Thursday, 16 May 2024
พระเกี้ยว

'สันติ' จี้ ผู้บริหารจุฬาฯ แสดงจุดยืนให้ชัด ปมเลิกอัญเชิญพระเกี้ยว งานบอลประเพณี

นายสันติ กีระนันทน์ อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โพสต์เพจเฟซบุ๊ก ระบุข้อความว่า ข่าวที่เกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในช่วงนี้ ที่ทำให้นิสิตเก่าเกิดความไม่พอใจอย่างมากในขณะนี้ ก็คือ ข่าวที่ผม copy มาจาก BBC NEWS ดังต่อไปนี้ครับ

คณะกรรมการบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯ ยังระบุด้วยว่า กิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว "เป็นกิจกรรมที่ล้าหลังอันขัดต่อคุณค่าสากลอย่างประชาธิปไตย ความเท่าเทียม และสิทธิมนุษยชน" ดังนั้น จากมติในวาระการประชุมสามัญครั้งที่ 1/2564 ของคณะกรรมการบริหารฯ มีมติ 29 : 0 เสียง เห็นควรให้มีการยกเลิกกิจกรรมการคัดเลือกผู้อัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ โดยระบุเหตุผล "เพื่อยุติการผลิตซ้ำธรรมเนียมปฏิบัติที่สะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมมิให้คงอยู่ในสถาบันการศึกษาอีกต่อไป"

"ไม่สูญสิ้นอะไรหรอก กิจกรรมนี้พึ่งมีมาไม่กี่ปีนี่เอง และก็แค่หมดสมัยไปแล้วเท่านั้น" นายกองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ระบุบนเฟซบุ๊กของเขา

ความเห็นส่วนตัวของผมนั้น ไม่อยากจะถกเถียงกับนิสิตปัจจุบัน (ซึ่งก็คงไม่ได้นับเป็นพี่น้องกันแล้ว ในยุคสมัยนี้)

‘นันทิวัฒน์’ โพสต์เดือด!! จี้ ‘ผู้บริหารจุฬาฯ’ ลาออก หลังปล่อยนิสิตย่ำยี ‘พระเกี้ยว’ เหมือนของข้างถนน

(27 ม.ค. 66) นายนันทิวัฒน์ สามารถ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ในฐานะนิสิตเก่าจุฬา รุ่นปี 2512 ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ‘Nantiwat Samart’ แสดงความคิดเห็นกรณีมีนักศึกษารายหนึ่งย่ำยีพระเกี้ยวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย โดยนำมาจัดใส่พานนำไปวางที่บันได และโรยอาหารสุนัขรอบ ๆ

นายนันทิวัฒน์ ระบุว่า "ลาออกดีกว่าไหม? นิสิตจุฬาที่เอาสัญลักษณ์ของสถาบันฯ พระเกี้ยวซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ทีได้รับพระราชทาน มาเล่นเป็นของต่ำข้างถนน โดยอ้างว่าทำงานศิลปะ มันเป็นศิลปะตรงไหน แต่มันคือการเปลือยตัวเองล่อนจ้อน มันคือความพยายามในการดึงของสูงมาเล่น มันคือการแสดงตนเป็นปฏิปักษ์กับสถาบันฯ คนที่ไม่มีความรัก ไม่เคารพสถาบันที่ตัวเองศึกษา ไม่รับนับถือในประเพณี ต่อต้านทุกสิ่งทุกอย่างที่คนส่วนมากให้การยอมรับ โดยอ้างเสรีภาพ กฎระเบียบของสังคมไม่ได้มีให้ต่อต้าน บางอย่างเปลี่ยนแปลงได้ แต่บางอย่างห้ามเปลี่ยนแปลงโดยเด็ดขาด

พระเกี้ยวเป็นสัญลักษณ์ที่ชาวจุฬาให้ความเทิดทูนเป็นของสูง และมีความภูมิใจในพระเกี้ยวที่ติดหน้าอกเสื้อหากผู้ใดที่คิดว่า ไม่ใช่ เธอมาอยู่ผิดที่ผิดทางแล้ว ที่นี่อาจไม่ใช่ที่เหมาะกับเธอ ไปอยู่ในที่ที่ชอบไปไคว่คว้าหาเสรีภาพในที่อื่นที่คิดว่าใช่ดีกว่า จะทำอะไรที่พิศดารกว่านี้ก็ไม่มีใครต่อต้าน

‘ศิษย์เก่าฯ’ จี้ ยกเลิก ‘สัญลักษณ์ใหม่-Brand Chula’ โวย!! คนออกแบบอยากทันสมัย แต่ไม่เข้าใจรากเหง้า

กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า กลุ่มนิสิตเก่าขอตราพระเกี้ยวยั้งยืนยง เรียกร้องอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยกเลิกตราสัญลักษณ์ใหม่ และ Brand Chula ชี้คนออกแบบรูปคล้ายพระเกี้ยวเขียนตามจินตนาการ อยากให้ดูทันสมัย แต่ไม่เข้าใจรากเหง้า อีกทั้งคำว่า ‘Chula’ ยังตัดแยกแถมด้อยค่าพระนามเต็ม ซ้ำแบรนด์สินค้าอื่น และเป็นคำสแลงในภาษาสเปนเชิงชู้สาว

(4 มี.ค. 66) รายงานข่าวแจ้งว่า กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า ‘กลุ่มนิสิตเก่าขอตราพระเกี้ยวยั้งยืนยง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย’ ประกอบด้วย รศ.ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตและรองอธิการบดีฝ่ายทรัพย์สิน ปี 2520-2532 พร้อมด้วย รศ.ศรีวงศ์ สุมิตร รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต ปี 2539-2543 คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ปี 2526-2529, นายประสาร มฤคพิทักษ์ นายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ ปี 2513, ผศ.จำรูญ ณ ระนอง ประธานสภาคณาจารย์ ปี 2538-2539, นายธัชพงศ์ ธรรมพุฒิพงศ์ นายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ ปี 2529 และนายสวัสดิ์ จงกล อดีตผู้อำนวยการหอประวัติ ผู้เชี่ยวชาญประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำหนังสือถึง ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงวันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา เพื่อขอให้พิจารณายกเลิกตราสัญลักษณ์ใหม่ (รูปคล้ายพระเกี้ยว) และ Brand Chula เนื่องจากมีความไม่ถูกต้องเหมาะสมต่อการเผยแพร่สู่สาธารณะ สร้างความเสียหายต่ออัตลักษณ์และเกียรติภูมิของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยพบว่า ‘ตราพระเกี้ยว’ ซึ่งเป็นตราประจำมหาวิทยาลัยเป็นรูปพระเกี้ยววางบนหมอน ซึ่งมีที่มาจากพระราชลัญจกรประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พบว่า ตราสัญลักษณ์ที่เขียนขึ้นใหม่ เป็นการเขียนตามจินตนาการของผู้ออกแบบที่ไม่มีความรู้ในเรื่องศิลปะในสถาปัตยกรรมไทย และไม่เข้าใจรากเหง้าและประวัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เพียงเพื่อให้ดูทันสมัยและเป็นสากล แม้จะอ้างว่าไม่ได้ใช้เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย แต่อาศัยอำนาจใดประกาศให้ใช้ตราสัญลักษณ์อันมีลักษณะที่ผิดเพี้ยนทำให้คนส่วนใหญ่หลงเข้าใจผิด และเข้าข่ายกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551

ส่วนตัวอักษร Logotype ที่ใช้คำว่า ‘Chula’ เป็นการตัดแยกชื่อเต็มซึ่งเป็นพระนามของพระมหากษัตริย์ อันเป็นการด้อยค่าพระนามเต็มแล้วสร้างชื่อใหม่ขึ้นมาแทน และซ้ำกับชื่อสินค้าหลายชนิดทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งในภาษาสเปน คำว่า ‘Chula’ เป็นคำสแลงที่มีความหมายเป็นคำชมหญิงสาวในเชิงดูหมิ่นไปในเรื่องทางเพศอีกด้วย เป็นการเปลี่ยนภาพลักษณ์แบรนด์ที่ทำให้ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยดูตกต่ำมากกว่าทำให้ดูดีเป็นสากล อีกทั้งเป็นการออกแบบสัญลักษณ์แทนชื่อตัวเองที่มีลักษณะไม่เป็นมงคล คือตัดขาดกันเอง สูงต่ำสลับกัน และแตกต่างในทิศทางซ้ายขวาของหัวตัวอักษรและดูไม่มั่นคงสมกับเป็นสถาบันการศึกษาอีกด้วย จึงไม่สมควรนำมาใช้อย่างเป็นทางการในสถานะของ Brand Chula จึงควรใช้ชื่อเต็มให้รับรู้และจดจำด้วยคำว่า ‘Chulalongkorn’ ไม่ควรจงใจตัดทอนให้สั้น เพียงเหตุผลว่าง่ายต่อการจดจำแล้วสูญเสียเอกลักษณ์สำคัญ อีกทั้งยังสื่อความหมายในเชิงลบต่อจุฬาฯ อีกด้วย

