Friday, 3 May 2024
พงศ์พรหม

‘พงศ์พรหม’ ยกเหตุดีเจคนดังถูกไล่ลงจากเครื่องบิน ชี้ “สิทธิ” ต้องมาพร้อมกับคำว่า “เคารพสิทธิ”

พงศ์พรหม ยามะรัต ยกเคสศึกษาดีเจคนดัง ถูกไล่ลงจากเครื่อง ชี้ “สิทธิ” ต้องมาพร้อมกับคำว่า “เคารพสิทธิ”

จากเหตุการณ์ ดีเจชื่อดังจากเกาหลีอย่าง "ดีเจโซดา" (ฮวังโซฮี) ได้มีการโพสต์คลิปพร้อมข้อความผ่านอินสตาแกรม @deejaysoda เผยว่าตัวเธอเองถูกสายการบิน American Airlines ไล่ลงจากเครื่อง เหตุเพราะใส่กางเกงที่มีข้อความภาษาอังกฤษว่า "ฟักยู" (F_ck You)

โดยเธอเผยว่าเธอต้องถูกบังคับให้ลงจากเครื่องบินและถอดกางเกงต่อหน้าลูกเรือที่ประตูและทำให้เธออับอายเป็นอย่างมาก ก่อนยังระบุว่าที่ผ่านมาเธอไม่เคยมีปัญหากับการใส่กางเกงตัวนี้ขึ้นเครื่องแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามวันนี้ ( 27 เม.ย.) นายพงศ์พรหม ยามะรัต อดีตรองหัวหน้าพรรคกล้า ได้โพสต์ข้อความลงเพจส่วนตัว “Pongprom Yamarat” ในประเด็นดังกล่าวเกี่ยวกับ “สิทธิ” ตามที่เข้าใจ โดยได้ระบุว่า

“ข่าวดีเจคนนึงที่ใส่กางเกงที่มีคำว่า “F_ck You” ทั่วกางเกงไปหมด จนทำให้สายการบินอเมริกาต้องขอให้ลงจากเครื่องไปเปลี่ยนกางเกงใหม่ กำลังเป็นประเด็นด้านสิทธิของ “ผู้ใส่”

ผมเชื่อว่าตัวคุณดีเจก็คงยังโมโห เพราะโพสต์ “บ่น” ในเรื่องนี้ แทนที่จะขอโทษ

ผมขอลองแนะนำคำว่า “สิทธิ” ตามที่เข้าใจ

ทุกคนมี “สิทธิ” ตราบใดที่ “สิทธิ” นั้น ไม่ไปละเมิดสิทธิคนอื่น

ผมไม่ทราบหรอกว่าคุณดีเจชอบอะไรในกางเกงตัวนี้

1. คุณดีเจยังเป็นวัยรุ่น เลยชอบการแต่งตัวอะไรที่แรงๆ อันนี้ผมเข้าใจมากๆ
2. คุณดีเจชอบดีไซน์ของมันเป็นการส่วนตัว
3. คุณดีเจแค่อยากให้คนมอง

คำตอบคือผมไม่ทราบว่าคุณดีเจชอบมันเพราะอะไร

ตอนวัยรุ่นผมเคยมีกางเกง “Dolce & Gabbana” ที่เขียนคำว่า “Dolce & Gabbana” ยาวตั้งแต่เอวจนถึงข้อเท้า

ผมขอบยี่ห้อ ผมชอบความเด่น แต่ถามตรงๆ ดีไซน์ถือว่าดีมั้ย? ถ้าโกหก ผมจะตอบว่าใช่ แต่จริงๆ มันก็ไม่

แต่ขอเสนอ

ข้อแรก สายการบินเค้ามีกฏกติกา เพื่อคุ้มครอง “สิทธิ” คนอื่นครับ เช่นการนั่งชั้น business หรือ first ในหลายๆ สายการบิน จะได้รับการแนะนำให้แต่งตัวเรียบร้อย มิดชิด คือไม่ได้ต้องใส่สูทนะครับ ขอเสื้อยืด กางเกงขายาวกีฬาก็ได้แล้ว อย่าไปขนาดเสื้อกล้าม ขาสั้น

ข้อสอง เครื่องบินถือเป็นที่ๆ คนสาธารณะมาใช้ครับ หมายถึงผู้สูงอายุ เด็ก พระ รวมถึงคนต่างศาสนา

