Monday, 29 April 2024
มหาเศรษฐีไทย

นิตยสาร Forbes จัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2565

นิตยสาร Forbes จัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2565 โดยในปีนี้ ‘พี่น้องเจียรวนนท์’ แห่งเครือซีพี ยังครองแชมป์มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในไทยอีกสมัยไปด้วยทรัพย์สิน 2.65 หมื่นล้านเหรียญ หรือราว 9.33 แสนล้านบาท

Forbes รายงานว่า เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวที่เป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวกลับมาได้เนื่องจากโควิด-19 เศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้ดัชนีหุ้นไทยปรับลดจากจากจุดสูงสุดลง 3%

ไม่เพียงเท่านั้น ตั้งแต่จากการอันดับมหาเศรษฐีไทยครั้งล่าสุด อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อหน่วยดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงถึง 12% ส่งให้มูลค่ารวมทรัพย์สินของมหาเศรษฐีไทยทั้ง 50 รายชื่อ ลดลงเกือบ 6% มาอยู่ที่ 1.51 แสนล้านเหรียญ หรือคิดเป็น 5.31 ล้านล้านบาท เมื่อเทียบกับการจัดอันดับปีที่ผ่านมา

สำหรับ 10 อันดับแรกของปีนี้ ยังคงมีการขึ้น-ลง สลับกันกับปีก่อนๆ ส่วนทั้ง 50 อันดับเป็นอย่างไรบ้าง คลิกดูได้ที่ https://www.forbes.com/lists/thailand-billionaires/?sh=56cd7d16223e

28 มหาเศรษฐี รวยสุดในไทย ปี 2023

นิตยสารฟอร์บส์ (Forbes) สื่อชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ประกาศการจัดอันดับอภิมหาเศรษฐีโลก หรือ 'The World’s Billionaires' หรือผู้มีทรัพย์สินมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประจำปี 2023

โดยอันดับที่ 1 ได้แก่ มหาเศรษฐีชาวฝรั่งเศส 'เบอร์นาร์ด อาโนลด์' เจ้าของอาณาจักร LVMH ขึ้นแท่นเป็นบุคคลที่ 'รวยที่สุดในโลก' ปี 2023 แทนที่แชมป์เก่าอย่าง 'อีลอน มัสก์' เจ้าของ Tesla และ SpaceX

ในส่วนของประเทศไทยมี 28 มหาเศรษฐีไทยที่ติดอันดับมหาเศรษฐีโลก ในปี 2023 ดังนี้

>>อันดับ 1
'เจ้าสัว ธนินท์ เจียรวนนท์' ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) หรือ ซีพี ติดอันดับที่ 116 ของโลก มีมูลค่าทรัพย์สินรวมทั้งหมด 1.49 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ รวยเพิ่มขึ้นกว่าการจัดอันดับในปี 2022 (ในปี 2022 ติดอันดับที่ 137 ของโลก ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 1.35 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ)

>>อันดับ 2
'เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี' ไทยเบฟเวอเรจ มีทรัพย์สิน รวมทั้งหมด 1.48 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดอันดับ 118 ของโลก รวยเพิ่มขึ้นกว่าการจัดอันดับในปี 2022 (ในปี 2022 ติดอันดับที่ 156 ของโลก ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ)

>>อันดับ 3
'สารัชถ์ รัตนาวะดี' กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ มีทรัพย์สิน รวม 1.23 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดอันดับที่ 141 ของโลก รวยเพิ่มขึ้นกว่าการจัดอันดับในปี 2022 (ในปี 2022 ติดอันดับที่ 161 ของโลก ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 1.18 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ)

>>อันดับ 4 
'สุเมธ เจียรวนนท์' เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ทรัพย์สิน 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดอันดับที่ 425 ของโลก

>>อันดับ 5
'จรัญ เจียรวนนท์' เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) มูลค่าทรัพย์สิน 5.9 พันล้านดอลลาร์ ติดอันดับที่ 437 ของโลก

>>อันดับ 6 มี 2 คน
'วานิช ไชยวรรณ' ไทยประกันชีวิต ติดอันดับที่ 721 ของโลก มูลค่าทรัพย์สิน 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

'สมอุไร จารุพนิช' ลูกสาวคุณมนตรี เจียรวนนท์ ติดอันดับที่ 721 ของโลก มูลค่าทรัพย์สิน 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

>>อันดับ 7
'นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ' กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) ติดอันดับที่ 818 ของโลก มูลค่าทรัพย์สิน 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

