Sunday, 5 May 2024
ประมงพื้นบ้าน

“บิ๊กโจ๊ก” จับเข่าคุย!! ‘ประมงพื้นบ้าน’ ร่วมต้าน IUU

จากกรณีที่ประเทศไทยได้ถูกลดอันดับการรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์จากทางการสหรัฐฯ ลงเป็นอันดับประเทศที่ต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) โดยมีข้อสังเกตในเรื่องการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการค้ามนุษย์อย่างจริงจังในทุกภาคส่วน ปัญหาการบังคับใช้แรงงานและแรงงานข้ามชาติซึ่งเกิดขึ้นในหลายอุตสาหกรรมรวมถึงภาคการประมง รวมทั้งปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ตามที่ทราบแล้ว นั้นจากกรณีดังกล่าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ                   รองนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และการบังคับใช้แรงงานในภาคการประมง โดยมี พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานคณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวังการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งได้แต่งตั้งชุดปฏิบัติการตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการประมง เพื่อการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวและประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานที่

ในการนี้ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. จึงได้สั่งการให้ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รองผู้บัญชาการ              ตำรวจแห่งชาติ / ผู้อำนวยการ ศพดส.ตร. และ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ / รองผู้อำนวยการ ศพดส.ตร./ รองประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) โดยเร่งด่วน

ต่อมาเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ/รองประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ได้เดินทางมาพบปะและประสานความร่วมมือกับสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย นำโดย นายสะมะแอ เจ๊ะมูดอ, นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี, นายเจริญ โต๊ะอิแต และพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน ที่กลุ่มอนุรักษ์ประมงพื้นบ้านบ้านในถุง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ในการต่อต้าน การทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) เพื่อให้การดูแลทรัพยากรทางทะเลมีความยั่งยืน อุดมสมบูรณ์ 

เกี่ยวข้อง

การทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตทะเลประเทศไทยเป็นอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นเรือประมงขนาดเล็ก ใช้เครื่องมือประมงประสิทธิภาพต่ำในการจับสัตว์น้ำเพื่อการยังชีพ และจำหน่ายในท้องถิ่นเป็นหลัก มีวิถีการทำประมงที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร สามารถพึ่งพาตนเองได้แม้ในยามวิกฤต จนกระทั่งรัฐบาล นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เข้ามาแก้ไขปัญหา IUU โดยสามารถปลดใบเหลืองจากสหภาพยุโรปได้ ผลของการทำงานดังกล่าว ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตชายฝั่งกลับสู่ความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยในปีพ.ศ.2561 ชาวประมงพื้นบ้านสามารถจับปลาได้ 140,037 ตัน ปี พ.ศ.2562 ได้ 161,462 ตัน, ปีพ.ศ.2563 ได้ 250,622 ตัน และปีพ.ศ.2564 เพียง 9 เดือนแรก (ถึง ก.ย.) ได้ถึง 164,054 ตัน 

อย่างไรก็ตาม ชาวประมงพื้นบ้านยังคงประสบปัญหาการลักลอบเข้ามาทำการประมงในเขตชายฝั่งจากเรือประมงขนาดใหญ่และเรือประมงที่ใช้เครื่องมือประสิทธิภาพสูง เช่น อวนลาก คราดหอย อวนลากคู่ ซึ่งเป็นการทำประมงผิดกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปีพ.ศ.2563 และ 2564 ที่ผ่านมา ชาวประมงพื้นบ้านได้ร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงปัญหาดังกล่าว แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่ประการใด นอกจากนั้นยังถูกข่มขู่จากผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ซึ่งเป็นนายทุนเบื้องหลังพฤติกรรมทำประมงผิดกฎหมายเหล่านี้ ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านไม่เชื่อถือการทำงานของเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย โดยในรอบปีพ.ศ.2564 ที่ผ่านมา มีเรือประมงขนาดใหญ่ถูกดำเนินคดีความผิดประมงในทะเลเพียง 10 คดีเท่านั้น 

