Friday, 26 April 2024
ภาพยนตร์

ไทยเนื้อหอม!! โกยรายได้จากกองถ่ายต่างประเทศ หลักพันล้าน! | TIME TO KNOW EP.11

ทุบสถิติปี 2565! ไทยโกยรายได้หลักพันล้าน จากกองถ่ายทำของต่างชาติ

ที่ได้เดินทางเข้ามาถ่ายทำในประเทศไทยกว่าร้อยกว่าเรื่อง

รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปรับชมกันได้เลย...

 

วันนี้ได้รับเกียรติจาก 'คุณนริศโรจน์ เฟื่องระบิล'

ประธานคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ คณะที่ 2 

 

ดำเนินรายการโดย วสันต์ มนต์ประเสริฐ Content Manager THE STATES TIMES 

 

รับชม TIME TO KNOW ตอนอื่นๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist?list=PL60bae1syuyLeCUW3J3YQWxrNs4ZAeXBp

 

🎥 ช่องทางรับชม

Facebook: THE STATES TIMES PODCAST

YouTube: THE STATES TIMES PODCAST

TikTok: THE STATES TIMES PODCAST

'บิ๊กตู่' ปลื้ม!! ต่างชาตินิยมยกกองถ่ายหนังในไทย ดันอุตฯ หนังไทยโต โกยรายได้กว่า 9 ล้านพันบาท

(13 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบและยินดีที่ ประเทศไทยเป็นสถานที่ยอดนิยมที่ต่างประเทศมักเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ ทำให้สถานที่สวยงามของไทยเป็นที่รู้จัก เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ รวมทั้งยังมีส่วนในการกระจายรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว และกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศไปในโอกาสเดียวกันด้วย

นายอนุชา กล่าวว่า จากรายงานของกองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพบว่า ในปี 2565 มีการถ่ายทำภาพยนต์ต่างประเทศในประเทศไทยถึง 348 เรื่อง โดยเดือนกันยายน และพฤศจิกายน 2565 มีการถ่ายทำสูงสุดที่ 42 เรื่อง ในขณะที่ล่าสุด เดือนมกราคม 2566 มีการถ่ายทำไปแล้วถึง 34 เรื่อง สร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 298.11 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2566)

นายอนุชา กล่าวว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย ภาครัฐยังได้ให้การสนับสนุนเป็นสิทธิประโยชน์ในรูปแบบการคืนเงิน (Cash Rebate) ตามมติ ครม. (7 ก.พ. 2566) ร้อยละ 20-30 เป็นระยะเวลา 2 ปี สิทธิประโยชน์หลักอยู่ที่ร้อยละ 20 เมื่อมีการลงทุนในประเทศไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท ส่วนสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมรวมแล้วไม่เกินร้อยละ 10 

นายอนุชา กล่าวว่า ยังมีการปรับเพิ่มการคืนเงินจากเดิม 75 ล้านบาท/เรื่อง เป็น 150 ล้านบาท/เรื่อง จะทำให้เพดานเงินลงทุนสร้างภาพยนต์ต่อเรื่องเพิ่มเป็น 750 ล้านบาท จากเดิม 375 ล้านบาท เพื่อเป็นการรับกับแนวโน้มที่คณะถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศที่เข้ามาในไทยเป็นผู้สร้างรายใหญ่ เงินทุนสูง โดยเฉพาะภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! เทศกาลภาพยนตร์ไทย-มาเลเซีย 2023 คึกคัก พร้อมดันกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางด้านภาพยนตร์ของอาเซียน

(17 ก.ค. 66) สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มุ่งผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ ใช้มิติวัฒนธรรมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ และสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย โดยรับทราบผลสำเร็จของงานเทศกาลภาพยนตร์ไทยในมาเลเซียประจำปี 2566 ภายใต้ธีม ‘Bridging Thainess to International Audience’ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่  13 - 16 กรกฎาคม 2566 ที่โรงภาพยนตร์ GSC Mid Vally โดยมีแขกผู้มีเกียรติจากกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย กระทรวงการท่องเที่ยว ศิลปะและวัฒนธรรมมาเลเซีย คณะกรรมการพัฒนาภาพยนตร์แห่งมาเลเซีย (FINAS) คณะทูตานุทูตต่างประเทศ พร้อมทั้งสื่อมวลชนมาเลเซีย นักเรียน นักศึกษามาเลเซียและไทย คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำในมาเลเซีย และแฟนคลับชาวไทยและมาเลเซีย เข้าร่วมกันอย่างคึกคัก

