Wednesday, 8 May 2024
ปรีดีพนมยงค์

2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ‘ปรีดี พนมยงค์’ ถึงแก่อสัญกรรม หลังลี้ภัยนับตั้งแต่เกิดรัฐประหารปี 2490

ครบรอบ 40 ปี ‘ปรีดี พนมยงค์’ อดีตนายกรัฐมนตรี ถึงแก่อสัญกรรม

ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และเป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 3 สมัย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ อีกหลายสมัย เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การเพียงคนเดียวของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบัน คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย)

'จรัล' พลิกวิกฤต 'จดหมายผิดซอง' บอกเป็นสถานการณ์การเมืองที่สำคัญ

(3 ม.ค.67) นายจรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ประธานสมาคมนักประชาธิปไตยชาวไทยไร้พรมแดน ซึ่งลี้ภัยในประเทศฝรั่งเศส โพสต์เฟซบุ๊กในกรณีจดหมายปรีดี ซึ่งเป็นบันทึกของนายปรีดี พนมยงค์ ที่ฝากไว้ ณ หอจดหมายเหตุ กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส (Centre des Archives diplomatiques du ministère des Affaires étrangères) โดยมีเวลาปิดผนึกยาวนานถึง 60 ปี และมีกำหนดการเปิดต่อสาธารณชนในปี 2024 ว่าต้องขอโทษที่เปิดแฟ้มเอกสารปรีดีได้ชุดเดียว แล้วก็เป็นชุดเก่า มิใช่ชุดใหม่ที่หอจดหมายเหตุการทูตเปิดให้อ่านได้

ที่เราเปิดอ่าน น่าสนใจมาก ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ฟังไลฟ์หลายหมื่นคนคงเพิ่งได้เห็น และที่สำคัญมีผู้ติดตามข่าวทางทวิตเตอร์และเฟซนับล้านคน คึกคักอย่างมาก นับเป็นสถานการณ์การเมืองแรกๆ ต้อนรับปีใหม่ นี่คือความหมายทางการเมืองสำคัญ

'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' เย้ยจดหมายผิดซอง หวังให้เป็นข่าวใหญ่ แต่สุดท้ายไม่มีอะไรในกอไผ่

(3 ม.ค. 67) นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ ‘จดหมายผิดซอง’ ว่า กะจะให้เป็นข่าวใหญ่ แต่สุดท้ายจดหมายผิดซอง ดี้ด้าจะเอาจดหมายพระเจ้าเห่ามาแฉ หน้าแหก ไม่มีอะไรในกอไผ่ เป็นรายงานของสถานทูตฝรั่งเศส ส่งกลับกระทรวงต่างประเทศฝรั่ง

ไลฟ์สดกะว่าดังแน่ ไม่น่าเชื่อระดับแถวหน้าจะมั่ว แตกไม่รับเย็บ แก้ตัวหยิบผิดแฟ้ม อยากแก้ไขประวัติศาสตร์หน้าไหน

‘ดร.อานนท์’ เตือน 2 บุตรีของปรีดี อย่าใช้แค่วาทกรรม แนะ!! งัดหลักฐานโต้ หาก ‘2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ นำเสนอบิดเบือน

เมื่อวานนี้ (20 มี.ค. 67) ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘Arnond Sakworawich’ ระบุว่า…

“ผมเข้าใจได้นะครับว่าทายาทของตระกูลพนมยงค์ย่อมไม่พอใจกับภาพยนตร์แอนิเมชัน 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ และมีสิทธิเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็นปกป้องบรรพบุรุษของตนหรือแม้แต่ฟ้องร้องผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ยังได้ครับ

“แต่ผมคิดว่าในฐานะของลูกหลานปัญญาชนผู้อภิวัฒน์สยาม ก็ควรแสดงหลักฐานและเอกสารชั้นต้นออกมาต่อสู้กันว่าในภาพยนตร์มีสิ่งใดที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ อะไรที่ทางครอบครัวพนมยงค์คิดว่าไม่เป็นความจริง ก็โต้มาด้วยหลักฐาน