การจะไปในที่เหล่านี้ ต้อง “คิด” ครับ

มนุษย์ที่ดี ควร “คิด” ให้มาก และที่สำคัญ นอกจากคิดถึงตัวเอง ก็ต้องคิดถึงคนอื่นด้วย

'พงศ์พรหม' ชี้!! ดราม่า Car seat สะท้อนสังคมไทย ประชาชนขาดความเข้าใจ ส่วนภาครัฐก็ไม่สื่อสาร

นายพงศ์พรหม ยามะรัต รองโฆษกพรรคสร้างอนาคตไทย โพสต์เฟซบุ๊ก เกี่ยวกับ ดราม่าเรื่อง Car seat ทำให้สังคมเห็น 2 อย่าง คือ การไม่เข้าใจของประชาชน และการไม่สื่อสารของรัฐ ว่า...

ในความเห็นผม

กฎหมายนี้ดี ต้องบังคับใช้ โดยไม่ต้องมีข้ออ้าง

ผมเคยพูดถึงขนาดตลาดแต่งรถไปแล้ว ใครลองไปดูตามหัวเมือง สระบุรี ขอนแก่น โคราช สุราษฎร์ธานี ฯลฯ ได้ แต่งรถกันด้วยเงินหนักกว่า car seat เป็นหลายสิบเท่า

- เปลี่ยนเทอร์โบ แต่งท่อ 
- มอเตอร์ไซค์ยุคนี้แต่งกันเป็นแสน

สถิติฟ้องครับ คนซื้อรถ ซื้อมอเตอร์ไซค์ แต่งกันหนักมากที่สุดในอาเซียน

- ลองดู Isuzu DMax 4 ประตูมือ 2 ราคา 4.8 แสน
- มาดู Ecocar มือ 1 ราคา 4.8 แสน
- ราคา Car seat “คุณภาพดี” เริ่มต้นก็ 4 พันกว่าบาท
- มันคือแค่ “1% ของราคารถ” 

>> เริ่มง่ายๆ ครับ ทำไมต้องใช้ Car seat?

ผมว่าคลิปนี้เข้าใจง่ายสุด https://m.youtube.com/watch?v=0AEu1xQLAJ8

ก็เพราะเด็กยังมีสรีระ กล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรง อุบัติเหตุชนหน้ารถ ข้างรถ เบาๆ ก็ทำให้หลังคด คอหัก พิการ หรือเสียชีวิตได้

>> ลองดูคลิปเพิ่มครับ https://m.youtube.com/watch?v=3YF34gzwiaQ

แล้วถ้ามองว่ามนุษย์มีความสำคัญ ก็จะเข้าใจว่ามันสำคัญกว่าเหล้า ความสนุก การแต่งรถของผู้ใหญ่มากมาย 

>> คราวนี้มาดูการใช้

การจะซื้อ Car seat ต้องดูอะไรบ้าง?
1.) ดูอายุ และความสูงลูกคุณ

2.) ดูชนิดเบาะรถคุณ มี Isofix หรือ ไม่มี ซึ่งพูดตรงๆ ไม่ใช่ปัญหา แค่มี Isofix ก็จะทำให้สะดวก และการยึดฐานแน่นหนาหน่อย แต่หากไม่มี การใช้ Seatbelt รัดในรุ่น Car seat ที่ออกแบบให้ใช้กับเบาะที่ไม่มี Isofix ก็จะมีจุดยึดแน่นหนาไม่ต่างกัน

3.) ดูชนิด seat belt รถคุณ แม้รถส่วนใหญ่จะเป็น belt 3 จุดหมดแล้ว แต่ก็ยังมีรถเช่น Hyundai H-1 ที่เบาะแถว 2-4 เป็น seat belt 2 จุดรัดเอวแบบเก่าอยู่ เป็นต้น

4.) Car seat ได้มาตรฐานรับรองจากอะไร? เริ่มต้นก็ มอก. กระทรวงอุตสาหกรรม อย่างน้อยมั่นใจได้ว่าดีแล้ว แต่ตัวที่แพงขึ้น ก็จะเริ่มมีมาตรฐานที่สูงกว่าไปเรื่อยๆ เช่น TUV, NHTSA ซึ่งมักจะหมายถึงมาตรฐานความปลอดภัยที่สูงขึ้นไปอีก

>> อันนี้ต้องเน้นหลายๆ ทีว่า...