ซึ่งนอกจากจะเป็นการส่งเสริมมิตรภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแล้ว ในเชิงสังคมและวัฒนธรรม ยังเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และความร่วมมือในอนาคตระหว่างอุตสาหกรรมภาพยนตร์และบันเทิงของทั้งสองประเทศ เปิดโอกาสทางด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาความสำเร็จของประเทศไทยสามารถดึงดูดคณะถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศเข้ามาถ่ายทำในไทย ทำให้สถิติ 7 ปี (2559 - 2565) สร้างรายได้เข้าประเทศแล้วกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท 

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ครม.พล.อ.ประยุทธ์ได้เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยเพิ่มเติมเพื่อดึงดูดคณะถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศ  ทำให้มั่นใจว่าจะผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางด้านภาพยนตร์ของอาเซียนได้ตามเป้าหมาย

สำหรับการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์ไทยในมาเลเซีย ประจำปี 2566 ภายใต้ธีม ‘เชื่อมความเป็นไทยสู่สากล’ นำภาพยนตร์ไทย 5 เรื่องจากเครือภาพยนตร์ไทยที่มีชื่อเสียงมาฉายสู่สายตามิตรชาวมาเลเซีย ได้แก่ แอน (Faces of Anne) เทอมสองสยองขวัญ (Haunted Universities 2nd Semester) บุพเพสันนิวาส 2 (Love Destiny the Movie) Fast & Feel Love เร็วโหด..เหมือนโกรธเธอ และหนังรักคลาสสิคตลอดกาล Friend Zone ระวัง...สิ้นสุดทางเพื่อน โดยจัดฉายในโรงภาพยนตร์ในเครือ Golden Screen Cinemas (GSC) 4 แห่งใน กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองปูตราจายา และรัฐสลังงอร์ ได้แก่ GSC Mid Valley GSC 1 Utama GSC MyTown และ GSC IOI City Mall โดย ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

‘แม่ณุน’ หนังผีตำนานกัมพูชา เตรียมลงโรงฉายไทยปีหน้า พล็อต ‘ยืดแขน-ห้อยหัว-รอคนรัก’ ทำคนไทยแอบเอ๊ะสุดๆ

(20 ธ.ค.66) เรียกเสียงฮือฮาจากโลกโซเชียลเป็นอย่างมาก เมื่อทาง Major Group ออกมาโพสต์โปรโมทภาพยนตร์ใหม่จากประเทศกัมพูชา เรื่อง ‘แม่ณุน’ ตำนานสุดสยองขวัญที่สร้างปรากฏการณ์เป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดตลอดกาลมาแล้วทั่วประเทศในกัมพูชา พร้อมเข้าฉาย 29 กุมภาพันธ์ 2024

โดยภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นตำนานสยองขวัญที่เล่าขานนับร้อยปีของประเทศกัมพูชา เกี่ยวกับหญิงสาวคนหนึ่งที่คนรักของเธอต้องไปทำภารกิจต่างแดนขณะที่เธอตั้งท้อง

เธอเฝ้ารอคอยคนรักด้วยความหวัง ทว่าก็เกิดเรื่องเลวร้ายขึ้น เพราะเธอสิ้นใจขณะคลอดลูก กลายเป็นผีตายทั้งกลม หลอนทั้งหมู่บ้าน สามารถยืดแขนยาว และห้อยหัวลงมาจากหลังคาได้

เมื่อตัวอย่างภาพยนตร์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ก็กลายเป็นไวรัลในโลกโซเชียลทันที ชาวเน็ตไทยแห่เข้ามาแสดงความคิดเห็นกันสนั่น ทั้งยังมีการเปรียบเทียบหนังเขมร ‘แม่ณุน’ กับหนังไทยที่กลายเป็นตำนานตลอดกาลอย่าง ‘แม่นาก พระโขนง’

