Monday, 29 April 2024
ประชามติ

'บอส อริย์ธัช' ชี้ แก้ ม.112 ต้องทำประชามติ ถามคนทั้งประเทศ ลั่น!! ใช้สภาฯ แก้ไขคงไม่เหมาะ เพราะกระทบต่อจิตใจคนไทย

(13 พ.ค. 66) นายอริย์ธัช ชาติอาริยะพงศ์ (บอส) ผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพมหานคร เบอร์ 14 เขตประเวศ และ เขตสะพานสูง พรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า หนึ่งในประเด็นคำถามแห่งยุคสมัยของสังคมไทยเวลานี้คือ 'ม.112' ซึ่งมีคนบางกลุ่มหยิบยกมาใช้เป็นเครื่องมือจนนำมาสู่ความขัดแย้งในหลายระดับของสังคม 

ขณะที่จุดยืนเรื่องนี้ของเราคือเพิกเฉยต่อกระแส เพราะกระแสแบบนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการใช้โซเชียลอย่างไม่สร้างสรรค์ เช่นเดียวกับกระแสไม่เลือกเราเขามาแน่ ลักษณะนี้คือลักษณะเดียวกัน ที่มีอัตลักษณ์เหมือนกัน แต่เลือกจะปั่นให้สังคมแตกแยกจากคนละมุมคนละขั้ว ให้ฝ่ายขวา และ ฝ่ายซ้าย เป็นเหมือนน้ำและน้ำมัน 

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าเมื่อปัญหาเกิดขึ้น ในฐานะพรรคการเมืองมีหน้าที่แนะนำแนวทางทางเหมาะสมแก่สังคม ซึ่ง ม.112 เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญยิ่ง เราจึงไม่เห็นด้วยที่พรรคการเมืองบางพรรคเสนอให้ใช้สภาแก้ไข เนื่องจากเรื่องนี้กระทบต่อความรู้สึกของคนไทยทั้งประเทศ และพรรคของเราเชื่อในประชาชน ทางออกในการแก้ปัญหานี้ก็ต้องกลับไปฟังเสียงประชาชน

ดังนั้น ข้อเสนอของเราคือเสนอให้มีการสร้าง ‘ประชามติ’ ถามประชาชนทั้งประเทศว่า ถ้าเขาอยากจะแก้ จะแก้อะไร ต้องไปฟังคนทั้งประเทศมา เพื่อให้ปัญหาที่มีความอ่อนไหวนี้มีฉันทามติเป็นกติการ่วมกันได้จริงในสังคม กติกา คือ สิ่งสำคัญของการอยู่ร่วมกัน แต่กติกาจะไร้คุณค่าเมื่อมีคนโกง ดังนั้นในฐานะคนรุ่นใหม่ ผมต้องการให้ประเทศไฉไลกว่าเดิม คนซื้อสิทธิ์ขายเสียงโดยเฉพาะในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 21 กรุงเทพมหานคร และ กลุ่มคนที่ตีมึนกระหายการเข้าสู่อำนาจ ที่รู้ตัวว่าไม่มีความสามารถเพียงพอ ไม่มีหัวใจของการเป็นผู้แทนราษฎร ผมขออนุญาตพูดตรงนี้ว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นเรื่องของโอกาส 

โอกาสครั้งนี้ 1 สิทธิ์ 1 เสียง เรามีเท่ากันครับ ตัวตนคนเราต่างหากที่ไม่เท่ากัน โอกาสนี้โอกาสเดียวที่จะทำความเป็น พหุวัฒนธรรม นำพาประเทศชาติพ้นจากวิกฤติความขัดแย้ง โอกาสนี้ขอท่านมองให้ชัดถึงตัวตนของผู้สมัครรับเลือกตั้ง มองและพิจารณา ถึงคุณสมบัติ 'พร้อมใช้ ตั้งใจจริง' เป็นอันดับแรก และตัดสินใจที่ความเป็นคนรุ่นใหม่ รุ่นใหม่ที่วิธีคิด มีหัวหน้าพรรคที่เปี่ยมไปด้วยวิสัยทัศน์ อีกทั้งความรู้ความสามารถ เช่น พี่ท๊อป วราวุธ ศิลปอาชา ลูกชายของ คุณพ่อบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย ผู้สำเร็จรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน 2540 ก้าวข้ามทุกข้อขัดแย้ง ผู้สร้างเมืองตัวอย่าง เมืองที่สดใส เมืองสุพรรณบุรีสีชมพู 