Car seat ที่ได้รับมาตรฐานรับรอง แล้วมีราคา 3-4 พันบาทนั้น ยังไงก็ดี และปลอดภัย “มาก” กว่าการที่จะให้ลูกหลานคุณนั่งเบาะติดรถ ในขณะที่เขายังตัวเล็ก

เพียงแต่ในรุ่นที่สูงขึ้น ก็จะมีโครงสร้างที่แข็งแรง และปกป้องการชนได้หลายทิศทางมากกว่า

‘พงศ์พรหม’ ยกสถิติ คนไทยตายบนท้องถนนติดท็อปโลก ส่วน 10 อันดับตายต่ำสุด กลับเป็นประเทศไม่มีรถติด

นักการเมืองพรรคดัง ยกสถิติ คนไทยตายบนท้องถนนติดท็อปโลก รถติดไม่ช่วยเลย กลับกัน  10 อันดับแรกประเทศ อัตราการตายบนถนนต่ำสุดในโลก เป็นประเทศไม่มีรถติดแม้แต่ประเทศเดียว

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม นายพงศ์พรหม ยามะรัต กรรมการบริหารและรองโฆษกพรรคสร้างอนาคตไทย ได้โพสต์ข้อความลงเพจส่วนตัว “Pongprom Yamarat” แสดงความเห็นเรื่องความเห็นอุบัติเหตุในไทย โดยเฉพาะเรื่องรถติด ไม่ได้ช่วยลดอุบัติเหตุ ประเทศที่รถไม่ติดต่างหากที่อัตราเสียชีวิตน้อย บางประเทศที่อนุญาตให้ใช้ความเร็วสูงกว่าไทย เช่น เยอรมนี กลับมีสถิติอุบัติเหตุ การตายต่ำมาก โดย ระบุว่า

อุบัติเหตุบนท้องถนนกำลังเป็นเรื่องร้อนในวันนี้ ขอเอาสถิติอันนึงมาให้ดู ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตประชากรบนถนน 32.7 คน ต่อประชากร 100,000 คน (เสียชีวิตเท่าไหร่ก็คูณด้วย 650)

ไลบีเรีย 35.9
อูกานด้า 27.4
ซิมบับเว 28.2
เอธิโอเปีย 26.7
บราซิล 23.4
อิรัก 20.2
จีน 18.8
โมร็อกโก 18
เขมร 17.4
อินเดีย 16.6
อินโดนีเซีย 15.3
ออสเตรีย 5.4
เยอรมัน 3.7
นอร์เวย์ 2

'พงศ์พรหม' ชี้!! ดราม่าเลขไทย 'จะเก็บหรือจะใช้' ก็อย่ายืมแว่นตาและมาตรวัดตะวันตกมาตัดสิน

นายพงศ์พรหม ยามะรัต รองโฆษกพรรคสร้างอนาคตไทย (สอท.) กล่าวถึงประเด็นดราม่าการเรียกร้องให้ยกเลิกการใช้เลขไทยในเอกสารทางราชการว่า เมื่อซัก 10 กว่าปีที่แล้ว ในขณะที่จีนเริ่มส่งแสงเติบโตอย่างรวดเร็ว ผมไปอ่าน article นึงของนิตยสารที่มีอิทธิพลของ “ตะวันตก” ในหัวข้อว่า “ทำไมภาษาจีนจึงจะไม่มีวันที่จะเป็นภาษาสากลได้?”

สิ่งที่อ่านในวันนั้น คือการใช้ “แว่นตา และมาตรวัด” ตะวันตกมาวัดภาษาจีน เช่นบอกว่าภาษาจีนระบุความเป็นเพศต่างๆมากไปเมื่อเทียบกับภาษาอังกฤษ

รวมถึง font ที่มีความปรับเปลี่ยนมากไป ในแต่ละตัวเมื่อเทียบกับ font ภาษาอังกฤษเช่นกัน

ทุกอย่างเอามาเปรียบเทียบกับภาษาอังกฤษหมด

แต่ในวันนี้ภาษาจีนกำลังก้าวใกล้การเป็นภาษาสากลแล้ว

ตรงข้ามกับที่สื่อตะวันตกเคยพยายามจะ discredit 

เหมือนกับ article หลายๆ article ที่ชมเศรษฐกิจจีน แต่ก็สบประมาทว่าจีนจะโตได้ไม่ไกลเช่นกัน วันนี้ก็เห็นกันแล้วว่าจีนเป็น super power ไปแล้ว