โดยชาวเน็ตไทยตั้งข้อสังเกตว่า ตัวพล็อตเรื่องของหนังมีความคล้ายกัน ทั้งช่วงเวลาเป็นแนวย้อนยุค โบราณ ใช้ชีวิตริมคลอง พระเอกและนางเอก กำลังจะมีลูกด้วยกัน แต่ก็ต้องแยกจากกันเนื่องจากฝ่ายชายต้องห่างไกลบ้าน

จากนั้นฝ่ายหญิงก็คลอดลูกไม่สำเร็จ จนทำให้เสียชีวิต กลายเป็นผีตายทั้งกลม ที่เฝ้ารอการกลับมาของคนรัก อีกทั้งเมื่อกลายเป็นผี ก็สามารถยืดแขนได้อีก ซึ่งเป็นภาพจำของ ‘ผีแม่นาก’ ที่คนไทยคุ้นเคยกันกับฉากเก็บมะนาว

กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ความคิดเห็นจากโลกโซเชียล อาทิ

- เพื่อนแม่นากรึป่าว
- พล็อตใหม่ล้ำ ๆ ไม่ซ้ำใคร
- แม่นากมิติใหม่
- นี่คือตำนานจริง ๆ ใช่ไหม
- ชื่อคล้าย ๆ กันนะ 5555555

อย่างไรก็ดี อย่าเพิ่งตัดสินจากตัวอย่างหนังเพียงอย่างเดียว สำหรับใครที่อยากพิสูจน์ว่าตำนานรักข้ามมิติของ ประเทศกัมพูชา และ ประเทศไทย จะมีความเหมือนหรือความต่างอย่างไร คงต้องไปพิสูจน์เองในโรงภาพยนตร์

‘โลเคชันไทย’ สุดฮอต!! ตปท.ยกกองมาถ่ายหนัง-โฆษณา-รายการเพียบ ปี 66 ถ่ายไป 466 เรื่องจาก 40 ประเทศทั่วโลก โกยรายได้ 6.6 พันล้าน!!

เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 67 น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมกับข้อความ #NewRecord โดยแชร์ข้อมูลเรื่องสถิติการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2566 มีคณะถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศเดินทางเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย จำนวน 466 เรื่อง จาก 40 ประเทศทั่วโลก คาดการณ์รายได้จำนวนกว่า 6,600 ล้านบาท ถือเป็นสถิติจำนวนรายได้สูงสุดนับแต่มีการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย โดยข้อมูลดังกล่าว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566

จากสถิติปี พ.ศ. 2566 คณะถ่ายทำภาพยนตร์จาก ‘สหรัฐอเมริกา’ เข้ามาลงทุนถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยมากที่สุด มีเงินลงทุนกว่า 3,184 ล้านบาท จากจำนวนภาพยนตร์ 34 เรื่อง ตามมาด้วยคณะถ่ายทำจากเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มีเงินลงทุนกว่า 707 ล้านบาท ตามด้วยประเทศนจีน, เยอรมนี และเกาหลีใต้ ตามลำดับ

1.) กองถ่ายโฆษณาถ่ายทำมากที่สุด จำนวน 203 เรื่อง รายได้จำนวน 955.03 ล้านบาท

2.) สารคดี จำนวน จำนวน 81 เรื่อง รายได้จำนวน 56.90 ล้านบาท

3.) รายการโทรทัศน์ จำนวน 58 เรื่อง รายได้จำนวน 172.46 ล้านบาท

4.) ภาพยนตร์เรื่องยาว จำนวน 35 เรื่อง รายได้จำนวน 1,256.74 ล้านบาท

5.) มิวสิควิดีโอ จำนวน 34 เรื่อง รายได้จำนวน 105.99 ล้านบาท

6.) รายการเรียลลิตี้ จำนวน 30 เรื่อง รายได้จำนวน 668.76 ล้านบาท

7.) ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ (ซีรีส์) จำนวน 17 เรื่อง รายได้จำนวน 3,365.00 ล้านบาท

8.) ละครโทรทัศน์/รายการละเอียดอ่อน/อื่น ๆ จำนวน 8 เรื่อง รายได้จำนวน 21.90 ล้านบาท

