Sunday, 5 May 2024
ผลไม้ไทย

‘จุรินทร์’ ชมเปาะ ‘ทูตจีนคนใหม่’ ลึกล้ำ แค่เห็นของฝาก มองขาดขอช่วยส่งออกผลไม้

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า ท่านทูตจีนคนใหม่ “หาน จื้อเฉียง” เข้าพบที่กระทรวงพาณิชย์เมื่อวันก่อน…

หลังจากท่านรับข้อเสนอที่ผมขอให้จีนช่วยเปิดด่านทางบกจาก “เชียงของ” เข้าจีนที่ด่าน “โมฮั่น” และด่านเชียงแสนของไทยผ่านแม่น้ำโขง เข้าจีนที่ “ท่าเรือกวนเล่ย” ทางตอนใต้ของ “ยูนนาน” ทั้งคู่

เพื่อจะได้ “เชื่อมเหนือ-เชื่อมโลก” ต่อไปในอนาคต 

พร้อมทั้งผมได้ขอให้ท่านทูตช่วยสนับสนุนการส่งออก “ไก่ รังนก ข้าวและผลไม้” ของไทยไปจีนได้สะดวกคล่องตัวมากขึ้นด้วย 

หลังการเจรจา ท่านมีของที่ระลึกมาฝาก…

เป็นแจกันจีนเพนต์ภาพเขียนรูปกวางและนกกระเรียนงดงามมาก 

“เฉลิมชัย” เร่งรับมือผลไม้ฤดูการผลิตปี 65 ล่วงหน้า! มอบ “อลงกรณ์” ลุยเหนือติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิดพร้อมตรวจด่านเชียงแสน - เชียงของ เผย! ‘ไทย’ ได้เปรียบดุลการค้าผักผลไม้จีนกว่า 3 เท่าตัว

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เกิดมาตรการที่เข้มงวดโดยเฉพาะด่านนำเข้าจีน และส่งผลต่อการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรผลไม้ของไทย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการและบริหารการจัดการผลไม้ (Fruit Board) มีความเป็นห่วงสถานการณ์และได้เร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้กระทบต่อเกษตรกรและภาคการเกษตรของไทย จึงได้มอบหมายให้ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ ลงพื้นที่ภาคเหนือ 3 จังหวัด ได้แก่เชียงใหม่ ลำพูนและเชียงรายระหว่างวันที่ 11-15 ม.ค.

โดยจะติดตามความคืบหน้าในหลายด้านได้แก่การบริหารจัดการผลไม้ของภาคเหนือ ฤดูการผลิตปี 2565(ลำไย) ความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.)ภาคเหนือ การขับเคลื่อนศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center :AIC) จังหวัดเชียงใหม่ลำพูนและเชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมด่านเชียงของและด่านเชียงแสนในการส่งออกผลไม้และสินค้าเกษตรทางบกและทางเรือลำน้ำโขง โดยเฉพาะมาตรการ SPS และโควิดฟรี(Covid Free) และแนวทางแก้ไขปัญหาการขนส่งผ่านด่านบ่อเตนและด่านโมฮ่าน

การประชุมหารือกับวิสาหกิจชุมชนเพื่อพัฒนากาแฟอาราบิก้า(Arabica) ตลอดห่วงโซ่อุปทาน การบริหารจัดการน้ำของโครงการชลประทานภาคเหนือตอนบนและการขับเคลื่อนโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนภาคเหนือ เพื่อพัฒนาการเกษตรในเมืองและส่งเสริมเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อแก้ปัญหา pm.2.5และลดก๊าซเรือนกระจกตอบโจทย์ Climate Change ตามแนวทาง COP26

 

 

เดินหน้า “5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” ปี 2565 “อลงกรณ์” ลุยภาคเหนือ ตั้งบอร์ดโครงการประกันราคาลำไยรูปแบบใหม่ พร้อมมอบศูนย์ AIC พัฒนาเพิ่มมูลค่าครบวงจร เร่งปฏิรูปผลไม้ไทยเชื่อมแผน 13 ขับเคลื่อนสู่ “เกษตรมูลค่าสูง”

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดลำพูน เพื่อติดตามงานนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ผู้บริหาร ข้าราชการ และหน่วยงานภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ

