Saturday, 22 June 2024
ประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ

การประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ครั้งที่ ๒ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖

วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา กองบัญชาการกองทัพไทย จัดการประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ครั้งที่ ๒ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖ โดยมี พลเอก เฉลิมพล  ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธาน พร้อมด้วย ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ๒๔๑ อาคาร ๒ ชั้น ๔ กองบัญชาการกองทัพบก 

ในโอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้มอบนโยบายให้เหล่าทัพ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงกลาโหม ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ ทุ่มเท และเสียสละ เพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชน และสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมทั้งพัฒนาขีดความสามารถของกำลังพลและยุทโธปกรณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความพร้อมรองรับภัยคุกคามและรูปแบบการโจมตีที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยในวันนี้ที่ประชุมฯ ได้ร่วมกันนำเสนอแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในด้านต่าง ๆ ของหน่วย ดังนี้

กองบัญชาการกองทัพไทย ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนากองทัพไทย ซึ่งมุ่งเน้นใน ๔ ระบบงาน ประกอบด้วย ระบบงานการปฏิบัติการร่วม เพื่อบูรณาการพลังอำนาจของชาติ ทรัพยากรทางทหาร และการบริหารจัดการการใช้กำลังทหารได้อย่างประสานสอดคล้อง รวมทั้งเสริมขีดความสามารถตามคุณลักษณะของแต่ละเหล่าทัพ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ระบบงานการฝึก เพื่อพัฒนาระบบการฝึกทุกระดับ ให้ทุกส่วนราชการมความพร้อมในด้านกำลังพล ยุทโธปกรณ์ และแผนในการปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบงานการศึกษา เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกระทรวงกลาโหม ทั้งในด้านการศึกษา การฝึกอบรม และการจัดการเรียนการสอนให้สามารถปฏิบัติงานตามภารกิจหน้าที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และระบบงานส่งกำลังบำรุง เพื่อพัฒนาระบบการส่งกำลังบำรุงมุ่งไปสู่การพึ่งพาตนเองด้วยความร่วมมือกับมิตรประเทศและภาคเอกชน เพื่อให้งานด้านส่งกำลังบำรุงสามารถสนับสนุนการปฏิบัติการทางทหารพร้อมเผชิญภัยคุกคามรูปแบบใหม่ และช่วยเหลือประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม

กองทัพบก ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพบก เพื่อมุ่งสู่การปฏิบัติการร่วมของกองทัพไทย ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในด้านการพัฒนากองทัพและการส่งเสริมการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในเรื่อง “การปรับปรุงโครงสร้างกองทัพให้มีขนาดที่เหมาะสมกับภัยคุกคามทุกรูปแบบ ทุกมิติ และทุกระดับความรุนแรง มุ่งเน้นการปฏิบัติการร่วมที่มีความคล่องแคล่วและอำนาจกำลังรบสูง มียุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถปฏิบัติภารกิจที่มีความหลากหลาย” ได้แก่ การปรับปรุงโครงสร้างการจัดหน่วยแบบ “เบา ประหยัด มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ” การเสริมสร้างการพร้อมรบ การดำรงความต่อเนื่องในการรบ และการพัฒนาความทันสมัย

กองทัพเรือ ได้มีการเสริมสร้างกำลังกองทัพตามยุทธศาสตร์ และแนวทางการใช้กำลังของกองทัพเรือ เพื่อให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย และสามารถปฏิบัติการยุทธ์ร่วมกับกองบัญชาการกองทัพไทย และเหล่าทัพตามสาขาปฏิบัติการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก การส่งผ่านกำลังทางบก และการยุทธ์บรรจบกับกำลังทางบก การป้องกันภัยทางอากาศของกองเรือ การบินลาดตระเวนรบ และการโจมตีเป้าหมายทางทะเลกับกำลังทางอากาศ

การประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ครั้งที่ ๕ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖

วันอังคารที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๑๕ นาฬิกา กองบัญชาการกองทัพไทย จัดการประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ครั้งที่ ๕ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖ โดยมี พลเอก เฉลิมพล  ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธาน พร้อมด้วย ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องศรียานนท์ ชั้น ๒ อาคาร ๑ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 

ในโอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้มอบนโยบายให้เหล่าทัพ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ อย่างเต็มขีดความสามารถและสมพระเกียรติ พร้อมทั้งปลูกฝังกำลังพลทุกนาย ให้มีความจงรักภักดี ปกป้อง พิทักษ์รักษา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนให้ทุกหน่วยบูรณาการการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ในการเสริมสร้างความมั่นคง ความปลอดภัย และความสงบสุขให้กับประชาชนในประเทศ 

ในวันนี้ ที่ประชุมฯ ได้รับทราบผลการปฏิบัติงานที่สำคัญ และแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 

กองบัญชาการกองทัพไทย ได้ชี้แจงแนวทางดำเนินการด้านการพัฒนาประเทศเพื่อความมั่นคงและช่วยเหลือประชาชนของกองทัพไทย โดยด้านการพัฒนาประเทศในปัจจุบัน ยึดถือตามนโยบายและแผนความมั่นคงที่ ๑๗ การเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ของนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๗๐ รวมถึงแนวทางการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๗๐ ของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งกองบัญชาการกองทัพไทย มีกลไกการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ กรมกิจการชายแดนทหาร รับผิดชอบงานด้านการจัดระบบป้องกันและการสื่อสาร เพื่อจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน รวมถึงการรักษาความมั่นคงชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน และหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา รับผิดชอบงานด้านการพัฒนาประเทศร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดน สำหรับการช่วยเหลือประชาชน เมื่อเกิดภัยพิบัติ มีศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม เป็นศูนย์กลางในการประสานงานกับทุกภาคส่วน โดยกองทัพไทย มีศูนย์บัญชาการทางทหาร ทำหน้าที่ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพไทย รับผิดชอบด้านการอำนวยการ ประสานงาน สั่งการ และกำกับดูแลการปฏิบัติของศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองบัญชาการกองทัพไทย และศูนย์บรรเทาสาธารณภัยเหล่าทัพ เพื่อให้การเตรียมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่รับผิดชอบ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทันต่อสถานการณ์ 

กองทัพบก ได้ชี้แจงแนวทางการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในสถานการณ์ภัยพิบัติ โดยได้เตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างและแผนปฏิบัติการ ด้วยการปรับปรุงแผนบรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๔-๒๕๗๐ รวมถึงแผนบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๖๔ ตลอดจนเตรียมความพร้อมด้านกำลังพล โดยการให้ความรู้ พัฒนาขีดความสามารถกำลังพล รวมถึงสนับสนุนกำลังพลในการเข้ารับการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในทุกระดับการเกิดภัย อาทิ การเตรียมความพร้อมชุดบรรเทาสาธารณภัยเคลื่อนที่เร็วและการฝึกแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญด้านการดับไฟป่า (Bush Fire SMEE 2023) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเตรียมความพร้อมด้านยุทโธปกรณ์ โดยการจัดหายุทโธปกรณ์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของกำลังพลในการปฏิบัติงาน รวมถึงการจัดทำโครงการเสริมสร้างชุดบรรเทาสาธารณภัยเคลื่อนที่เร็ว ให้มีขีดความสามารถในการค้นหาและกู้ภัยเบื้องต้น เป็นมาตรฐานสากลสามารถปฏิบัติงานร่วมกับฝ่ายพลเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

