Friday, 17 May 2024
ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

'บิ๊กตู่' ผลักดัน นโยบายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ยกระดับ 'ไทย' เมืองศูนย์กลางด้านสุขภาพของโลก

(26 ก.พ.66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมให้ความสำคัญกับระบบสาธารณสุขไทย โดยเฉพาะการส่งเสริมนโยบายการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (เมดิคอลฮับ) เพื่อยกระดับประเทศไทยสู่การเป็น เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโลก 

โดยนายกฯ สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลักดันการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้สำเร็จตามแผน และผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (ปี 2560 - 2569) ได้ดำเนินการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ดังนี้ 

‘เฮียฮ้อ’ ส่ง ‘RS LiveWell’ ลงทุนในแบรนด์ ‘Erb’ กว่า 60% ปูทางรุกธุรกิจ ‘Wellness & Spa’ รับเทรนด์ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

(17 ต.ค. 66) สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจาก อาร์เอส กรุ๊ป ทรานส์ฟอร์มองค์กรจากการดำเนินธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนท์มาสู่ธุรกิจคอมเมิร์ซ ภายใต้โมเดล Entertainmerce ได้มุ่งมั่นการขยาย Ecosystem ธุรกิจคอมเมิร์ซเพื่อรักษาอัตราการเติบโตและหาโอกาสในการขยายฐานการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยใช้บริษัท RS LiveWell ซึ่งเป็น Product Company ที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าสุขภาพและความงามภายใต้แบรนด์ของตัวเอง รวมถึงการเข้าลงทุนในแบรนด์สุขภาพ-ความงามที่มีชื่อเสียงและมีศักยภาพ ล่าสุดได้เข้าลงทุนในบริษัท เอิบเอเชีย จำกัด หรือ Erb ในสัดส่วน 60%

“Erb เป็นแบรนด์เครื่องหอมและสกินแคร์ที่มีฐานลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า 25 ปี ผู้บริหารและพนักงานมีความเชี่ยวชาญเฉพาะในธุรกิจ รวมไปถึงมีคอนเนกชันและพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง จึงมั่นใจว่า ด้วยประสบการณ์ของผู้บริหารและทีมงานของ อาร์เอส ผสานกับ Ecosystem และความเชี่ยวชาญของทุกธุรกิจในเครือ จะสนับสนุนให้ Erb เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกด้าน ทั้งการพัฒนาสินค้า การตลาด การประชาสัมพันธ์ ช่องทางการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ และการจัดจำหน่าย ส่งผลให้ธุรกิจของ Erb มีสินค้าและบริการที่ครบวงจรและเติบโตอย่างชัดเจน”

พัชทรี ภักดีบุตร ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Erb กล่าวว่า Erb ใช้ความโดดเด่นในเรื่องของภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่งขยายธุรกิจไปในตลาดที่มีโอกาสและสอดคล้องกับ Core business ของบริษัท อาทิ Wellness and Spa โดยใช้จุดแข็งของตัวแบรนด์ นำไปสู่การเติบโตในกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่น ตามแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันที่หันมาสนใจและใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ส่งผลสะท้อนเชิงบวกแก่แบรนด์ในการออกผลิตภัณฑ์และบริการใหม่เพื่อตอบสนองตลาด จึงมองหาพาร์ตเนอร์ โดยเงินลงทุนที่ได้ครั้งนี้จะนำไปสร้างทีมเพื่อดูแลรับผิดชอบธุรกิจใหม่ รวมถึงขยายธุรกิจไปยังตลาดต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และ Collaboration projects ต่างๆ

“ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของ Erb มีการจำหน่ายแล้วในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งเอเชีย อเมริกา และยุโรป การเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ อาร์เอส จะทำให้ Erb แข็งแรงขึ้นจากการใช้ประโยชน์ร่วมกันทั้งด้านทรัพยากรและจุดแข็งของแต่ละบริษัท เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน” พัชทรี กล่าวและว่า ปัจจุบันผลิตภัณฑ์และบริการของ Erb แบ่งเป็น ผลิตภัณฑ์สกินแคร์, ผลิตภัณฑ์สปาภายในบ้าน, ผลิตภัณฑ์เครื่องหอมภายในบ้าน, Amenity kit และเซ็ตของขวัญ, ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและอนามัย และธุรกิจสปา