ในการนี้ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมภาคีเครือข่ายเกษตรกรภาครัฐและเอกชน เพื่อการขับเคลื่อนการบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือที่สำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูและประชุมทางไกลตามข้อสั่งการของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board)โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน นายภาษเดช  หงส์ลดารมภ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ผู้แทนคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตร ระดับจังหวัด (คพจ.) จังหวัดลำพูน และผู้แทนคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตร ระดับจังหวัด (คพจ.) จังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย ผู้แทนสภาเกษตรกรแห่งชาติ ผู้แทนหอการค้าจังหวัด ผู้แทนกรมการค้าภายใน ผู้แทนกรมการส่งเสริมค้าระหว่างประเทศ นายพงษ์ทร วิเศษสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ ประธานและ นายอมรพันธุ์ พูลสวัสดิ์ เลขานุการ คณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยภาคเหนือ (กร.กอ.ภาคเหนือ) และหัวหน้าหน่วยราชการ และหน่วยงานภาคเอกชนด้านการขนส่ง ตัวแทนผู้ประกอบการ(ล้ง)ในจังหวัดลำพูน  ตัวแทนเกษตรกรแปลงใหญ่และศพก. และผู้ที่เกี่ยวข้องโดยมี นายขจร เราประเสริฐ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นฝ่ายเลขานุการ

ที่ประชุมได้รับทราบ (1) รายงานการคาดการณ์แนวโน้มผลผลิตภาคเหนือ ปี 2565 (2) รายงานผลการบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ ปี 2564 และปัญหาอุปสรรค และที่ประชุมได้ร่วมหารือพิจารณาในแนวทางการบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ ระดับพื้นที่ (AREA BASED)

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า กล่าวว่า ภายใต้โมเดลเกษตรผลิตพาณิชย์ตลาดตามยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตและ “5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” ของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นแนวทางในการบริหารจัดการผลไม้ในสภาวะวิกฤติโควิด-19 โดยเน้นร่วมบูรณาการทุกภาคส่วน และการใช้เทคโนโลยีเพื่อยืดอายุผลผลิต และแปรรูปยกระดับสู่อุตสาหกรรมเกษตรอาหารเพิ่มมูลค่ารายได้ให้มากขึ้น ซึ่งในปี 2565 และปีต่อๆ ไปได้วางเป้าหมายพลิกโฉมภาคเกษตรไทยมุ่งเน้นการทำเกษตรมูลค่าสูง ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566 -2570) ในมิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมายหมุดหมายที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตร และเกษตรมูลค่าสูง มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าของสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป โดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานของภาคเกษตร และการสนับสนุนบทบาทของผู้ประกอบการเกษตร โดยมอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมหรือศูนย์AICภาคเหนือและอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือเร่งวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมรวมทั้งการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลไม้

นายอลงกรณ์กล่าวว่าจังหวัดลำพูนเป็นศูนย์กลางลำไยภาคเหนือและเป็นเมืองหลวงลำไยโลก มีพื้นที่ปลูกลำไยกว่า 250,000 ไร่ เป็นแหล่งผลิตสำคัญในภาคเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน จากสถานการณ์การผลิต ปี 2560 – 2564 เนื้อที่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 1,451,714 ไร่ ในปี 2560 เป็น 1,655,036 ไร่ ในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.13 ต่อปี ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 1,200,804 ตัน ในปี 2560 เป็น 1,437,740 ตัน ในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.12 ต่อปี และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก 827 กิโลกรัมในปี 2560 เป็น 869 กิโลกรัม ในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.004 ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งเสริมสนับสนุนของรัฐบาล อย่างไรก็ตามเรายังเผชิญปัญหาราคาลำไยตกต่ำในบางปีบางฤดูเป็นปัญหาซ้ำซากตลอดมาจึงให้ดำเนินการโครงการประกันราคาลำไยขั้นต่ำบนความร่วมมือระหว่างภาคเกษตรกรและภาคเอกชนโดยการสนับสนุนของภาครัฐเป็นโมเดลใหม่เพื่อให้ทุกภาคส่วนเป็นหุ้นส่วนกัน(Partnership model)แบบwin-winทุกฝ่ายเช่นที่กำลังดำเนินการกับอุตสาหกรรมกุ้งโดยบอร์ดกุ้งซึ่งภาคเอกชนตกลงกับเกษตรกรในการประกันราคาขั้นต่ำ โดยจะมีการประชุมภายใน2สัปดาห์หากเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายต่อไปจะขยายผลกับทุกกลุ่มสินค้าเกษตรต่อไป

นายอลงกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ติดตามสถานการณ์ผลผลิตลำไยในพื้นที่ภาคเหนืออย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมการรองรับผลผลิตลำไยออกสู่ตลาดล่วงหน้าตามแนวทางการบริหารจัดการผลผลิตลำไยปี 2565 เช่น โครงการกระจายลำไยออกนอกแหล่งผลิต จังหวัดลำพูนโดย คพจ. ได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณจากเงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อเตรียมการรองรับการแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากและราคาผลผลิตตกต่ำ เป้าหมาย การสนับสนุนค่าบริหารจัดการกระจายผลผลิตลำไยออกนอกแหล่งผลิต การรับซื้อในราคานำตลาดตลอดจนแนวทางการบริการจัดการ ตั้งแต่ต้นทาง คือ เน้นตลาดนำการผลิต การลดต้นทุน พัฒนาคุณภาพมาตรฐานเพิ่มผลิตภาพการผลิต การทำลำไยนอกฤดูการสร้างมูลค่าเพิ่ม การพัฒนายกระดับมาตรฐานเน้นการใช้เทคโนโลยีแปรรูปเพิ่มมูลค่าให้หลากหลายตามความต้องการของตลาด การซื้อขายล่วงหน้าระบบPre-order การบริการจัดการระบบขนส่งและเพิ่มระบบ Cold Chain Logistics

“จุรินทร์-เฉลิมชัย” ร่วมสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่!!! ส่งออกข้าวไทยล็อตแรก 1,000 ตัน โดย “รถไฟสายจีน-ลาว” ถึงมหานครฉงชิ่งสำเร็จเป็นครั้งแรก “อลงกรณ์” ชี้!เป็นศักราชใหม่ของอีสานเกตเวย์ ตั้งเป้าหมายต่อไปส่งออก ‘ยางพารา ผลไม้ - กล้วยไม้ - สินค้าประมงและปศุสั

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เปิดเผยวันนี้(20 ม.ค.)ว่า ประเทศไทยสามารถส่งออกข้าวสาร จำนวน 20 ตู้ ปริมาณ 1,000 ตันโดยใช้เส้นทางรถไฟสายจีน-ลาวไปถึงมหานครฉงชิ่ง ( Chongqing )ในภาคตะวันตกของจีนสำเร็จเป็นครั้งแรกถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการขนส่งระบบรางเพื่อขยายโอกาสทางการค้าและการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการและประเทศโดยส่วนรวมภายใต้การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ ภาคเกษตรกรและภาคเอกชนตามนโยบายการพัฒนาโลจิสติกส์เกษตรและยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต เพื่อการส่งออกของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์กับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และต้องขอบคุณ สปป.ลาวและจีนในความร่วมมืออันดียิ่ง

สำหรับความสำเร็จก้าวแรกในครั้งนี้แม้ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกแล้วระลอกเล่า ซึ่งทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความยากลำบากโดยเฉพาะในปีที่ผ่านมา โดยจะประเมินผลการส่งออกข้าวล็อตแรกครั้งนี้รวมทั้งระบบการจองขบวนรถขนส่งสินค้าและการจองตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งกำลังประสานงานกับผู้ให้บริการของทั้งสปป.ลาวและจีน เพื่อเร่งขยายผลไปสู่การส่งออกสินค้าเกษตรตัวอื่นรวมทั้งเป้าหมายตลาดใหม่ ๆ ทั้งในมณฑลต่าง ๆ ของจีนและประเทศอื่น ๆ ต่อไปโดยเร็ว 

