Sunday, 19 May 2024
มข

มข. ลงนามบันทึกข้อตกลงการจัดตั้งสถาบันพร้อมเปิดสถาบัน The KKU-SWJTU Tianyou Railway Institute ร่วมกับ SWJTU สาธารณรัฐประชาชนจีนเดินหน้าหลักสูตร High Speed Train Engineering

ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมกับ Southwest Jiaotong University (มหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์เจียวทง) สาธารณรัฐประชาชนจีนจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้งสถาบัน The KKU-SWJTU Tianyou Railway Institute พร้อมจัดพิธีเปิดสถาบันณคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภายในงานได้รับเกียติจากรองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นMs.Yang Ning รักษาการกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยณจังหวัดขอนแก่นรศ.นพ.ชาญชัยพานทองวิริยะกุลอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น Prof. Yao Faming รองอธิการบดี Southwest Jiaotong University (SWJTU) สาธารณรัฐประชาชนจีนผู้บริหารTianyou Railway Institute และ China Railways International Thailand อุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่นรองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่นผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่นเข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MoA) ในการจัดตั้งสถาบันThe KKU-SWJTU Tianyou Railway Institute

รศ.นพ.ชาญชัยพานทองวิริยะกุลอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นกล่าวว่ากระผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยระดับประเทศด้านรถไฟความเร็วสูง (High Speed Train) เพื่อรองรับยุทธศาสตร์การคมนาคมในภูมิภาคร่วมกับ Southwest Jiaotong University (SWJTU) 

ประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอินโดจีนสามารถเชื่อมโยงไปสู่ประเทศต่างๆในอาเซียนและสาธารณรัฐประชาชนจีนอีกทั้งHigh Speed Train ยังเป็นกุญแจสำคัญในการยกระดับเศรษฐกิจตามนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาลไทยอีกด้วย

“มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ตระหนักถึงความสำคัญของพันธกิจและการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สำคัญของชาติด้านรถไฟความเร็วสูงจึงกำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตด้านวิศวกรรมศาสตร์รถไฟความเร็วสูงร่วมกับมหาวิทยาลัยSouthwest Jiaotong (เจียว-ทง) ภายใต้ชื่อหลักสูตร “วิศวกรรมรถไฟความเร็วสูง”หรือ “High Speed Train Engineering” เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมและก่อตั้งสถาบันKKU-SWJTU Tianyou (เจียว-ทง) Railway Institute ณคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อจัดฝึกอบรมให้ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านรถไฟความเร็วสูง”

Prof. Yao Faming รองอธิการบดี Southwest Jiaotong University (SWJTU) สาธารณรัฐประชาชนจีนกล่าวว่า ระบบรางรถไฟไทย-จีนเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญของนโยบาย “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” one belt one road)เป็นการเชื่อมโยงระหว่างประเทศในแถบคาบสมุทรอินโดจีน โดยเฉพาะระหว่างไทยและจีนถือเป็นถนนสายหลักและกุญแจสำคัญ ด้วยความก้าวหน้าของนโยบาย one belt one road ส่งผลให้ไทยและจีนมีโอกาสมากขึ้นในการผลักดันและพัฒนาการขนส่งระบบราง

มหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์เจียวทงในฐานะสถาบันอุดมศึกษาด้านวิศวกรรมแห่งแรกของประเทศจีน และเป็นสถานศึกษาด้านของการรถไฟแห่งแรก ๆ ของประเทศจีน ได้ขับเคลื่อนงานด้านวิศวกรรมมาตลอด 127 ปี ผลิตผู้มีความรู้ความสามารถกว่า 300,000 คน และได้ผลิตนักวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศกว่า 60 คน และผลิตผู้เชี่ยวชาญด้านการสำรวจและออกแบบทางวิศวกรรมระดับประเทศอีก 31 คน เพื่อก้าวจากอันดับหนึ่งของจีนสู่อันดับหนึ่งของโลก โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูงของประเทศจีน ถือเป็นการสร้างต้นแบบนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จแบบก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมการขนส่งของจีน


“การก่อตั้งสถาบันระบบรางเทียนโย่ว โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์เจียวทงจะก่อเกิดคุณประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย นำเอาจุดเด่นของแต่ละมหาวิทยาลัย หลอมรวมเป็นการแลกเปลี่ยนทางการศึกษารูปแบบใหม่ระหว่างจีน-ไทย”