สุรชัย กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า จากผลิตภัณฑ์และบริการของ Erb ที่มีอยู่แล้ว โดยเฉพาะธุรกิจสปา จะทำให้ อาร์เอส มีโอกาสรุกและขยายธุรกิจ Wellness and Spa มากขึ้น รองรับการเติบโตตามเทรนด์สุขภาพในปัจจุบัน อาทิ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ภาครัฐสนับสนุนการเดินหน้าสู่ Medical Hub ของไทย รวมถึงเป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้แบรนด์ในพอร์ตโฟลิโอของ RS LiveWell ด้วย ซึ่งหลังจากนี้ Erb จะเดินหน้าเพิ่มผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้น สร้างฐานลูกค้าใหม่ ๆ อาทิ การทำสินค้า Corporate brand การขยายธุรกิจ Spa ไปยังโรงแรมและสถานที่ Prime location ต่าง ๆ รวมถึงความร่วมมือใหม่ ๆ กับพาร์ตเนอร์อื่น ๆ ที่มีจุดแข็งที่แตกต่างกัน 

'สว.วีระศักดิ์' ยก!! 'น่าน' เมืองแห่งอารยสถาปัตย์ พิกัดท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพที่ทุกเพศวัยต้องมาเยือน

'สว.วีระศักดิ์' ชูผลรายงานศึกษาของวุฒิสภาเรื่อง Accessible for All in Action ในงานเปิดเมืองน่าน เมืองอารยสถาปัตย์เพื่อการท่องเที่ยวของคนทั้งมวล

เมื่อวานนี้ (1 มี.ค.67) ที่ลานข่วงช้างค้ำ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ตรงข้ามวัดภูมินทร์ และวัดช้างค้ำ ได้มีการจัดกิจกรรม 'เปิดเมืองอารยสถาปัตย์ เมืองท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพเพื่อคนทั้งมวล' โดยมีนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นผู้อภิปรายนำ ในวงเสวนา ร่วมกับนายแพทย์ พงษ์เทพ วงศ์วัชระไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ สสส.,  นางณัฏฐิรา แพงคุณ รองอธิบดีกรมการท่องเที่ยว, นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองน่าน, นาย โยธิน ทับทิมทอง ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานจังหวัดน่าน, นาง ศุภรดา กานดิศญากุล ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สำนักงานอพท. เมืองเก่าน่าน,  ผศ.ดร.จรัญญา พหลเทพ นักวิจัยการยกระดับการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ตลาดสากล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร, คุณรพิดา และคุณลลิตา อัชชะกิจ เจ้าของเพจ เข็นแม่เที่ยว จัดโดยมูลนิธิอารยสถาปัตย์ และมีนายกฤษณะ ละไลย เป็นผู้ดำเนินรายการ

ในการนี้ นายวีระศักดิ์ได้ชูเล่มเอกสารรายงานของวุฒิสภา ที่รวบรวมโดยคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมฯ วุฒิสภา ว่าด้วยผลการศึกษาเรื่อง รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การเข้าถึงโดยสะดวกถ้วนหน้า (Accessibility for All in Action) ว่าด้วยเรื่องนโยบาย ระเบียบ การฝึกปฏิบัติ และการรักษาความต่อเนื่อง ตลอดจนการปรับปรุงด้านกายภาพ อุปกรณ์และระบบงานทางอิเล็กทรอนิกส์มีความจำเป็นต้องสอดประสานกัน และต้องใส่ใจในรายละเอียด เชื่อมกันได้อย่างไร้รอยต่อ 

พร้อมทั้งกล่าวถึงศักยภาพของจังหวัดน่านว่า นอกจากจะเป็นที่รู้จักในฐานะเมืองท่องเที่ยวที่มีทั้งธรรมชาติและวัฒนธรรมที่งดงามหลากหลายแล้ว น่านยังเป็นเมืองเก่าที่มีมรดกทางวัฒนธรรมที่สากลยอมรับ มีที่ตั้งอยู่ระหว่างอารยธรรมล้านช้าง และอารยธรรมล้านนา เป็นเมืองพี่เมืองน้องกับหลวงพระบาง เมืองหลวงเก่าแก่มรดกโลกของสปป.ลาว ซึ่งบัดนี้มีรถไฟจีน-ลาวแล่นผ่าน  

อีกทั้งน่านยังเป็นที่กำเนิดของแม่น้ำน่าน อันเป็นต้นทางของสายน้ำกว่า 40% ของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเมืองอากาศดี อาหารดี ผู้คนอารมณ์ดี น้ำดี มีวัฒนธรรมการออกกำลังกายที่ดี เป็นเมืองเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ กีฬาเยาวชนพิการแห่งชาติมาแล้ว ผู้บริหารเมืองน่านเข้าร่วมในเครือข่ายการสร้างอารยสถาปัตย์ให้ในพื้นที่มายาวนาน มีสนามบินน่าน ที่เดินทางได้สะดวก

ดังนั้นหากพัฒนาเพิ่มอารยสถาปัตย์ดีมีมาตรฐานเข้าไปให้มากพอ น่าจะเป็นที่หมายของการเดินทางเชิงสุขภาพ การพำนักระยะยาว การฟื้นสุขภาพ การเก็บตัวเพื่อการกีฬาที่คนทุกเพศวัยชื่นชอบทั้งจากภายในและระหว่างประเทศ