นายอลงกรณ์ กล่าวต่อไปว่า เราเดินหน้าสร้างความพร้อมสำหรับวันนี้มาเป็นเวลากว่า 2 ปี สำหรับการขนส่งผ่านทางรถไฟสายใหม่ ซึ่งเพิ่งเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมาตามยุทธศาสตร์อีสานเกตเวย์(ESAN Gateway)เชื่อมไทย-เชื่อมโลก นับเป็นการเปิดศักราชหน้าใหม่ของการค้าการส่งออกสินค้าไทยไปจีน โดยมีเป้าหมายสู่ตลาดต่อไปคือตลาดเอเชียกลาง เอเชียตะวันออก ตะวันออกกลาง รัสเซีย และยุโรปและเพิ่มสินค้าเกษตรที่จะขนส่งผ่านเส้นทางรถไฟสายนี้คือยางพารา ผลไม้ กล้วยไม้ไทย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน สินค้าประมงและปศุสัตว์ รวมทั้งสินค้าเกษตรแปรรูปและสินค้าอื่น ๆ

“สำหรับมหานครฉงชิ่ง เป็นชุมทางรถไฟและการขนส่งหลายรูปแบบ โดยอาศัยข้อได้เปรียบจากการมีที่ตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหมใหม่BRI(อีต้าอีลู่) และแม่น้ำแยงซีเกียงจึงมีความพร้อมทางด้านโลจิสติกส์และได้วางนโยบายเชื่อมโยง “ฉงชิ่ง-อาเซียน” เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับรัฐบาลไทย ทั้งนี้ มหานครฉงชิ่งมีเขตโลจิสติกส์อาเซียนและนานาชาติในตำบลหนานเผิง เขตปาหนาน (Chongqing ASEAN International Logistics Park) ถือเป็นเส้นทางขนส่งและระบบโลจิสติกส์ที่สำคัญและเป็น “ประตูเศรษฐกิจของจีนตะวันตก” สามารถเป็นจุดกระจายสินค้าไปมณฑลต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันตกของจีนและขนส่งผ่านไปยังประเทศต่าง ๆ

 

“อลงกรณ์” เผย! ขบวนรถไฟสาย ‘จีน-ลาว’ ขนสินค้าเกษตรของไทย 20 ตู้ ถึงมหานครฉงชิ่งแล้วใน 6 วัน เร่งดันผลไม้ขึ้นรถไฟให้ทันฤดูกาลผลิตปี 65 รอเพียงจีนเปิดด่านตรวจพืชสถานีรถไฟโมฮ่าน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ว่า ขบวนรถไฟขนส่งสินค้าเกษตรของไทยล็อตแรก 20 ตู้คอนเทนเนอร์ โดยรถไฟสายจีน-ลาว จากสถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้สู่ด่านรถไฟโมฮ่านของมณฑลยูนนานได้ขนส่งถึงมหานครฉงชิ่ง โดยใช้เวลารวมทั้งสิ้น 6 วันตั้งแต่เดินทางออกจากสถานีเวียงจันทน์ใต้เมื่อเวลา1 5.00 น. ของวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมาโดยใช้เวลาในสปป.ลาว 3 วัน และการเดินทางในจีนอีก 3 วัน โดยได้สรุปตารางเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนจากไทยผ่านสปป.ลาว ข้ามพรมแดนจีนจนถึงภาคตะวันตกของจีนคือมหานครฉงชิ่ง เชื่อว่าจะสามารถลดเวลาในการขนส่งในอนาคตเหลือเพียง 4 วันเมื่อมีการปรับตัวการทำงานของทุกฝ่าย 

เป้าหมายต่อไปคือการเร่งเปิดบริการอย่างเป็นระบบ การลดเวลาการขนส่งตลอดห่วงโซ่โลจิสติกส์เพื่อขยายการขนส่งทางรถไฟสายนี้สำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญได้แก่ข้าว ยางพารา ผักผลไม้ มันสำปะหลัง ปาล์ม กล้วยไม้ น้ำตาลและสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆโดยเฉพาะผลไม้เช่นทุเรียน มังคุด เงาะเป็นต้นโดยมีเป้าหมายให้สามารถขนส่งทางรถไฟให้ทันฤดูกาลผลิตปี 2565 ขณะนี้ฝ่ายไทยและสปป.ลาว พร้อมแล้วรอทางจีนเปิดทำการด่านตรวจพืช ณ สถานีรถไฟโมฮ่านภายใต้พิธีสารที่ได้ตกลงกันตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้วซึ่งได้ประสานขอความร่วมมือกับทางการจีนให้เร่งดำเนินการหลังเทศกาลตรุษจีนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้จะรายงานความคืบหน้าในการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board)ในวันที่17 ก.พ.นี้