ด้านเฟซบุ๊กที่ชื่อว่า ‘ขอตราพระเกี้ยวยั้งยืนยง’ โพสต์ข้อความระบุว่า…

เมื่อวันที่ 1 มีนาคมนี้ ‘กลุ่มนิสิตเก่าขอตราพระเกี้ยวยั้งยืนยง’ ได้ส่งหนังสือคัดค้านการใช้รูปตราสัญลักษณ์แบบใหม่ไปถึงอธิการบดี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ซึ่งท้ายเอกสารฉบับนี้ลงนามโดย รศ.ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ (รองอธิการบดี พ.ศ.2520-2532), รศ.ศรีวงศ์ สุมิตร (รองอธิการบดี พ.ศ. 2539-2543 และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ พ.ศ. 2526-2529), ผศ.จำรูญ ณ ระนอง (ประธานสภาคณาจารย์ พ.ศ.2538-2539 และนายกสโมสรอาจารย์จุฬาฯ พ.ศ. 2539 - 2543), นายประสาร มฤคพิทักษ์ (นายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ พ.ศ. 2513) และนายธัชพงศ์ ธรรมพุฒิพงศ์ (นายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ พ.ศ.2529)

โดยเนื้อหาในเอกสารได้ระบุว่ากลุ่มนิสิตเก่าจุฬาฯ ซึ่งมีหลายรุ่นหลายคณะต้องการแสดงความเห็นคัดค้านการใช้ตราสัญลักษณ์ใหม่ที่ดูคล้ายตราพระเกี้ยวเดิม และรูปสัญลักษณ์ตัวอักษรคำว่า ‘Chula’ ซึ่งมหาวิทยาลัยระบุให้เป็น Official Logo Brand ใช้ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทุกชนิดและให้ทุกหน่วยงานใช้รูปตราสัญลักษณ์นี้ ซึ่งในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยก็เปลี่ยนจากตราพระเกี้ยวเดิมมาเป็นตราใหม่นี้หมดแล้ว

‘คุณหญิงบุญเลื่อน’ อดีต ผอ.โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ผู้เอาตำแหน่งเป็นหลักประกัน ช่วยให้ นร.ไม่ต้องปักชื่อที่ชุด

จากกรณี ‘หยก’ เยาวชนหญิงวัย 15 ปี จำเลยคดีมาตรา 112 ที่มีอายุน้อยที่สุด นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ได้แต่งกายด้วยชุดไปรเวทเข้าเรียน และได้ถูกเชิญตัวออกจากโรงเรียน จนเกิดเป็นกระแสดรามาขึ้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 66 เฟซบุ๊กเพจ ‘บูรพาไม่แพ้’ ได้โพสต์ข้อความถึงเรื่องเครื่องแบบชุดนักเรียน ที่กำลังมีประเด็นในสังคมอยู่ ณ ขณะนี้ โดยระบุว่า…

“ทำไม #ชุดนักเรียน ของโรงเรียน #เตรียมอุดมศึกษา จึงไม่มีชื่อโรงเรียน,เลขประจำตัว หรือชื่อนักเรียนปักติดอยู่บนเสื้อ? (เป็นเสื้อสีขาว ติดเข็ม ‘พระเกี้ยวน้อย’ เท่านั้น)

ช่วงปี 2516 กรมสามัญศึกษาได้ออกระเบียบบังคับให้ทุกโรงเรียนปฏิบัติเหมือนกันหมด คือให้นักเรียนทุกคนต้องปักชื่อย่อของโรงเรียน และชื่อของตนเองหรือเลขประจำตัวบนเสื้อ เพื่อจะทราบได้ว่า เรียนที่ไหน? และเมื่อทำผิดแล้ว จะได้ตามตัวได้ถูกคนถูกตัว

แต่นักเรียนโรงเรียนเตรียมฯ ไม่ต้อง เพราะ ผอ. ขณะนั้น เข้าชี้แจงกับทางกระทรวงว่า นักเรียนของโรงเรียนเตรียมฯ ดี และเรียบร้อยอยู่ในระเบียบทุกคนไม่จำเป็นต้อง มีชื่อโรงเรียนหรือชื่อนักเรียนติดที่อกเสื้อ 

อธิบดีฯ ก็ถามกลับมาทันทีว่า “แล้วคุณหญิงจะเอาอะไรมาเป็นหลักประกัน”
ผอ. ตอบว่า “โต๊ะกับเก้าอี้ตัวหนึ่ง”

อธิบดี ถึงกับอึ้ง 

แล้วโต๊ะกับเก้าอี้ 1 ตัวนั้นสำคัญอย่างไร?

