Sunday, 5 May 2024
ดีป้า

‘ดีป้า’ คิกออฟ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ ดัน ‘หาบเร่’ ต้องเก๋ในโลกออนไลน์

ดีป้า เปิดตัวโครงการ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ พร้อมเดินหน้าติดอาวุธดิจิทัลแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ร้านค้า หาบเร่ แผงลอย นำร่องพื้นที่ 6 จังหวัด ครอบคลุมผู้ประกอบการ 30,000 ราย เล็งขยายการรับรู้สู่ปริมณฑล 4 จังหวัด และเตรียมเดินหน้าเฟส 2 อีก 25 จังหวัดทั่วประเทศ หวังขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัลเต็มรูปแบบ

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า กระทรวงดิจิทัลฯ มีภารกิจสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมุ่งหวังให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลได้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน โดยมีสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลอย่างเต็มประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ของตนเองได้อย่างตรงจุด โดยเฉพาะกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากที่มีความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม

“สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค โดยปรับเปลี่ยนสู่ช่องทางออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นภาครัฐจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทยให้มีความพร้อมรับมือกับความท้าทายดังกล่าว และพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ซึ่ง ดีป้า หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลฯ จึงได้ดำเนินโครงการ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ เพื่อยกระดับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ร้านค้า หาบเร่ แผงลอย ให้สามารถปรับเปลี่ยนทุกการซื้อ-ขายสู่ระบบออนไลน์ ปรับทุกไลฟ์สไตล์สู่สังคมไร้เงินสด พลิกฟื้นเศรษฐกิจฐานรากด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการก้าวข้ามวิกฤตโควิด-19 โดยคาดว่า การดำเนินงานในเฟสแรกจะช่วยสร้างรายได้มากกว่า 300 ล้านบาท” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าว

นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าวว่า โครงการ Transform ตลาดสดยุควิถีใหม่ มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และผู้ประกอบการรายย่อย ไม่ว่าจะเป็น ร้านค้า หาบเร่ แผงลอย สามารถเข้าถึงและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจากเครือข่ายดิจิทัลสตาร์ทอัพ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ สร้างโอกาสทางการตลาด เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายและจัดส่งสินค้า พัฒนาสู่การแข่งขันรูปแบบใหม่บนพื้นฐานของการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน เริ่มดำเนินการในพื้นที่ 6 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครสวรรค์ นครปฐม ชัยนาท สิงห์บุรี และลพบุรี ครอบคลุมผู้ประกอบการ จำนวน 30,000 ราย ตั้งเป้าขยายการรับรู้สู่ปริมณฑลเพิ่ม 4 จังหวัด

กระทรวงดิจิทัลฯ - ดีป้า ประกาศผลรางวัล Smart City Solutions Awards 2022 ชูไอเดียรัฐ - เอกชนประยุกต์ใช้ดิจิทัลพัฒนาเมืองอัจฉริยะประเทศไทย

1 ธันวาคม 2565, กรุงเทพมหานคร - กระทรวงดิจิทัลฯ และ ดีป้า จัดพิธีมอบรางวัล Smart City Solutions Awards 2022 แก่ผลงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลตามแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเมือง และยกระดับ การให้บริการประชาชนใน 7 ด้าน รวม 20 รางวัล

นายเนวินธุ์ ช่อชัยทิพฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล Smart City Solutions Awards 2022 แก่ผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เจ้าของผลงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการเมือง และให้บริการประชาชนในพื้นที่ได้อย่างตรงจุดตามลักษณะของเมืองอัจฉริยะทั้ง 7 ด้าน ประกอบด้วย เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) การขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) และพลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) รวม 20 รางวัล

นายเนวินธุ์ กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนคิดค้นและนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ ควบคู่ไปกับการบูรณาการการทำงานกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศและประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม โดยปีนี้ กระทรวงดิจิทัลฯ และ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า จัดให้มีกิจกรรมประกวดเพื่อชิงรางวัลในโครงการ Smart City Solutions Awards 2022 เพื่อเฟ้นหาผลงานที่มีความโดดเด่นในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเมือง และให้บริการประชาชนในพื้นที่ได้อย่างตรงจุด ตามลักษณะของเมืองอัจฉริยะทั้ง 7 ด้านด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยผลงานต่าง ๆ ที่ได้รับรางวัลเป็นระบบบริการที่ดำเนินการมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ซึ่งจะเป็นต้นแบบองค์ความรู้ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับหน่วยงานอื่น ๆ ในการสร้างสรรค์โซลูชันเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะต่อไป

ด้าน ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าวว่า โครงการ Smart City Solutions Awards 2022 ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้มีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมส่งผลงานเข้าประกวดรวม 57 ผลงาน และมีผลงานที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และได้รับรางวัลในแต่ละด้านรวม 20 ผลงาน ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัลล้วนเป็นโซลูชันที่มุ่งแก้ไขปัญหาเฉพาะพื้นที่อย่างตรงจุดด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล อีกทั้งมีแนวทางการประเมินผล รวมถึงการนำไปใช้อย่างชัดเจน ตลอดจนสร้างความมีส่วนร่วมจากประชาชนในพื้นที่
ได้อย่างเป็นรูปธรรม