ดราม่าเรื่องเลขไทยในหลายวันที่ผ่านมา ล้วนแล้วแต่เกิดจากมุมมอง “แว่นตา และมาตรวัดตะวันตก” ทั้งสิ้น

เหมือนนักวิชาการยุคหนึ่งที่จบอเมริกาแล้วแนะนำว่า

“ให้ถมคลอง เพื่อสร้างถนน”

แทนที่จะเก็บคลอง แล้วสร้างถนนให้อยู่กับคลองได้แบบในฮอลแลนด์
 

'พงศ์พรหม' แชร์มุมมองเพื่อนสนิทหลังกลับเมืองไทย แม้มีเรื่องให้แก้ แต่ที่นี่คือสวรรค์เมื่อเทียบกับหลายประเทศ

นายพงศ์พรหม ยามะรัต รองโฆษกพรรคสร้างอนาคตไทย โพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

1 เดือนที่ผ่านมา มีประสบการณ์เรื่องต่างประเทศ 3 เรื่อง
- เพื่อนสนิทกลับมาจากอเมริกามาเที่ยวไทย
- ภรรยาไปทำงานที่อเมริกา 3 อาทิตย์
- น้องสนิทกลับไปเที่ยวอังกฤษ ประเทศที่เคยไปเรียนตั้งแต่ ป.ตรี 

ส่วนใหญ่พูดตรงกันว่า
แม้เมืองไทยไม่ได้ดีพร้อม แต่ในสถานการณ์วิกฤติการเมือง-เศรษฐกิจโลกวันนี้ เมืองไทยนี่สวรรค์แล้ว

กลับมาถึงไทยวันแรก ภรรยาผมบอกว่า “พี่โจ San Francisco กับ New York ไม่เหมือนเดิมแล้ว มันพังเหมือนที่เราอ่านในข่าวจริงๆ” Homeless เกลื่อน ถนนสกปรก เละ ตั้งแต่ต้นปี มีเพื่อนมาเที่ยว 4-5 ครอบครัว ทุกคนโดนทุบรถขโมยของ ผมตอบว่าเพื่อนผมทุกครอบครัวที่ไปเที่ยวอเมริกา โดนทุบรถทุกคันจริงๆ

น้องสนิทผมที่ปกติด่าประเทศ (รักชาตินะ แต่เกลียดความห่วยของนักการเมือง-ข้าราชการไทย) กลับมาจาก London วันแรก “พี่โจ ผมกลับไทยวันแรก ที่นี่คือสวรรค์” ผมว่ากรุงเทพกลายเป็นสะอาด น่าอยู่กว่าลอนดอนไปแล้ว
อาหารอร่อยหาง่าย ราคาไม่แพง เพื่อนผมคนเคนย่า คนอเมริกัน คนไทย จะย้ายกลับเยอะมาก เป็นหวัดโง่ๆ นี่ รอคิวหมอ 4 ชั่วโมงนะครับ แถมของทุกอย่างแม่งแพงสัส เทียบว่าทุกอย่างแพงกว่าไทย 200-300% แต่คุณภาพชีวิตดีกว่าไม่เกิน 30% มันไม่คุ้ม

ผมถามเพื่อนว่าทำไมคนหนีออกจาก California เยอะ
ข้อแรก ภาษีแพง
ข้อสอง คุณภาพชีวิตแย่ Homeless เต็มเมืองเลย ส่วนขยะนี่เพียบ
ข้อสาม แก๊งค์เต็มไปหมด ว่ากันว่าตอนนี้แก๊งค์มี 3,000 กว่าแก๊งค์ เวลามันทะเลาะ หรือปล้น ไม่ใช่ชกต่อย หรือเอา 9 มม.ยิงแบบในไทยนะ มันเอาปืนกลถล่มกัน ก็เพราะเปิดเสรีปืนโง่ๆของรัฐบาลอเมริกันนี่แหละ
ข้อสี่ คนตกงานเพียบ เพราะเศรษฐกิจพัง หมดตัวกันเป็นแถบ

‘พงศ์พรหม’ จัดหนัก 'หงอกเจียม-ชาญวิทย์-ปิยบุตร' เป็นกลุ่มคนที่ไร้เหงื่อเพื่อความดี ใช้แต่อคติและปากกาทำลายคนเห็นต่างจากตัวเอง

ไม่นานมานี้ นายพงศ์พรหม ยามะรัต รองโฆษกพรรคสร้างอนาคตไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Pongprom Yamarat ระบุว่า...

