Sunday, 19 May 2024
ซื้อบ้าน

มาตรการกระตุ้นศก.ภาครัฐ ดันอสังหาฯ พลิกฟื้น ยอดใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยทั่วประเทศพุ่ง

‘ทิพานัน’ เผยการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในไตรมาส 2 ปี 2565 กลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 และมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยครึ่งปีแรกพุ่งกว่า มูลค่า 480,510 ล้านบาท สะท้อนผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และประชาชนให้ความเชื่อมั่นมาตรการรัฐบาล 'พล.อ.ประยุทธ์' เกิดการจ้างงาน กระตุ้นเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องและเศรษฐกิจฐานราก

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้มีมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องประกอบกับการเร่งตัวของภาคบริการหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุม การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความเชื่อมั่นต่อการลงทุนมากขึ้น  

จากรายงานของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พบว่า ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2565 มีการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ ทั้งประเภท บ้านที่ประชาชนสร้างเอง และบ้านในโครงการจัดสรร มีจำนวนประมาณ 80,704 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 ที่มีจำนวน 75,803 หน่วย และหากเทียบกับข้อมูลย้อนหลัง พบว่า มีการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสแรก หลังจากที่ลดลงติดต่อกันมาถึง 9 ไตรมาส นับตั้งแต่ ไตรมาส 1 ปี 2563 

ขณะที่ในด้านการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ทั่วประเทศ จำนวน 95,316 หน่วย มูลค่า 257,009 ล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า ร้อยละ 9.0 และ 7.1 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 และในภาพรวมครึ่งปีแรกของปี 2565 มีการโอนกรรมสิทธิทั่วประเทศจำนวน 180,636 หน่วย มูลค่า 480,510 ล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนและมูลค่าร้อยละ 6.4และ 3.1 ตามลำดับ

คนซื้อบ้านได้เฮ!! รัฐลดค่าธรรมเนียม 'โอน-จำนอง' ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท มีผลแล้ว ถึง 31 ธ.ค.66 นี้

'ทิพานัน' เผยข่าวดี รัฐบาล 'พล.อ.ประยุทธ์' ลดค่าธรรมเนียมโอน-จำนอง บ้านพร้อมที่ดิน-คอนโดฯ ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทมีผลแล้ว ถึง 31 ธ.ค.66 นี้ รองรับเศรษฐกิจฟื้นตัว มุ่งสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย ฟื้นธุรกิจอสังหาฯ-ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง

(5 มค. 66) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จึงผลักดันให้ลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่อยู่อาศัยหรืออาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวเป็นกรณีพิเศษ เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงการมีที่อยู่อาศัยมากขึ้น 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ทั้งนี้ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศเรื่องที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับการโอนและการจำนองจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง พ.ศ.2565 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 และมาตรา 103 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2521

สแกนสิงคโปร์ 70% ของคนส่วนใหญ่เป็นคนชนชั้นกลาง ไม่รวยพอจะซื้อบ้าน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่แพงมากในสิงคโปร์

(6 มี.ค.67) จากเพจ 'สานต่อเจตนารมณ์ อาจารย์สมเกียรติ โอสถสภา' ได้โพสต์ข้อความแชร์มุมมองของคนสิงคโปร์ ที่คนชาติอื่นมักมองว่ามีฐานะกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอาจจะไม่จริงเสมอไป จากช่อง YouTube 'Asian Boss' ไว้ว่า...

70% ของคนสิงคโปร์เป็นคนชนชั้นกลาง ไม่รวยพอจะซื้อบ้านซึ่งถือเป็นสิ่งที่แพงมากในสิงคโปร์

บ้านสามห้องนอนพื้นที่ใช้สอย 135 ตารางเมตร ราคาอยู่ที่ 37 ล้านบาท คนสิงคโปร์ส่วนมากซื้อไม่ไหว และไม่คิดว่าชาตินี้จะมีทางซื้อไหว

ถ้าคิดจะซื้อบ้านจริง ๆ ชนชั้นกลางสิงคโปร์มองว่าต้องไปหาซื้อที่ประเทศอื่น เช่น ไทย, เวียดนาม, อินโดฯ

แม้แต่คนที่ทำงานในวงการแพทย์ (ทำงานด้านฉายรังสี) บอกเองว่า ไม่น่าจะมีปัญญาจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ตัวเอง ถ้าป่วยหนักถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาล

ดู ๆ แล้วชนชั้นกลางไทยสบายกว่าชนชั้นกลางสิงคโปร์ โอกาสมีบ้านหลังเล็กมีมากกว่าคนสิงคโปร์ที่ถ้าไม่รวยจริงอยู่คอนโดทุกคน

มองได้ว่าสิงคโปร์คล้าย ๆ เกาหลี คือ ทำประเทศพัฒนาไปเร็วมาก จนคนส่วนมากรวยตามไม่ทัน 

รัฐบาลได้โม้ว่าประเทศเจริญ แต่คนในประเทศไม่ได้รู้สึกว่าชีวิตอยู่สบาย อยู่เพื่อทำงาน ไม่ได้อยู่เพื่อสบาย

เวลาคนเกาหลีหรือสิงคโปร์โม้เรื่องประเทศ ให้ถามว่ามีบ้านอยู่ป่าว หน้าจะจ๋อยขึ้นมาทันที


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top