Tuesday, 30 April 2024
มรดก

จัดการ ‘ทรัพย์สิน อย่างไร? ไม่ให้เกิด ‘ศึกชิงมรดก’ | Click on Clear THE TOPIC EP.163

📌‘แบ่งมรดก’ อย่างไรไม่ให้เกิดรอยร้าวในครอบครัว !! ไปกับ 'ดร.พีรภัทร ฝอยทอง' ที่ปรึกษากฎหมายและที่ปรึกษาทางการเงิน!
📌ใน Topic : จัดการ ‘ทรัพย์สิน อย่างไร? ไม่ให้เกิด ‘ศึกชิงมรดก’ !

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

‘พิธา’ ถือหุ้น ITV ตั้งแต่ปี 2551 โดยไม่ระบุ ‘ผจก.กองมรดก’ หลังบิดาเสียชีวิตปี 2549 ชนวนกกต.สอบปมคุณสมบัติต้องห้าม

จากกรณี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้า พรรคก้าวไกล ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ตัวแสดงใหญ่’ทางการเมืองขณะนี้ ถูกนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้สมัครส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคพลังประชารัฐยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ตรวจสอบว่า นายพิธาถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จำนวน 42,000 หุ้น มีคุณสมบัติต้องห้ามสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.⁣ ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) บัญญัติห้ามมิให้บุคคลที่เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ หรือไม่

สำนักข่าวอิศรา ได้สรุปข้อเท็จจริงเอาไว้เป็นประเด็นสำคัญต่างๆดังนี้
1.นายพิธาถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จริง (เจ้าตัวยอมรับแจ้งว่าเป็นหุ้นมรดก) แต่ถือหุ้นในสัดส่วนน้อย
2. บมจ.ไอทีวี มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการสื่อ (รายละเอียดวัตถุที่ประสงค์ ข้อ (18 ) ข้อ (40) และ ข้อ (41) ตามเอกสารจดแจ้งต่อนายเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) ปัจจุบันไม่ได้เผยแพร่ออกอากาศ บริษัทฯไม่ได้จดทะเบียนเลิกกิจการ สถานะยังเปิดดำเนินการ  นำส่งงบการเงินทุกปี งบการเงินรอบปีสิ้นสุด 31 ธ.ค.2564 งบดุล สินทรัพย์รวม 1,270,457,704 บาท หนี้สิน 2,894,513,831 บาท ขาดทุนสะสม (ยังไม่ได้จัดสรร) 7,488,800,690 บาท งบกำไรขาดทุน รายได้รวม 23,683,771 บาท (ผลตอบแทนจากเงินทุนและดอกเบี้ยรับ) ค่าใช้จ่ายรวม 10,937,852 บาท กำไร สำหรับปี 10,177,063 บาท กำไรเบ็ดเสร็จรวมสำหรับปี 4,169,647 บาท

ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา ตรวจสอบข้อมูลบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (แบบ บมจ.006) นำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามารายงาน พบว่า
วันที่ 23 เม.ย.2550 (23/04/2550) นายพงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ (บิดานายพิธา) ถือหุ้น บมจ.ไอทีวี จำนวน 42,000 หุ้น ลำดับที่ 1,042 จากจำนวนผู้ถือหุ้นรวม 9,246 คน แจ้งที่อยู่ 59 ซ.แสนสบาย 3 ถ.พระราม 4 คลองตัน คลองเตย 10110 เลขที่ใบหุ้น 06680180135571 
.
หลังจากนั้นวันที่ 10 เม.ย.2551 (10/04/2551) - 26 เม.ย.2566 ( 26/04/2566) มีชื่อนายพิธาเป็นผู้ถือครองหุ้นจำนวน 42,000 หุ้น มีรายละเอียดดังนี้
บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 10 เม.ย.2551 นายพิธาถือลำดับที่ 6,222 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,297 คน แจ้งที่อยู่ THE BOSTON CONSULTING GROUP U CHU LIANG BLD. ชั้น 31 ถ.พระราม 4 ลุมพินี ปทุมวัน เลขที่ใบหุ้น 06680180148012 

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 9 เม.ย.2553 (09/04/2553) นายพิธาถือลำดับที่ 5,336 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,314 คน แจ้งที่อยู่ 59 ซ.แสนสบาย 3 ถ.พระราม 4 คลองตัน คลองเตย 10110 เลขที่ใบหุ้น 06680180163154 

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 25 มี.ค.2557 (25/03/2557) นายพิธาถือลำดับที่ 4,820 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,346 คน แจ้งที่อยู่ 59 ซ.แสนสบาย 3 ถ.พระราม 4 คลองตัน คลองเตย 10110เลขที่ใบหุ้น 06680180200784 