ขณะที่ รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยด้านหลักสูตรรถไฟความเร็วสูงอย่างแน่นแฟ้นและมีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Southwest Jiaotong University มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เพื่อร่วมพัฒนาหลักสูตร “วิศวกรรมรถไฟความเร็วสูง” (High Speed Train Engineering)มาอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ขับเคลื่อนการผลิตบัณฑิตด้านวิศวกรรมรถไฟความเร็วสูง ในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้าน Ms. Yang Ning รักษาการกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดขอนแก่นเปิดเผยว่ารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมสักขีพยานในการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ  สถาบันTianyou Railway Instutiueในต่างประเทศแห่งแรกของโลก ในปีนี้เป็นปีครบรอบ 10 ปีของการริเริ่มแบบแผนโครงการเส้นทางสายไหมใหม่แห่งศตวรรษที่ 21“一带一路” (หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง)  

การจัดตั้ง "สถาบัน Tianyou Railway Instutiue"  จึงนับเป็นโอกาสอันดี ในการสร้างนวัตกรรมร่วมกัน ส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาและโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้แก่ผู้เรียนในภูมิภาคประเทศไทยและเอเชียได้พัฒนาทักษะศักยภาพ เสริมสร้างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถด้านรถไฟความเร็วสูง เพื่อให้  " จีน-ไทย กลายเป็น ครอบครัวเดียวกัน"  และเพื่อให้ทั้งสองประเทศ  กระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น 


ทั้งนี้ สำหรับพิธีลงนามการจัดตั้งและเปิดศูนย์The KKU-SWJTU Tianyou Railway Institute  และหลักสูตร  (High Speed Train)  ในครั้งนี้มีข้อตกลงสำคัญ เพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการวิจัยร่วมกัน แลกเปลี่ยนเยี่ยมชม และฝึกอบรมด้านการขนส่งทางรางแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษาทั้งสองสถาบันก่อให้เกิดองค์ความรู้การถ่ายทอดเทคโนโลยีระดับสูงรวมไปถึงการผลิตบัณฑิตที่จะตอบสนองความต้องการในอุตสาหกรรมรถไฟความเร็วสูงของประเทศเพื่อสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถมีคุณภาพและศักยภาพด้านวิศวกรรมรถไฟความเร็วสูงเพื่อรองรับในตลาดแรงงานโดยมีระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2571)

‘ม.ขอนแก่น’ ผนึก ‘ม.จีน’ ผุดหลักสูตรวิศวกรรมรถไฟความเร็วสูง สร้างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม-ศก.

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผนึกมหาวิทยาลัยจากจีน ผุดหลักสูตรวิศวกรรมรถไฟความเร็วสูง พร้อมจัดตั้งสถาบันแลกเปลี่ยนการศึกษารูปแบบใหม่ระหว่างไทย-จีน รองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม

เมื่อไม่นานนี้ รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เปิดเผยว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์เจียวทง สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ลงนามความร่วมมือการจัดตั้งสถาบัน ‘The KKU-SWJTU Tianyou Railway Institute’ เพื่อร่วมมือทางวิชาการ และวิจัยระดับประเทศด้านรถไฟความเร็วสูง หรือ ‘High Speed Train’ เพื่อรองรับยุทธศาสตร์การคมนาคมในภูมิภาค

เนื่องจากเล็งเห็นว่าไทยถือเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอินโดจีน สามารถเชื่อมโยงไปสู่ประเทศต่างๆ ในอาเซียน และจีน อีกทั้ง High Speed Train ยังเป็นกุญแจสำคัญในการยกระดับเศรษฐกิจตามนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาลไทยด้วย

“มข.ตระหนักถึงความสำคัญของพันธกิจ และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สำคัญของชาติด้านรถไฟความเร็วสูง จึงกำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อผลิตบัณฑิตด้านวิศวกรรมศาสตร์รถไฟความเร็วสูงร่วมกับมหาวิทยาลัย SWJTU ภายใต้ชื่อหลักสูตรวิศวกรรมรถไฟความเร็วสูง เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และก่อตั้งสถาบัน KKU-SWJTU Tianyou Railway Institute ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. เพื่อจัดฝึกอบรม ให้ความรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านรถไฟความเร็วสูง”

ด้าน Prof. Yao Faming รองอธิการบดี SWJTU กล่าวว่า ระบบรางรถไฟไทย-จีน เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญของนโยบาย ‘หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง’ (one belt one road) เป็นการเชื่อมโยงระหว่างประเทศในแถบคาบสมุทรอินโดจีน โดยเฉพาะระหว่างไทยและจีน ถือเป็นถนนสายหลัก และกุญแจสำคัญ ด้วยความก้าวหน้าของนโยบาย one belt one road ส่งผลให้ไทยและจีนมีโอกาสมากขึ้นในการผลักดันและพัฒนาการขนส่งระบบราง