14 พฤษภาคม 2566 นี้ ผมกราบขอเชิญชวนทุกท่าน เลือก ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 21 14 พฤษภาเข้าคูหากาเบอร์ 14 บัตรสีม่วงเลือก บอส อริย์ธัช ชาติอาริยะพงศ์ คนรุ่นใหม่ พร้อมใช้ ตั้งใจจริง และ เลือกพรรคสีชมพู พรรคชาติไทยพัฒนา นำความสดใสนำนโยบายที่ไม่ขายฝัน นโยบายที่ทำได้จริง คอนเซปต์ ว๊าวไทยแลนด์ WOW Wealth Opportunity and Welfare for all 

ใช้โอกาสเพียงหนึ่งเดียวนี้ชี้ชะตาชีวิตของตัวท่าน เลือกชาติไทยพัฒนา เลือกพรรคสีชมพูทั้งแผ่นดิน เพื่อมุ่งสู่ประเทศไทยที่ทุกประเทศทั่วโลกรอคอย ทางออกที่ดีที่สุดคือต้องมีทางเลือกให้ประชาชน บริหารงานด้วยวิสัยทัศน์ที่เป็นสากล คือ พรรคชาติไทยพัฒนา ที่มีความเชี่ยวชาญในประเด็นท้องถิ่น วิถีชีวิต และสิ่งแวดล้อม สอดประสานทำงานอย่างคล้องจองแนบแน่น และราบรื่น (Glow with the flow) สามารถทำงานร่วมกับทุกฝ่าย เป็นพื้นที่ตรงกลางให้ทุกขั้วสามารถนำนโยบายที่ดีมาขยับไปร่วมกันได้

กอ.รมน.ภาค4 โฟกัสฟ้อง 3 กลุ่ม ประชามติ.. แยกดินแดนปาตานี

วันนี้ขอเลียบการเมืองไปที่แนวรบด้านความมั่นคงที่กำลังร้อนฉ่าอยู่ที่ปลายด้ามขวานสักหน่อย  กองทัพภาคที่ 4 แถลงชัดเจนแล้วว่าอีกไม่เกิน 2 สัปดาห์ก็จะดำเนินการฟ้องคดีเอาผิดกับบุคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดกรรมทำประชามติจำลองแยกปาตานีเป็นเอกราช..ในงานเสวนา “สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเอง (Selt Determination) กับสันติภาพปาตานี” เมื่อวันที่ 7มิ.ย.ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี..

ยังไม่รู้ว่ากองทัพภาคที่ 4 จะฟ้องร้องกล่าวโทษกี่คนและเป็นใครบ้าง  “เล็ก  เลียบด่วน” ฟังพล.ต.ปราโมทย์ พรหมอินทร์  รองแม่ทัพภาคที่ 4 ให้สัมภาษณ์ทางรายการ “รู้ทันข่าว92.5” ของกรมประชาสัมพันธ์ท่านบอกกว้าง ๆ เพียงว่ามีอยู่ 3 กลุ่ม  คือ

1)กลุ่มที่จัดกิจกรรม  

2)คนที่มาร่วมงาน และ

3)ผู้ที่สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง..

พล.ต.ปราโมทย์ให้ข้อมูลว่า  ก่อนหน้านี้ก็เคยมีการทำไประชามติจำลอง แต่เป็นการทำประชามติเรื่อง” การกำหนดใจตนเอง” เท่านั้น ไม่เลยธงเหมือนในครั้งนี้ที่ถึงขั้นถามว่าเห็นด้วยกับการแยกตัวเป็นเอกราชหรือไม่..ครั้งนี้จึงเป็นการยกระดับการเคลื่อนไหว  ที่พยายามขยายผลต่อยอดเรื่อง “สิทธิในการกำหนดชะตากรรมตนเอง” ตามข้อมติสหประชาชาติที่ 1514 ออกในปี ค.ศ. 1960  ซึ่งแม้ไทยจะร่วมรับรองแต่เราก็สงวนสิทธิเรื่องการแบ่งแยกดินแดนไว้อย่างชดเจนว่าทำไม่ได้..

