Thursday, 16 May 2024
ธีระวัฒน์เหมะจุฑา

อย่าชะล่าใจ!! หมอธีระวัฒน์' เตือน!! คนเคยป่วยโควิดอย่าวางใจ ติดเชื้อแล้ว มีโอกาสติดใหม่ได้ ชี้โควิดยุคนี้ คงต้องปรับเปลี่ยนตามข้อเท็จจริงและสถานการณ์อยู่ตลอด

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ดังนี้...

1 - ติดโควิดไปแล้ว ติดใหม่ยังได้อยู่

ติดไปหยกๆ 3 เดือนที่แล้ว มี
อาการนิดๆ หน่อยๆ ตามกฎ ไม่ต้องตรวจก็ได้
แต่มีที่ตรวจแล้วพบไวรัสมากมาย

‘หมอธีระวัฒน์’ ชี้!! ‘แสงแดด’ มีคุณประโยชน์นานัปการ เปรียบเสมือน ‘ยาอายุวัฒนะ’ ทำให้ชีวิตยืนยาว-ป้องกันโรคภัย

(26 ธ.ค.66) นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก ‘ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha’ ระบุข้อความว่า…

แดดช่วยชีวิตได้จริงๆ…แสงแดดและรังสี อัลตราไวโอเลตหรือยูวี ในสมัยก่อน ตั้งแต่ปี 1928 ที่พบว่า รังสี ยูวี ทำให้เกิดมะเร็งของผิวหนังได้เลยทำให้มีการหลีกเลี่ยงแสงแดดกันมาตลอด ตราบจนกระทั่งประมาณปี 1980 เป็นต้นมา เป็นที่ประจักษ์ว่าแสงแดดมีคุณประโยชน์นานัปการ

แสงแดด เปรียบเสมือนกับเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้มีชีวิตยืนยาวขึ้นและยังสามารถป้องกันโรคหัวใจและเส้นเลือดทั้งร่างกาย รวมกระทั่งถึงสาเหตุการตายต่างๆ จนถึงมะเร็ง

ทั้งนี้ยังปรับสมดุลย์การทำงานของตับทำให้ต้านพิษ ได้เก่งขึ้นและทำให้โรคที่เรียกว่าโรคเมตาบอลิค อ้วน ลงพุง เบาหวาน ไขมันความดันสามารถชะลอหรือควบคุมได้ง่ายขึ้น

ทั้งนี้ แสงแดดกับสุขภาพที่ดีนั้นไม่สามารถอธิบายได้จากการที่แสงแดดทำให้เกิดการสังเคราะห์วิตามินดี เนื่องจากพิสูจน์แล้วว่าการเสริมวิตามินดี ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงในการตายและการป้องกันการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดต่างๆรวมกระทั่งถึงมะเร็ง

ผิวหนังเป็นอวัยวะที่เชื่อมโยงกับระบบต่อมไร้ท่อ ทั้งนี้ โดยที่มีเซลล์ที่เป็นตัวรับฮอร์โมนหลายชนิด และยังมีการสร้างสารเอนโดฟิน วิตามินดี และฮอร์โมน เอสโตรเจน เป็นตัน

รวมทั้ง ฮอร์โมน Ghrelin โดยตัวที่ผลิตฮอร์โมนนี้มาจากเซลล์ Adipocytes ที่ผิวหนัง เมื่อกระทบกับแสงยูวีบี โดยผ่านกลไกของ p53 หรือ ที่เราเรียกว่า เป็นโปรตีนที่เป็นเทวดาอารักษ์ของจีโนม (Guardian Of Genome)

ทั้งนี้ หน้าที่โดยสังเขป คือควบคุมวงจรชีวิตของเซลล์ให้มีการซ่อมแซม ดีเอ็นเอ เมื่อเจอกับอันตราย และที่จะก่อมะเร็ง รวมทั้งความแก่ชราและในความสั้น ยาวของเส้นทีโลเมียร์ (telomere) ที่เกี่ยวกับอายุ และควบคุมความเสถียรของยีน (genomic stability)

และถ้ามีความเสียหายเกินที่จะเยียวยาได้ ก็จะกำหนดให้เซลล์ตาย (programmed cell death) และยังเกี่ยวพันกับ ระบบการควบคุม การคลี่และบิดเกลียวของโปรตีน ที่จะเป็นพิษทำให้เซลล์ตาย (unfolded protein response และ ubiquitinylation) 

