Monday, 20 May 2024
ผลสำรวจ

‘นิด้าโพล’ เผยผลสำรวจ ‘6 พรรคกับโอกาสได้เป็น รบ.’ ชี้!! ‘เพื่อไทย’ พุ่งอันดับ 1 ส่วน ‘ก้าวไกล’ ครองอันดับ 2

(11 ธ.ค. 65) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘6 พรรคกับโอกาส ได้เป็นรัฐบาล’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7-9 ธันวาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับ 6 พรรคกับโอกาสได้เป็นรัฐบาล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูล ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อให้ประชาชนวิเคราะห์ถึงโอกาสที่พรรคการเมือง ทั้ง 6 พรรค ซึ่งกำลังมีกระแสข่าวการไหลเข้า-ออก ของนักการเมือง จะได้เป็นรัฐบาล ภายหลังการเลือกตั้งสมัยหน้า พบว่า

1. พรรคเพื่อไทย (นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว/น.ส.แพทองธาร ชินวัตร) 

ร้อยละ 40.38 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก 

ร้อยละ 32.44 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

ร้อยละ 16.88 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย

ร้อยละ 8.24 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 

ร้อยละ 2.06 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

2. พรรคก้าวไกล (นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์) 

ร้อยละ 31.45 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย 

ร้อยละ 30.23 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก

ร้อยละ 23.66 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

ร้อยละ 11.00 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 

ร้อยละ 3.66 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

3. พรรคพลังประชารัฐ (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) 

ร้อยละ 33.51 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 

ร้อยละ 32.60 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย

ร้อยละ 20.38 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก 

ร้อยละ 10.76 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 

ร้อยละ 2.75 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

4. พรรครวมไทยสร้างชาติ (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค/พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) 

ร้อยละ 43.12 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 

ร้อยละ 31.45 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย

ร้อยละ 15.73 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก

ร้อยละ 5.73 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 

ร้อยละ 3.97 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

5. พรรคภูมิใจไทย (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) 

ร้อยละ 39.16 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย 

ร้อยละ 30.84 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

ร้อยละ 21.60 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก

ร้อยละ 4.96 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

ร้อยละ 3.44 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

6. พรรคประชาธิปัตย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) 

ร้อยละ 40.69 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย 

ร้อยละ 38.93 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

ร้อยละ 13.20 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก

ร้อยละ 4.58 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน 

ร้อยละ 2.60 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อกระแสข่าวข้อตกลงการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทย ภายหลังการเลือกตั้งสมัยหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.65 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย เพราะ เป็นเพียงแค่กระแสข่าวลือ โอกาสเป็นไปได้ยาก เนื่องจากอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกัน

รองลงมา ร้อยละ 29.24 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ เพราะ ทั้งสองพรรคต่างต้องการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้ การนำของตนเองจึงไม่น่าจะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลได้

ร้อยละ 16.64 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ เพราะ การเมืองเป็นเรื่องของการหาผลประโยชน์ จึงมีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองพรรคจะตกลงจัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน

ร้อยละ 5.19 ระบุว่า เชื่อมาก เพราะ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทยเคยมีความสัมพันธ์กันในอดีต จึงอาจมีการหารือเพื่อตกลงเรื่องผลประโยชน์หากได้เป็นรัฐบาลร่วมกัน และร้อยละ 3.28 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ

'ไพบูลย์' เตือน!! โพลชี้นำ เจตนาไม่บริสุทธิ์ โน้มน้าวใจคนลงคะแนน ระวังผิดกฎหมาย

(24 เม.ย.66) นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ กล่าวว่าตามที่ได้ปรากฏมีสํานักโพลที่ไปสํารวจความคิดเห็นของประชาชน ในการเลือกตั้งหลายสํานัก ได้ออกมาเผยแพร่ข้อมูลผลสํารวจ ของสํานักตนเองนั้น มีบางสํานักปรากฏข้อมูลในการเปิดเผยผลสํารวจความคิดเห็นของประชาชน ที่น่าจะไม่สอดรับกับความเป็นจริงในคะแนนนิยมของผู้สมัคร ส.ส.หรือพรรคการเมือง 

ดังนั้น ในฐานะนักกฎหมายผมจึงเป็นห่วงว่าสํานักโพลเหล่านั้น อาจจะมีปัญหาข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2561 มาตรา 72 ซึ่งบัญญัติว่า การสํารวจความคิดเห็นของประชาชน โดยมีเจตนาไม่สุจริต มีลักษณะเป็นการชี้นํา หรือมีผลต่อการตัดสินใจในการลงคะแนนเลือก หรือลงคะแนนไม่เลือกผู้สมัครผู้ใดจะกระทํามิได้ และยังเข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรา 73 อนุห้า หลอกลวงบังคับขู่เข็ญใช้อิทธิพลคุกคามใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจให้เข้าใจผิด ในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง 

ทั้งนี้ตามมาตรา 72 และมาตรา 73 อนุห้า กฎหมายห้ามมิให้ผู้ใด ซึ่งรวมถึงสํานักโพลต่างๆ แล้วก็รวมถึงผู้ที่นํามาเผยแพร่ต่อ ได้กระทําการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยม ของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง ดังนั้นหากสํานัก ใด ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ. ศ. 2561 มาตรา 73 อนุห้า ก็จะมีบทลงโทษซึ่งกําหนดไว้ในมาตรา 159 ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี ตั้งแต่ 2 หมื่นบาทถึง 2 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ของผู้นั้นมีกําหนด 20 ปี 

