Tuesday, 21 May 2024
ประหารชีวิต

15 ตุลาคม พ.ศ.2460 ฝรั่งเศสประหารชีวิต ‘มาตา ฮารี’ นางระบำชาวดัตช์ ข้อหาสายลับสองหน้า

วันนี้เมื่อ 105 ปีก่อน มาตา ฮารี (Mata Hari) นางระบำชาวเนเธอร์แลนด์ ผู้แฝงตัวเป็นจารชนสองหน้าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ถูกฝรั่งเศสประหารชีวิต 

มาตา ฮารี มีนามจริงว่า มาร์กาเรเท เกอร์ทรูด เซลเล (Margaretha Geertruida Zelle) เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2419 ที่เมืองลีวาร์เดน (Leeuwarden) จังหวัดฟรีส์แลนด์ (Friesland) ตอนอายุ 15 ปีมารดาเสียชีวิต บิดากลายเป็นบุคคลล้มละลาย เธอแต่งงานกับทหารเรือตอนอายุ 18 ปี 

ภายหลังต้องย้ายตามสามีไปประจำการที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย และมีลูกด้วยกันสองคน ที่นี่เธอได้ศึกษาการร่ายรำศักดิ์สิทธิ์ของฮินดู จากวัดในเกาะชวา แล้วพัฒนาลีลาเป็นของตนเอง โดยร่ายรำม้วนลำตัวแสดงลักษณะความเป็นหญิง ในลักษณะคล้ายคลึงกับระบำหน้าท้อง เธออธิบายการเต้นรำของตัวเองว่าเป็น 'บทกวีอันศักดิ์สิทธิ์ โดยการเคลื่อนไหวแต่ละลีลาเป็นเสมือนคำที่ขีดเส้นใต้ไว้ด้วยดนตรี'

ปี 2446 เธอกับครอบครัวเดินทางกลับเนเธอร์แลนด์ เธอหย่ากับสามีแล้วย้ายไปยังกรุงปารีส ฝรั่งเศส ทำงานในคณะละครสัตว์ และเป็นนางแบบให้จิตรกรเขียนภาพ 

ปี 2448 เธอเริ่มมีชื่อเสียงจากลีลาการเต้นที่พัฒนาขึ้นมาเอง ซึ่งเรียกว่า 'ระบำแห่งโอเรียนต์' (Oriental-style Dancer) จากนั้นก็เปลี่ยนชื่อเป็น 'มาตา ฮารี' ซึ่งเป็นภาษาอินโดนีเซียแปลว่า 'ดวงตาแห่งวัน' หรือ 'ดวงตาวัน' คืนหนึ่งเธอได้เปิดแสดงที่พิพิธภัณฑ์กุยเมต์ (Guimet Museum) ส่งผลให้เธอโด่งดังในชั่วข้ามคืน ด้วยลีลาการเต้นที่แสนยั่วยวน มีเสน่ห์ ลึกลับ น่าหลงไหล (exotic) 

17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ประหารชีวิต ‘ชิต - บุศย์ - เฉลียว’ จำเลยคดีสวรรคต ในหลวง ร.8

วันนี้ เมื่อ 68 ปีที่แล้ว 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ศาลฎีกาได้พิพากษา ลงโทษประหารชีวิต เฉลียว ปทุมรส, ชิต สิงหเสนีย์ และบุศย์ ปัทมศริน จำเลยในคดีประทุษร้ายต่อสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ เรือนจำกลางบางขวาง

ต่อหน้าคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวาง เป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นายแพทย์เชื้อ พัฒนเจริญ และนายหลอม บุญอ่อน รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกควบคุมเรือนจำกลางบางขวางเป็นกรรมการ

จากเหตุการณ์ที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตอย่างมีเงื่อนงำ ด้วยพระแสงปืน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาประมาณ 9.20 น. บนชั้นสอง พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง

สภาพพระศพมีบาดแผลกลางพระนลาฎ (หน้าผาก) บริเวณระหว่างพระขนง (คิ้ว) ข้างพระศพมีปืนพกโคลต์ตกอยู่ชิดข้อศอก ด้ามปืนหันออกจากตัว ในช่วงแรกมีการรบกวนพระบรมศพทำให้การพิสูจน์เกิดปัญหา ความเห็นของแพทย์ผู้ชันสูตรเกือบสามในสี่ลงมติเป็นการลอบปลงพระชนม์

'บิ๊กก้อง' มั่นใจหลักฐานมัดแน่น 'กำนันนก' สั่งฆ่า ‘สารวัตรสิว' ไม่หวั่นแม้กล้องวงจรปิดกู้ไม่ครบ หลักฐานตอนนี้แน่นหนาพอ

(16 ก.ย.66) ภายหลัง พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. เดินทางกลับถึงประเทศไทยเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ได้เปิดเผยความคืบหน้าคดีนายประวีณ จันทร์คล้าย หรือกำนันนก ว่า แม้ตัวนายประวีณจะถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ แต่แนวทางสืบสวนก็ยังคงดำเนินต่อไป เพื่อสืบหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมเอาผิดนายประวีณให้ได้มากที่สุด เพราะเป็นการกระทำที่อุกอาจ ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง

พล.ต.ท.จิรภพ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีกล้องวงจรปิดที่ยังกู้ได้ไม่ครบนั้น ยืนยันว่าไม่ได้หนักใจแต่อย่างใด เพราะจากพยานหลักฐานที่มีอยู่ในขณะนี้ก็ถือว่าแน่นหนาพอที่จะบ่งชี้ได้ว่า นายประวีณ คือผู้สั่งการให้ นายธนัญชัย หมั่นมาก หรือ หน่อง ก่อเหตุยิง พ.ต.ต.ศิวกร สายบัว สว.กก.2 บก.ทล.ได้ โดยเฉพาะคำให้การของพยานผู้เห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ พยานแวดล้อม ที่ไปที่มาของอาวุธปืน พฤติกรรมการทำลายหลักฐาน หรือเจตนาของผู้ก่อเหตุ รวมไปถึงมูลเหตุแรงจูงใจ และพยานอื่นๆอีกมากมาย ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญทางคดี ที่สามารถทำให้นายประวีณ ต้องได้รับโทษสูงสุด คือ ‘ประหารชีวิต’ ได้ 

นอกจากนี้ตนยังได้สั่งการให้ชุดคลี่คลายคดีเร่งขยายผลตรวจสอบเครือข่ายธุรกิจของนายประวีณอย่างละเอียด ทุกกิจการ ว่า เกี่ยวข้องกับการฮั้วประมูลโครงการก่อสร้างต่างๆ หรือ เสียภาษีถูกต้องตามขั้นตอนกฎหมายหรือไม่ รวมไปถึงตรวจสอบทรัพย์สินเงินทองทั้งหมดว่ามีที่ไปที่มาอย่างไร ซึ่งขณะนี้พอมีข้อมูลพยานหลักฐานบ้างแล้ว คงต้องใช้เวลาตรวจสอบหรือขยายผลอีกระยะข้อเท็จจริงก็จะกระจ่างชัด 

'ญี่ปุ่น' ตัดสินประหารชีวิตหนุ่มวัย 21 คดีแรกหลังแก้กม.เยาวชน ก่อเหตุแทงพ่อแม่สาวที่แอบชอบดับ ก่อนเผาบ้านและไม่สำนึกผิด

(19 ม.ค. 67) สำนักข่าว Kyodo News ของญี่ปุ่น รายงานว่า ศาลญี่ปุ่น ได้ตัดสินประหารชีวิตนายยูกิ เอนโดะ วัย 21 ปี หลังก่อเหตุแทงพ่อแม่ของสาวที่ชอบจนเสียชีวิต และยังเผาบ้านของสาวคนดังกล่าว ที่เมืองโคฟู จังหวัดยามานาชิ ทางตะวันตกของกรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่น โดยเป็นคดีแรกที่ตัดสินโทษประหารชีวิตแก่ผู้กระทำผิดที่ในขณะที่ก่อเหตุเป็นผู้เยาว์ นับตั้งแต่มีการแก้กฎหมายเยาวชน ปรับลดอายุบรรลุนิติภาวะเมื่อปี 2022

ข่าวระบุว่า ตามกฎหมายเดิมของญี่ปุ่น ผู้ที่จะถูกระบุว่าเป็นเยาวชนจะต้องอายุน้อยกว่า 20 ปีลงไป แต่เมื่อเดือนเมษายน 2022 ได้มีการปรับแก้กฎหมายใหม่ กำหนดอายุของเยาวชนไว้ว่า อายุ 18 ปีลงไป ทำให้นายเอนโดะซึ่งขณะก่อเหตุอายุ 19 ปี ไม่ได้ถูกระบุว่าเป็นเยาวชนแล้ว

นายจุน มิคามิ หัวหน้าคณะผู้พิพากษาศาลแขวงโคฟุ ได้ตัดสินประหารชีวิตนายเอนโดะ และว่า นายเอนโดะจะต้องรับโทษความผิดทางอาญา โดยอายุของเขาไม่ใช่เหตุผลที่จะหลีกเลี่ยงต่อการรับโทษประหารแต่อย่างใด

ทั้งนี้ นายเอนโด ได้แทงพ่อแม่ของสาวที่แอบชื่นชอบ จนเสียชีวิต เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 64 (2021) และยังทำร้ายน้องสาวของสาวที่แอบชอบจนได้รับบาดเจ็บ ก่อนจุดไฟเผาบ้านของหญิงสาว โดยที่ตัวหญิงสาวที่นายเอนโดะแอบชอบไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด

โดยนายเอนโดะ ให้การระหว่างการพิจารณาคดีว่า เขาชื่นชอบนักเรียนหญิงคนหนึ่งที่เรียนโรงเรียนเดียวกัน แต่สาวคนดังกล่าวไม่ยอมออกเดตด้วย ทำให้เขารู้สึกสิ้นหวัง และโมโห นอกจากนี้ ตัวนายเอนโดะ ยังบอกด้วยว่า ตัวเขาเองมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับพ่อแม่ของตัวเอ

อย่างไรก็ตาม ตลอดการพิจารณาคดี นายเอนโดไม่ได้กล่าวคำขอโทษต่อการกระทำของตัวเองแต่อย่างใด และปฏิเสธที่จะยื่นเรื่องอุทธรณ์คำตัดสิน โดยบอกว่า ไม่อยากกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิม ๆ อีกแล้ว

ทั้งนี้ แม้กฎหมายเยาวชนของญี่ปุ่นจะมีการแก้ไขเมื่อปี 65 (2022) ลดอายุของผู้ที่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย จากเดิมคือตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป เป็น 18 ปีขึ้นไป แต่ผู้ที่อายุ 18 และ 19 ปี ยังคงได้รับการคุ้มครองอยู่ เพียงแต่จะได้รับการดูแลที่ต่างจากผู้ที่อายุ 17 ปีลงไป และยังอนุญาตให้สื่อสามารถเปิดเผยชื่อของจำเลยที่อายุ 18-19 ปีได้ เมื่อถูกดำเนินคดีแล้วเท่านั้น


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top