>>อันดับ 8
'สมโภชน์ อาหุนัย' พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ติดอันดับที่ 852 ของโลก มูลค่าทรัพย์สิน 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

>>อันดับ 9
'ประยุทธ์ มหากิจศิริ' เจ้าพ่อเนสกาแฟ กลุ่มธุรกิจแบรนด์ P 80 และการขนส่งสินค้าทางเรือ ติดอันดับที่ 1,217 ของโลก มูลค่าทรัพย์สิน 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

>>อันดับ 10 
'ฮาราลด์ ลิงค์' ผู้บริหารบี.กริม. ประเทศไทย ติดอันดับที่ 1,368 ของโลก มูลค่าทรัพย์สิน 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

>>อันดับ 11 
'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรี ติดอันดับที่ 1,434 ของโลก มูลค่าทรัพย์สิน 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวยเพิ่มขึ้นกว่าการจัดอันดับในปี 2022 (ในปี 2022 ติดอันดับที่ 1,512 มูลค่าทรัพย์สิน 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)

TOP 5 มหาเศรษฐี ปี 2023 !! รวยทุกปี ติดทุกรอบ

‘ฟอร์บส ไทยแลนด์’ เปิด 50 อันดับมหาเศรษฐีไทย ความมั่งคั่งรวมเพิ่มขึ้น 173,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รับอานิสงส์นักท่องเที่ยวเดินทางเที่ยวไทยคึกคัก หนุนพี่น้องเจียรวนนท์ รั้งเบอร์ 1 มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 1.18 ล้านล้านบาท 

นิตยสาร ฟอร์บส ไทยแลนด์ เปิดเผยผลการจัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2566 พบว่า ความมั่งคั่งรวมของ 50 มหาเศรษฐีไทยก็เพิ่มขึ้นเกือบ 15% คิดเป็น 173,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจประเทศไทยฟื้นตัวจากการกลับมาของนักท่องเที่ยว ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประมาณการเติบโต ปี 2566 อยู่ที่ 3.6% 

โดย 10 มหาเศรษฐีไทย มีมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ได้แก่ 

อันดับ 1 พี่น้องเจียรวนนท์ กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 1.18 ล้านล้านบาท 

อันดับ 2 นายเฉลิม อยู่วิทยา และครอบครัว เครื่องดื่มชูกำลังกระทิงแดง และกลุ่มธุรกิจ TCP มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 33,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 1.16 ล้านล้านบาท 

อันดับ 3 นายเจริญ สิริวัฒนภักดี กลุ่มไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 13,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 473,000 ล้านบาท

อันดับ 4 ตระกูลจิราธิวัฒน์ กลุ่มธุรกิจเซ็นทรัล กรุ๊ป มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 12,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 432,000 ล้านบาท 

อันดับ 5 นายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) บริษัทพลังงานขนาดใหญ่ของประเทศ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 11,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  คิดเป็น 394,000 ล้านบาท 

อันดับ 6 นายวานิช ไชยวรรณ ประธานกิตติคุณ บมจ.ไทยประกันชีวิต (TLI) และมีแผนเตรียมนำธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย (CREDIT) เข้าตลาดหุ้นในช่วงปลายปี 2566 มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 3,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 136,000 ล้านบาท

อันดับ 7 นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ผู้ก่อตั้ง-เจ้าของอาณาจักร BDMS ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่ใหญ่สุดในไทยถึง 47 แห่ง และยังเป็นเจ้าของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 3,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 132,000 ล้านบาท 

อันดับ 8 นายอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา และครอบครัว สัญญาณการกลับของธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศ สร้างการรับรู้ถึงกลุ่มธุรกิจ King Power กลุ่มบริษัทสินค้าปลอดภาษี และเจ้าของสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ มูลค่าทรัพย์สิน 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 121,000 ล้านบาท 

อันดับ 9 นายสมโภชน์ อาหุนัย และครอบครัว ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานสะอาดแบบครบวงจร มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 104,000 ล้านบาท 

และอันดับ 10 ครอบครัวโอสถานุเคราะห์ เจ้าของธุรกิจ บมจ.โอสถสภา (OSP) มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 87,000 ล้านบาท

สำหรับภาพรวมแล้ว มีมหาเศรษฐีไทย 21 คนที่ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา มหาเศรษฐี 2 รายที่มีเปอร์เซ็นต์ความร่ำรวยเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากการกลับมาของนักชอปต่างชาติ ได้แก่ นายอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา และครอบครัว ทวงคืนตำแหน่งใน 10 อันดับแรกมหาเศรษฐีไทยมาได้ ส่วนคนที่ 2 รับทรัพย์มหาศาล คือ นางศุภลักษณ์ อัมพุช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ธุรกิจค้าปลีก  The Mall Group ซึ่งเป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้าชั้นนำมากมายรวมถึง Siam Paragon และ EmQuartier ที่มีความมั่งคั่ง 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจากเดิมถึง 2 เท่า  

