักออกจาก​ GDP 

5. เราจึงต้องรักษาค่าเงินบาทให้อ่อนเล็กน้อย​ เพื่อ​ให้การส่งออกสามารถแข็งขันได้​ดี เพื่อเพิ่มรายได้​ และทำให้ราคานำเข้าแพงขึ้นเล็กน้อย​ ทำให้ลดการนำเข้า​ เพื่อลดรายจ่าย​ จะเป็นการ​เพิ่ม​ GDP​ ทั้ง 2 ด้าน

6. การทำค่าเงินบาทให้อ่อน​ลงเล็กน้อย เพื่อเพิ่ม​การส่งออกทั้งปริมาณและมูลค่า จะให้ผลบวกเกือบทุกคนในประเทศ เพราะผู้ส่งออกที่แท้จริงคือ​ กรรมกรและชาวนา​ชาวสวน ซึ่งจะมีรายได้เพิ่มขึ้น​ โดยส่งผ่านมาจากบริษัทส่งออก และทำให้แม่ค้าข้าวแกง​ขายได้มากขึ้น​ด้วย การส่งออกจึงทำให้เกือบทุกคนในประเทศ​ มีรายได้และฐานะดีขึ้น​ และเนื่องจากการส่งออกก็คือผลผลิต​ (GDP​)​ ถึง​ 70% จึงจะทำให้อัตราความเติบโตของประเทศ (GDP​ growth rates) สูงขึ้น​ด้วย

ส่องระดับรายได้ 11 ชาติอาเซียน ประเทศไทยอยู่กลุ่มไหน?

สิงคโปร์มี GNI (Gross National Income) หรือ รายได้ประชาชาติ โดยมีรายได้ประชากรต่อหัวสูงที่สุด และมีรายได้สูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้!!

ทั้งนี้ ธนาคารโลก ได้จัดหมวดหมู่เศรษฐกิจโลกออกเป็นสี่กลุ่มรายได้ ได้แก่ ต่ำ, กลางล่าง, กลางบน และสูง ซึ่งอัปเดตทุกปีในวันที่ 1 กรกฎาคม โดยอิงตาม GNI ต่อหัวของปีก่อน คิดเป็นดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการจัดประเภทรายได้ของธนาคารโลกมีจุดมุ่งหมายเพื่อสะท้อนระดับการพัฒนาของประเทศ โดยอาศัย GNI ต่อหัวเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ

จากผลการจัดประเภทรอบนี้ สิงคโปร์ และ บรูไน เป็นสองประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีรายได้สูงที่สุด ในขณะที่มาเลเซีย, ไทย และอินโดนีเซียอยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เหลืออยู่จะถูกจัดในกลุ่มรายได้ปานกลางตอนล่าง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top