Tuesday, 21 May 2024
ทัณฑสถานหญิงกลาง

'กมธ.พัฒนาการเมือง' เข้าเยี่ยมผู้ต้องขังคดี 112 ตรวจดูมาตรการ 'คุ้มครองสิทธิ-การดูแล' ผู้ต้องขัง

คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร เข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทัณฑสถานหญิงกลาง เขตจตุจักร เพื่อดูมาตรการคุ้มครองสิทธิและการดูแลผู้ต้องขังคดีอาญา มาตรา 112 ตามหลักการของกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชน

โดยคณะอนุกรรมาธิการศึกษาผลกระทบของการใช้มาตรา 112 สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา ส.ส. จ.นครปฐม, ณัฐวุฒิ บัวประทุม เบญจา แสงจันทร์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และ เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง อาจารย์ด้านกฎหมายมหาชน ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เข้าเยี่ยมชมเรือนจำ เข้าพบนักโทษคดี 112 ที่ยังถูกคุมขังอยู่ เพื่อพูดคุย สอบถามกำลังใจและสภาพความเป็นอยู่ พร้อมตรวจสอบว่าได้รับการปฏิบัติตามสิทธิที่ผู้ต้องขังพึงจะได้ตามมาตรฐานสากลหรือไม่

เบญจา กล่าวว่า การเดินทางครั้งนี้เป็นไปเพื่อคุ้มครองและดูแลสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องขัง คดี 112 คดีความมั่นคง คดีทางการเมือง ซึ่งมีการเดินทางทั้งหมด 2 วัน ตั้งแต่เมื่อวานจนถึงวันนี้ วันที่ 4 ได้เดินทางไปยังเรือนจำธนบุรี เขตบางบอน พบกับ ศุภากร พินิจบุตร์ ผู้ต้องขังเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 

ส่วนวันนี้ได้เดินทางมาเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทัณฑสถานหญิงกลางเป็นที่สุดท้าย เพื่อพบกับสมบัติ ทองย้อย ซึ่งเป็นผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างรอพิจารณาคดี รวมถึง พรชัย (แซม) และเยาวชนกลุ่มทะลุฟ้า ทะลุแก๊ส 

เบญจา ระบุว่า ได้สอบถาม สมบัติ ทองย้อย ถึงชีวิตความเป็นอยู่ในเรือนจำและเรื่องสุขภาพ รวมถึงสถานการณ์ภายในและภายนอกเรือนจำ รวมถึงสิทธิเสรีภาพของ สมบัติ ในเรือนจำ

จากนั้นคณะฯ ได้เข้าเยี่ยม อัญชัญ ปรีเลิศ ซึ่งเป็นนักโทษเด็ดขาดในคดี 112 ดังนั้นเงื่อนไขในการเข้าเยี่ยมจึงจะมีความแตกต่าง ไม่เหมือนกับกรณีอื่นๆ อัญชัญ ได้สะท้อนให้เห็นว่า ขณะนี้ตนได้รับการดูแลในฐานะเป็นนักโทษสูงอายุ ซึ่งมีโรคประจำตัวที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ขวัญและกำลังใจค่อนข้างดี ได้รับการพิจารณาจัดลำดับชั้นอยู่ในนักโทษชั้นเยี่ยม จากโทษเดิมที่ต้องจำคุกทั้งสิ้น 40 กว่าปี จะลดลงมาเหลืออยู่ 10 ปีเศษ ซึ่งต้องดูเงื่อนไขในทางกฎหมายต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร

