Friday, 17 May 2024
ฝุ่นPM

หัวเมืองใหญ่อย่าประมาท เมื่อ PM2.5 มาตามคาด วอนคนไทยอย่าเที่ยวปีใหม่เพลิน จนลืมป้องกันตัว

ช่วงปลายปีแบบนี้ แถมอากาศหนาวเป็นใจ คนไทยเลยแห่เที่ยวแห่ฉลองกันอย่างสนุกสนาน โดยลืมว่าฤดูหนาวแบบนี้แหละที่มักเกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เราหลงลืมไปว่ามักมาเยือนตามเมืองใหญ่ๆ อย่างกรุงเทพมหานครและเชียงใหม่ 

แต่หนักสุดเห็นจะเป็นกรุงเทพฯ นี่แหละ เพราะมีรายงานข่าวจากสำนักสิ่งแวดล้อมว่า พบฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นั่นคือพบฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าเกินมาตรฐาน จำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ เขตทวีวัฒนา, เขตหนองแขม, เขตหนองจอก และเขตปทุมวัน โดยตรวจวัดได้ระหว่าง 30-53 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดย PM2.5 ค่ามาตรฐาน เฉลี่ย 24 ชม. ไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม. แต่ 4 พื้นที่นี้มีค่ามาตรฐานเกินคือ 53 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร จึงต้องเตือนประชาชนในเขตพื้นที่ดังกล่าวให้ระวังสุขภาพและสวมหน้ากากป้องกัน  

ทั้งนี้ในวันที่ 24 ธ.ค. 65 เป็นช่วงเวลาที่ควรเฝ้าระวังทั้งพื้นที่ กทม. เนื่องจากสภาพเพดานการลอยตัวอากาศที่ต่ำ ประกอบสภาวะอากาศที่นิ่ง ลมสงบ  เพื่อความไม่ประมาท จึงควรเริ่มเฝ้าระวังตั้งแต่เย็นวันที่ 23 ธ.ค. 65

'สุริยะ' สั่ง!! กรมโรงงานฯ เฝ้าระวังฝุ่น PM 2.5 จากโรงงาน หากพบเกินค่า สั่งหยุดและดำเนินคดีทันที

(9 ก.พ. 66) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) และอุตสาหกรรมจังหวัดในปริมณฑล 5 จังหวัด เร่งดำเนินการมาตรการป้องกันและกำกับการตรวจฝุ่น PM2.5 จากการประกอบกิจการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ 3 มาตรการ คือ...

1.) มาตรการเร่งด่วน เข้มงวด กรณีตรวจพบโรงงานปล่อยเกินมาตรฐาน ให้ออกคำสั่งหยุดปรับปรุงแก้ไข และส่งดำเนินคดีทันที 

2.) มาตรการระยะกลาง พัฒนาระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยมลพิษทางอากาศระยะไกล (Pollution Online Monitoring System: POMS) 

และ 3.) มาตรการระยะยาว ทบทวนและปรับปรุงมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล 

หลังดำเนินการตรวจเชิงรุกด้านฝุ่นละอองโรงงานที่มีกระบวนการเผาไหม้ โรงงานที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง โรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำ โรงงานหลอมเหล็กหรือโลหะ โรงงานผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ และโรงงานผลิตแอสฟัลติก ที่มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 896 โรงงาน ผลจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศรอบพื้นที่เขตประกอบการ และชุมชนอุตสาหกรรม ในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 พบว่าค่า PM2.5 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คือ ค่าเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และในปีนี้โรงงานมีความตื่นตัวเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็กมากยิ่งขึ้น ด้วยการกำกับการประกอบกิจการของตนเองให้ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา

‘จักรพล’ ซัด!! รัฐละเลยปัญหา PM 2.5 ทำติดอันดับฝุ่นโลกซ้ำซาก ชี้!! พท.ช่วยได้

(24 ก.พ. 66) นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินมาตรฐานเป็นปัญหาเรื้อรังในช่วง 4-5 ปี ล่าสุดพบว่า จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองหลักที่มีมลพิษติดอันดับที่ 6 ของโลก และถูกจัดอันดับต่อเนื่องหลายวัน กระทบต่อการหายใจของประชาชน ลูกหลานเยาวชน ขณะที่รัฐบาลละเลย เมินเฉยต่อปัญหา และยังดอง พ.ร.บ.อากาศสะอาดเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี 1 เดือน แต่ใช้งบประมาณมากมาย หากมองย้อนหลังไป 2 ปี งบประมาณแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในปี 2565 และ 2566 ประมาณ 406 ล้านบาท และ 410 ล้านบาท รวม 816 ล้านบาท ทั้งหมดคือ การผลาญงบ ผลาญชีวิต ผลาญเวลาของประชาชน