เป็น ‘โต๊ะ’ และ ‘เก้าอี้’ ของผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในขณะนั้น
‘คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู’

นับจากวันนั้นมาถึงวันนี้ ด้วยเกียรติของ ตอ. จึงเป็นโรงเรียนเดียวในประเทศไทย ที่นักเรียนไม่ต้องปักชื่อของโรงเรียน หรือชื่อของตนเองไว้ที่อกเสื้อ โดยมีคำสั่งจากผู้อำนวยการ อาจารย์คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู ว่านักเรียนเตรียมฯ ทุกคนจะต้องติดตราสัญลักษณ์พระเกี้ยวน้อยที่อกเสื้อ หากใครถอดพระเกี้ยวออก จะถูกลงโทษ

คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู กล่าวว่า “นักเรียนเตรียมฯ แค่เห็นข้างหลังก็รู้ว่าเป็นนักเรียนเตรียมฯ”

'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' เผย!! พระเกี้ยวเป็นเครื่องสูง จึงต้องใช้เสลี่ยงอัญเชิญ ชี้!! อย่านำ 'การเมือง-เสรีภาพ' มาเกี่ยว หากไม่เคารพอย่าหลู่เกียรติ

(1 เม.ย.67) นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ 'ขอตราพระเกี้ยวยั่งยืนยง' ระบุว่า...

นิสิตจุฬาเห็นภาพนี้แล้วรู้สึกอย่างไร
นี่มันคือการเทิดพระเกียรติพระเกี้ยว
หรือนี่มันคือหลู่เกียรติพระเกี้ยว
หากไม่เต็มใจที่จะเทิดพระเกียรติ
ก็ไม่ต้องอัญเชิญพระเกี้ยวออกมา

พระเกี้ยวคือ ของสูง 
เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศา
เป็นเครื่องประดับของพระจุลจอมเกล้าฯ
เป็นสัญญลักษณ์ที่ได้รับพระราชทาน

เนื่องจากพระเกี้ยวเป็นเครื่องสูง
การอัญเชิญจึงต้องใช้เสลี่ยง
ไม่ใช่เรื่องการเมือง หรือสิทธิเสรีภาพ
ไม่รักไม่เคารพก็อย่าหลู่เกียรติ

นิสิตจุฬาทุกคนต้องมีความภาคภูมิใจ
ในสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
หากไม่รักไม่ภูมิใจ อย่าอยู่เลย 

ขอตราพระเกี้ยวยั้งยืนยง
นิสิตประสงค์เป็นธงชัย
ถาวรยศอยู่คู่ไทย เชิดไชย ชโย

งานฟุตบอลประเพณี ‘จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์’ 2567 สัญลักษณ์แห่งความเสื่อมถอยของเด็กกิจกรรม

เมื่อภาพการแห่ ‘พระเกี้ยว’ ในงานฟุตบอลประเพณี ‘จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์’ เมื่อวันที่ 31 มี.ค.67 ปรากฏขึ้นตามสื่อต่าง ๆ ก็สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เข้าใจถึง ‘รากเหง้า’ และคำว่า ‘เกียรติภูมิจุฬาฯ’ จากเหล่าบรรดาเด็ก ๆ นิสิตที่เป็นผู้จัดกิจกรรมในงานฟุตบอลประเพณีนี้ในทันที ทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเสื่อมถอยของกิจกรรมที่เด็ก ๆ กลุ่มนี้ได้จัดขึ้นอีกด้วย 

>> ‘พระเกี้ยว’ สัญลักษณ์ที่ชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภูมิใจ...

สืบเนื่องจากชื่อของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดมหาวิทยาลัยนี้นั้น มีประวัติโดยย่อที่น่าสนใจ ดังนี้... 

ด้วย ล้นเกล้าฯ ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดให้พระเกี้ยวเป็นพิจิตรเรขาประจำรัชกาลของพระองค์ เมื่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือนหรือโรงเรียนมหาดเล็ก จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระเกี้ยว เป็นเครื่องหมายหน้าหมวกของนักเรียนมหาดเล็ก และได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายของโรงเรียน เมื่อโรงเรียนมหาดเล็กได้วิวัฒน์ขึ้นเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในเวลาต่อมา 