Ghrelin ถูกสร้างจากกระเพาะ แต่ก็เป็นเพียงในจำนวน 60% เท่านั้น

ปัจจุบันมี ความกระจ่างชัด ขึ้นว่า p53 จะปฏิบัติตัวเป็นฟัลครัม หรือ เหมือนจุดคานงัดไม้กระดก และไม่เพียงแต่เป็นเทวดาอารักขาการอยู่หรือตายของเซลล์ และการป้องกันการเกิดเนื้องอกหรือมะเร็งเท่านั้น ยังมีตัว Ghrelin เป็นตัวกระตุ้นให้มีการซ่อมแซมดีเอ็นเอที่เสียหายไป ในส่วนของสมดุลในระดับเซลล์นี้ยังเกี่ยวพันกับฮอร์โมน Leptin ซึ่งออกฤทธิ์ตรงข้ามกับ Ghrelin

วงจรของผิวหนังฮอร์โมนยังเชื่อมโยงประสานกับสมองผ่านทางกลูตาเมท ซึ่งกระตุ้นการเรียนรู้ของสมอง และ Ghrelin ยังมีการเชื่อมกับระบบที่ทำให้ผ่อนคลายความวิตกกังวล รวมกระทั่งปกป้องสมองจากภยันตรายต่างๆ มีฤทธิ์ในการต่อต้านการอักเสบช่วยปกป้องหัวใจและควบคุมความดันทำให้ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคทางหัวใจและเส้นเลือด รวมกระทั่งบรรเทาภาวะดื้ออินซูลิน ในโรค เมตตาบอลิค ซินโดรมต่างๆ และระบบภูมิคุ้มกัน

ความสำคัญของแสงแดดที่ผ่านกระทบมาถึงระบบผิวหนังและส่งต่อในการสร้างสมดุลการทำงานของทุกระบบของร่างกาย รวมกระทั่งถึง สมอง หัวใจ เส้นเลือดและระบบภูมิคุ้มกันต่างๆ ให้ไม่เกิดความวิปริตแปรปรวน

และเราคงจะได้คำขวัญของ ”แสงแดด เดินวันละ 10,000 ก้าว และเข้าใกล้มังสวิรัติ” ก็จะอายุยืน สุขภาพดี ไม่มีโรค ไปทั้งหมดนะครับ

'หมอดื้อ' เตือน!! หยุด 'มัน' เดี๋ยวนี้ ต้องเปิดโปงผู้ได้รับผลประโยชน์จาก 'มัน'

(21 มี.ค.67) นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

หยุด 'มัน' เดี๋ยวนี้และเปิดโปงผู้ได้รับผลประโยชน์จาก 'มัน'

1- มันไม่ได้อยู่ที่ต้นแขนเท่านั้น
2- มันเลื้อยเข้ากระแสเลือด
3- มันซึมเข้าไปในเซลล์ทุกแห่งในเนื้อเยื่อและทุกอวัยวะ
4- มันบังคับให้เราสร้างโปรตีนหนามในเซลล์
5- โปรตีนหนามเป็นพิษต่อเซลล์
6- โปรตีนหนามยังเป็นเป้าล่อให้ร่างกายพยายามทำลายเลยเกิดการอักเสบในร่างกาย
7- สิ่งที่หลุดรั่วออกมาจากผนังเซลล์และเนื้อเยื่อมีปฏิกิริยาเหนี่ยวนำ ทำให้เกิดโปรตีนชนิดใหม่เป็นอะไมลอยด์โปรตีน เข้าไปในหลอดเลือด ทำลายไม่ได้ เป็นสารวัตถุคงทนยืดเหนียวเหมือนหนังสติ๊ก
8- มันยังมีสิ่งแปลกปลอมเพราะกระบวนการผลิตมีดีเอ็นเอปนเปื้อนและยังมียีนส์ที่ทำให้มันเข้าไปเสียบในโครโมโซมของมนุษย์
9- คุณสมบัติของอนุภาคนาโนไขมันที่มีขยะอยู่มากและพร้อมที่จะเข้าไปเสียบในโครโมโซมของมนุษย์โดยเฉพาะที่พิสูจน์แล้วคือโครโมโซมที่เก้าและ 12
10- สิ่งที่ควรทำและต้องทำคือต้องหยุดการฉีดมันเข้าร่างกายมนุษย์

สมควรแล้วหรือไม่ที่มีเทคโนโลยีนี้นำมาใช้ในโรคชนิดต่างๆ ที่ทยอยกันออกมา 

สมควรหรือไม่ที่ต้องออกมารับผิดชอบเยียวยาผู้ที่เสียชีวิตและพิการตลอดชีวิต 

หยุด 'มัน' เดี๋ยวนี้และเปิดโปงผู้ได้รับผลประโยชน์จาก 'มัน' 

'หมอดื้อ' หวั่น!! สหรัฐฯ กำลังสร้างแล็บค้างคาวติดเชื้อไวรัส วิจัย 'อีโบลา-โควิด-นิปาห์' ตัดแต่งพันธุกรรมให้ก่อโรค

(4 เม.ย. 67) นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ 'สหรัฐฯ กำลังสร้างแล็บค้างคาวติดเชื้อไวรัส อีโบลา โควิด และนิปาห์' ระบุว่า...