ที่น่าสนใจกว่านั้น ฟังแล้วไม่สบายใจเอามากๆ คือ พล.ต.ปราโมทย์.. สถานการณ์ปลายด้ามขวานวันนี้กลุ่มบีอาร์เอ็นยังคงปฏิบัติการทางการทหารเพื่อหล่อเลี้ยงสถานการณ์  ช่วงเดือนรอมฎอนที่ผ่านมาเป็น “รอมฎอนเดือด”ที่สุดในรอบ 10ปี  แต่ที่น่ากลัวไปมากกว่านั้นคือความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ได้ชำแรกแทรกซึมความคิดไปยังกลุ่มต่างๆ ทั้งองค์กรสิทธิมนุษยชน   เยาวชนนักศึกษา  นักการเมืองและพรรคการเมือง..ซึ่งสนับสนุนแนวคิดในลักษณะเลยธง..

ครับ...ก็น่าลุ้นกันด้วยความระทึกใจว่า..ใครบ้างที่จะถูกฟ้องร้องกล่าวโทษ และในข้อหาอะไร  แน่นอนเป็นคดีความมั่นคง แต่จะหนักหนาสาหัสแค่ไหน...และมีใครจาก3พรรคการเมืองโดนด้วยหรือไม่

3 พรรคที่ว่าคือ พรรคเป็นธรรม  พรรคประชาชาติ ที่มีตัวแทนไปเป็นวิทยากรเสวนา  และพรรคก้าวไกลที่มีรูปโฆษณาเด่นหรากว่าใครเพื่อนอย่าง นายรอมฎอน  ปันจอร์ ว่าที่ ส.ส. บัญชีรายชื่อ  แต่ยกเลิกกะทันหันเหมือนนกรู้...

รายงานข่าวแจ้งว่า กอ.รมน. ภาค4 ส่วนหน้าได้จัดประชุมทีมกฎหมาย นักวิชาการ อัยการ ทหาร ตำรวจมาแล้ว 3 ครั้งเพื่อสรุปรูปคดี  ขณะที่ฝ่ายข่าวกอ.รมน.ภาค4 นั้นได้สรุปข้อมูลย้อนหลังโยงใยมาจนถึงวันจัดงานก็รู้แจ้งเห็นชัดว่าใครเป็นใคร ใครคิดอะไร..โดยเฉพาะพฤติการณ์ของนักการเมืองและพรรคการเมืองบางคนบางพรรค ที่ปลุกระดมความคิดการปกครองตนเอง  ความเป็นเอกราชมาตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง และโหมหนักช่วงเลือกตั้งด้วยหวังผลคะแนนเสียงเข้าข่ายที่จะดำเนินการกล่าวโทษให้ยุบพรรคในข้อหาล้มล้างการปกครองได้ แต่ประเด็นนี้ทางกองทัพหรือทหารจะไม่ดำเนินการ...ปล่อยให้เอกชนหรือภาคประชาชนอาศัยช่องทางรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ไปดำเนินการกันตามความเหมาะควรกันเอง...

แม้ว่านาทีนี้  บรรดาว่าที่ ส.ส. และนักการเมืองจาก 3 พรรคตั้งการ์ดสูงเวลาให้สัมภาษณ์จนบรรดาแนวร่วมเกิดอาการหมั่นไส้รำคาญกันเอง ก็ไม่ได้ทำให้พฤติการณ์ที่บรรดาว่าที่ ส.ส. และพรรคการเมืองดังกล่าวมาลบหายไปได้...  

เล็ก  เลียบด่วน เชื่อว่าถึงที่สุดวันใดวันหนึ่งคงมีคนไปฟ้องร้องกล่าวโทษให้มีการยุบพรรคแน่นอน..เพราะมาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญบัญญัติชัดเจนว่า “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกัน  จะแบ่งแยกมิได้”..