จากนั้นการอัญเชิญ ‘พระเกี้ยว’ ในงานฟุตบอลประเพณี ‘จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์’ จึงปรากฏเป็นประจักษ์หลักฐานครั้งแรกในหนังสือพิมพ์สยามนิกร (พิเศษ) ฉบับวันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2507 มีนิสิตหญิง 1 คน เป็นผู้อัญเชิญ โดยการอัญเชิญพระเกี้ยวเข้ามาสู่สนามการแข่งขัน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่นักกีฬาและกองเชียร์ ซึ่งจะคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นนิสิตชาย 1 คน และ นิสิตหญิง 1 คน เป็นตัวแทนบรรดานิสิตอัญเชิญพระเกี้ยวเข้าสู่สนามแข่งขัน และเป็นเช่นนี้มาโดยตลอดมาจนเกือบ 60 ปี

ทว่า ในปี พ.ศ. 2564 องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) มีมติในการประชุมสามัญ 29 : 0 เสียง เห็นควรให้มีการ ‘ยกเลิก’ กิจกรรมการคัดเลือกผู้อัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีฯ โดยอ้างว่า เป็นธรรมเนียมที่สะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมและมีการบังคับให้นิสิตให้มาแบกเสลี่ยง ทั้ง ๆ ที่เป็นประเพณีปฏิบัติที่สืบทอดมากว่า 50 ปีแล้ว และไม่เคยมีข่าวปรากฏว่า นิสิตผู้ปฏิบัติหน้าที่แบกเสลี่ยง ‘ร้องเรียน’ หรือ ‘ประท้วง’ ต่อประเพณีอันดีงามนี้มาก่อน 

ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 มี.ค.67 ผู้เขียนจึงขออนุญาตไม่ขอเรียกพิธีการนี้ว่า เป็นการอัญเชิญ ‘พระเกี้ยว’ เพราะการนำพาน ‘พระเกี้ยว’ วางไว้บนหลังคารถกอล์ฟไฟฟ้าเข้าสู่สนามเป็นเพียง ‘การแห่’ เนื่องด้วยวิธีและวิถีการปฏิบัติเช่นนี้ บรรดานิสิตเก่าแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มาก ๆ ไม่น่าจะเห็นด้วย 

ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นแสดงให้เห็นถึงความเสื่อมถอยของเด็กกิจกรรมภายใต้การชี้นำและครอบงำของกลุ่มต่อต้านสถาบันหลักของชาติที่ทำสำเร็จทั้งในระดับอุดมศึกษา มัธยมศึกษา และกำลังก้าวเข้าสู่ประถมศึกษา 

เรื่องราวอันเป็นประวัติศาสตร์จารีต ขนบธรรมเนียมประเพณี อันเป็นวัฒนธรรมนั้น ไม่ใช่การแบ่งแยกชนชั้นหรือกดขี่ข่มเหงแต่อย่างใด หากแต่เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงการแสดงออกร่วมกันในพิธีการที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวตนและที่มาแห่งองค์กรของสถาบันที่ผู้เข้าร่วมสังกัด ได้สะท้อนถึงความงดงามแห่งวิถี อีกทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงเกียรติของตนที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ และความไว้วางพระราชหฤทัยขององค์ผู้พระราชทาน

แน่นอนว่า สังคมไทยในขณะนี้ กำลังอยู่ในช่วงตอบรับกับกระแสธารที่ผิดแผก ซึ่งผู้คนในสังคมที่เชื่อตาม ยอมตาม อาจได้รับบทเรียนจากการกระทำ ที่มีตัวอย่างให้เห็นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นชาวยูเครน ที่เลือก Volodymyr Zelenskyy ผู้เป็นหุ่นเชิดและเครื่องมือของชาติตะวันตกมาเป็นประธานาธิบดี เปิดฉากท้าทายเดินหน้ารบกับรัสเซียจนประเทศชาติบ้านเมืองพินาศย่อยยับ เป็นหนี้สินต่างประเทศมากมายชนิดที่ไม่สามารถใช้คืนได้ใน 20-30 ปีข้างหน้า ทั้งไม่อาจที่จะฟื้นคืนสภาพของบ้านเมืองที่เสียหายอย่างหนักภายใน 10 ปีข้างหน้าได้ 

คงหวังได้เพียงแค่สวดภาวนาอ้อนวอนให้สรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ปกปักรักษา คุ้มครองบ้านเมือง ได้ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องเลวร้ายต่าง ๆ ต่อชาติบ้านเมือง หากเลี่ยงไม่ได้ หนีไม่พ้น ก็ขอให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด และที่สำคัญที่สุดคือ ขอให้บรรดาเหล่าผู้ที่เห็นผิดเป็นถูกจนหลงทางเหล่านี้ ได้ ‘ตาสว่าง’ และ ‘คิดเป็น’ กลับตัวเปลี่ยนใจมาช่วยกันพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองอันเป็นที่รักของเราคนไทยทุกคนในทางที่ ‘ใช่’ ที่ ‘ถูก’ ที่ ‘ควร’ เพื่ออนาคตที่ดีตลอดไปด้วย...เทอญ 