“แต่การประดิษฐ์วาทกรรมลอย ๆ เรียกตนเองเป็นฝ่ายธรรมะ และเรียกทีมผู้สร้างภาพยนตร์ว่าเป็นฝ่ายอธรรม ช่างเป็นสงครามวาทกรรมที่แสนเหยียด ขาดความเคารพในความเห็นต่าง ไม่เป็นประชาธิปไตย คงใช้ชีวิตและเติบโตมาจากภาพยนตร์จีนกำลังภายในมากไปหรือไม่”

ผศ.ดร.อานนท์ ระบุต่อว่า “บรรพบุรุษของท่านทั้งสอง เป็นผู้ประดิษฐ์มนูธรรม เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย ทำไมลูกหลานจึงเป็นได้แค่ผู้ประดิษฐ์วาทกรรม ช่างแตกต่างจากบรรพบุรุษเหลือเกินครับ การกระทำเช่นนี้ของทายาทของครอบครัวพนมยงค์ ทำให้เกียรติยศของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์เสียหายมากนะครับ ว่าลูกหลานขาดวุฒิภาวะในการแสดงความคิดเห็นเยี่ยงอารยะและผู้มีการศึกษา

“การเขียนแถลงการณ์โดยไม่แสดงภูมิปัญญาความรู้ มีแต่วาทกรรมเหยียดและอารมณ์คุกรุ่นเต็มไปด้วยความไม่พอใจ หาใช่วิสัยปัญญาชนอย่างท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ไม่

“ท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์เองก็ยอมรับในบั้นปลายชีวิตเมื่อให้สัมภาษณ์กับนักข่าวแอนโทนี่ พอลว่าข้อผิดพลาดประการหนึ่งในชีวิตคือการนำเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม

“ไฉนเลยลูกหลานแห่งตระกูลพนมยงค์จะยังคงซ้ำรอยวิธีการที่ผิดพลาดในการนำเสนอความคิดเห็น ซึ่งน่าจะทำได้ดีกว่านี้มากครับ อย่าได้ทำอะไรผิดพลาดเช่นที่ท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ได้เคยทำผิดพลาดด้วยการนำเสนอผิดวิธีอีกเลยครับ”

สำหรับข้อความเห็นจาก สุดา พนมยงค์ และดุษฎี พนมยงค์ 2 บุตรีของนายปรีดี พนมยงค์ ได้ระบุไว้ว่า…

ข้อคิดเห็นบางประการเรื่องที่ฝ่ายอธรรมกำลังปลุกกระแส โดยสร้างและเผยแพร่ ภาพยนตร์ 2475 อยู่ในขณะนี้

1. การโต้ตอบโดยตรง อาจไม่เป็นผลดีต่อสถาบันปรีดีฯ ทำให้เข้าทางฝ่ายตรงข้าม ที่หวังสร้างข้อมูลเท็จบิดเบือนประวัติศาสตร์ ยั่วยุเพื่อให้เกิดกระแสด้านลบต่อฝ่ายธรรมะ

2. สถาบันปรีดีฯ เผยแพร่ความรู้ และข้อเท็จจริงในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เพื่อผู้ที่สนใจจะสามารถสืบค้น เข้าถึงได้สะดวกขึ้น

3. เมื่อประมาณสองปีที่แล้ว เคยมีการสร้างสื่อในลักษณะใส่ร้ายและโจมตีการอภิวัฒน์ 2475 แต่ไม่ได้รับความสนใจจากสังคม จึงไม่ประสบความสำเร็จในการปลุกกระแสดังกล่าว

แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น การต่อสู้ระหว่างฝ่ายธรรมะ และฝ่ายอธรรม ยังคงดำเนินต่อไปในสังคมอีกยาวนาน ขอบคุณกรรมการทุกท่าน ที่ได้ช่วยกันพิจารณาวิถีทางรับมือกับกระแสดังกล่าว และขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านยืนหยัดอยู่กับความถูกต้องเสมอไป

