Sunday, 19 May 2024
น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวัน ‘พระบิดาแห่งฝนหลวง’ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวง ร.9

67 ปีแห่งการกำเนิดฝนหลวงพระราชทาน นับจากวันที่ 14 พฤศจิกายน 2498 เป็นวันที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรางมีทรงมีพระราชดำริที่จะคิดค้น วิจัย หาวิธีการทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยแล้ง

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริที่จะคิดค้น วิจัย หาวิธีการทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยแล้ง ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 เฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่าน ในฐานะทรงเป็น 'พระบิดาแห่งฝนหลวง' และกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น 'วันพระบิดาแห่งฝนหลวง' เพื่อร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ และจารึกไว้เป็นวันสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย       

เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการ อุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร จากพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง นับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทำให้ทรงพบเห็นว่า ภาวะแห้งแล้งได้มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นตามลำดับ เพราะการตัดไม้ทำลายป่า เป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรในทุกภาคของประเทศ ส่งผลถึงความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ คิดเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี  

ทั้งนี้ ระหว่างทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน และทางอากาศยาน พระองค์ทรงสังเกตเห็นว่า มีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดเป็นฝนตกได้ 

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระมหากษัตริย์นักประชาธิปไตย ทรงเสด็จสูสวรรคาลัย

หลังจากเหตุการณ์การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯ ประพาสยุโรป เพื่อทอดพระเนตรการพัฒนาด้านต่างๆ และทรงรับการผ่าตัดรักษาพระเนตรที่ประเทศอังกฤษ แต่เนื่องด้วยพระราชดำริที่ไม่ตรงกัน กับรัฐบาลคณะราษฎรหลายประการ และทรงพิจารณาแล้วว่า ไม่ทรงสามารถประสานกับรัฐบาล

เพื่อให้บรรลุประโยชน์แก่ปวงชนส่วนรวมได้ จึงตัดสินพระราชหฤทัยสละราชสมบัติ ขณะประทับพักฟื้นพระวรกายที่พระตำหนักโนล กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2477 เมื่อพระองค์ทรงสละราชสมบัติแล้ว ยังคงประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ แต่พระองค์ทรงพระประชวรอยู่เนื่องๆ อันเนื่องมาจากพระพลนามัยของพระองค์ ทรงไม่แข็งแรงมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์

กระทั่งเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2484 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตด้วยอาการพระหทัยวาย ขณะมีพระชนมายุ 48 พรรษา 6 เดือน 23 วัน สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพอย่างเรียบง่าย ณ ฌาปนสถานโกลเดอร์สกรีน (Golders Green) ทางตอนเหนือของกรุงลอนดอน

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2492 สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี จึงทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ  พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินออกจากท่าเรือเมืองเซาแธมตันโดยรัฐบาลอังกฤษ ตั้งกองเกียรติยศส่งเสด็จ เรือ Willem Ruys นำเสด็จฯ สู่สิงคโปร์ และเรือภาณุรังษีของบริษัทอีสต์เอเชียติก ได้นำเสด็จฯ เข้าสู่ประเทศไทยถึงเกาะสีชัง รัฐบาลไทย ซึ่งมีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ส่งเรือหลวงแม่กลองไปรับเสด็จที่เกาะสีชัง มาถึงท่าราชวรดิฐ วันที่ 24 พฤษภาคม 2492 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เฝ้าฯ รับเสด็จฯ และอัญเชิญพระบรมอัฐิ โดยกระบวนพยุหยาตราใหญ่ เข้าสู่พระบรมมหาราชวังประดิษฐาน ร่วมกับสมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราชในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระองค์ให้เป็นที่ประจักษ์แก่อนุชนรุ่นหลังอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ สถาบันพระปกเกล้า จึงได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้มีวันสำคัญเกี่ยวกับพระองค์ว่า สมควรกำหนดให้วันคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ คือ วันที่ 30 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น ‘วันพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว’ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าว เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2545 โดยให้กำหนดวันที่ 30 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น ‘วันพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว’ อันเป็นวันรัฐพิธีโดยไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ
 

‘ปุ๋ย ภรณ์ทิพย์’ โพสต์ถึง ‘สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระพันปีหลวงฯ’ ที่ทรงเป็นราชินีต้นแบบที่ดีของคนไทย และเป็นศูนย์รวมใจของชาติ

เมื่อไม่นานนี้ ‘คุณภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก ไซมอน’ หรือ ‘คุณปุ๋ย’ ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความผ่านอินสตาแกรมส่วนตัว เพื่อเทิดพระเกียรติถึง ‘สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง’ และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ท่านได้ทรงมีเมตตาต่อตนเองและครอบครัว อีกทั้งยังทรงเป็นแบบอย่างที่ดีแก่พสกนิกรไทยเสมอมา พร้อมชื่นชมในความน่ารักและเป็นกันเองของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ โดยระบุว่า…

“I sincerely want to pay our most humble respect to Her Majesty, the Queen Mother of Thailand. My family and I always have the beloved Queen Sirikit in our hearts,
especially at this time with the concerning news of her recent stroke. Our Queen has been a profound role model for me from a young age. For a Thai girl growing up in the US, seeing Her Majesty's photos was always a source of Thai Her loveliness and arace are inimitable.

“ข้าพเจ้าขอแสดงความเคารพอย่างสุดซึ้งต่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีของไทย ข้าพเจ้าและครอบครัว เทิดไท้องค์ราชินีในดวงใจเสมอมา โดยเฉพาะในช่วงนี้ ที่มีข่าวล่าสุด เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองของพระองค์ องค์ราชินีของเราทรงเป็นแบบอย่างที่ลึกซึ้งสำหรับข้าพเจ้าตั้งแต่ยังเด็ก สำหรับสาวไทยที่เติบโตในอเมริกา การได้ชมพระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ และได้เห็นถึงความน่ารัก อันเป็นเอกลักษณ์ทางเชื้อชาติของพระองค์ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ไม่มีใครสามารถเลียนแบบได้ อีกทั้ง ยังถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยเสมอมา นับเป็นความซาบซึ้งอย่างหาที่สุดมิได้”

‘ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก ไซมอน’ หรือ ‘คุณปุ๋ย’ อดีตนางสาวไทย และนางงามจักรวาล หรือ มิสยูนิเวิร์สประจำปี 2531 ซึ่งในขณะนั้น เธอเป็นตัวแทนชาวไทยคนที่ 2 ที่ได้รับตำแหน่งนางงามจักรวาล หลังจากอาภัสรา หงสกุล นางงามจักรวาลชาวไทยคนแรกชนะการประกวดนางงามจักรวาลในปี 2508 นอกจากนั้น เธอยังได้ดำรงตำแหน่ง ผู้แทนองค์การสหประชาชาติสำหรับโครงการช่วยเหลือเด็กและสตรีในระดับนานาชาติ และเป็นประธานตั้งมูลนิธิช่วยเหลือเด็กอีกหลายแห่ง อีกทั้งเธอยังเป็นนักธุรกิจอีกด้วย
 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top