Thursday, 9 May 2024
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต สิริพระชนมายุได้ 57 พรรษา

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระประชวรด้วยโรคพิษไข้ ทรงไม่รู้สึกพระองค์เป็นเวลา 8 วัน พระอาการประชวรก็ได้ทรุดลงตามลำดับ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริพระชนมายุได้ 57 พรรษา และครองราชย์สมบัติได้ 15 ปี

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถในหลายด้านทั้งในด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น ทรงร่วมนิพนธ์วรรณคดีหลายเรื่อง เช่น อุณรุท รามเกียรติ์ อิเหนา และดาหลัง โปรดทรงดนตรีคือซอสามสาย ชื่อซอสายฟ้าฟาด (1) พระองค์ได้มีพระราชโองการกำหนดวันพิธีวิสาขบูชา ซึ่งหายไปเมื่อคราวสิ้นอยุธยา กลับมาเป็นงานใหญ่อีกครั้งหนึ่ง(2)

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) เมื่อ พ.ศ. 2352 และทรงอยู่ในราชสมบัติ 15 ปี และเสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ เดือน 8 แรม 11 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการยกย่องว่า เป็นยุคทองของวรรณคดีสมัยหนึ่งเลยทีเดียว ด้านกาพย์กลอนเจริญสูงสุด
จนมีคำกล่าวว่า "ในรัชกาลที่ 2 นั้น ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด" กวีที่มีชื่อเสียงนอกจากพระองค์เองแล้ว ยังมีกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สุนทรภู่ พระยาตรัง และนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) เป็นต้น

24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 วันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระนามเดิมว่า ฉิม ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาช และสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อมีพระชนมายุได้ 16 พรรษา

ต่อมาพระองค์ได้อภิเษกสมรสกับ เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด พระธิดาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งภายหลังเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสี หลังการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรสร่วมกัน 3 พระองค์ พระองค์ใหญ่ซึ่งปรากฏพระนามภายหลังว่าเจ้าฟ้าราชกุมาร สิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ รองลงมา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์น้อย คือ  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุ 40 พรรษา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงโปรดให้ตั้งพระราชพิธีอุปราชาภิเษก สถาปนาพระเกียรติยศขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่ให้คงเสด็จประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม มิให้ขึ้นไปประทับ ณ พระราชวังบวรฯ ด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ได้กราบทูลไว้แต่เมื่อประชวรหนักว่าขอให้ลูกเธอได้อาศัยในพระราชวังบวรฯ ต่อไป ทั้งทรงพระราชดำริเห็นว่า พระองค์ก็ทรงพระชรามากอยู่แล้ว ไม่ช้านานเท่าใดพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็จะได้เสวยราชสมบัติ การย้ายวัง ควรไว้ย้ายเมื่อเสด็จเข้ามาประทับในพระบรมมหาราชวังทีเดียว

ถึงปี พ.ศ. 2352 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้เสด็จสวรรคต กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

‘วธ.’ จัดงาน ‘วันศิลปินแห่งชาติ’ น้อมรำลึกพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 8 มีนาคม 2566

‘วธ.’ จัดงาน ‘วันศิลปินแห่งชาติ’ น้อมรำลึกพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เชิญชวนนักเรียน-ประชาชนเข้าชมนิทรรศการ เผยแพร่ประวัติและผลงานศิลปินแห่งชาติ 24 กุมภาพันธ์ - 8 มีนาคม 2566 ณ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

(25 ก.พ. 66) เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ศิลปินแห่งชาติผู้ล่วงลับและเปิดนิทรรศการแสดงประวัติ ผลงานของศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2564 เนื่องในวันศิลปินแห่งชาติ โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมผู้บริหาร คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ศิลปินแห่งชาติ เข้าร่วมแสดงความยินดีและชมนิทรรศการแสดงประวัติ ผลงานของศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2564 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

โดยศิลปินแห่งชาติที่เข้าร่วมงาน อาทิ สมศักดิ์ เชาว์ธาดาพงศ์, กมล ทัศนาญชลี, ศ.เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ, วรนันท์ ชัชวาลทิพากร, สิงห์คม บริสุทธ์, เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี, ปัญญา วิจินธนสาร, ธงชัย รักปทุม, ชมัยภร บางคมบาง, อรสม สุทธิสาคร, รุ่งฤดี เพ็งเจริญ, วินัย พันธุรักษ์, วิรัช อยู่ถาวร, ประยงค์ ชื่นเย็น, ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี, สุประวัติ ปัทมสูต, ทัศนีย์ ขุนทอง, ชัยชนะ บุญนะโชติ, รศ.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์, ศ.ปริญญา ตันติสุข, นางสุดา ชื่นบาน, นางเพ็ญศรี เคียงศิริ