เปิดคำสัมภาษณ์ 'ปรีดี' กับสื่อนอกในวัย 79 ยอมรับความผิดพลาดใหญ่หลวงในอดีต

จากกรณีที่ภาพยนต์แอนิเมชันเรื่อง ‘๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ หรือ 2475 Dawn of Revolution ซึ่งมีการเผยแพร่ผ่านทางยูทูบ ตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค.ที่ผ่านมา ตอนหนึ่งได้ระบุถึงนายปรีดี พนมยงค์ หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม แกนนำคณะราษฎร ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ได้ยอมรับความผิดพลาดของตนเอง ผ่านการให้สัมภาษณ์แก่นายแอนโทนี พอล ในปี 2522 นั้น

เมื่อวันที่ 15 มี.ค.67 นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์' ในหัวข้อ เปิดคำสัมภาษณ์ปรีดี พนมยงค์ ในวัย 79 ปี ตอบเรื่องความผิดพลาดอันใหญ่หลวงในอดีต ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการให้สัมภาษณ์ของนายปรีดี พนมยงค์ ดังกล่าว ดังนี้...

นิตยสาร เอเชียวีคฉบับวันที่ 28 ธันวาคม 1979 (พ.ศ. 2522) - 4 มกราคม 1980 (พ.ศ. 2523) ภายใต้หัวเรื่องว่า ‘PRIDI THROUGH A LOOKING GLASS’ ซึ่งนายแอนโทนี พอล ได้สัมภาษณ์อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งขณะสัมภาษณ์นั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ซึ่งอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ มีอายุได้ 79 ปี

แอนโทนี พอล : “ท่านคิดว่าอะไรที่น่าจะเป็นความผิดอันใหญ่หลวงของท่าน? ถ้าท่านมีอำนาจกลับไปและแก้ไขเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตของท่าน การตกลงใจหรือการกระทำอันไหน ที่ท่านอยากเปลี่ยนมากที่สุด?”

ปรีดี พนมยงค์ : “ถ้าท่านถามถึงว่าอะไรที่ข้าพเจ้าจะทำ ถ้าข้าพเจ้ากลับไปเป็นนายกรัฐมนตรี…เอาละ ข้าพเจ้าขอตอบว่า ข้าพเจ้าไม่สนใจที่จะกลับสู่การเมืองอีกหรอก เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้าแก่มากแล้ว แต่ข้าพเจ้าตอบท่านได้ถึงความผิดในอดีตของข้าพเจ้า

ในปี ค.ศ.1925 (พ.ศ. 2468) เมื่อเราเริ่มจัดตั้งกลุ่มแกนกลางของพรรคอภิวัฒน์ในปารีส ข้าพเจ้ามีอายุเพียง 25 ปี เท่านั้น หนุ่มมาก หนุ่มทีเดียว ขาดความจัดเจน (ประสบการณ์) แม้ว่าข้าพเจ้าได้รับปริญญาแล้วและได้คะแนนสูงสุด แต่ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าทางทฤษฎี (ของกฎหมายเปรียบเทียบ) ข้าพเจ้าไม่มีความเจนจัด (ประสบการณ์)

และโดยปราศจากความเจนจัด (ประสบการณ์) บางครั้งข้าพเจ้าประยุกต์ทฤษฎีอย่างนักตำรา ข้าพเจ้าไม่ได้นำเอาความเป็นจริงในประเทศของข้าพเจ้ามาคำนึงด้วย ข้าพเจ้าติดต่อกับประชาชนไม่พอ ความรู้ทั้งหมดของข้าพเจ้าเป็นความรู้ตามหนังสือ ข้าพเจ้าไม่ได้เอาสาระสำคัญของมนุษย์มาคำนึงด้วยให้มากเท่าที่ข้าพเจ้าควรจะมี

ในปี ค.ศ.1932 (พ.ศ.2475) ข้าพเจ้าอายุ 32 ปี พวกเราได้ทำการอภิวัฒน์ แต่ข้าพเจ้าก็ขาดความจัดเจน (ประสบการณ์) และครั้นข้าพเจ้ามีความจัดเจน (ประสบการณ์) มากขึ้น ข้าพเจ้าก็ไม่มีอำนาจ”

แอนโทนี พอล : ความผิดพลาดอย่างอื่นมีอีกบ้างไหม?