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 24 เม.ย. 2558 (24/04/2558) นายพิธาถือลำดับที่ 4,482 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,358 คน แจ้งที่อยู่ 59 ซ.แสนสบาย 3 ถ.พระราม 4 คลองตัน คลองเตย 10110เลขที่ใบหุ้น 06680180210146

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 4 เม.ย. 2562 (04/04/2562) นายพิธาถือลำดับที่ 7,649 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,381 คน แจ้งที่อยู่ เลขที่ 98/26 อาคารซิลเวอร์ เฮอริเทจ ซ.สุขุมวิท 38 ถ.สุขุมวิท พระโขนง คลองเตย 10110 เลขที่ใบหุ้น 06680180247993

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 8 เม.ย. 2564 (08/04/2564) นายพิธาถือลำดับที่ 7,531 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,390 คน แจ้งที่อยู่ 98/26 อาคารซิลเวอร์ เฮอริเทจ ซ.สุขุมวิท 38 ถ.สุขุมวิท พระโขนง คลองเตย 10110 เลขที่ใบหุ้น 06680180276092

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 27 เม.ย. 2565 (27/04/2565) นายพิธาถือลำดับที่ 7,138 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,392 คน แจ้งที่อยู่ 98/26 อาคารซิลเวอร์ เฮอริเทจ ซ.สุขุมวิท 38 ถ.สุขุมวิท พระโขนง คลองเตย 10110 เลขที่ใบหุ้น 06680180285422

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 26 เม.ย. 2566 (26/04/2566) นายพิธาถือลำดับที่ 7,061 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,401 คน แจ้งที่อยู่ 98/26 อาคารซิลเวอร์ เฮอริเทจ ซ.สุขุมวิท 38 ถ.สุขุมวิท พระโขนง คลองเตย 10110 เลขที่ใบหุ้น 06680180304064

จากข้อมูลเห็นได้ว่า การถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด จำนวน 42,000 หุ้นของนายพิธาตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมาจนถึงล่าสุดปี 2566 เป็นเวลา 16 ปี เอกสารบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบบมจ.006) ที่นำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในแต่ละปี ท้ายรายชื่อและที่อยู่ผู้ถือหุ้นมิได้ระบุว่าถือในนาม ‘ผู้จัดการมรดก’ แต่อย่างใด 

ทั้งนี้ นายพงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ บิดานายพิธา เสียชีวิตในปี 2549
กรณีการถือครองหุ้น บริษัท ไอทีวี จำนวน 42,000 หุ้นของนายพิธา ยังเป็นประเด็นถูกนายเรืองไกรยื่นร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ให้ตรวจสอบว่า จงใจยื่นบัญชีแสดงการทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จหรือไม่ เนื่องจากไม่ปรากฏการถือครองหุ้นจำนวนดังกล่าวในบัญชีทรัพย์สินของนายพิธากรณีเข้ารับตำแหน่ง ส.ส.ปี 2562

‘นายกฯ’ สั่ง ‘กรมสรรพากร’ ศึกษากฎหมาย แก้ภาษี ‘มรดก-ที่ดิน’ หวังเพิ่มรายได้-ลดความเหลื่อมล้ำ ชี้!! ต้องปรับให้สอดคล้องปัจจุบัน

(9 ต.ค. 66) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้อธิบดีกรมสรรพากรไปพิจารณา การปรับปรุงกฎหมายการจัดเก็บภาษีการรับมรดก เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมองว่า กฎหมายการจัดเก็บภาษีการรับมรดกในปัจจุบันนั้น ถูกมองว่า เป็นกฎหมายที่มีขึ้นในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น ไม่สามารถจัดเก็บได้จริง

“ผมได้มอบหมายให้อธิบดีกรมสรรพากรไปพิจารณาแก้ไขกฎหมายดังกล่าว โดยกฎหมายจะต้องมีผลบังคับใช้ได้จริงทั้งในมุมการจัดเก็บรายได้และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม นอกจากนี้ ยังมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาปรับแก้ไขกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วย” นายเศรษฐา กล่าว

แหล่งข่าวจากกรมสรรพากรเผยว่า หลักในการพิจารณาแก้ไขกฎหมายภาษีการรับมรดกนั้น ต้องพิจารณาใน 3 ประเด็นหลัก คือ