ในการพบปะครั้งนี้ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ได้ให้ความมั่นใจกับชาวประมงพื้นบ้านว่า “ชาวประมงพื้นบ้าน เป็นผู้พิทักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำให้ยั่งยืนและอุดมสมบูรณ์ ผมได้รับข้อมูลและความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมง IUU อย่างดียิ่ง นอกจากเบาะแสของเรือประมงกลุ่มทุนแล้ว ยังรวมถึงการเลือกปฏิบัติ การละเว้นปฏิบัติของเจ้าหน้าที่อีกด้วย เห็นได้จากในรอบปี 2564 ที่ผ่านมา เรือประมงกลุ่มทุนถูกดำเนินคดีทำการประมงผิดกฎหมายในทะเลเพียง 10 คดี ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านรองนายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับชาวประมงพื้นบ้านมาก และได้กำชับให้ผมเข้ามาแก้ไขปัญหาผู้มีอิทธิพลในทะเล กลุ่มเรือนายทุน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่ “หลับตา” ละเว้นการปฏิบัติ หรือเลือกปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย ทำให้พี่น้องชาวประมงพื้นบ้านไม่เชื่อมั่นการทำงานของภาครัฐ ผมได้จัดชุดปฏิบัติการ 4 ชุดระดมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีความชำนาญ มาเพื่อแก้ไขปัญหาที่พี่น้องเสนอข้อมูลมา ผู้มีอิทธิพล นายทุนประมง เจ้าหน้าที่รัฐที่รู้เห็นเป็นใจ จะต้องไม่มีที่ยืน เบื้องต้นผมได้จัดกำลังลงตรวจเรือประมงที่แจ้งว่า “งดใช้เรือ” ไม่ออกทำประมง และขอปิดเครื่อง VMS จำนวน 620 ลำ แต่มีบางลำลักลอบออกไปทำประมงผิดกฎหมาย หรือขนของเถื่อน ขนของหนีภาษี รวมถึงค้ามนุษย์ เรือประมงเหล่านี้ ลำไหน “จอดไม่ตรงจุดที่แจ้ง ไปตรวจแล้วไม่มีเรือ” ดำเนินคดีทุกลำพร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ด้วย ผมไม่ได้ทำงานเพราะเอาใจ EU แต่ตั้งใจมาทำงานนี้เพราะอยากให้ทรัพยากรสัตว์น้ำของเราอุดมสมบูรณ์ยั่งยืนไปชั่วลูกหลาน และขอขอบคุณที่พี่น้องประมงพื้นบ้านที่มาผนึกกำลังกับภาครัฐในการต่อต้านประมง IUU”

​​​​​​​

‘บิ๊กป้อม’ ถก คกก.ประมง จัดการทรัพยากรทะเลแบบยั่งยืน กำชับ ‘กรมประมง’ เข้มข้อกฎหมาย - โปร่งใส - ยึดหลักสากล

(27 ม.ค. 66) มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 (ผ่านระบบ Video Conference) เพื่อกำหนดแนวทางการทำประมงพื้นบ้านและการนำเรือประมงออกนอกระบบ โดยที่ประชุมรับทราบ ความเห็นของคณะกรรมาธิการยุโรป (DG-MARE) ถึงความพยายามของไทย ต่อพัฒนาการติดตาม เฝ้าระวังและควบคุมการทำประมงภาพรวม โดยขอให้เพิ่มการตรวจสอบดำเนินคดีอย่างเต็มประสิทธิภาพตามขั้นตอนกฎหมายกับเรือที่มีข้อมูลจากศูนย์ FMC เรือเข้าออกท่าที่ผิดกฎหมาย เพื่อป้องกันมิให้ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำผิดกฎหมาย เข้าสู่ห่วงโซ่อาหารหรือส่งออกต่างประเทศ และรับทราบการขยายเวลายกเว้นบังคับใช้กฎหมาย MMPA ของสหรัฐฯ ออกไปอีก 1 ปี จนถึง 31 ธ.ค.66 

พร้อมกับรับทราบความก้าวหน้า นโยบายและแผนบริหารจัดการประมง และแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายในทะเลสาบสงขลา ปี 66-70 รวมทั้งผลการประเมินประเทศไทย ต่อสถานการณ์การขจัดแรงงานเด็กในรูปแบบเลวร้ายที่สุดของ สหรัฐฯ ปี 64 โดยเสนอให้ความสำคัญกับ การควบคุมบังคับใช้อายุขั้นต่ำของการจ้างแรงงานให้ครอบคลุมการจ้างแรงงานนอกระบบ การกำหนดอาชีพและกิจกรรมเสี่ยงที่อันตรายต่อเด็กให้ครอบคลุมมากขึ้น และการเพิ่มจำนวนและประสิทธิภาพผู้ตรวจแรงงานนอกระบบในพื้นที่ห่างไกล

‘เพื่อไทย’ ประกาศนโยบาย ‘ฟื้นชีพประมงไทย’ ปลดล็อกประมงพื้นบ้าน-ทวงคืนตำแหน่ง ‘เจ้าสมุทร’

(2 มี.ค. 66) นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย ปลอดประสพ สุรัสวดี ประธานนโยบายด้านการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการน้ำ พรรคเพื่อไทย มงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย วิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ อดีตประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย และอดีตนายกสมาคมนอกน่านน้ำไทย และ ไตรฤกษ์ มือสันทัด คณะทำงานนโยบายประมง และผู้ประสงค์ลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส.ชุมพร เขต 2 พรรคเพื่อไทย แถลงเปิดนโยบายประมง ในงานเสวนา ‘ประมงไทยจะกลับมาเป็นเจ้าสมุทรอีกครั้ง’