ทั้งนี้ การกลับมาของกำลังซื้อของธุรกิจค้าปลีกยังได้พา 2 มหาเศรษฐีหน้าใหม่เข้าสู่ทำเนียบ ได้แก่  นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ที่ครอบครัวของเขาถือหุ้นใน The Mall Group และธุรกิจอื่นๆ ทำให้เขาได้เปิดตัวที่อันดับ 24 ด้วยทรัพย์สิน 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนอีกราย คือ นายอนันท์ รักอริยะพงศ์ ผู้ก่อตั้งบริษัทเครื่องดื่มที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ Sappe อยู่ที่อันดับ 50 กับมูลค่าทรัพย์สิน 590 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ   

ขณะที่ มหาเศรษฐีที่มีความมั่งคั่งลดลง คือ นายประจักษ์ ตั้งคารวคุณ ที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิตกลงมากที่สุดเกือบ 30% เมื่อเทียบกับผู้ติดอันดับในทำเนียบ เนื่องมาจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบริษัทผู้ผลิตสายไฟและสายเคเบิ้ลของบมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น (STARK) ที่ลูกชายถือหุ้นอยู่ พังยับเยินและถูกสั่งพักการซื้อขายหลังทางบริษัทไม่สามารถส่งงบการเงินให้กับทางตลาดหลักทรัพย์ได้ในเวลาที่กำหนดดังที่ปรากฏ

🔎ส่องรายชื่อมหาเศรษฐีไทย ใครอยู่อันดับเท่าไหร่? ในทำเนียบมหาเศรษฐีโลก💸

เว็บไซต์นิตยสารฟอร์บส (Forbes) เปิดเผยการจัดอันดับ ‘มหาเศรษฐีผู้มั่งคั่งที่สุดในโลกประจำปี 2567’ พบว่า ปีนี้ 10 อันดับมหาเศรษฐีของไทยแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน 

โดยอันดับ 1 ยังคงเป็น ‘เจ้าสัวธนินท์’ หรือนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซีพี) โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 12,500 ล้านดอลลาร์ (ราว 4.58 แสนล้านบาท) ซึ่งคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิจากราคาหุ้นและอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 8 มี.ค. 2567

สำหรับ 10 อันดับมหาเศรษฐีไทยที่มั่งคั่งที่สุดในปีนี้ มีเพียงนายสมโภชน์ อาหุนัย จากบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ที่หลุดออกจากโผ และมีมหาเศรษฐีหน้าใหม่เข้ามา 3 คนแทนในอันดับ 10 ร่วม คือนาย ‘ฮาราลด์ ลิงค์’ จากบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ / นาย ‘ทักษิณ ชินวัตร’ และนายวิชัย ทองแตง ซึ่ง Forbes ระบุถึงประเภทธุรกิจเอาไว้ว่าอยู่ในกลุ่มธุรกิจการเงินและการลงทุน โดยทั้ง 3 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 2,100 ล้านดอลลาร์ (ราว 7.7 หมื่นล้านบาท)

อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่า 10 มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศไทยปีนี้ เกือบทั้งหมดมี ‘ความมั่งคั่งลดลง’ นำโดยนายธนินท์ ที่ลดลงราว 2,400 ล้านดอลลาร์ จากการจัดอันดับของ Forbes เมื่อเดือน เม.ย. 2566 ยกเว้นนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ผู้ก่อตั้งบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ หรือ BDMS ที่มีมูลค่าสินทรัพย์เพิ่มขึ้นราว 200 ล้านดอลลาร์ อยู่ที่ 3,700 ล้านดอลลาร์ในอันดับที่ 7

มหาเศรษฐีไทยที่ติดการจัดอันดับมหาเศรษฐีโลกของ Forbes ในปี 2567 นี้ มีจำนวนทั้งหมด 26 คน โดยมีนายประจักษ์ ตั้งคารวคุณ อดีตประธานกรรมการแห่ง ทีโอเอ เพ้นท์ (TOA) อยู่ในลำดับสุดท้ายของไทยที่อันดับ 26 และเป็นอันดับ 2545 ของโลก โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 1,100 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ นายประจักษ์เคยติด 10 อันดับมหาเศรษฐีไทยของ Forbes เมื่อปี 2565


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top