58 จังหวัด ที่มีกองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศเข้าไปถ่ายทำ โดย 10 อันดับจังหวัดที่มีคณะถ่ายทำเดินทางเข้าไปถ่ายทำในพื้นที่มากที่สุด ได้แก่

1.) กรุงเทพมหานคร จำนวน 282 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร สถานีรถไฟหัวลำโพง ตึกคิง พาวเวอร์ มหานคร เป็นต้น

2.) จังหวัดชลบุรี จำนวน 77 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ ถนนเลียบชายหาดพัทยา เกาะล้าน เกาะสีชัง เป็นต้น

3.) จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 60 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ เมืองโบราณ The Studio Park ท่าเรือศุภนาวา เป็นต้น

4.) จังหวัดปทุมธานี จำนวน 52 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ ACTS Studio มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นต้น

5.) จังหวัดภูเก็ต จำนวน 47 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ หาดพาราไดซ์ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี เป็นต้น

6.) จังหวัดนนทบุรี จำนวน 41 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ อิมแพคอารีน่า ถนนบอนด์สตรีท เมืองทองธานี เป็นต้น

7.) จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 39 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ หมู่บ้านแม่กำปอง ปางช้างแม่สา อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เป็นต้น

8.) จังหวัดนครปฐม จำนวน 27 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ ตลาดน้ำดอนหวาย มูวีโอ้ ทาวน์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เป็นต้น

9.) จังหวัดกระบี่ จำนวน 26 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ หาดพระนาง หาดต้นไทร อ่าวไร่เล เป็นต้น

10.) จังหวัดราชบุรี จำนวน 25 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ ตลาดน้ำดำเนินสะดวก อุทยานเขาหินงู วัดเขาช่องพราน เป็นต้น

บ็อกซ์ออฟฟิศของจีน ยอดพุ่ง!! กวาดรายได้ 1 หมื่นล้านหยวน หลังหยุดยาวเดือน ก.พ. ช่วยปลุกอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฟื้นตัว

(24 ก.พ. 67) สำนักข่าวซินหัว, ปักกิ่ง รายงานข่าวว่า รายได้จากการจำหน่ายบัตรเข้าชมภาพยนตร์ (Box Office) ของจีน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์สูงเกินหลัก 1 หมื่นล้านหยวน (ราว 5 หมื่นล้านบาท) แล้ว

รายงานระบุว่า ช่วงหยุดยาวเทศกาลตรุษจีน (10-17 ก.พ.) มีส่วนสร้างรายได้ดังกล่าวกว่า 8 พันล้านหยวน (ราว 4 หมื่นล้านบาท) ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์

ข้อมูลจากเมาเหยียน (Maoyan) และบีคอน (Beacon) 2 แพลตฟอร์มภาพยนตร์ เผยว่า รายได้ดังกล่าวในเดือนกุมภาพันธ์สูงถึง 1.018 หมื่นล้านหยวน (ราว 5.09 หมื่นล้านบาท)

ทั้งนี้ รายได้จากการจำหน่ายบัตรเข้าชมภาพยนตร์ของจีน เมื่อวันศุกร์ที่ 23 ก.พ.ที่ผ่านมา อยู่ที่ 243 ล้านหยวน (ราว 1.21 พันล้านบาท)

นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก 'Fuangrabil Narisroj'

เมื่อวานนี้ (17 เม.ย. 67) นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก 'Fuangrabil Narisroj' ว่า…

"ขอเล่าในฐานะที่อยู่คณะกก.Film Board ซึ่งดูแลหนังต่างประเทศที่เข้ามาถ่ายทำในไทย

"คือมีกฎอันนึง เราจะให้เขาเลี่ยง ไม่ให้ถ่ายติดภาพพระบรมฉายาลักษณ์ เพราะไม่ต้องการให้เกิดประเด็นที่อาจทำให้กระทบสถาบันในทางตรงหรือทางอ้อมในภายหลังได้ ซึ่งคิดว่าหนังไทยก็คงหลักการคล้ายกัน

"ดูหนังเอาสาระดีกว่าครับ!"


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top