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) ประธานเปิดนิทรรศการฯ กล่าวว่า ศิลปินแห่งชาติถือเป็นปราชญ์แห่งแผ่นดิน เป็นผู้มีความรู้ความสามารถเป็นเลิศในศิลปะแขนงต่าง ๆ ที่ได้อุทิศตนสร้างสรรค์ ถ่ายทอดผลงานด้านศิลปะ เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ซึ่งรัฐบาลโดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายส่งเสริม สนับสนุน และสร้างขวัญกำลังใจแก่ศิลปินแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่อง นิทรรศการเผยแพร่ประวัติและผลงานศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2564 ที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรมจัดขึ้นนี้ ถือเป็นการเผยแพร่ผลงาน อันทรงคุณค่าของศิลปินแห่งชาติให้เป็นที่ประจักษ์อย่างกว้างขวาง อันจะเป็นประโยชน์ และสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาเรียนรู้ และการสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติสืบไป

24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 วันคล้ายวันพระราชสมภพ ‘ในหลวงรัชกาลที่ 2’ พระมหากษัตริย์ผู้สร้าง ‘ยุคทองของวรรณคดี’

‘พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย’ มีพระนามเดิมว่า ‘ฉิม’ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กับ สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ และเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 2 ของสยามในสมัยราชวงศ์จักรีและทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 46 ตามประวัติศาสตร์ไทย ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ต่อมาทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อมีพระชนมายุได้ 16 พรรษา

ต่อมาพระองค์ได้อภิเษกสมรสกับ เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด พระธิดาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งภายหลังเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสี หลังการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยทั้ง 2 พระองค์มีพระราชโอรสร่วมกัน 3 พระองค์ พระองค์ใหญ่ซึ่งปรากฏพระนามภายหลังว่าเจ้าฟ้าราชกุมาร สิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ รองลงมา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์น้อย คือ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุ 40 พรรษา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงโปรดให้ตั้งพระราชพิธีอุปราชาภิเษก สถาปนาพระเกียรติยศขึ้นเป็น ‘กรมพระราชวังบวรสถานมงคล’ แต่ให้คงเสด็จประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม มิให้ขึ้นไปประทับ ณ พระราชวังบวรฯ ด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ได้กราบทูลไว้แต่เมื่อประชวรหนักว่าขอให้ลูกเธอได้อาศัยในพระราชวังบวรฯ ต่อไป ทั้งทรงพระราชดำริเห็นว่า พระองค์ก็ทรงพระชรามากอยู่แล้ว ไม่ช้านานเท่าใดพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็จะได้เสวยราชสมบัติ การย้ายวัง ควรไว้ย้ายเมื่อเสด็จเข้ามาประทับในพระบรมมหาราชวังทีเดียว

ถึงปี พ.ศ. 2352 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จสวรรคต กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า…

พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติ อาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ หริสกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หรหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลยคุณ อกนิฐฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร์ โลกเชฐวิสุทธิ์ รัตนมกุฎประเทศคตา มหาพุทธางกูรบรมบพิตร

โดยรัชสมัยของพระองค์ทรงสงบสุข ปราศจากความขัดแย้ง รัชสมัยของพระองค์เป็น ‘ยุคทองของวรรณคดี’ เนื่องจากพระองค์ทรงอุปถัมภ์กวีหลายคนในราชสำนัก และพระองค์เองก็มีชื่อเสียงในฐานะกวีและศิลปิน กวีที่โดดเด่นที่สุดในราชสำนักคือสุนทรภู่

วธ.จัดงานวันศิลปินแห่งชาติ น้อมรำลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระปฐมบรมศิลปินแห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ เชิญประชาชน-ศิลปินรุ่นใหม่เข้าชมนิทรรศการประวัติและผลงาน ๑๒ ศิลปินแห่งชาติ ระหว่าง ๒๔ ก.พ. - ๙ มี.ค. ๖๗ นี้ 

เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗) นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ศิลปินแห่งชาติผู้ล่วงลับและเปิดนิทรรศการแสดงประวัติ ผลงานของศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๕ เนื่องในวันศิลปินแห่งชาติ  โดยมี นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม นายสถาพร เที่ยงธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม  นางนวลพรรณ ล่ำซำ ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ศิลปินแห่งชาติ ทั้ง ๓ สาขา พร้อมผู้บริหาร เข้าร่วมพิธีทำบุญและแสดงความยินดีพร้อมชมนิทรรศการ ณ อาคารอเนกประสงค์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม 

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) ประธาน กล่าวว่า ศิลปินแห่งชาติถือเป็นปราชญ์แห่งแผ่นดิน เป็นผู้มีความรู้ความสามารถเป็นเลิศในศิลปะแขนงต่าง ๆ ที่ได้อุทิศตนสร้างสรรค์ ถ่ายทอดผลงานด้านศิลปะ เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ซึ่งรัฐบาลโดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายส่งเสริม สนับสนุน และสร้างขวัญกำลังใจแก่ศิลปินแห่งชาติ มาอย่างต่อเนื่อง และได้มีการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ แล้ว ๓๕๔ ท่าน โดยนิทรรศการเผยแพร่ประวัติและผลงานศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๕ ที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรมจัดขึ้นในนี้ เพื่อเผยแพร่ผลงานอันทรงคุณค่าของศิลปินแห่งชาติให้เป็นที่ประจักษ์อย่างกว้างขวาง อันจะเป็นประโยชน์ และสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาเรียนรู้ และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ สืบไป
 
 ด้านนายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า การจัดนิทรรศการครั้งนี้ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ และเพื่อให้ประชาชนเกิดการรับรู้และให้ความสำคัญกับวันศิลปินแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ของทุกปี นอกจากนั้น ยังเป็นการเผยแพร่เกียรติคุณของศิลปินแห่งชาติ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง  

นายโกวิท กล่าวต่อว่า นิทรรศการเผยแพร่ประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๕ ทั้ง ๑๒ ราย ประกอบด้วย สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร (ภาพพิมพ์) นายเจตกำจร พรหมโยธี (สถาปัตยกรรมผังเมือง) นายดิเรก สิทธิการ (งานสลักดุนเครื่องเงินและโลหะ) นายฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร (สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์) สาขาวรรณศิลป์ ได้แก่ ศาสตราจารย์เกริก ยุ้นพันธ์  นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ นางนพรัตน์ศุภาการ หวังในธรรม (ละครรำ)  นายสมชาย ทับพร (ดนตรีไทย - ขับร้อง)  นางราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร (หมอลำประยุกต์) นายธงไชย แมคอินไตย์ (ดนตรีไทยสากล - ขับร้อง) นายสมเถา สุจริตกุล (ดนตรีสากล - ประพันธ์เพลงร่วมสมัย) และ นายประดิษฐ  ประสาททอง (ละครร่วมสมัย)
 
ปิดท้ายงานวันศิลปินแห่งชาติ ด้วยงานเลี้ยงแสดงความยินดี ณ หอประชุมเล็ก ศวท. โดยมีการแสดงของศิลปินแห่งชาติ จำนวน ๕ ชุด ได้แก่ -การแสดงทางวัฒนธรรมโดยคณะการแสดงของ นางนพรัตน์ศุภาการ หวังในธรรม (ละครดึกดำบรรพ์ เรื่อง อิเหนา ตอนไหว้พระ, ละครดึกดำบรรพ์ เรื่อง จันทกินรี และ ระบำมยุราภิรมย์) -การแสดงบรรเลงขับร้องเพลงไทยเดิม โดยคณะการแสดงของ นายสมชาย ทับพร -การแสดงหมอลำชุด “ออนซอนศิลป์ ลำแคนแดนอีสาน” โดยคณะการแสดงของ นางราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร -การแสดงละครร่วมสมัยผสมลิเก เรื่อง  “ข้าชื่อดอนกิโฆเต้” โดยคณะการแสดงของ นายประดิษฐ ประสาททอง และการแสดงออเคสตร้า โดย นายสมเถา สุจริตกุลและวงสยาม ซินโฟนิเอตต้า 
 
ทั้งนี้ นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าชมนิทรรศการเผยแพร่ประวัติและผลงานศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๕ ณ อาคารอเนกประสงค์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ระหว่างวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ - ๙ มีนาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. เว้นวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์

เจนกิจ นัดไธสง รายงาน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top