กองทัพเรือ ได้นำเสนอขีดความสามารถของเรือหลวงช้างในการบรรเทาภัยพิบัติและช่วยเหลือประชาชนซึ่งถือเป็นเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก การขนส่งลำเลียง การเป็นเรือบัญชาการ การค้นหาและกู้ภัยทางทะเล รวมทั้งสนับสนุนการช่วยเหลือกู้ภัยเรือดำน้ำ มีความสามารถในการช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย การอพยพประชาชน สนับสนุนการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายในทะเลและท่าเรือ โดยมีกำลังพลประจำเรือทั้งสิ้น ๑๙๖ นาย มีคุณลักษณะความยาวตลอดลำ ๒๑๓ เมตร ความกว้าง ๒๘ เมตร กินน้ำลึก ๗ เมตร ระวางขับน้ำสูงสุด ๒๐,๐๐๓ ตัน ทำความเร็ว ๒๓ นอต ทนแรงคลื่นสูงกว่า ๑๔ เมตร มีความเหมาะสมในภารกิจช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ อาทิ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางอากาศ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ การพักอาศัย การประกอบอาหาร และการช่วยเหลือทางการแพทย์ โดยมีห้องปฏิบัติการแพทย์ จำนวน ๑๑ ห้อง ห้องผู้ป่วย ๓ ห้อง ส่วนรักษา ๘ ห้อง แบ่งเป็นห้อง X-ray ห้องทันตกรรม ห้องศัลยกรรม ห้องตรวจโรค ห้องยา ห้อง LAB ห้องฆ่าเชื้อ และห้องผ่าตัด ซึ่งสามารถรองรับการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามระดับ ๒ บนเรือได้ เรือหลวงช้างจึงเป็นกำลังสำคัญของกองทัพเรือในการป้องกันประเทศในยามสงครามและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาประเทศ และช่วยเหลือประชาชนในยามสงบได้อย่างสมบูรณ์ 

กองทัพอากาศ ได้ชี้แจงเรื่องการช่วยเหลือประชาชนของกองทัพอากาศ ซึ่งปัจจุบันกองทัพอากาศกำหนดทิศทางการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมผ่านแผนปฏิบัติราชการซึ่งมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.๒๕๖๑ ถึง พ.ศ.๒๕๘๐ ด้านการช่วยเหลือประชาชน และบรรเทาสาธารณภัย โดยบูรณาการความร่วมมือกับส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและลดผลกระทบจากภัยพิบัติต่าง ๆ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพ และขีดความสามารถของกำลังพล เครื่องมือ และยุทโธปกรณ์ให้เป็นมาตรฐานสากล เพื่อให้การสนับสนุน การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และการช่วยเหลือประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือกับมิตรประเทศและองค์การระหว่างประเทศในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการบรรเทาภัยพิบัติทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ได้แก่ การสนับสนุน การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และการช่วยเหลือประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือกับมิตรประเทศและองค์การระหว่างประเทศในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการบรรเทาภัยพิบัติทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ได้แก่ การสนับสนุนอากาศยานปฏิบัติภารกิจฝนหลวง การสนับสนุนอากาศยานเพื่อปฏิบัติการควบคุมไฟป่า การสนับสนุนอากาศยานในการค้นหาอากาศยานและเรือที่ประสบภัย และการสนับสนุนอากาศยานในการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ 

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รายงานผลการปฏิบัติของ ตำรวจจราจรตามโครงการพระราชดำริ ในการช่วยเหลือประชาชนในด้านต่าง ๆ อาทิ การให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บ ผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนการนำส่งผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บ หญิงใกล้คลอดส่งโรงพยาบาล ช่วยคลอดฉุกเฉิน แก้ปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน รวมถึงการเป็นวิทยากรให้ความรู้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การกู้ชีพขั้นพื้นฐาน ความรู้จราจรเบื้องต้น ความปลอดภัยบนท้องถนน ให้แก่เยาวชนและประชาชน ตลอดจนการจัดชุดเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในสถานการณ์ฉุกเฉิน เหตุภัยพิบัติ และน้ำท่วมขังบนพื้นผิวจราจร โดยตำรวจจราจรตามโครงการพระราชดำริได้ทุ่มเทกำลง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top