ด้านณัฐวุฒิ เผยว่า สำหรับผู้มาเข้าเยี่ยมในวันนี้นอกเหนือจากคณะอนุกรรมาธิการ ที่มาในนามสถานแทนราษฎร ยังมีผู้แทนจาก แอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนล ประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อเยี่ยมผู้ต้องขังว่าเป็นอย่างไร และได้รับการปฏิบัติอย่างเหมาะสมหรือไม่ มีเงื่อนไขหรือปัจจัยที่แตกต่างจากกรณีอื่น ๆ หรือไม่ จากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้ใน 2 วันนี้ เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯ เพื่อจัดทำเป็นรายงานต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างการสนทนากับ สมบัติ นั้น น.ส.เบญจา ได้หยิบยกบทกวีที่นายแซม พรชัย ได้เคยกล่าวให้ผู้ต้องหาคดี 112 ทุกครั้ง ในกิจกรรม "ยืนหยุดขัง" มากล่าวให้นายสมบัติ ทองย้อย ฟัง โดยมีใจความดังนี้...

รู้จัก ‘บุ้ง เนติพร’ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ‘กลุ่มทะลุวัง’ เติบโตในครอบครัวของนักกฎหมาย แต่สุดท้ายต้องเข้าไปอยู่ใน ‘คุก’

‘บุ้ง เนติพร’ นักกิจกรรมและนักเคลื่อนไหวทางการเมือง  สมาชิกกลุ่มทะลุวัง วัย 27 ปี ผู้ที่ทำหน้าที่เป็น “ผู้ปกครอง” ของหยก เริ่มเป็นที่รู้จักของสังคมเมื่อตอนที่ได้ทำ 
“โพลสติกเกอร์สำรวจความคิดเห็น” เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมักจะหยิบยกคำถามที่ไม่เหมาะสม ไม่บังควรเช่น คำถามเกี่ยวกับขบวนเสด็จ หรือคำถามเกี่ยวกับงบประมาณสถาบันฯ มาเป็นตั้งโพลสอบถามในที่สาธารณะ โดยเคยทำโพลถามว่า "ขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนหรือไม่?" และไปส่งโพลไปที่วังสระปทุมเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565

ในวัยเด็กนั้น บุ้งเติบโตขึ้นมาในครอบครัวของนักกฎหมาย มีพ่อเป็นผู้พิพากษา พี่สาวเป็นทนายความ มี “ศาล” เป็นสนามเด็กเล่น ตัวบุ้งเอง ก่อนหน้านี้ก็เคยถูกคาดหวังว่าให้เรียนกฎหมายเหมือนกับพ่อและพี่สาว เพื่อจะได้เข้าไปนั่งทำงานในศาล แต่ภาพฝันของทางครอบครัวคงจะไม่มีวันเป็นความจริง เพราะปัจจุบันเขาเลือกเส้นทางชีวิตที่ตรงกันข้าม
เขาเลือกที่จะเป็นแกนนำของกลุ่มทะลุวัง และเคลื่อนไหวเพื่อทำลายสถาบันอันเป็นที่รักยิ่งของคนไทยทั้งชาติ   

บุ้ง ถูกตั้งข้อหาประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และได้เข้ารายงานตัวที่ สน.ปทุมวันเมื่อ 10 มีนาคม 2565 ศาลได้มีคำสั่งให้ประกันตัวด้วยหลักทรัพย์รายละ 200,000 บาท พร้อมคำสั่งติดกำไล EM ศาลยังกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวคือ
1) ห้ามทำกิจกรรมหรือการกระทำใดที่อาจเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
2) ห้ามโพสต์เชิญชวน ปลุกปั่น ยั่วยุ ชักจูงประชาชนให้เข้าร่วมชุมนุมในสื่อโซเชียลมีเดีย หรือร่วมชุมนุมที่อาจก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง
3) ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล

แต่บุ้งก็ยังไม่หยุดกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมือง ต่อมาศาลจึงมีคำสั่งให้ ควบคุมตัว บุ้ง 
ไปที่เรือนจำทัณฑสถานหญิงกลาง ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวในเวลาต่อมา รวมระยะเวลาที่บุ้งต้องใช้ชีวิตในสถานที่แห่งนั้นเป็นเวลาทั้งสิ้น 94 วัน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top