“นับเป็นขบวนสินค้าปฐมฤกษ์ของไทยที่สามารถเปิดบริการได้เป็นขบวนแรกและเป็นการเปิดศักราชใหม่ของนโยบายอีสานเกตเวย์ เชื่อมอีสานเชื่อมโลกด้วยเส้นทางรถไฟจีน-ลาวตามนโยบายของรัฐบาลโดยเฉพาะนโยบายโลจิสติกส์เกษตรของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน”

นายอลงกรณ์กล่าวว่า สื่อมวลชนในประเทศจีนให้ความสำคัญกับการขนส่งทางรถไฟจากไทยไปจีนเที่ยวแรกอย่างมากโดยเสนอข่าวกันครึกโครมและวิเคราะห์ว่าเร็วกว่าการขนส่งทางเรือถึง 4 เท่า ดังตัวอย่างข่าวที่แปลเป็นภาษาไทยที่ยกเป็นตัวอย่างมา ณ ที่นี้

“สินค้าทางการเกษตรของไทยที่ถูกขนส่งโดยรถไฟมาถึงจีนเป็นครั้งแรก เส้นทางรถไฟจีน-ลาวทั้งสองทางเปิดให้บริการแล้ว รถไฟบรรทุกข้าวเหนียวไทยปริมาณ 500 ตัน ขบวนแรกของรถไฟสายจีน-ลาว ได้ออกจากสถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้ในลาวและเดินทางมาถึงด่านโมฮ่านในมณฑลยูนนานของจีนเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2565 จากนั้นใช้เวลา 3 วันขนส่งถึงเมืองฉงชิ่งในช่วงเทศกาลตรุษจีน

เป็นที่รู้กันว่าการขนส่งทางรถไฟนั้นใช้ระยะเวลาในการขนส่งน้อยกว่าทางทะเลถึง 4 เท่า โดยการมาถึงของสินค้าทางการเกษตรของไทยในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงการเปิดให้เส้นทางรถไฟจีน-ลาวอย่างเป็นทางการทั้งสองทาง

'องลงกรณ์' ชี้ 'รถไฟลาว-จีน' มีประโยชน์ต่อไทย ร่นเวลาขนส่งไปจีนใช้เวลาเพียง 1 วันครึ่ง 

เมื่อวันที่ 24 เมษายน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยว่า วันนี้ขอแสดงความชื่นชมต่อความสำเร็จในการส่งออกทุเรียนไทยล็อตใหญ่ที่สุด 500 ตัน 27 ตู้คอนเทนเนอร์ของฤดูกาลผลิตผลไม้ปี 2565 ที่ขนส่งบนเส้นทางรถไฟสายลาว-จีนตามนโยบายอีสานเกตเวย์และเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการขนส่งผลไม้ไทยด้วยระบบรางภายใต้พิธีสารการนำเข้าส่งออกผลไม้ระหว่างไทย-จีนโดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของไทย-ลาวและจีนหลังจากทดสอบการส่งออกทุเรียน 2 ตู้คอนเทนเนอร์และมะพร้าวน้ำหอม 1 ตู้คอนเทนเนอร์เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา

จากนี้จะขยายไปสู่การขนส่งผลไม้และสินค้าเกษตรอื่นๆ เช่น มังคุด ลำไย ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง น้ำตาล มะม่วง เป็นต้น เพื่อเร่งสร้างรายได้เข้าประเทศ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะทำงานของคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) กล่าวว่า ทุเรียนล็อตใหญ่ล็อตแรกมาจากจังหวัดจันทบุรี จำนวน 27 ตู้ ซึ่งเป็นการขนส่งระบบผสมผสาน “ราง-รถ” โดยรถบรรทุกคอนเทนเนอร์รุ่นใหม่บรรทุกทุเรียนที่ผ่านการตรวจสอบโรคพืช ไม่มีทุเรียนอ่อนและปลอดการปนเปื้อนโควิดเดินทางจากภาคตะวันออกถึงจังหวัดหนองคายข้ามแม่น้ำโขงที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 ไปถ่ายตู้ที่ท่าบกท่านาแล้งก่อนลำเลียงไปขึ้นแคร่รถไฟที่สถานีเวียงจันทน์ใต้ แล้วเดินทางไปยังสถานีรถไฟนาเตยในแขวงหลวงน้ำทาก่อนยกขึ้นรถบรรทุกคอนเทนเนอร์เดินทางต่อไปด่านบ่อเต็นข้ามพรมแดน “ลาว-จีน” ไปตรวจโรคพืชและโควิดที่ด่านโมฮ่านในมณฑลยูนนาน