“โครงการ Thailand Smart City Solutions Awards 2022 ถือเป็นการสร้างความตระหนักและกระตุ้นการรับรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล อีกทั้งก่อให้เกิดการรับรู้ในวงกว้างไปยังหน่วยงานที่เป็นผู้ให้บริการระบบบริการเมืองอัจฉริยะ รวมถึงประชาชนหรือผู้รับบริการที่จะได้รับรู้และเข้าใจในระบบบริการเมืองอัจฉริยะ และแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อบริหารจัดการเมือง ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยให้ดีขึ้น” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัล Smart City Solutions Awards 2022 ใน 7 ด้าน ประกอบด้วย
1. ด้านเศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) รางวัลชนะเลิศ
- โครงการ หลาดยะลา (Yala Market) “ระบบบริการด้านตลาดออนไลน์กระตุ้นเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น” โดย เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา
รางวัลชมเชย
- โครงการ ส่งเสริมตลาดเกษตรออนไลน์ 'สดจากฟาร์ม เสิร์ฟจากเว็บ' 
โดย สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม จังหวัดนครพนม

2. ด้านพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) รางวัลชนะเลิศ
- โครงการ Smart Grid in Samyan Smart City 'ระบบจัดการพลังงานในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ' 
โดย สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
รางวัลชมเชย
- โครงการ Smart IoT Street Lighting (โคมไฟถนนอัจฉริยะ) โดย บริษัท จัมโบ้ อิเล็กทรอนิกส์ จำกัด ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดระยอง

3. ด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
รางวัลชนะเลิศ
- โครงการ Chula Zero Waste 'ความยั่งยืนในการจัดการขยะอย่างครบวงจร' 
โดย สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
รางวัลชมเชย
- โครงการระบบแสดงข้อมูลการตรวจสอบอาหารทะเลปลอดฟอร์มาลิน 
โดย เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี

4. ด้านการบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)
รางวัลชนะเลิศ (2 ผลงาน)
- โครงการระบบรับและบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ออนไลน์ 'เพื่อการบริการภาครัฐที่ทันสมัยและคล่องตัว' โดย เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
- โครงการบ้านกลาง One Stop Service 'ระบบที่ส่งต่อบริการอย่างครบถ้วนและรวดเร็ว'
โดย เทศบาลตำบลบ้านกลาง จังหวัดลำพูน
รางวัลชมเชย (2 ผลงาน)
- โครงการโครงข่ายนครสวรรค์เมืองอัจฉริยะ (Super Node) โดย เทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
- โครงการ บวกค้าง อี เซอร์วิส  (Buakkhang E-Service) ภายใต้โครงการไตยอง Smart City โดย เทศบาลตำบลบวกค้าง จังหวัดเชียงใหม่

'บิ๊กตู่' มอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทย ประจำปี 2565 แก่ 15 ผู้พัฒนาเมืองที่ได้รับการประกาศรับรองเป็นพื้นที่เมืองอัจฉริยะ พร้อมมอบหมาย ดีป้า ผลักดันบัญชีบริการดิจิทัล ส่งเสริมการเข้าถึงระบบบริการที่มีคุณภาพแก่หน่วยงานภาครัฐ

เมื่อวันที่ (9 ม.ค. 66)ที่ผ่านมา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทย ประจำปี 2565 แก่ผู้พัฒนาเมืองที่ได้รับการประกาศรับรองเป็นพื้นที่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) จำนวน 15 เมือง โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะ ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ผู้แทนจากสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมในพิธีฯ โดยพร้อมเพรียง ณ อาคารภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล 

จากนั้น พลเอก ประยุทธ์ ได้กล่าวแสดงความยินดี และมอบนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งเป็นหนึ่งในหมุดหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมระบุว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะตั้งแต่เริ่มต้น โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากทุกฝ่าย ทั้งผู้นำเมือง เจ้าหน้าที่ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน เพื่อให้ความต้องการของทุกภาคส่วนได้รับการพิจารณาและถูกระบุอยู่ในเป้าหมายของการพัฒนาเมือง มองโอกาสจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงมุ่งจัดสรรและแบ่งปันทรัพยากร ตั้งแต่การพัฒนาบุคลากร งบประมาณการลงทุน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยในทุกมิติ

“นอกจากนี้ รัฐบาลต้องกำหนดนโยบายที่เท่าทันกับสถานการณ์ พร้อมสร้างมาตรการที่จะอำนวยความสะดวกและเป็นแรงจูงใจ อาทิ การมอบสิทธิประโยชน์ด้านภาษี หรือการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัล เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตของประเทศได้อย่างเท่าเทียม เกิดการลงทุนในภาคเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างสังคมที่ดี และเพิ่มโอกาสในชีวิตให้กับประชาชน” พลเอก ประยุทธ์ กล่าว

ขณะที่ นายชัยวุฒิ เปิดเผยว่า กระทรวงดิจิทัลฯ โดย ดีป้า ดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในทุกภูมิภาคทั่วประเทศมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 มีมติเห็นชอบแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จำนวน 15 เมืองใน 14 จังหวัด ครอบคลุมการให้บริการประชาชนกว่า 16 ล้านคน ซึ่งทั้งหมดผ่านการพิจารณาการประกาศมอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะจากที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่มี พลเอก ประวิตร เป็นประธาน โดยมีการประเมินว่า 15 เมืองอัจฉริยะประเทศไทยจะช่วยให้เกิดโอกาสการลงทุนเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมูลค่ารวมกว่า 15,000 ล้านบาท 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top