สำหรับผู้สนใจสามารถชมย้อนหลังผ่าน LIVE ถ่ายทอดสด รวมพลังชาว จ.น่าน  เปิดเมืองอารยสถาปัตย์ เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อคนทั้งมวลผ่าน Facebook Page ของ 'Thailand Friendly Design Expo' ในวันศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2567 เวลา 14.00-18.00 น. ณ ลานข่วงน้อย ย่านเมืองเก่าน่าน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ ในการเตรียมพร้อมรองรับสังคมผู้สูงวัย และส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืน

*** ลิงก์ LIVE ย้อนหลัง >> https://fb.watch/qxjmmWRnTs/?mibextid=Nif5oz

'กระทรวงอุตฯ' ขานรับ!! กระแสธุรกิจ Wellness & Medical บูม เร่งยกระดับ 'ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ' ภาคใต้ฝั่งอันดามันเต็มสูบ

กระทรวงอุตสาหกรรม เดินหน้าเสริมศักยภาพผู้ประกอบการภาคใต้ฝั่งอันดามันผ่านหลักสูตร Digital Literacy เร่งยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่ พร้อมคัดเลือกต้นแบบความสำเร็จ 10 กิจการ สร้างความพร้อมด้านการขยายตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ คาดภายใน 1 ปี จะสามารถสร้างยอดขายและรายได้โดยรวมให้กับพื้นที่เพิ่มขึ้นกว่า 30 ล้านบาท

(6 มี.ค.67) นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังที่ได้รับมอบหมายจาก นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เป็นประธาน เปิดงานกิจกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมสุขภาพ ด้วย Digital Marketing ภายใต้กิจกรรมสร้างการรับรู้ SME ให้ดีพร้อมด้วยดิจิทัล (Digital Literacy) ให้กับธุรกิจอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ (Wellness & Medical) ว่า...

ปัจจุบันประเทศไทยได้พัฒนาเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) อย่างจริงจัง และรัฐบาลมีแนวทางนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาด้านดิจิทัล และการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างชัดเจน โดยเริ่มต้นจากทักษะความรู้พื้นฐานในการประกอบอาชีพไปจนถึงทักษะทางเทคนิคและทักษะการบูรณาการ อันจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเตรียมพร้อมและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 

กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การบริหารงานของ นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy ด้วยการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบันมาประยุกต์ปรับใช้และนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในธุรกิจอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ (Wellness & Medical) ซึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางและเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวทุกรูปแบบ รวมถึงเป็นศูนย์กลางการดูแลสุขภาพ หรือ Medical Hub ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเยือนเป็นอันดับ 8 ของโลก สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศกว่า 2.3 ล้านล้านบาท และคาดว่าใน 4 ปีข้างหน้านี้จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการธุรกิจ Medical Tourism และ Wellness Tourism ของประเทศไทยที่จะสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น

นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า การพัฒนาและเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการด้วย Digital Marketing จึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม เดินหน้าผลักดันและยกระดับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ (Wellness & Medical) ในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน ผ่านการจัดงานการพัฒนาอุตสาหกรรมสุขภาพด้วย Digital Marketing ภายใต้กิจกรรมสร้างการรับรู้ SMEs ให้ดีพร้อมด้วยดิจิทัล (Digital Literacy) เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถนำองค์ความรู้และทักษะด้านการตลาดออนไลน์ไปปรับใช้กับธุรกิจและทำให้มีช่องทางขายที่หลากหลายเพิ่มขึ้น โดยการจัดทำสื่อดิจิทัลสำหรับการสื่อสารประชาสัมพันธ์การทำตลาดผ่านช่องทาง Online & Offline Platforms เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการแก่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังได้ร่วมกับ บริษัท ไทยคิงดอม แอดไวเซอร์ จำกัด และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) จัดทำ Website : www.andamandigitalwellness.com เพื่อเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ทำการตลาด นำเสนอสินค้าและบริการแก่ลูกค้าเป้าหมายในรูปแบบ Sale Page ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับคัดเลือกเป็นต้นแบบความสำเร็จ จำนวน 10 กิจการ ให้มีความพร้อมในการขยายตลาดผ่านช่องทางออนไลน์เปิดกว้างสู่สากล

ทั้งนี้ คาดว่าภายใน 1 ปีจะทำให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมนำความรู้ไปใช้ต่อยอดธุรกิจ และสามารถสร้างยอดขาย มีรายได้โดยรวมเพิ่มขึ้นกว่า 30 ล้านบาท


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top