“เฉลิมชัย” สั่งฟรุ้ทบอร์ดเร่งปลุกตลาดผลไม้ทั่วประเทศ “อลงกรณ์” ผนึก” อตก.” เปิดจุดขายขยายตลาดออนไลน์ออฟไลน์เพิ่มการบริโภคในประเทศ 40%

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาผลไม้ล่วงหน้าในคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยวันนี้(30 เม.ย.)ภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และการบริหารจัดการตลาดสดของ อ.ต.ก. พร้อมทั้งมอบนโยบายช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อผลักดันการบริโภคผลไม้และผลผลิตทางการเกษตรของไทย โดยมีนายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการ อ.ต.ก. พร้อมด้วยผู้บริหาร อ.ต.ก. ให้การต้อนรับว่า ได้มอบหมายให้ อ.ต.ก. เป็นหน่วยงานกลางผู้ประสานงานระหว่างตลาดสินค้าเกษตรทั้งหมดทั่วประเทศเพื่อส่งเสริม ผลักดันการบริโภคผลไม้ไทย


พร้อมทั้งนำผลไม้ไทยบุกตลาดออนไลน์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และในส่วนของการทำการตลาดออฟไลน์ให้ดำเนินการเชิงบูรณาการความร่วมมือกับภาครัฐเช่นองค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย บริษัทไปรษณีย์ไทย หอการค้า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาพันธ์เอสเอ็มอี. โมเดิร์นเทรด ตลาดกลางสินค้าเกษตรทั่วประเทศ โปรโมทขายผลไม้ นอกจากนี้ขอให้ อ.ต.ก. พัฒนาและปั้น Brand Ortorkor ให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและระดับสากลเพื่อสร้างมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรและเป็นแบรนด์การันตีคุณภาพสินค้าเกษตรของไทย รวมทั้งเพิ่ม จุดจำหน่ายและกระจายสินค้าเกษตรเพื่อเป็นช่องทางกระจายผลผลิตสู่ผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมอบหมายให้ อ.ต.ก. เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนและสนับสนุนตลาดเกษตรกร( Farmer Market )ในกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อมากที่สุดอีกด้วย 
    นอกจากนี้นายอลงกรณ์และคณะได้ลงพื้นที่ตลาด อ.ต.ก. พบปะพูดคุยกับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการผู้ค้าทุเรียน มังคุด เงาะ ลำไย ชมพู่ มะม่วง มะพร้าว แตงโม พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนบริโภคผลไม้ไทยเพิ่มขึ้นเพื่ออุดหนุนและสนับสนุนเกษตรกรไทยในช่วงฤดูกาลผลไม้ปีนี้

“รัฐมนตรีเฉลิมชัย”นั่งไม่ติดเก้าอี้ ลุ้นส่งออกทุเรียนทะลุ 500,000 ตันทุบสถิติจีนสร้างสถิติโลก “อลงกรณ์”เผยข่าวดีจีนเปิดด่าน”ตงชิง”ต้อนรับฤดูกาลผลไม้ภาคเหนือและภาคใต้ พร้อมจับมือเครือค้าปลีกกลุ่มอาลีบาบาและกลุ่มเรนโบว์เร่งโหมตลาด33เมืองใหญ่ในแดนมังกร

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยวันนี้(18 มิ.ย.)ว่า การส่งออกทุเรียนไทยไปจีนยังเป็นไปตามแผนปฏิบัติการผลไม้ปี2565 โดยสามารถส่งออกทุเรียนจากภาคตะวันออกไปจีน ณ วันที่ 16 มิถุนายน เป็นจำนวน 485,866 ตัน และคาดว่าจะสามารถส่งออกไปจีนทะลุตัวเลข 500,000 ตันภายในสัปดาห์หน้าซึ่งนอกจากจะทำลายสถิติการส่งออกทุเรียนในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564ซึ่งมีปริมาณ 4.2 แสนตันแล้วยังเป็นการทำลายสถิติโลกที่ไทยสามารถส่งออกผลไม้สดชนิดเดียวเกินครึ่งล้านตันภายในเวลา6เดือนและยังเป็นผลไม้ที่มาจากสวนทุเรียนและล้งที่มีมาตรฐานการเกษตรที่ดีคือGAPและGMP ทั้งหมด