1.) ฐานในการจัดเก็บ ซึ่งปัจจุบัน จัดเก็บมรดกในส่วนที่มีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาทต่อราย ซึ่งประเด็นนี้ ก็ต้องมาดูว่า รัฐบาลต้องการปรับเพิ่ม หรือ ลดลงหรือไม่อย่างไร
2.) รายการทรัพย์สินมรดกที่เข้าข่ายการเสียภาษี
3.) ข้อยกเว้นในการเสียภาษีดังกล่าว โดยภรรยาหรือสามีตามกฎหมายเมื่อได้รับมรดกจะได้รับการยกเว้นภาษี

ทั้งนี้ กรณียกเว้นการจัดเก็บภาษีการรับมรดกที่มีมูลค่าไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อรายนั้น ก็ถือเป็นช่องที่จะหลีกเลี่ยงภาษีได้ ยกตัวอย่าง บิดาซึ่งเสียชีวิตมีมรดกอยู่ 300 ล้านบาท แบ่งให้ภรรยา 100 ล้านบาท และ ลูก 2 คนๆละ 100 ล้านบาท มรดกดังกล่าว จะไม่มีภาระภาษีเลย เนื่องจาก ได้รับมรดกไม่เกิน 100 ล้านบาท กรณีภรรยานั้น ไม่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว เนื่องจาก กฎหมายให้ยกเว้นเฉพาะคู่สามีภรรยา

สำหรับภาษีการรับมรดก เป็นภาษีที่เก็บจากมูลค่ามรดกที่ทายาทแต่ละคนได้รับจากกองมรดก โดยผู้ที่ได้รับมรดกเป็นผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีและมักจะมีการกำหนดค่าลดหย่อนและอัตราภาษีที่เป็นประโยชน์กับผู้รับมรดกที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ตาย ทำให้ผู้รับมรดกที่มีความใกล้ชิดกับผู้ตายมีภาระภาษีที่น้อยกว่าผู้รับมรดกแต่ละคนมากกว่า เพราะรับภาระภาษีตามสัดส่วนมูลค่าของมรดกที่ได้รับ

“ภาษีการรับมรดกนั้น เกิดขึ้นเมื่อเจ้ามรดกตาย ผู้รับมรดกจากเจ้ามรดกแต่ละรายได้รับมรดกสุทธิมาในคราวเดียวหรือหลายคราว ถ้ามรดกที่ได้รับมาจากเจ้าของมรดกแต่ละรายรวมกันมีมูลค่าของทรัพย์สินทั้งสิ้นที่ได้รับมรดกหักด้วยภาระหนี้สินอันตกทอดจากการรับมรดกเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท” นายเศรษฐา กล่าว

ส่วนทรัพย์สินมรดกที่เข้าข่ายต้องเสียภาษี อาทิ อสังหาริมทรัพย์ หุ้น เงินฝาก ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน สำหรับการยกเว้นภาษีการรับมรดกนั้น อาทิ บุคคลผู้ที่ได้รับมรดกที่เจ้ามรดกแสดงเจตนา หรือเห็นได้ว่า มีความประสงค์ให้ใช้มรดกเพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์ หรือ หน่วยงานรัฐและนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือ กิจการสาธารณประโยชน์ หรือ บุคคล หรือองค์การระหว่างประเทศ ตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีต่อองค์กรสหประชาชาติหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติกันกับนานาประเทศ

แหล่งข่าวกล่าวว่า ภาษีมรดกนั้น เคยถูกนำมาใช้เมื่อปี 2476 แต่ได้ยกเลิกไป เนื่องจาก จัดเก็บได้น้อย ต่อมาในปี 2558 รัฐบาลได้ตรากฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาใหม่ โดยยอดการจัดเก็บภาษีในแต่ละปีจะอยู่ในหลักร้อยล้านบาทเท่านั้น ซึ่งถือว่า น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนมรดกที่ถูกส่งต่อมาให้ผู้รับมรดก เนื่องจาก วัฒนธรรมของประเทศไทย คือ การสะสมความมั่งคั่งเพื่อส่งต่อให้ลูกหลาน ซึ่งประเด็นการสะสมความมั่งคั่งเพื่อส่งต่อให้ลูกหลานนั้น ถือเป็นละเอียดอ่อนสำหรับสังคมไทยเช่นกัน เพราะเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการทำมาหากิน และในระหว่างที่ได้ทรัพย์สินมา ทางผู้มีทรัพย์สินก็ได้ชำระภาษีให้กับรัฐบาลมาก่อนหน้านี้แล้ว

ปิดทาง ‘มรดกเลือด’ คงสัมพันธ์ครอบครัวให้เหนียวแน่น แค่ทายาททุกฝ่าย หันหน้ามาคุยกันด้วยความเข้าใจ

ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว มักจะมีที่มาจากเรื่องของทรัพย์สินหรือปัญหาการแบ่งมรดก ไม่ลงตัว 