การก่อตั้งสถาบันระบบรางเทียนโย่ว โดยความร่วมมือระหว่าง มข. และมหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์เจียวทง จะก่อเกิดคุณประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย นำเอาจุดเด่นของแต่ละมหาวิทยาลัย หลอมรวมเป็นการแลกเปลี่ยนทางการศึกษารูปแบบใหม่ระหว่างจีน-ไทย

รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มข.กล่าวว่า ความร่วมมือจัดหลักสูตรวิศวกรรมรถไฟความเร็วสูงระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2566-2571) เพื่อรองรับกับเศรษฐกิจ การพัฒนาอุตสาหกรรม และรวมถึงการนำความเจริญสู่ชุมชน และประชาชนในพื้นที่ จึงต้องพัฒนาบัณฑิตที่มีความรู้ มีคุณภาพ และศักยภาพพร้อมรองรับในตลาดแรงงานในอนาคตตามนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาลไทย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. มีความพร้อมในด้านทรัพยากรบุคลากร มีผู้เชี่ยวชาญ ประกอบกับมีความร่วมมือ และความสัมพันธ์อันดีที่แน่นแฟ้นกับ SWJTU โดยได้แลกเปลี่ยน เยี่ยมเยือน ประชุมหารือในการจัดทำหลักสูตรร่วมกัน ตลอดจนได้รับสนับสนุนจากกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย ณ จังหวัดขอนแก่น หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ช่วยคณะวิศวกรรมศาสตร์ขับเคลื่อนการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพในด้านวิศวกรรมรถไฟความเร็วสูงในยุคดิจิทัล ให้เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บัณฑิต

‘นักวิจัย มข.’ เปลี่ยน ‘กากต้นเฉาก๊วย’ เป็น ‘เชื้อเพลิงอัดเม็ด-ตัวซับสารพิษ’ ช่วยลดปริมาณขยะฝังกลบ-ต่อยอดของเสีย สู่ ‘ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า’

(9 ม.ค.67) มข.วิจัย ‘กากต้นเฉาก๊วย’ หนุนภาคอุตสาหกรรมไทย ต่อยอดจนนำไปสู่การสร้างขยะหรือของเสียให้มีมูลค่าเพิ่ม จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงอัดเม็ด และตัวดูดซับสารปนเปื้อนได้สำเร็จ ยกระดับจาก Zero waste ให้กลายเป็น Waste to value ได้สำเร็จ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ภายใต้การอำนวยการของ รศ.นพ.ชาญชัยพาน ทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น รายงานถึงสถานการณ์ ท่ามกลางความพยายามในการจัดการกับของเสียหรือขยะจากภาคอุตสาหกรรม นักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ไม่เพียงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้โจทย์ปัญหา Zero waste แต่ยังต่อยอดจนนำไปสู่การสร้างขยะหรือของเสียให้มีมูลค่า หรือ Waste to value ซึ่งเป็นเทรนด์ของภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกในขณะนี้ รศ.ดร.ยุวรัตน์ เงินเย็น อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ น.ส.ฉัตรลดา ไชยวงค์ นักศึกษาปริญญาโท และทีมนักศึกษาปริญญาตรี จึงได้จับมือกับเฉาก๊วยแบรนด์ดังอย่าง “เฉาก๊วยเต็งหนึ่ง” นำกากต้นเฉาก๊วยซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตที่ถูกฝังกลบทิ้งไปอย่างเปล่าประโยชน์ปีละหลายพันตันมาเพิ่มมูลค่าจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงอัดเม็ด

รศ.ดร.ยุวรัตน์ เงินเย็น อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า “ทีมวิจัยของเรานับเป็นที่แรกของโลกที่นำกากต้นเฉาก๊วยมาสร้างเป็นเชื้อเพลิงอัดเม็ดและตัวดูดซับสารปนเปื้อนได้สำเร็จ มีประสิทธิภาพสูง ใช้งานได้จริง ยกระดับจาก Zero waste ให้กลายเป็น Waste to value ได้สำเร็จ”ด้วยคุณสมบัติของกากต้นเฉาก๊วยที่ให้ค่าความร้อนที่สูงอยู่แล้ว การนำมาแปรรูปเป็น ‘เชื้อเพลิงอัดเม็ด’ จะยิ่งช่วยลดพื้นที่ในการจัดเก็บ รวมทั้งลดต้นทุนการขนส่ง ผลิตภัณฑ์ที่ได้ก็มีความแข็งแรงทนทานมาก และไม่ต้องใช้ตัวประสานในการอัดเม็ด จึงทำให้ลดต้นทุนในการผลิตต่างจากชีวมวลชนิดอื่น ทั้งยังมีคุณลักษณะเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (มอก.) ไม่เพียงเชื้อเพลิงอัดเม็ด รศ.ดร. ยุวรัตน์ ยังชวนทำความรู้จักกับถ่านชีวภาพ (Biochar) และถ่านกัมมันต์ (Activated carbon) หรือชื่อที่หลายคนคุ้นเคย คือ ชาร์โคล ซึ่งเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

