Sunday, 19 May 2024
ประเทศญี่ปุ่น

‘กาตาร์’ ทึ่ง!! แฟนบอลญี่ปุ่นเก็บขยะหลังเกมจบ ถามเก็บทำไม? ตอบ “เพราะเราเคารพสถานที่”

ฟุตบอลโลกกลับมาแล้ว และแฟนๆ ทั่วโลกต่างตั้งตารอชมการแข่งขันฟุตบอลหลังจากรอคอยมาสี่ปี ซึ่งในการแข่งขันนัดเปิดสนามระหว่างชาติเจ้าภาพกับเอกวาดอร์ ‘Omr94’ ผู้ใช้อินตราแกรมรายหนึ่งชาวบาห์เรนออกมาเผยเรื่องราวประทับใจของแฟนบอลสัญชาติญี่ปุ่น โดยหลังจากจบเกมแล้ว แฟนบอลชาวญี่ปุ่นที่เข้าไปชมเกมนี้ มีพฤติกรรมที่น่าชื่นชมจนได้รับคำชมเชยในตะวันออกกลางอย่างล้นหลามและกลายเป็นกระแสไวรัลไปทั่วโลก

ภายในวิดีโอเผยภาพที่หลังจากจบเกมพบกาตาร์เจอกับเอกวาดอร์ แฟนบอลชาวญี่ปุ่นไม่เดินออกจากสนามเหมือนคนอื่น นำถุงขยะใบใหญ่เดินไล่เก็บขยะที่ถูกทิ้งไว้บนอัฒจันทร์ เช่น กล่องกระดาษ ถ้วย ขวดพลาสติก ธง และกระเป๋า ในโซนที่ตัวเองนั่งเชียร์อยู่ แม้ว่าทีมของพวกเขาจะไม่ได้มีส่วนร่วมในการแข่งขันในวันอาทิตย์ด้วยซ้ำ แต่แฟน ๆ ยังเข้าร่วมการแข่งขันกาตาร์กับเอกวาดอร์จากนั้นเลือกที่จะเดินไปรอบ ๆ เพื่อเก็บขยะโดยไม่ต้องร้องขอ 

แค่ทุบทำร้าย!! ‘เพจดัง’ เผยคลิปไม่ใช่เหตุ ‘สุ่มแทง’ ชี้!!ไม่มีการแทง มีแค่ทุบกับต่อย

เพจ "Drama-addict" เผยอีกมุมในเหตุการณ์ "สุ่มแทงคน" ในประเทศญี่ปุ่น พร้อมนำคลิปจากกล้องวงจรปิดมาให้ดู พบอาจเป็นเพียงหญิงสติไม่ดีไล่ทำร้ายร่างกายคนอื่น อีกทั้งชื่นชมกล้องวงจรปิดชัดแจ๋วจริงๆ

จากกรณีเพจ "ที่นี่เที่ยว ญี่ปุ่น" โพสต์เตือนหลังตนเองพบเหตุการณ์สุ่มแทงคนในประเทศญี่ปุ่น ก่อนจะมีเพจเกี่ยวกับเที่ยวญี่ปุ่นเพจอื่น ๆ แย้งว่าไม่จริงไม่มีเหตการณ์นั้น สุดท้ายเพจต้นทางได้ทำการลบโพสต์ดังกล่าวทิ้งไป พร้อมกับยืนยันว่าเห็นเหตุการณ์จริง ๆ

อย่างไรก็ตาม วันนี้ (14 มี.ค.) เพจ "Drama-addict" ได้ออกมาโพสต์คลิปวันเกิดเหตุลงในเพจ ก่อนจะพบความจริงว่าเหตุการณ์ทำร้ายร่างกายอาจไม่ได้หนักถึงขั้นใช้อาวุธแทงแต่อาจเพียงแต่ไล่ทุบตีเฉยๆ ทั้งนี้ "Drama-addict" ได้ระบุข้อความว่า

'อดีตนักเรียนไทยในญี่ปุ่น' ฉายภาพ 'มารยาท' ในพื้นที่สาธารณะ 'การปลูกฝัง-ส่งต่อสิ่งดีๆ' รุ่นสู่รุ่น ช่วยสร้างวินัย-พัฒนาชาติเจริญ

(14 ส.ค.66) ข้อมูลของผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘Naruphun Chotechuang’ โดย ‘คุณนฤพันธ์ โชติช่วง’ อดีตนักเรียนวิทยาลัยยามชายฝั่งญี่ปุ่น ได้โพสต์ให้ความรู้กรณีมารยาทบนรถไฟของประเทศญี่ปุ่นไว้ว่า...