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า ได้รับรายงานจากนายสมชวน   รัตนมังคลานนท์ รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ.ว่า จีนได้เปิดด่านตงซิงแล้วเมื่อวานนี้( 17 มิถุนายน)โดยมีเวลาทําการ 08.00-18.00 น. ซึ่งทำให้ขณะนี้จีนได้เปิดทุกด่านนำเข้าผลไม้ไทยแล้วทั้งด่านรถด่านเรือด่านเครื่องบินและด่านรถไฟซึ่งถือเป็นช่วงจังหวะดีในการเปิดรับฤดูกาลผลไม้ภาคเหนือและภาคใต้ของเรา การเปิดด้านตงชิงเกิดขึ้นหลังจากเอกอัครราชทูตจีนเดินทางไปเยี่ยมชมสวนทุเรียน ล้งและสหกรณ์ผลไม้ที่จังหวัดจันทบุรีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังต้องติดตามสถานการณ์ด่านอย่างใกล้ชิด และต้องป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโควิด และฆ่าเชื้อสินค้าอย่างเคร่งครัด


 

‘บิ๊กตู่’ กำชับ กระทรวงเกษตรฯ - ฟรุ้ทบอร์ด เร่งยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลเม้ไทย รองรับตลาดส่งออกจีน-ทั่วโลก

เมื่อวันที่ 16 ก.ค. นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามการส่งออกผลไม้ของไทยไปจีนโดยนายกรัฐมนตรีชื่นชมการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ หรือฟรุ้ทบอร์ด (Fruit Board) ที่มีนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน รายงานผลงานการส่งออกผลไม้ของไทยไปจีนครึ่งปีแรก 2565 ได้เกิน 1 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วกว่า 120,000 ตัน สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรผู้ประกอบการและประเทศกว่า 8 หมื่นล้านบาท 

นายธนกร กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้ฟรุ้ทบอร์ดติดตามสถานการณ์การผลิตไม้ผลปี 2565 เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในการกระจายผลผลิตผลไม้ของเกษตรกร รวมทั้งให้เดินหน้ายกระดับนโยบายคุณภาพและมาตรฐานผลไม้ เร่งเดินหน้าแผนปฏิบัติการพัฒนาผลไม้ปี 65-70

‘อลงกรณ์’ เผย!! มีผู้อ้างชื่อทุเรียนไทย หลอกขายในจีน มอบทูตเกษตรในจีนตรวจสอบ - รักษาภาพลักษณ์ผลไม้ไทย

(29 พ.ย. 65) จากกรณีที่สื่อบางฉบับนำเสนอข่าวเมื่อวันที่ 28 พ.ย. ที่ผ่านมา ว่ามีการเผยแพร่คลิปทุเรียนซึ่งวางจำหน่ายในประเทศจีน ที่ผู้ขายอ้างว่าเป็นทุเรียนจากไทย จนทำให้ลูกค้าในเซี่ยงไฮ้หลงเชื่อซื้อกลับไปรับประทานในราคากิโลกรัมละ 200 หยวน หรือประมาณ 1,000 บาท แต่กลับพบว่ารสชาติไม่ใช่ของไทย และคลิปดังกล่าวยังถูกส่งต่อในประเทศจีนเป็นวงกว้างจนเกรงว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจจะกระทบต่อชื่อเสียงของทุเรียนไทย

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (ฟรุ้ทบอร์ด-Fruit Board) เปิดเผยวันนี้ (29 พ.ย.) ว่า ทันทีที่ทราบข่าวได้รายงานต่อดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานฟรุ้ทบอร์ดโดยสั่งการทันทีในวันที่มีสื่อมวลชนนำเสนอข่าว (28พ.ย) ให้ทูตเกษตรของไทยทั้ง 3 สำนักงาน ได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว ตรวจสอบข้อเท็จจริงพร้อมกับเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยทันที 

