Tuesday, 14 May 2024
ดอลลาร์สหรัฐ

‘ปูติน’ เผย BRICS จ่อลดอำนาจเงินตะวันตก เตรียมตั้งทุนสำรองระหว่างประเทศขึ้นใหม่

ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เปิดเผยว่ากลุ่ม BRICS ซึ่งประกอบไปด้วย บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน และแอฟริกาใต้ กำลังดำเนินการจัดตั้งทุนสำรองระหว่างประเทศใหม่บนพื้นฐานระบบตะกร้าเงินของประเทศสมาชิก เพื่อลดการพึ่งพิงระบบการเงินตะวันตก

รายงานจากอาร์ทีนิวส์ เผยว่า ประธานาธิบดีรัสเซีย สมาชิกของ BRICS กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนากลไกทางเลือกที่มีความน่าเชื่อถือสำหรับการชำระเงินระหว่างประเทศด้วยเช่นกัน โดยคำพูดของปูติน สอดคล้องกับคำแถลงของกลุ่ม BRICS ก่อนหน้านี้ ที่บอกว่าพวกเขากำลังดำเนินการจัดตั้งเครือข่ายการชำระเงินร่วม เพื่อลดการพึ่งพิงระบบการเงินของตะวันตก ขณะเดียวกัน บรรดาประเทศสมาชิก BRICS กำลังเพิ่มการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการซื้อขายระหว่างกันอย่างเข้มข้นขึ้นด้วย

ด้าน Global Times ก็ได้รายงานด้วยว่า บรรดาผู้ค้าทั้งหลายในกลุ่ม BRICS ต่างมองเห็นความเป็นไปได้ที่จะใช้เงินสกุลท้องถิ่นในกลุ่มประเทศของตนเอง โดยเฉพาะเงินหยวน เป็นอีกหนึ่งสกุลหลักในการเจรจาทำธุรกรรมทางการค้าข้ามพรมแดนระหว่างกัน โดยเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามมองหาทางเลือกอื่นนอกจากสกุลเงินดอลลาร์ ที่จะนำมาใช้เป็นตัวกลางชำระหนี้ระหว่างประเทศภายในกลุ่ม BRICS

บรรดาผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า แม้อิทธิพลของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะยังคงครอบงำเวทีการค้าโลก แต่ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในกลุ่มประเทศสมาชิก BRICS บวกกับความร่วมมือเพิ่มเติมด้านต่างๆ ในอนาคต ได้เพิ่มโอกาสความเป็นไปได้ที่จะชำระหนี้ด้วยเงินสกุลเงินท้องถิ่นของแต่ละประเทศมากขึ้น

ส่องระดับรายได้ 11 ชาติอาเซียน ประเทศไทยอยู่กลุ่มไหน?

สิงคโปร์มี GNI (Gross National Income) หรือ รายได้ประชาชาติ โดยมีรายได้ประชากรต่อหัวสูงที่สุด และมีรายได้สูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้!!

ทั้งนี้ ธนาคารโลก ได้จัดหมวดหมู่เศรษฐกิจโลกออกเป็นสี่กลุ่มรายได้ ได้แก่ ต่ำ, กลางล่าง, กลางบน และสูง ซึ่งอัปเดตทุกปีในวันที่ 1 กรกฎาคม โดยอิงตาม GNI ต่อหัวของปีก่อน คิดเป็นดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการจัดประเภทรายได้ของธนาคารโลกมีจุดมุ่งหมายเพื่อสะท้อนระดับการพัฒนาของประเทศ โดยอาศัย GNI ต่อหัวเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ

จากผลการจัดประเภทรอบนี้ สิงคโปร์ และ บรูไน เป็นสองประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีรายได้สูงที่สุด ในขณะที่มาเลเซีย, ไทย และอินโดนีเซียอยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เหลืออยู่จะถูกจัดในกลุ่มรายได้ปานกลางตอนล่าง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top