เห็นเพจ อ.สมศักดิ์ เจียม เอาโพสต์จากใน Twitter ว่า เด็กรุ่นใหม่ 'บอยคอด' การช่วยกันภาวนาให้องค์ภาปลอดภัย

จริงเท็จ ผมไม่ทราบ

ส่วนภาพนี้ คือ ภาพวันนี้

เด็กรุ่นใหม่ 100% ยืนภาวนาให้องค์ภาปลอดภัย

การภาวนาของเด็กรุ่นใหม่ เขาไม่ได้ภาวนาในเชิงของ 'ชนชั้นนิยม'

แต่เค้าภาวนาให้แก่องค์ภา จากการมองว่าองค์ภา คือคนดี ตั้งใจพัฒนาสังคม

'พงศ์พรหม' มอง!! 'คนรุ่นก่อน' หวังดี แต่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ส่วนคนรุ่นใหม่ อยากเปลี่ยนแปลง อยากเจริญ แต่ไม่อยากเหนื่อย

(22 เม.ย.66) นายพงศ์พรหม ยามะรัต ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'Pongprom Yamarat' ระบุว่า...

คุยกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ Gen X ปลาย Y ต้น แทบทุกคนบ่นเหมือนกันว่า คนรุ่นเราแม่งเหนื่อย แต่สู้ เพราะอะไรไม่รู้ที่ทำให้ทัศนคติเราดี

อาจเพราะเราโตมาด้วยการขึ้นรถเมล์ แต่ก็มีมือถือใช้บ้าง โตด้วยการกินข้าวแกงข้างถนน แต่ก็รู้จัก Starbucks ที่เมืองนอก

มันทำให้เรานั่งรถบีเอ็มก็ได้ รถเมล์ก็ดี ทำให้เรารู้จักความพอเพียง แต่ก็ไม่ปฏิเสธการว่าก็อยากจะหาเงินพันล้าน เพราะเราก็ทะเยอทะยานพอที่จะบอกว่า เราก็ต้องสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้สำเร็จด้วย

สิ่งที่คนรุ่นเราเจอปัญหามาก คือคนรุ่นก่อนเรา แม้จะน่ารัก แต่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงในโลกใบใหม่น้อยมาก เราจึงมักเจอคำพูดดีๆ แต่ขาดการปฏิบัติ ขาดการลงมือทำ ขาดการคิดนอกกรอบเพื่อการเปลี่ยนแปลง

เอาหละ!! งั้นคนรุ่นเราเปลี่ยนให้...

ตอนนี้เราโตจนเป็นผู้บริหารตามองค์กรละ ไม่ก็เป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้างละ 

เราเจอปัญหาเพิ่มเติมจากคนรุ่นใหม่ แทนที่เขาจะขยันกว่าเรา เพราะโอกาสเขามีมากกว่าเรา แต่กลายเป็นว่า...

'อยากเจริญ แต่ไม่อยากเหนื่อย'

ซึ่งวนกลับมาเรื่องเดิม ขาดการปฏิบัติ ขาดการลงมือทำ ขาดการคิดเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง แถมท้อเร็ว ท้อง่าย ขาด Global mindset ที่มีในเด็กเวียดนาม, สิงคโปร์, จีน, อเมริกา, อังกฤษ, เยอรมนี

แต่กลับบ่นเก่งกว่า...
...ทำไมไทยไม่เจริญ
...ทำไมถนนเราไม่เรียบ
...ทำไมต้นไม้ไม่เยอะๆ แบบเมืองนอก
...ทำไมไม่มีเสื้อผ้าสวยๆ เยอะๆ

ผมมักเปรียบเทียบให้คน Gen X ปลาย Y ต้นฟัง ว่าคนอายุก่อนเกษียณวันนี้ ลงล่างไปจนอายุ 30 ต้น กำลังแบกภาระใหญ่ให้ประเทศไทย

เรามีคนรุ่นก่อนเราจำนวนไม่น้อยที่หวังดีต่อประเทศ แต่ไม่เข้าใจถึงการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง (คนดีๆ เก่งๆ ก็เยอะ ตรงนี้ต้องขออภัย)

เรามีคนรุ่นใหม่ที่อยากให้ประเทศดีอย่างเมืองนอก แต่ความอดทนไม่พอ เพราะไม่เข้าใจว่า “ไม่มีความสำเร็จใดบนโลกใบนี้ที่ได้มาโดยไม่ต้องเหนื่อย”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top