นายแพทย์ชลน่าน กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยได้ให้ความสำคัญกับการประมง จึงเริ่มพูดคุยพบปะผู้ประสบปัญหาโดยตรง จนได้เห็นสภาพปัญหา ซึ่งในมุมของฝ่ายค้านเราทำทุกอย่างเพื่อแก้ปัญหาให้กับพี่น้องชาวประมง ที่เกิดจากกลไก IUU Fishing มาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ยื่นเสนอ พ.ร.บ.การประมงฉบับเพื่อไทย เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 และเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา สภารับหลักการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ถือเป็นความสำเร็จก้าวแรกที่จะช่วยเหลือพี่น้องประมงไทย

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทยจึงร่วมมือกับสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย และตัวแทนจากสมาคมประมงทั้ง 22 จังหวัด รวมทั้งการลงพื้นที่ภูเก็ต พังงา นครศรีธรรมราช มีเสียงสะท้อนของพี่น้องประมงที่ส่งผ่านมายังพรรคเพื่อไทย จึงขอประกาศนโยบาย ด้านประมงทะเลอย่างเป็นทางการ 3 ด้าน ที่จะทำทันทีคือ

1. จะยกเลิก พ.ร.ก.ประมง พ.ศ.2558 ที่เป็นผลพวงรัฐประหารโดยทันที และจะบังคับใช้ พ.ร.ก.หรือ พ.ร.บ.ประมงฉบับใหม่ ที่ร่วมเขียนโดยพี่น้องชาวประมงและสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย

2. จะเร่งเจรจาข้อตกลง IUU Fishing ใหม่ โดยตรงกับสหภาพยุโรป(EU) เพื่อแก้ไขและปรับปรุงข้อตกลงโดยเคารพบทบัญญัติของกฎหมายทะเลและแผนปฏิบัติการของ FAOอย่างเคร่งครัด เป็นธรรมและโปร่งใส

3. จะปลดล็อกประมงพื้นบ้านขนาดเล็ก ไม่ต้องขออนุญาต ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการขึ้นทะเบียนใด ๆ ให้พี่น้องได้ทำมาหากินอย่างเท่าเทียม

ทั้งนี้ การประมงไทยต้องพัฒนา มีทิศทางที่ชัดเจน มีเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพ สร้างชาวประมงรุ่นใหม่ และมีนโยบายต่างประเทศเพื่อเพิ่มการส่งออกผลผลิตอาหารทะเล ไปพร้อมกับการฟื้นฟูทรัพยากรประมงทะเลไทยให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อย่างสูงสุด ให้ชาวประมงทุกประเภทได้เข้าถึงอย่างเสมอภาค และจะต้องอนุรักษ์วัฒนธรรมการประมงแบบดั้งเดิมให้อยู่คู่คนไทยอย่างยั่งยืน

‘ก.เกษตร’ ผุดมาตรการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายชาวประมง ยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเพาะสัตว์น้ำ-ประมงพื้นบ้าน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย เปิดเผยวันนี้ว่า กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านใน 23 จังหวัดชายทะเลและกลุ่มประมงเพาะเลี้ยงชายฝั่งได้แสดงความขอบคุณ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมประมงและประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย ที่รับฟังปัญหาความเดือดร้อนจากการประกอบอาชีพเนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19และดำเนินการให้ความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วในการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ...”  ให้แก่พี่น้องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงหอยทะเล สัตว์น้ำในกระชัง และสัตว์น้ำอื่นๆ ที่ทำการเพาะเลี้ยง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด -19 โดยเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบกฎกระทรวง “ยกเว้นค่าอากรใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือทำการประมงและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน พ.ศ. ...” ให้กับพี่น้องประมงพื้นบ้าน ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19  โดยแบ่งเป็นผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวนกว่า 16,700 ราย คิดเป็นเงินกว่า 50 ล้านบาท ในพื้นที่ 67 จังหวัด และชาวประมงพื้นบ้าน จำนวนกว่า 50,000 ลำ คิดเป็นเงินกว่า 20 ล้านบาท ในพื้นที่ 23 จังหวัด  รวมแล้วสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายได้กว่า 70 ล้านบาท 

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เริ่มต้นจากเมื่อปลายปีที่แล้วกลุ่มประมงเพาะเลี้ยงและกลุ่มประมงพื้นบ้านได้นำเสนอขอความช่วยเหลือยกเว้นค่าธรรมเนียมและใบอนุญาตในการประชุมกับตนและประมงจังหวัดเพชรบุรี ที่วัดอุตมิงค์ อำเภอบ้านแหลมจังหวัดเพชรบุรี

จึงได้รายงานให้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นชอบในหลักการและมอบหมายกรมประมงดำเนินการเสนอเรื่องต่อ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top