โดยทีมวิจัยได้นำกากต้นเฉาก๊วยมาผ่านกระบวนการสร้างรูพรุนด้วยการให้ความร้อนและสารเคมี เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวของวัสดุให้มีคุณสมบัติในการดูดซับ ก่อนจะพัฒนาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในด้าน wastewater treatment โดยดูดซับไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำ และดูดซับสีย้อมเมทิลีนบลู (Methylene Blue Dye) ซึ่งเป็นสีย้อมที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท เพื่อลดมลพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม ‘ประสิทธิภาพของถ่านชีวภาพจากกากต้นเฉาก๊วยนั้นดียิ่งกว่าถ่านชีวภาพจากซังข้าวโพดหรือเมล็ดทานตะวันด้วย รวมถึงถ่านกัมมันต์จากวัสดุชีวมวลอีกหลาย ๆ ชนิด’

ทั้งนี้ รศ. ดร. ยุวรัตน์ กล่าวด้วยรอยยิ้มว่า ผลงานวิจัยที่ถูกสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพืชเฉาก๊วยที่ไม่น้อยไปกว่าชีวมวลชนิดอื่น ๆ โดยหลังจากนี้ ทีมวิจัยจะยังคงเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกากต้นเฉาก๊วยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการนำขี้เถ้าที่เหลือภายหลังการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงอัดเม็ดจากกากต้นเฉาก๊วยมาทำให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เช่น อาจนำมาสร้างเป็นอิฐบล็อกจากขี้เถ้ากาก ซึ่งต้องบูรณาการการทำงานกับคณะหรือสาขาอื่น ๆ เพื่อนำองค์ความรู้มาร่วมกันต่อยอดต่อไป ไม่ให้งานวิจัยหยุดอยู่เพียงบนหิ้งเท่านั้น

‘ป๋าเทพ’ สุเทพ โพธิ์งาม ขอบคุณ ม.ขอนแก่น ยกให้เป็น ‘ศิลปินมรดกอีสาน’ ด้านนักแสดงตลก

เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 67 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน แห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี พุทธศักราช 2567 เนื่องในโอกาสมหามิ่งมงคล วันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมเทิดพระเกียรติ ด้วยการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน โดยรางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน มอบแด่ ศิลปิน ผู้เป็นต้นแบบศิลปะพื้นถิ่นอีสาน เปี่ยมล้นคุณธรรม จริยธรรม เป็นจุดเริ่มต้นแห่งแรงบันดาลใจ ถ่ายทอดศาสตร์ศิลป์ จนเป็นองค์ความรู้อันมีค่ายิ่ง มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนคนรุ่นหลังอย่างต่อเนื่อง มุ่งมั่นทุ่มเท สร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าต่อแผ่นดินอีสาน ก่อคุณูปการด้านศิลปวัฒนธรรมต่อแผ่นดินไทย

โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มอบรางวัลศิลปินมรดกอีสาน ประกอบด้วยสาขาทัศนศิลป์ สาขาวรรณศิลป์ และสาขาศิลปะการแสดง ซึ่งในรางวัลดังกล่าวปรากฏรายชื่อของ นายสุเทพ โพธิ์งาม หรือ ‘ป๋าเทพ’ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (นักแสดงตลก)

ด้าน นายสุเทพ โพธิ์งาม เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า จากกรณีที่ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้คัดเลือกตนได้รับมอบรางวัลมรดกอีสาน สาขาการแสดงตลก ซึ่งตนได้ทราบจากทางมหาวิทยาลัย เมื่อประมาณเดือนก่อน ตนก็ไม่ทราบรายละเอียดในรางวัลดังกล่าว ตนก็ไม่เคยคิดว่าจะได้รับรางวัลอะไร ที่ผ่านมาศิลปินตลกทั่วๆ ไป และก็เป็นตลกมานานแบบว่าอยู่วงการตลกจนแก่ แต่ตอนนี้อายุ 74 ปีแล้ว ก็วางมือจากทุกๆ อย่างแล้ว ตนก็ต้องขอบคุณทางมหาวิทยาลัยที่มอบรางวัลให้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top