ปรีดี พนมยงค์ : “มี, คือวิธีการเสนอแผนเศรษฐกิจของข้าพเจ้าอย่างไม่ถูกต้อง ข้าพเจ้าเสนอแผนเศรษฐกิจ แต่ข้าพเจ้าควรใช้เวลาให้มากกว่านั้นอธิบายแก่ประชาชน เวลานั้นมีบุคคลไม่กี่คน ที่จะเข้าใจแผนเศรษฐกิจของข้าพเจ้า แม้ในระหว่างรุ่นก่อน คือสมาชิกในคณะรัฐบาลก่อนซึ่งเราเชิญมามีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ พวกเขาตีความแตกต่างกันไป พวกเขาไม่เข้าใจ ข้าพเจ้าควรพยายามให้หนักขึ้น ที่จะอธิบายกับพวกเขาว่าทั้งหมดมันหมายถึงอะไร

แต่ทว่ามันก็เป็นแผนเศรษฐกิจที่ไม่เหมาะสมด้วยเหมือนกัน ข้าพเจ้าเสนอไม่ใช่ว่าเป็นแผนเศรษฐกิจขั้นสุดท้าย มันค่อนข้างจะเป็นโครงการขั้นเตรียมการมากกว่า หลายคนเหมาเอาว่าเป็นแผนเลยทีเดียว ไม่ใช่เป็นแนวทางหรือข้อเสนอพอเป็นพื้นฐานสำหรับการวางแผนต่อไป

ในสังคมนั้นย่อมมีการขัดแย้งกันระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ คุณต้องเข้าใจ และพวกคนรุ่นเก่ามีความกลัวมากทีเดียว ในบางอย่างที่เป็นสังคมนิยม พวกเขาไม่เข้าใจว่าอะไรเป็นสังคมนิยม อะไรเป็นคอมมิวนิสต์ พวกเขาเอาทุกอย่างที่ตรงข้ามกับวิสาหกิจเอกชนเป็นคอมมิวนิสต์ไปหมด”

เผยแพร่โดย
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
15 มีนาคม 2567

'ธนาธร' ซื้อบ้าน 'นายปรีดี พนมยงค์' ที่เคยใช้อาศัยขณะลี้ภัยฝรั่งเศส หวังให้ผู้คนได้ 'จดจำ-รำลึก' ประวัติศาสตร์การปกครอง 24 มิ.ย. 2475

เมื่อวานนี้ (1 เม.ย.67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า เปิดเผยในรายการNEWSROOM ทางยูทูบ Thairath Online Originals เมื่อช่วงค่ำวันที่ 1 เมษายน 2567 ระบุว่าตนและภรรยาได้ซื้อบ้านของนายปรีดี พนมยงค์ ที่ฝรั่งเศส เรียบร้อยแล้ว

“เราอยากให้คนรำลึก อยากให้คนจำประวัติศาสตร์ 2475 เวลาเราไปอเมริกาคนจะเชิดชู 4th of July Independence Day ส่วนฝรั่งเศสเชิดชู คุกบัสตีย์ (Bastille Day) วันที่มันเป็นการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของประเทศนั้นๆ ที่เชิดชูสิทธิเสรีภาพ อิสรภาพของประชาชน แต่วันที่ 24 มิถุนา ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นวันชาติที่ถูกหลงลืมไป ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ 24 มิถุนา ก็หายไป เราต้องบอกว่า เราต้องต่อสู้กับเรื่องพวกนี้ เพื่อให้คนตระหนัก ให้คนระลึกถึงความสำคัญของคนที่ต่อสู้ผลักดันสิทธิเสรีภาพให้กับประชาชนไทยมาก่อนหน้าเรา”

“เมื่อปีที่แล้ว ทางชาวเวียดนามเจ้าของบ้าน มีความประสงค์อยากจะขาย เพราะคุณยายที่ได้อาศัยอยู่ที่บ้านหลังนี้มานานได้เสียชีวิต เราเลยคิดว่าเป็นโอกาสดีที่จะเก็บบ้านนี้ไว้ เพื่อให้เป็นประวัติศาสตร์ เพื่อจะให้มีการพูดถึงอาจารย์ปรีดี ที่ต่อสู้ทางการเมืองจนต้องลี้ภัยไปใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายที่ประเทศฝรั่งเศส แล้วก็เสียชีวิตในบ้านหลังนี้”