ปัญหาเล็ก ๆ ที่อาจลุกลามไปเป็นปัญหาใหญ่ จนไม่สามารถแก้ไขได้ทันเวลา หากทุกคนเข้าใจและยอมรับกติกาที่กฎหมายได้ระบุไว้ ปัญหาดังกล่าวอาจจะสามารถคลี่คลายลงได้

โดยเมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นจะตกทอดแก่ทายาท

หากผู้ตายมีหนี้ ผู้รับมรดกไม่ต้องรับผิดชอบหนี้เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตนเองได้รับ

ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก มี 2 ประเภทคือ ทายาทโดยธรรม และทายาทตามพินัยกรรมเรียกว่า ‘ผู้รับพินัยกรรม’

ทายาทโดยธรรมมี 6 ชั้น ได้แก่ 1.ผู้สืบสันดาน 2.บิดามารดา 3.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4.พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน 5.ปู่ ย่า ตา ยาย 6.ลุง ป้า น้า อา 

คู่สมรสของเจ้ามรดกก็ถือเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดก

พินัยกรรม คือ การแสดงเจตนาของบุคคลในเรื่องทรัพย์สินของตน ว่าหากตายไปแล้วทรัพย์สินนั้นจะยกให้ใคร อาจเป็นทายาทโดยธรรม หรือบุคคลที่ไม่ใช่ทายาทก็ได้

ผู้ทำพินัยกรรมต้องมีอายุ 15 ปีขึ้นไปและเป็นบุคคลที่มีความสามารถตามกฎหมาย

พินัยกรรมต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด เช่น ทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี และลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน, พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ, พินัยกรรมฝ่ายเมืองซึ่งต้องไปทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่รัฐ, พินัยกรรมแบบเอกสารลับ 

ผู้ทำพินัยกรรมจะเพิกถอนพินัยกรรมทั้งหมดหรือบางส่วนในเวลาใดก็ได้

การแบ่งทรัพย์มรดกนั้น หากผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ก็ให้แบ่งตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในพินัยกรรม หากไม่มีพินัยกรรมก็แบ่งให้ทายาทโดยธรรม ตามลำดับชั้น หากทายาทลำดับก่อนยังอยู่ ลำดับถัดมาจะไม่มีสิทธิได้รับมรดก เรียกว่า ญาติสนิทตัดญาติห่าง เช่น หากผู้ตายยังมีบุตรและพ่อแม่ที่มีชีวิตอยู่ พี่น้องของผู้ตายจะไม่มีสิทธิรับมรดก 

การแบ่งมรดกให้ทายาทแต่ละคนที่มีสิทธิได้รับมรดกในสัดส่วนที่เท่ากัน โดยพิจารณาจากมูลค่าของทรัพย์มรดกทั้งหมด แต่ทายาทอาจตกลงกันเองในการแบ่งมรดกได้ โดยไม่จำเป็นต้องแบ่งมรดกให้เท่าเทียมกันทุกประการ

ถ้าบุคคลใดตายโดยไม่มีทายาทรับมรดก ให้ทรัพย์มรดกนั้นตกเป็นของแผ่นดิน

ในการแบ่งปันทรัพย์มรดก แม้อาจจะดูเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่หากทายาททุกฝ่าย หันหน้ามาคุยกัน โดยยึดถือความสัมพันธ์อันดีในสถาบันครอบครัวเป็นสำคัญ ปัญหามรดกเลือดจะไม่มีทางเกิดขึ้น และจะยังสามารถรักษาครอบครัวไว้ได้ต่อไปอีกยาวนาน 

ส่อง 23 ประเทศที่มีอิทธิพลด้านมรดกวัฒนธรรมแห่งทวีปเอเชีย

ในทวีปเอเชีย มีหลายประเทศที่เป็นหมุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และหนึ่งในนั้นคือ ‘ประเทศไทย’ เนื่องด้วยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม อาหาร สถาปัตยกรรม และสถานที่ท่องเที่ยว ที่เมื่อต่างชาติได้มาเยือนแล้วก็จะติดใจ 

นอกจากนี้ยังมีหลายสถานที่ในไทยและวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้หลายอย่างที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘มรดกโลก’ ด้วย นั่นจึงทำให้ประเทศไทย ยิ่งมีชื่อเสียงมากขึ้นไปอีก

วันนี้ THE STATES TIMES ขอพาไปดู เปิด 23 ประเทศที่มีอิทธิพลด้านมรดกวัฒนธรรมแห่งทวีปเอเชีย จะมีประเทศใดติดอันดับบ้าง มาดูกัน…


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top