'อ.เข็มทอง' แซะแรง!! ปมเชิญ 'พระเกี้ยว' ไว้บนรถกอล์ฟ ลั่น!! ถ้าอยากแบก น่าจะให้ 'ศิษย์เก่า-ผู้หลักผู้ใหญ่' ไปแบกเอง

เมื่อวานนี้ (1 เม.ย. 67) จบลงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับงานกีฬาฟุตบอลสานสัมพันธ์ ‘จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์’ เมื่อวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากผลการแข่งขันแล้ว อีกหนึ่งไฮไลต์ของงานที่มักได้รับความสนใจคือ การแปรอักษร การเดินขบวนพาเหรดล้อการเมืองไทยของทั้งสองสถาบัน แต่ปรากฏว่าในการเดินขบวนดังกล่าว กลับเกิดดรามาอย่างร้อนแรง เมื่อพาเหรดของฝั่งจุฬาฯ ได้มีการอัญเชิญ ‘พระเกี้ยว’ ขึ้นตั้งไว้บนหลังคารถกอล์ฟพร้อมแห่ไปในขบวน

โดยหนึ่งในผู้ที่ออกมาแสดงความเห็น ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 เม.ย.67 ซึ่งก็คือ ผศ.ดร.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า “ถ้าเราให้นิสิตแบกพระเกี้ยว เราก็จะต้องเกณฑ์แรงงานกันทุกปี ถ้าเราเอาศิษย์เก่าและผู้หลักผู้ใหญ่ที่รับไม่ได้มาแบกพระเกี้ยว เราจะมีแรงงานพอแบกจากเบตงไปแม่สอดกลับมาสักห้ารอบก็คงจะได้”

'ต่อตระกูล' สลดใจ!! นิสิตจุฬาฯ ด้อยค่าตัวเอง ลบหลู่ 'พระเกี้ยว' สวนทางเจตจำนงอดีตนิสิตจุฬาฯ ที่ขอไว้เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ

(2 เม.ย. 67) นายต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า…

นิสิตจุฬาฯ ด้อยค่าตัวเอง พระเกี้ยว ถูกนำออกมาลบหลู่ ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก

หากไม่ใช้ ก็ขอพระเกี้ยว จำลองชิ้นนี้ กลับคืนมาให้นิสิตเก่าจำนวนเป็นหลายแสนคนที่เขาเห็นคุณค่าเอามาเก็บรักษาไว้ในที่เหมาะสมเถิด

หมายเหตุ : เมื่อประมาณปี 2512 นายธีรชัย เชมนะสิริ นายก สโมสรนิสิตจุฬาฯ ( สจม.) ได้ทูลขอพระราชทานพระเกี้ยวจำลอง และได้รับพระราชทานมาจากในหลวง ร.9 นิสิตได้นำมาเก็บรักษาไว้เองที่ตึกจักรพงษ์ เพื่ออัญเชิญไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของนิสิต รวมทั้งนำออกมาเพื่อเป็นขวัญกำลังใจของนิสิตจุฬาฯ ในงานฟุตบอลประเพณีเป็นประจำ โดยเป็นความปรารถนาของนิสิตในยุคนั้นเองทั้งสิ้น

‘อ.ไชยยันต์’ เทียบ ‘ขบวนพระเกี้ยว-ขบวนธรรมจักร’  ชี้!! แตกต่างกันชัดเจน สะท้อนความตั้งใจของคนทำ 

จากกรณี ‘นิสิตจุฬาฯ’ ใช้รถกอล์ฟอัญเชิญ ‘พระเกี้ยว’ ในงานฟุตบอลสานสัมพันธ์ประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ CU-TU Unity Football Match 2024 ซึ่งขบวนอัญเชิญ ‘พระเกี้ยว’ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ใช้รถกอล์ฟ EV อัญเชิญพระเกี้ยว ทำให้เป็นประเด็นร้อน สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนี้

ล่าสุด (3 เม.ย. 67) ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ภาพและข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เปรียบเทียบขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวกับขบวนธรรมจักรของธรรมศาสตร์ ในงานฟุตบอลสานสัมพันธ์จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ที่ผ่านมา พร้อมระบุข้อความว่า.. 

