Monday, 20 May 2024
ฟื้นสัมพันธ์ไทย_ซาอุ

รู้จักอาชีพที่ซาอุฯ ห้ามคนต่างชาติทำ

จากกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม พร้อมคณะ ได้เดินทางเยือนประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้นำประเทศคนแรกในรอบ 32 ปี ที่เดินทางไปเยือนอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ เป้าหมายหลักคือการฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่ตกต่ำมายาวนาน ขณะที่มีการคาดหมายว่า การไปเยือนในครั้งนี้ จะมีข่าวดีสำหรับแรงงานไทย ที่จะมีโอกาสเดินทางไปทำงานที่ซาอุดีอาระเบียอีกครั้ง 

ทว่า ก่อนจะไปลุ้นว่า ซาอุดีอาระเบียจะเปิดรับแรงงานจากไทยหรือไม่นั้น เราไปดู ‘19 อาชีพสงวน’ สำหรับชาวซาอุดีอาระเบีย ที่ไม่อนุญาตให้คนต่างชาติทำ กันดีกว่า

ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ได้เผยแพร่ 19 ตำแหน่งงาน ที่อนุญาตให้แรงงานชายหญิงชาวซาอุดีอาระเบียเท่านั้น ได้แก่

1.) ผู้จัดการบริหารทรัพยากรบุคคล (Executive HR manager)
2.) ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR manager)
3.) ผู้จัดการด้านแรงงาน (Labor affairs manager)
4.) ผู้จัดการด้านธุรการ (Staff relations manager)
5.) ผู้เชี่ยวชาญงานธุรการ (Staff relations specialist)
6.) พนักงานเสมียนธุรการ (Staff relations clerk)
7.) พนักงานรับสมัครงาน (Recruitment clerk)
8.) พนักงานกิจการบุคคล (Staff affairs clerk)
9.) เสมียนควบคุมการเข้าร่วมประชุม (Attendance control clerk)

ครม. เคาะ MOU แรงงานไทย-ซาอุฯ คาด 7 มี.ค.นี้ ทั้ง 2 ฝ่าย ร่วมลงนาม

ครม. เห็นชอบร่างข้อตกลงแรงงานไทย-ซาอุดีอาระเบีย ต่อยอดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย-ซาอุฯ พร้อมขยายตลาดแรงงานไทยในตะวันออกกลาง

1 มีนาคม 2565 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม. เห็นชอบร่างข้อตกลงด้านแรงงานระหว่างกระทรวงแรงงานกับกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคมแห่งซาอุดีอาระเบีย จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างข้อตกลงว่าด้วยการจัดหาแรงงาน และร่างข้อตกลงว่าด้วยการจัดหาแรงงานทำงานบ้าน โดยอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามข้อตกลงในนามของฝ่ายไทย ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคมซาอุดีอาระเบีย หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย

ทั้งนี้ ร่างข้อตกลงแรงงานทั้ง 2 ฉบับ มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อสร้างความมั่นใจในการจัดหาแรงงานไทย (แรงงานทั่วไป/แรงงานที่ทำงานบ้าน) ไปทำงานในซาอุดีอาระเบียอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีจริยธรรม และมีประสิทธิภาพ คุ้มครองสิทธิของนายจ้างและลูกจ้าง โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันดำเนินการนำไปสู่ระบบที่เป็นที่ยอมรับ ทั้งการจัดหาแรงงาน การจัดส่งแรงงานไปทำงาน และการส่งแรงงานกลับประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าการจัดหาแรงงานเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายและมีจริยธรรม ซึ่งแรงงานและนายจ้างจะมีสิทธิรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ และสามารถดำเนินมาตรการทางกฎหมายกับสำนักงานจัดหางาน บริษัทจัดหางาน หรือตัวแทนจัดหางาน ในกรณีละเมิดกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อกำหนดที่ใช้บังคับ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top