หลังจากนั้น นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล อดีต สส. บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ได้โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ (x) ระบุว่า นายธนาธรจึงรุ่งเรืองกิจ ได้ซื้อบ้านของนายปรีดี พนมยงค์ ที่ประเทศฝรั่งเศส ไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 โดยระบุข้อความดังนี้
ธนาธร ได้ซื้อบ้านหลังที่ อ.ปรีดี พนมยงค์ เคยไปอาศัยลี้ภัยและเสียชีวิตที่นั่น ตั้งอยู่ที่เมืองอองโตนี ประเทศฝรั่งเศส ไว้เรียบร้อยแล้ว

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้คนได้จดจำรำลึกถึงประวัติศาสตร์ช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิ.ย. 2475 ที่ครั้งหนึ่งเคยมีความสำคัญจัดเป็นวันชาติไทย

แต่ในปัจจุบันนี้ ปวศ.ที่เกี่ยวข้องกับวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิ.ย. 2475 ได้มีความพยายามถูกทำให้ลบเลือนและสูญหายไป

โดยจะมีการจัดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย.นี้ ที่ประเทศฝรั่งเศส

12 เมษายน พ.ศ. 2476 ‘ปรีดี พนมยงค์’ เดินทางออกนอกประเทศไทย ก่อนไปพำนักที่ฝรั่งเศส ตามคำสั่งของรัฐบาล

12 เมษายน เป็นวาระครบรอบ 91 ปีที่ ‘ปรีดี พนมยงค์’ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษอาวุโสของไทย ต้องเดินทางไปพำนักที่ประเทศฝรั่งเศสตามคำสั่งของรัฐบาล เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2476 ภายหลังการเสนอร่าง ‘เค้าโครงการเศรษฐกิจ’ หรือที่เรียกกันว่า ‘สมุดปกเหลือง’ แต่แนวคิดของปรีดีกลับถูกคัดค้านด้วยเสียงส่วนใหญ่ในสภา รวมถึงยังมีการออก ‘สมุดปกขาว’ ซึ่งเป็นข้อวินิจฉัยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ตอบโต้ร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจฉบับนี้ว่า เป็นแนวคิดที่ลอกเลียนพรรคบอลเชวิคของรัสเซีย อีกทั้งยังเกิดข้อกล่าวหาว่าปรีดีเป็นคอมมิวนิสต์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ปรีดีตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง และเดินทางออกนอกประเทศในที่สุด

นอกจากนี้ การเกิดขึ้นของกฎหมายต่อต้านคอมมิวนิสต์ยังเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้ปรีดีต้องถูกเนรเทศออกจากประเทศ ไปยังประเทศฝรั่งเศสในช่วงนั้น รวมถึงคณะผู้ก่อการคณะราษฎรถูกจำกัดบทบาทให้หมดอำนาจหน้าที่ไป แต่ในท้ายที่สุดปรีดีก็ได้กลับเข้ามาประเทศไทยอีกครั้งภายหลังเหตุการณ์รัฐประหารครั้งที่ 2 โดยพระยาพหลพลพยุหเสนาได้ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2476 และเมื่อได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ก็ได้เชิญปรีดีกลับมาช่วยเหลืองานรัฐบาลต่อไป โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องไม่รื้อฟื้นเค้าโครงการเศรษฐกิจอีก

'พลโทนันทเดช' หยัน!! ซื้อบ้านเก่าของปรีดีที่ฝรั่งเศส แค่ละครฉากหนึ่ง ชี้!! เป็นการลงทุนแค่สลึงเดียว แต่คิดจะเอากลับคืนมาเป็นล้าน

(19 เม.ย. 67) พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า...