สหรัฐฯ กำลังสร้างแล็บค้างคาวติดเชื้อไวรัส ทั้ง อีโบลา โควิด และนิปาห์ ด้วยทุน 12 ล้านเหรียญ อนุมัติโดย นาย แอนโทนี เฟาซี ผ่านไปยัง Colorado state university (CSU) ร่วมกับ EcoHealth alliance โดยมีนาย Peter Daszak ดำเนินการสร้างห้องปฏิบัติการขนาดพื้นที่ 14,000 ตารางฟุต (ใช้เงิน 6.7 ล้านเพรียญ) และร่วมกับนักวิทยาศาสตร์จีน นำเข้าค้างคาวจากเอเชียทดลองเชื้อโควิด, อีโบลา, นิปาห์

โครงการได้เริ่มดำเนินการเดือนตุลาคม 2023 และจะปฏิบัติการได้ในปี 2025

นพ.ธีระวัฒน์ เผยอีกว่า ข้อมูลดังกล่าวได้รับการเปิดเผยจากองค์กรการกุศล White coat waste project จากกฎหมาย ความโปร่งใส ที่สามารถขอให้ หน่วยงาน เปิดเผยข้อมูล และเผยแพร่แล้ว ผ่านทาง X และ dailymail วันที่ 10 พฤศจิกายน 2023

ทั้งนี้ ผู้ให้ทุนและผู้ดำเนินการ อ้างว่าจะเป็นห้องปฏิบัติการหนึ่งเดียวในโลกที่สามารถนำค้างคาวจากเอเชีย (และทั้งโลก) มาเลี้ยงและออกลูก และจะทำการปล่อยเชื้อที่สำคัญคือ อีโบล่า โควิด และเชื้อนิป้าห์ โดยจะทำให้สามารถเข้าใจว่าเชื้อไวรัสร้ายแรงเหล่านี้อยู่ในตัวค้างคาวได้อย่างไร และแพร่เชื้อไปมนุษย์ได้อย่างไร

ห้องปฏิบัติการนี้อยู่ใน Campus ของ CSU ใน Fort Collins ทางเหนือของ Denver ซึ่งอยู่ห่างไม่มากจากที่มีประชาชนอาศัยอยู่ราว 168,000 คน

ในเดือนกันยายน 2023 NIH ได้ประกาศยุติการให้ทุนสำหรับการหาไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่าที่ให้ในและนอกประเทศ

แต่ขณะเดียวกัน ก็ได้วางแผนในแผ่นดิน สหรัฐฯ เอง ในเรื่องดังกล่าว และกำลังได้รับการต่อต้านจากสมาชิกสภาของสหรัฐฯ

ทั้งนี้ มี ดร.เทรซี่ โกลด์สไตน์ เป็นผู้ขับเคลื่อนสำคัญของโครงการ deep VZN ของ USAID ในการหาไวรัสจากค้างคาว หลังจากที่ได้รับทราบว่าจะมีการยุติโครงการจากการที่มีการเปิดเผยข้อมูลของหนังสือพิมพ์วอชิงตัน Post ได้ลาออกและรับตำแหน่งใหม่เป็นผู้อำนวยการของสถาบันone Health ของ CSU ในเดือน มิถุนายน 2023 และรับผิดชอบงานของห้องปฏิบัติการค้างคาวและเชื่อไวรัสต่อ

ย้อนไปในปี 2018 นายเฟาซี ได้นำไวรัสจาก สถาบันวิจัยไวรัส อู่ฮั่น มาติดเชื้อให้ค้างคาว ที่ได้มาจากสวนสัตว์แมรี่แลนด์ ในห้องปฏิบัติการที่รัฐ Montana ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหนึ่งปีก่อนหน้าการเกิดระบาดโควิด และทำรายงานไปว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดโควิด แต่นี่เป็นหลักฐานของการเชื่อมโยงการทำงานของสหรัฐฯ กับสถาบันไวรัสอู่ฮั่นของประเทศจีนอีกชิ้นหนึ่ง นอกเหนือจากที่มีการสืบสวนสอบสวนและเปิดเผยในสภาคองเกรส และเอกสารต่อประชาชนทั่วไปในเดือนมกราคม 2023 (มีภาพจาก Dailymail แสดงถึงพื้นที่ของห้องปฏิบัติการและพิมพ์เขียว)

จากการรายงานของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ในวันที่ 10 เมษายน 2023 สหรัฐฯ ผ่านทางกระทรวงกลาโหม USAID DARPA DTRA NIH และ EcoHealth alliance ส่งเงินทุนให้ประเทศต่าง ๆ ในทุกทวีปของโลกในการเสาะแสวงหาไวรัสใหม่ ๆ ที่ไม่รู้จักชื่อในค้างคาวและสัตว์ป่ารวมทั้งในเอเชียและประเทศไทยเอง ตลอดจนให้มีการส่งไวรัสเหล่านี้เพื่อไปตัดแต่งพันธุกรรมให้เข้ามนุษย์และก่อโรคได้ดียิ่งขึ้น

ข้อมูลใน Dailymail 31 ตุลาคม 2023 อ้างอิงเอกสารจาก องค์กร white coat waste project โดยได้ข้อมูลผ่านกฎหมาย ความโปร่งใส พบว่าในระหว่างปี 2015 ถึง 2023 มีการผันเงินของสหรัฐฯ จากสถาบัน NIH ให้ห้องปฏิบัติการในประเทศจีนเพื่อทดลองในสัตว์ เป็นจำนวน 3,306,061 เหรียญสหรัฐ

1. University of Southern California จากทุนที่ได้รับ 1.9 ล้านเหรียญ ให้ Peking University 576,453 เหรียญในการเจาะสมองหนูและฉีดไวรัสเข้าไปในสมองหลังจากนั้นทำให้ตายและศึกษาสมอง

2. University of South Florida จากทุนที่ได้รับ 28.9 ล้านเหรียญ ให้ China Medical University, Kunming Medical University, and Beijing’s Zhongyu Bioengineering Co. 812,906 เหรียญ ในการสร้างเชื้อมาลาเรียสายพันธุ์ดื้อยาและฉีดเข้าไปในหนูจากนั้นให้ยุงเข้าไปกัดและดื่มเลือด

3. University of California-Irvine ได้ทุน 4.3 ล้านเหรียญ ให้ Wuhan Institute of Virology 216,000 เหรียญ ฉีดเชื้อ ไวรัส เฮอร์ปีส์ เข้าไปในสมองหนู

4. Microsoft co-founder Paul Allen’s Allen Institute ได้ทุน 64.7 ล้านเหรียญ ให้ 993,000 เหรียญ แก่ Huazhong University of Science and Technology ในการตัดชิ้นเนื้อสมองของหนูอายุน้อยน้อยและทำการวิเคราะห์

5. Emory University ได้ทุน 38.6 ล้านเหรียญ ให้ 515,418 เหรียญ แก่ Chinese Academy of Agricultural Sciences Harbin Veterinary Institute ในการ รวบรวมเชื้อไวรัสไข้หวัดนกที่อันตรายจากตลาดสดของประเทศจีนและนำเชื้อเหล่านี้ฉีดเข้าจมูกของหนู mice และ guinea pigs

6. University of Illinois ได้ทุน 1.7 ล้านเหรียญ ให้ 149,832 เหรียญ แก่ Institute Pasteur of Shanghai ในการทำให้หนูติดเชื้อวัณโรคหลังจากนั้นทำให้ตายและทำการศึกษาต่อ

7. Eastern Virginia Medical School ได้ทุน 35.5 ล้านเหรียญ ให้ 42,452 เหรียญ แก่ Zhangliang Digging Machine Business Department ในการศึกษา ใช้ยาตับอักเสบ และยา HIV ในลิง

นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวอีกว่า กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นมานานและในประเทศไทยเองด้วย ผ่านองค์กรต่างประเทศ ที่ฝังตัวในประเทศไทย อย่างน้อย 33 ปี และปัจจุบันอยู่ในสถาบันหลัก มหาวิทยาลัยและโรงเรียนแพทย์ต่าง ๆ ทั้งด้านคนและสัตว์ ทั้งการรวบรวมตัวอย่างเชื้อที่ไม่ใช่เฉพาะ แต่เชื้อไวรัสรวม แบคทีเรียและปรสิต จนกระทั่งมีการตัดต่อตกแต่งพันธุกรรม โดยส่งให้ต่างประเทศในเครือข่าย

นี่เป็นสิ่งที่คนไทย ต้องมีความตระหนักรู้ว่า...ประเทศไทยเข้าไปมีส่วนเกี่ยวพันและเมื่อเกิดความเสียหายในประเทศที่ไม่ใช่แต่ประเทศไทยอย่างเดียว เป็นที่ใดในโลกนี้และสืบค้นความเชื่อมโยง 

ประเทศไทยคงต้องรับผิดชอบ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top