โดยได้รับรายงานในตอนค่ำของวันวานจากกงสุลฝ่ายเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ ว่า ได้เดินทางไปตรวจสอบข้อเท็จจริงจุดจำหน่ายทุเรียนตามที่ปรากฏในข่าวแต่ไม่พบการขายทุเรียน อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบข้อมูล พบว่า กรณีที่เป็นข่าว เป็นรถขายทุเรียนริมทาง (รถกระบะ) ไม่ใช่การขายทุเรียนจากร้านค้าที่มีแหล่งที่ตั้งถาวร โดยปกติรถขายทุเรียนคันนี้จะจอดขายช่วงกลางคืนบนถนน Xinhua ของเมืองเซี่ยงไฮ้ ช่วงวันที่ขายก็ไม่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่จะมาขายวันเสาร์อาทิตย์ ที่ผ่านมารถดังกล่าวไม่ได้มาจอดขายทุเรียน ณ บริเวณนั้นนานกว่าสัปดาห์แล้ว ราคาขายจะเป็นราคาต่อจินหรือ 500 กรัม ปกติทุเรียนไทยที่จำหน่ายในช่วงนี้ราคาประมาณ 25-40 หยวน/500กรัม หรือ 50-80 หยวน/กก. (หรือประมาณ 250-400 บาท/กก.)

ทั้งนี้ รถขายทุเรียนข้างทาง ส่วนใหญ่จะพบเห็นตามชานเมือง จอดขายริมถนนเฉพาะช่วงกลางคืน เพื่อหลบเลี่ยงเจ้าหน้าที่ และทุเรียนที่ขายก็เป็นทุเรียนตกเกรด คุณภาพต่ำ และส่วนใหญ่ราคาถูกกว่าร้านค้าผลไม้ที่ได้มาตรฐาน

จากการสอบถามข้อมูลจากตลาดค้าส่งทราบว่า รถขายทุเรียนข้างทางในเซี่ยงไฮ้เป็นรถกระบะมาจากมณฑลอื่น โดยพ่อค้าจะไปซื้อทุเรียนตกเกรดราคาต่ำ ในปริมาณมากๆ มาเร่ขายริมถนน โดยบางคันจะเปลี่ยนที่ขายไปเรื่อยๆ จะแกะเนื้อทุเรียนขายเฉพาะเนื้อ ไม่ขายทั้งเปลือก นอกจากนี้ เครื่องชั่งก็ไม่ได้มาตรฐาน จากการสอบถามคนที่เคยซื้อทุเรียนจากรถกระบะ จะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ทุเรียนคุณภาพต่ำ รสชาติไม่อร่อย 

นอกจากนี้จากการสำรวจร้านจำหน่ายผลไม้ในพื้นที่ 5 ร้าน ทุเรียนไทยราคาสูงกว่าทุเรียนเวียดนาม  พ่อค้าบอกว่าทุเรียนไทยอร่อยและเป็นที่รู้จัก คนที่รู้จักทุเรียน ก็จะมักเลือกซื้อทุเรียนไทย ในสายตาผู้บริโภค จะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างทุเรียนไทยและทุเรียนประเทศอื่นจากรูปลักษณ์ได้ แต่จะสังเกตความแตกต่างจากสติกเกอร์ที่ขั้วผลที่ระบุว่าเป็นทุเรียนจากประเทศไทยหรือเวียดนาม

นายอลงกรณ์กล่าวว่า สปษ.ปักกิ่ง ฝ่ายเกษตรฯ กว่างโจวและเซี่ยงไฮ้ ได้มีการรายงานและเน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ประกอบการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานทุเรียนที่ส่งออกมายังจีนอย่างต่อเนื่องทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสำคัญกับการควบคุมคุณภาพทุเรียนไทยก่อนการส่งออกเพื่อมิให้มีทุเรียนตกเกรด หรือทุเรียนคุณภาพต่ำมาจำหน่าย ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ของทุเรียนไทยในภาพรวม ตามนโยบายยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลไม้ไทยของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประธานฟรุ้ทบอร์ด 

ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ฝ่ายเกษตรทั้ง 3 สำนักงานร่วมกับทีมไทยแลนด์ในจีนเฝ้าระวังติดตามข่าวสารในสื่อออนไลน์และสื่อต่าง ๆ หากปรากฏข่าวที่กระทบต่อผลไม้ไทยให้ตรวจสอบและชี้แจงต่อสาธารณชนทันที


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top