‘วิษณุ’ ชี้ช่อง แก้รัฐธรรมนูญ ลดขั้นตอนทำประชามติเหลือ 2 ครั้ง แนะ เลือกแก้มาตราเฉพาะหน้า-เว้นเรื่องยุ่งยาก ช่วยลดงบประมาณ

(24  ก.ย. 66) นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า เรื่องนี้ตอบไม่ถูก ให้เขาคิดกันเองเอง เพราะว่ายุ่งยากซับซ้อน ข้อสำคัญจะใช้วิธีไหนก็ตามควรจะหลบหลีกการทำประชามติหลายครั้ง และเห็นด้วยกับแก้ไขเป็นรายมาตรา ทีละหลายๆมาตรา เพราะรัฐธรรมนูญห้ามไว้แต่เพียงว่า ในกรณีที่เป็นการแก้ไขหมวด 1 ทั่วไป  หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หมวด 15 เรื่องการแก้ไขอำนาจและหน้าที่ขององค์กรอิสระ และการแก้ไขคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามขององค์กรอิสระ โดยเรื่องเหล่านี้ เมื่อแก้ไขวาระ1 วาระ2 และ วาระ3 แล้วเสร็จ ก่อนที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต้องทำประชามติ

นายวิษณุ กล่าวว่า การแก้ไข ที่ควรทำคือ ถ้าต้องการแก้เกี่ยวกับองค์กรอิสระ และไปกระทบกับเรื่องอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระ ตรงนี้ต้องทำประชามติ เพราะฉะนั้นเก็บไว้ทำคราวหลังได้หรือไม่ ตอนนี้ถ้าอยากแก้ไปก่อนคือหมวด 3 เรื่องสิทธิเสรีภาพ ซึ่งประชาชนต้องการและ หมวด 4 หน้าที่ของรัฐ หมวด 5 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย หมวด 6แนวนโยบายแห่งรัฐ หมวด 7 รัฐสภา ซึ่งแก้ได้ตามใจชอบไม่ต้องทำประชามติ หมวด 8 ครม. หมวด 9 ผลประโยชน์ขัดแย้งกัน หมวด10 เรื่องศาล หมวด 11 องค์กรอิสระ ซึ่งเรื่องเหล่านี้แก้ได้หมด แต่พอไปถึงองค์กรอิสระอำนาจหน้าที่ และคุณสมบัติต้องห้ามจะไปเจอเรื่องทำประชามติ อย่าเพิ่งไปทำ

เมื่อถามว่าการทำประชามติควรทำครั้งเดียวตอนแก้ไขเสร็จแล้ว ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ที่ต้องทำประชามติเพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 256 กำหนดไว้ ถ้าแก้มาตรา256 ว่าการแก้รัฐธรรมนูญไม่ต้องทำประชามติ ก็ไม่ต้องทำประชามติ แต่การจะแก้หนแรกในเรื่องมาตรา 256 ต้องทำประชามติหนึ่งครั้งก่อน จะลบล้างเรื่องประชามติไปได้

เมื่อถามย้ำว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ต้องทำประชามติ 3-4 ครั้ง หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวย้ำว่า ต้องแก้ไขมาตรา 256 เสียก่อน พอเสร็จวาระ 1-3 ก็นำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไปจะไม่ได้เจอเรื่องทำประชามติ แต่ถ้าแก้ตามแนวทางของรัฐบาลก็ต้องทำประชามติ  1.ต้องทำประชามติแก้ทั้งฉบับว่าเห็นด้วยหรือไม่ 2.ต้องตั้งส.ส.ร. และ 3. ถ้าตั้งส.ส.ร. ต้องไปทำประชามติทั้งประเทศอีก  ซึ่งการทำประชามติครั้งหนึ่งใช่งบประมาณ 3 พันล้านบาท ฉะนั้นก็แก้ที่มาตรา256  แต่การแก้มาตรา256 หากพูดกันไม่ดีเพราะอาจไม่ผ่าน เพราะต้องผ่านความเห็นของส.ว.หรือไม่ และเขาก็กลัวว่าจะไปแก้อะไรต่อมิอะไรกัน อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยการทำประชามติควรทำ2 ครั้งก็ยังดี คือต้องเริ่มแก้ไข และตอนจบที่จะไปประกาศใช้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top