นายจักรพล กล่าวอีกว่า พรรค พท.ได้เคยเสนอแนวทางแก้ฝุ่น PM 2.5 ที่จะผลักดันเป็นนโยบายได้แก่

‘กรมฝนหลวง’ เตรียมปฏิบัติการทำฝนหลวงในภาคเหนือ  เริ่ม 11 เม.ย.นี้ หวังช่วยชะล้างฝุ่น PM 2.5 กว่า 50%

(9 เม.ย.67) นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการทำงานร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และภาคเหนือ ในฐานะที่ตนกำกับดูแลกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ซึ่งมีภารกิจหลักในการแก้ไขปัญหา จึงสั่งการให้กรมฝนหลวงฯ นำเครื่องบินขึ้นทำฝนหลวง เพื่อดัดแปลงสภาพอากาศของภาคเหนือตอนบนทั้งหมด

“สร้างความมั่นใจว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์พื้นที่ภาคเหนือตอนบนทั้งหมด โดยเฉพาะ จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย ปริมาณฝุ่นจะลดลงอย่างต่ำ 50% ของพื้นที่ และในช่วงเวลาเดียวกันจะมีการวางแผนทำฝนหลวงควบคู่ไปด้วย เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงดังกล่าวเหมาะกับการทำฝนหลวง ซึ่งการปฏิบัติการดังกล่าวเรียกว่าเป็นการลดอุณหภูมิของสภาพอากาศ เพื่อให้ฝุ่นในชั้นล่างลอยขึ้นไปด้านบนได้ วิธีนี้จะช่วยให้ฝุ่นลดความแออัดลงได้ถึง 50% เช่นเดียวกัน” นายไชยา กล่าว

นายไชยา กล่าวว่า การทำฝนหลวงมีอุปสรรคต้องใช้น้ำเย็น ในขณะที่ประสิทธิภาพการทำฝนหลวงจริง ๆ ต้องใช้น้ำแข็งแห้ง แต่น้ำแข็งแห้งสามารถผลิตได้ที่เดียวคือที่ จ.ระยอง ดังนั้นการขนย้ายจาก จ.ระยอง มา จ.เชียงใหม่ จึงเป็นปัญหาอุปสรรค เพราะถ้ามีการขนมาประสิทธิภาพอาจลดลง จึงต้องแก้ไขสถานการณ์ด้วยการใช้น้ำเย็น

“ในวันที่ 11 เมษายนนี้ จะขึ้นปฏิบัติการทำฝนหลวงด้วยตนเอง เพราะอยากรู้การทำงานมีขั้นตอนอย่างไร โดยต้องอาศัยเทคนิคการคำนวนทิศทางลม ความชื้นของชั้นบรรยากาศ หากไม่ได้ขึ้นไปด้วยตัวเองก็จะอธิบายกับสังคมไม่ได้ จึงไม่อยากให้ด้อยค่ากรมฝนหลวง เนื่องจากทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีศาสตร์พระราชา และปฏิบัติการฝนหลวงสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้จริง และตอนนี้มีข้อเรียกร้องจากภาคประชาชนหลายพื้นที่ในการทำฝนหลวง” นายไชยา กล่าว

นายไชยา กล่าวว่า ได้สั่งการให้กรมฝนหลวง ขึ้นทำฝนหลวงทุกวันในช่วงสงกรานต์ คาดหวังว่าในช่วงสงกรานต์จะทำให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้เที่ยวกันอย่างมีความสุข ส่วนกรณีที่เกิดข้อสงสัยว่าการทำฝนหลวงจะสามารถแก้ไขปัญหาฝุ่นในระยะยาวได้หรือไม่นั้น ต้นตอของปัญหาไม่ได้เกิดขึ้นที่หน่วยงานของเรา แต่เรามีหน้าที่สนับสนุน จึงต้องอาศัยการบูรณาการร่วมกัน รวมทั้งให้ความรู้ และขอความร่วมมือไม่ให้เกษตรกรเผาป่า ซึ่งจะสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี

“การทำฝนหลวงไม่ได้ทำให้ฝุ่นทั้งหมดไป เนื่องจากฝุ่นดังกล่าวลอยมาจากประเทศเพื่อนบ้าน แต่สามารถลดปริมาณฝุ่นได้อย่างน้อย 50%” นายไชยา กล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top