มีท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งสอบถามเรื่องมารยาทบนรถไฟของประเทศญี่ปุ่น จากกรณีที่มีคนไทยไปทำเรื่องขายหน้าแต่ดูเหมือนเจ้าตัวไม่ได้รู้สึกผิดใดๆ แถมยังเหยียดคนที่เข้าไปตักเตือนกล่าวหาว่าเคยไปญี่ปุ่นหรือยังอีก

จากประสบการณ์อยู่ญี่ปุ่นมา 8 ปี คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นคนที่ให้ความสำคัญกับหน้าตาทางสังคมและระเบียบข้อปฎิบัติในการอยู่ร่วมในสังคมมาก หลายๆ อย่างมีสิ่งที่เรียกว่า 'มารยาท' หรือ マナー (Manner) ที่ชัดเจนเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่ได้เขียนไว้ในกฎหมาย หรือข้อบังคับใดๆ แต่เป็นการสอนส่งต่อรุ่นต่อรุ่น ถ้าใครเคยนั่งดูป้ายประกาศในรถไฟญี่ปุ่น ผมว่าทุกคนก็น่าจะเคยเห็นแผ่นรณรงค์มารยาทการใช้รถไฟร่วมกันของญี่ปุ่น 

แต่ถึงแม้จะมีคนทำผิด คนญี่ปุ่นส่วนมากจะใช้สายตาหรือท่าทางที่ดูรู้ว่าไม่พอใจ มากกว่าจะแสดงตัวเพื่อตักเตือนมากกว่า เพราะคนญี่ปุ่นคิดว่ามารยาทเป็นสิ่งที่ควรรู้ เมื่อต้องอยู่ในสังคมส่วนร่วม 

เรื่องแบบนี้ถูกสั่งสอนกันตั้งแต่ยังเด็ก เป็นการให้ความรู้กับเด็กเกี่ยวกับมารยาทการใช้รถไฟคือ...

- ไม่ควรเล่น หรือส่งเสียงดังรบกวนคนอื่น
- ควรเสียสละที่นั่งให้กับผู้สูงอายุ
- ไม่ควรคุยโทรศัพท์ในรถไฟ
- ให้คนลงจากรถไฟไปก่อน 
- ควรต่อเเถวเพื่อขึ้นรถไฟ
- ห้ามทิ้งขยะภายในรถไฟ 

นอกจากกรณีมารยาททางสังคมบนรถไฟแล้ว ญี่ปุ่นยังมีมารยาทในเรื่องต่างๆ ที่ยิบย่อย ยกตัวอย่างเช่น การสอบสัมภาษณ์เพื่อรับเอาใบอนุญาตทำงานหรือเข้าทำงาน นอกจากความรู้ที่ต้องจำเข้าไปแล้ว คือมารยาทในการสัมภาษณ์ที่ถูกต้อง ซึ่งมีผลอย่างมากต่อการผ่านการสัมภาษณ์หรือได้งานด้วย 

ต่อไปนี้ คือ สิ่งที่ผมพอจะนึกออกสมัยที่ผมสอบใบอนุญาตขับเรือสินค้าระดับสามและสองของญี่ปุ่น ร่วมถึงสัมภาษณ์งานบริษัทที่นั้น เมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว

1. เครื่องแต่งกาย การสอบสัมภาษณ์ของญี่ปุ่น เขาไม่ได้ดูเพียงความรู้เท่านั้น เขาดูมารยาทลักษณะนิสัยของผู้เข้าสัมภาษณ์อย่างเข้มงวด จำเป็นต้องเป็นสูทเท่านั้น และต้องเป็นสีดำ สีน้ำเงินเข้ม หรือสีเทาเข้ม เท่านั้น ส่วนดีไซน์ของสูท ถ้าไม่ผิดแปลกเกินไปก็ถือว่ารับได้ ส่วนเสื้อเชิ้ตข้างใน สีขาวคือสีที่ดีที่สุด ถ้าไม่มีก็ต้องเป็นสีโทนอ่อน ไร้ลวดลายใดๆ เน็คไทก็ต้องเป็นแบบเรียบง่าย ลวดลายไม่เด่นจนเกินไป ส่วนรองเท้าต้องเป็นคัทชูเท่านั้น สีจะเป็นสีดำหรือน้ำตาลก็ได้ นอกนั้นไม่แนะนำ ทรงผมควรให้เห็นหูอย่างชัดเจน สีผมเป็นสีธรรมชาติของตัวเอง

2. การเข้าห้องสัมภาษณ์ มีขั้นตอนและวิธีการที่ถูกบอกต่ออย่างชัดเจน ก่อนเข้าห้องต้องเคาะห้องก่อน 2-3 ครั้ง และรอจนกว่าคนในห้องจะพูดว่า เชิญ (どうぞ) ถึงจะเปิดประตูด้วยเสียงที่เบาที่สุด ก่อนทำการโค้งเคารพกรรมการสัมภาษณ์พร้อมพูดว่า ขออนุญาต (失礼します) แล้วปิดประตูให้เบาที่สุด สำหรับผมถูกสอนให้หมุนลูกบิดค้างไว้ ดันประตูจนสุดแล้วจึงคลายลูกบิด เมื่อปิดประตูแล้ว ไปยืนหน้าเก้าอี้ผู้สัมภาษณ์ ทำความเคารพอีกครั้ง พร้อมพูดขอความกรุณาด้วยครับ (よろしくお願いします) รอจนกว่ากรรมการจะบอกว่าเชิญนั่ง ถึงจะนั่งลง การนั่งเก้าอี้ผู้สัมภาษณ์ ควรนั่งเพียง 1/2 ของเก้าอี้ หลังตรง มองตรง รอจนกว่ากรรมการจะถามคำถาม หรือให้ทำตามสิ่งที่เขาต้องการ เมื่อสัมภาษณ์เสร็จ ก็ลุกขึ้นทำความเคารพ เดินไปที่ประตู หันมาทำความเคารพอีกครั้งเอ่ยคำว่าขออนุญาต (失礼します) พร้อมเปิดประตูและปิดประตูด้วยเสียงที่เบาที่สุด

นี่เป็นเพียงขั้นตอนการสัมภาษณ์ที่ผมเคยเจอและก็นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ก็รู้สึกว่าไม่ได้แย่อะไรด้วย นอกจากนี้ยังมีมารยาทอื่นๆ ที่ลงลึกไป เช่นลำดับการนั่งในรถแท็กซี่เมื่อต้องนั่งกับผู้ที่อาวุโสกว่า ลำดับการเข้าลิฟท์เมื่อต้องเข้ากับผู้ที่อาวุโสกว่า 

เพราะฉะนั้นไม่แปลกเลยที่ประเทศญี่ปุ่นสามารถพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง โดยที่ยังรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองได้ เพราะสิ่งที่เรียกว่าการปฎิบัติตามกฎระเบียบ และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีแบบนี้นี่เอง

ปล. 1 ใครที่สนใจเรื่องพวกนี้ ลองหาหนังสืออ่านได้นะครับ มีขายที่ญี่ปุ่น
ปล. 2 ที่จริงอีเมลญี่ปุ่นก็มีแพทเทิร์นตายตัวที่ควรจะต้องเขียนให้ได้ด้วยนะ
ปล. 3 แต่ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ของญี่ปุ่น เริ่มไม่ทำตามขนบแล้วนะ เท่าที่สังเกต

อดีตนักเรียนไทยในญี่ปุ่น ฉายภาพ 'มารยาท' ในพื้นที่สาธารณะ | Y WORLD EP.72

เจริญได้ด้วยจารีต!! วิเคราะห์ความจริงเรื่อง 'มารยาท' ในพื้นที่สาธารณะของคนญี่ปุ่น 'การปลูกฝัง-ส่งต่อสิ่งดีๆ' รุ่นสู่รุ่น ช่วยสร้างวินัย-พัฒนาชาติเจริญ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top