บ้านเก่าของอาจารย์ปรีดี ที่ฝรั่งเศส หรือจะเป็นร้านกาแฟอีกร้านหนึ่งแค่นั้น

การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เท่ากับเป็นการมองย้อนหลังไปหารากเหง้าของตัวเอง เพราะประวัติศาสตร์ คือ ต้นธารของสังคม และชีวิตผู้คนไม่ว่าจะเป็นไพร่ ผู้ดี หรือชนชั้นปกครอง โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการปฎิวัติ 24 มิถุนา 2475 ซึ่งในปัจจุบันมีผู้เขียนถึงกันมากมายหลายแง่มุม หลายทัศนะ แล้วแต่ความใกล้ชิดกับผู้คนในประวัติศาสตร์ หรือความเชื่อที่ได้รับมา หรือผลประโยชน์ที่ผูกพันกับตัวเอง จนกล่าวได้ว่า ไม่มีใครเป็นกลางได้จริงในเหตุการณ์ 24 มิถุนา 2475 แค่ดูหนังสือที่ขายในท้องตลาดเกี่ยวกับเรื่องนี้ จะเห็นได้ว่า มีแต่ผู้เขียนที่แข่งขันกันชื่นชมต่อคณะราษฎรเกือบ 80%

ดังนั้นเหตุการณ์ 24 มิถุนา 2475 จึงถูกนำมาผลิตเป็นหนังสือ ขายแล้วขายเล่า ไม่รู้จักจบสิ้น โดยไม่มีใครสนใจว่าข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์จะเป็นอย่างไร แค่ขอให้ตัวเองเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากชื่อ คณะราษฎร เท่านั้นก็พอ 

การซื้อบ้านเก่าของอาจารย์ ปรีดี ที่ฝรั่งเศส ก็คล้ายคลึงกัน มันเป็นแค่ละครฉากหนึ่งของพรรคการเมือง พรรคหนึ่ง ที่พิมพ์หนังสือออกมาขายเด็ก แล้วไม่มีคนอ่าน จึงลงทุนซื้อบ้านของ อาจารย์ปรีดี ซึ่งอุปมาเหมือนเป็นการลงทุนแค่สลึงเดียว แต่จะเอากลับคืนมาเป็นล้าน ยิ่งกว่าซื้อทองเก็งกำไร เห็นแล้วก็น่าสงสาร คณะราษฎร ที่วันเวลาผ่านมากว่า 90 ปีแล้ว ก็ยังถูกนำมาใช้เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคลเพียงบางกลุ่ม ..ก็แค่นั้นเอง

2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ‘ปรีดี พนมยงค์’ ถึงแก่อสัญกรรม สิริอายุรวม 82 ปี ปิดฉากผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ณ บ้านอองโตนี

ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และเป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 3 สมัย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ อีกหลายสมัย เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การ (อธิการบดี) คนแรกของมหาวิทยาลัย ของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบัน คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย)

ทั้งนี้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปรีดีเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นผู้แพ้สงคราม นอกจากนี้เขายังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในรัชกาลที่ 8 และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะ ‘รัฐบุรุษอาวุโส’

อย่างไรก็ตาม ปรีดี ต้องยุติบทบาททางการเมืองหลังเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลสวรรคต โดยถูกกล่าวหาจากพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว ต่อมาเกิดการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เป็นเหตุให้เขาต้องลี้ภัยการเมืองไปยังประเทศจีนและฝรั่งเศสรวมระยะเวลากว่า 30 ปี และไม่ได้กลับสู่ประเทศไทยอีกเลยจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 

ปรีดี สิ้นใจด้วยอาการหัวใจวาย ขณะกำลังเขียนหนังสืออยู่ที่โต๊ะทำงาน ในเวลา 11 นาฬิกาเศษ ณ บ้านอองโตนี ชานกรุงปารีส สิริอายุ 82 ปี

ต่อมาปี 2543 องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้บรรจุชื่อนายปรีดี พนมยงค์ ไว้ในปฏิทินบุคคลสำคัญของโลก ในช่วงปี 2543-2544 ท่านเป็นสามัญชนคนหนึ่งที่ได้สร้างคุณูปการให้แก่ชาติบ้านเมืองไว้จำนวนมาก แต่สังคมไทยกลับปฏิบัติต่อท่านต่างออกไปโดยสิ้นเชิง ไม่เพียงแต่ไม่ยกย่องเท่านั้น แต่นายปรีดี พนมยงค์ กลับกลายเป็นบุคคลที่ถูกใส่ร้ายป้ายสีมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top