“ตั้งใจทำให้ดูเป็นแบบนี้ ก็มีความหมายแบบหนึ่ง ไม่ได้ตั้งใจทำให้ดูแบบนี้ แต่มันพลาด ก็จะมีความหมายอีกแบบหนึ่ง ยิ่งถ้าตั้งใจทำให้ขบวนพระเกี้ยวจุฬาฯ แตกต่างอย่างชัดเจนจากขบวนธรรมจักรของธรรมศาสตร์ โดยรู้ล่วงหน้าด้วยแล้ว ก็ยิ่งจะมีความหมายอีกแบบหนึ่ง”

'อ.เจษฎา' แจง!! งานนี้ไม่ใช่บอลประเพณี แต่ผู้ใหญ่ 2 มหาลัยเห็นชอบรูปแบบ แนะ!! หากใครอาสาแบกเสลี่ยง 'อัญเชิญพระเกี้ยว' รีบสมัครล่วงหน้าได้เลย

(4 เม.ย.67) จากกรณีดรามา ‘นิสิตจุฬาฯ’ ใช้รถกอล์ฟอัญเชิญ ‘พระเกี้ยว’ ในงานฟุตบอลสานสัมพันธ์ ‘จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์’ ปีนี้ สร้างเสียงวิจารณ์กระหน่ำ มีทั้งผู้เห็นด้วยและคิดต่าง กระทั่งคณะผู้จัดงาน ฟุตบอลสานสัมพันธ์จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ CU-TU Unity Football Match 2024 ออกมาชี้แจงความหมายของขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว ที่ตั้งใจคัดสรรสัญลักษณ์ ตัวแทนองค์ความรู้แขนงต่าง ๆ มา

นอกจากนี้ กรณี พ.อ.รศ.นพ.วิภู กำเหนิดดี แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู เชี่ยวชาญในการรักษาโรคปวดเรื้อรัง ระบุทางเฟซบุ๊กส่วนตัว ไม่ต้อนรับแพทย์ใช้ทุนที่จบจากที่นี่ เนื่องจากไม่ชอบ ทำให้ต้นสังกัดอย่าง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ร่อนคำชี้แจง พร้อมขออภัยบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบจากการแสดงความคิดเห็นดังกล่าว ตลอดจนให้แพทย์รายดังกล่าวลบโพสต์ไปจากโซเชียลแล้วนั้น

เรื่องราวทั้งหมดนี้ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ออกมากล่าวทางเฟซบุ๊กในมุมที่อาจมีผู้เข้าใจผิดว่า งานบอลที่เพิ่งจัดไปไม่ใช่งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

รศ.ดร.เจษฎาระบุว่า ทราบกันหรือไม่ว่า “งานบอลที่เพิ่งจัดไป..ไม่ใช่งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ครับ” เห็นเป็นประเด็นดรามากันมาหลายวันแล้ว เกี่ยวกับงานฟุตบอล ที่จัดแข่งกันไประหว่างนิสิตจุฬาฯ และศึกษาธรรมศาสตร์…แต่ถ้าผมจะอธิบายให้เข้าใจชัดว่า “มันเป็นคนละงานกัน” กับการฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ที่ผ่าน ๆ มา ไม่รู้ว่าจะช่วยลดดรามาให้น้อยลงได้หรือเปล่านะครับ 

[ #สรุป (เผื่อใครขี้เกียจอ่านยาว) พูดง่าย ๆ คือสมาคมศิษย์เก่าของทั้ง 2 สถาบัน ไม่จัดงานบอลประเพณีจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ซักที…เด็ก ๆ นิสิตนักศึกษา ก็เลยจัดงานเตะบอลสานสัมพันธ์กันเอง..งานมันก็เลยออกมาสเกลเล็ก ๆ แค่นี้แหละครับ ]

คือจริง ๆ แล้ว มันไม่ใช่งานฟุตบอลประเพณี ที่จัดกันมากว่า 90 ปีแล้ว (ซึ่งครั้งล่าสุด คือครั้งที่ 74 เมื่อปี พ.ศ.2563)…แต่มันมีชื่อว่า “งานฟุตบอลสานสัมพันธ์จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 1” ต่างหากครับ

งานฟุตบอลประเพณีที่ผ่านมา ดำเนินการจัดโดย ‘สมาคมศิษย์เก่า’ ของทั้งจุฬาฯ และธรรมศาสตร์ ผลัดกันเป็นเจ้าภาพมาตลอด…ขณะที่งานฟุตบอลสานสัมพันธ์ ที่พึ่งริเริ่มจัดในปีนี้นั้น จัดโดยองค์การบริหารสโมสรของนิสิตจุฬาฯ และของนักศึกษาธรรมศาสตร์