ดังนั้น ผมจึงขอแจ้งข้อห่วงใย มายังสํานักโพลและผู้ที่นําผลโพลของ สํานักต่างที่อาจจะมีปัญหาดังที่ผมกล่าวมาข้างต้นไปเผยแพรต้องให้ความระมัดระวังในข้อกฎหมายในเรื่องดังกล่าวกันอย่างมากๆ เพราะเชื่อว่าจะมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปยื่นคําร้องขอให้ กกต. ตรวจสอบสํานักโพลที่กล่าวมาข้างต้น และอาจจะรวมถึงผู้ที่นําไปเผยแพร่ต่อผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งสามารถยื่นคําร้องได้จนถึง 30 วัน หลังจากวันเลือกตั้งแล้วก็อาจจะทําให้ สํานักโพลหรือผู้ที่นําไปเผยแพร่ ผลสํารวจที่มีปัญหาดังกล่าวนั้น อาจจะมีปัญหาทางกฎหมายก็ได้ด้วยความเป็นห่วงในข้อกฎหมาย ในฐานะนักกฎหมาย จึงขอนําเสนอข้อกฎหมายตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น

‘นิด้าโพล’ เผย ปชช.ค่อนข้างพอใจผลงาน 2 เดือน ‘นายกฯ เศรษฐา’ แม้บางส่วนไม่ค่อยได้ติดตามข่าวการเดินทางเยือนต่างประเทศ

(29 ต.ค. 66) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘สนใจเรื่องนายกฯ เศรษฐา เยือนต่างประเทศหรือไม่?’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24-25 ตุลาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประเด็นที่สนใจจากข่าวการเดินทางเยือนต่างประเทศในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน

การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ ‘นิด้าโพล’ สุ่มตัวอย่างแบบ หลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจ เมื่อถามประชาชนถึงประเด็นที่สนใจจากข่าวการเดินทางเยือนต่างประเทศในช่วง 2 เดือนของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.01 ระบุว่า ไม่ได้ติดตามข่าว การเยือนต่างประเทศของนายกฯ เลย
รองลงมา ร้อยละ 24.43 ระบุว่า การเข้าพบผู้นำ หรือบุคคลสำคัญในต่างประเทศ ร้อยละ 24.35 ระบุว่า บทบาทและผลการเยือนต่างประเทศของนายกฯ ร้อยละ 21.83 ระบุว่า การแต่งกาย/เสื้อผ้าของนายกฯ ระหว่างเยือนต่างประเทศ ร้อยละ 19.69 ระบุว่า การให้สัมภาษณ์ของนายกฯ ระหว่างเยือนต่างประเทศ
รองลงมา ร้อยละ 19.08 ระบุว่า ลักษณะท่าทาง และ/หรือ ภาษากายของนายกฯ ระหว่างเยือนต่างประเทศ ร้อยละ 10.31 ระบุว่า การจัดการต้อนรับของประเทศเจ้าภาพ และร้อยละ 1.98 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อถามผู้ที่ติดตามข่าวการเดินทางเยือนต่างประเทศของนายกฯ (จำนวน 799 หน่วยตัวอย่าง) ถึงความพอใจต่อบทบาทของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน เกี่ยวกับการเดินทางเยือนต่างประเทศในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 46.31 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ รองลงมา ร้อยละ 23.40 ระบุว่า พอใจมาก ร้อยละ 20.27 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 9.39 ระบุว่า ไม่พอใจเลย และร้อยละ 0.63 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความพอใจในบทบาท/ผลงานของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ในช่วง 2 เดือนที่ดำรงตำแหน่ง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.87 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ รองลงมา ร้อยละ 26.87 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 18.40 ระบุว่า พอใจมาก ร้อยละ 13.74 ระบุว่า ไม่พอใจเลย และร้อยละ 4.12 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.41 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.14 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.45 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 34.43 สถานภาพโสด ร้อยละ 62.98 สมรส และร้อยละ 2.59 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 23.89 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 38.02 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.01 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.42 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.66 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 10.23 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.11 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.75 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.83 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.74 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.00 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 6.34 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 23.28 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 20.61 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 29.09 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 8.32 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.19 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.35 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.16 ไม่ระบุรายได้

‘โพลนิด้า’ เปิดผลสำรวจ ปชช.ต่อภาพรวมกรณีของ ‘ทักษิณ’ ชี้!! ร้อยละ 39.62 มองว่าไม่ส่งผลต่อความอยู่รอดของรัฐบาล

(21 ม.ค. 67) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘กรณีทักษิณ ชินวัตร กับความอยู่รอดของรัฐบาล’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-17 มกราคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความอยู่รอดของรัฐบาล จากกรณีทักษิณ ชินวัตร ยังคงรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.62 ระบุว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของรัฐบาลเลย

รองลงมา ร้อยละ 21.98 ระบุว่า ค่อนข้างส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของรัฐบาล ร้อยละ 18.70 ระบุว่า ไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของรัฐบาล ร้อยละ 15.42 ระบุว่า ส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของรัฐบาลอย่างมาก และร้อยละ 4.28 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้ส่งตัวทักษิณ ชินวัตร กลับเข้าเรือนจำ จะลุกลามจนนำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเมืองรอบใหม่เหมือนการชุมนุมของเสื้อเหลือง เสื้อแดง และ กปปส. ในอดีต พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.60 ระบุว่า จะไม่นำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเมืองรอบใหม่แน่นอน

รองลงมา ร้อยละ 41.30 ระบุว่า จะนำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเมืองรอบใหม่ แต่ไม่ใหญ่โตเหมือนในอดีต ร้อยละ 11.15 ระบุว่า จะนำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเมืองรอบใหม่เหมือนในอดีตแน่นอน และร้อยละ 5.95 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top