สาเหตุที่เกิดงานนี้ก็คือ การที่งานฟุตบอลประเพณีจุฬาธรรมศาสตร์ครั้งที่ 75 (ซึ่งควรจะได้จัดไปเมื่อปี 2564) ทางด้านของสมาคมศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ที่เป็นเจ้าภาพนั้นได้เลื่อนจัดมาหลายครั้งแล้ว ตั้งแต่ช่วงที่เกิดวิกฤตโควิดขึ้น จนมาถึงปีนี้ ก็ยังหากำหนดวันที่เหมาะสมร่วมกันกับทางสมาคมศิษย์เก่าจุฬาฯไม่ได้ แล้วต้องทำให้เลื่อนไปอีกปีนึง

ด้วยเหตุนี้ ทำให้ทางองค์การบริหารสโมสรของทั้ง 2 สถาบัน จึงได้ขอจัดงานฟุตบอลสานสัมพันธ์ขึ้นเอง แม้ว่าเวลาจะกระชั้นชิดมาก และมีงบประมาณน้อยมากก็ตาม โดยจัดในแบบที่กระชับขึ้น เรียบง่ายขึ้น งบน้อยลง ใช้กำลังคนให้น้อยลง..และที่สำคัญคือมีรูปแบบงานในแบบที่นิสิตนักศึกษาอยากจัดกัน (ไม่ได้จำเป็นอยู่ในกรอบแนวทาง ของที่สมาคมศิษย์เก่าของทั้งสองสถาบัน เคยวางแนวไว้)

ตัวอย่างเช่น การแปรอักษรด้วยป้าย LED ก็เป็นการแก้ปัญหาเรื่องการระดมหาคนขึ้นสแตนด์ ในช่วงเวลาที่กระชั้นชิดเช่นนี้..หรือแม้แต่การอัญเชิญธรรมจักรและพระเกี้ยวที่เรียบง่ายขึ้น ใช้กำลังคนน้อยลงเช่นนี้ก็เป็นการแก้ปัญหาได้ดีเช่นเดียวกัน..ซึ่งถ้ามองถึงผลลัพธ์ที่ออกมา ก็ถือว่าเป็นไปได้ด้วยดี บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจกันไว้ (แม้ว่าจะไม่อลังการเท่าเดิม ทั้ง stand แปรอักษรและขบวนอัญเชิญ)

ยังไงก็ตาม การจัดงานบอลสานสัมพันธ์ครั้งนี้ไม่ได้มีแต่นิสิตนักศึกษาที่จัดกันเอง แต่ผู้บริหารของทั้งสองมหาวิทยาลัยก็เข้ามาช่วยสนับสนุนเช่นกัน..ดังนั้น รูปแบบวิธีการที่เปลี่ยนไปนี้ จึงถือว่าผ่านความเห็นชอบจากผู้หลักผู้ใหญ่ของมหาวิทยาลัยทั้งสองแล้วนะครับ

ดังนั้น ผู้ที่กังวลว่างานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ จะดูด้อยลง ลดความสวยงามอลังการลงจากเดิม ก็คงจะต้องรอดูในปีหน้า ๆ ถัดไป ว่างานฟุตบอลประเพณีครั้งที่ 75 นั้น จะจัดออกมาในรูปแบบไหน? จะสวยงามยิ่งใหญ่เท่าสมัยปี 2563 หรือเปล่า?

หรือจะเริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ ไปตามสมัยนิยม ที่ลดเรื่องพิธีรีตอง และเน้นคุณค่าของตัวงาน ตามวัตถุประสงค์มากขึ้น..ซึ่งก็ต้องรอฟังทางสมาคมศิษย์เก่าของสองสถาบันนำเสนอชี้แจงกันต่อไป

แต่ไม่ใช่ มาดู ‘งานบอลสานสัมพันธ์ของนิสิตนักศึกษา’ ปีนี้ แล้วจะมารีบด่วนตัดสินว่า หลาย ๆ อย่าง (เช่น เสลี่ยงอัญเชิญพระเกี้ยว) ถูกยกเลิกไปแล้วอย่างที่ข่าวไปกระพือกันนะครับ…เน้นย้ำ ให้มองว่า มันเป็นคนละงานกันครับ!

ป.ล.ส่วนใครปวารณาตัว อยากจะมาช่วยยกเสลี่ยงอัญเชิญพระเกี้ยวให้ ในปีหน้า ๆ ต่อไป ก็เป็นเรื่องน่ายินดีนะครับ รีบมาสมัครล่วงหน้าได้เลย 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top