Thursday, 25 April 2024
ซาอุดีอาระเบีย

เปิดสาเหตุ 32 ปี ความสัมพันธ์ไทย - ซาอุฯ แตกร้าว สู่มิตรภาพครั้งใหม่!!

พลันที่เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล ได้เผยแพร่กำหนดการการเดินทางเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ระหว่างวันที่ 25 - 26 ม.ค. ตามคำเชิญของเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีช อัลซะอูด (His Royal  Highness Prince Mohammad bin Salman bin Abdulaziz Al Saud) มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมซาอุดีอาระเบีย

ขณะที่สถานีโทรทัศน์อัล-อราบียา ของซาอุดีอาระเบีย รายงานว่านายกรัฐมนตรีของไทยจะเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย ในฐานะพระราชอาคันตุกะของมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมารซาอุดีอาระเบีย โดยพระองค์พระราชทานพระราชวโรกาสให้ พล.อ.ประยุทธ์ เข้าเฝ้าฯ ในวันอังคารที่ 25 มกราคมนี้

ข่าวดังกล่าวได้รับความสนใจทันที ทั้งในสังคมไทยและในเวทีโลก เพราะความสัมพันธ์ระหว่างไทย - ซาอุดีอาระเบีย อยู่ในภาวะแตกร้าวยาวนานกว่า 30 ปี 

ตลอดระยะเวลากว่า 3 ทศวรรษ การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย เป็นภารกิจที่รัฐบาลหลายชุดของไทยให้ความสำคัญมาโดยตลอด

แต่ทว่า ไม่มีผลที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากนัก จนกระทั่งการดำเนินการเริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมภายหลังการพบหารือ 3 ฝ่าย ในช่วงการประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือเอเชีย (เอซีดี) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 9-10 ตุลาคม 2559 ที่กรุงเทพระหว่างพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เจ้าชายเคาะลีฟะฮ์ บิน ซัลมาน อัลเคาะลีฟะฮ์ นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรบาห์เรนในขณะนั้น และนายอาดิล บิน อะหมัด อัลณูบีร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซาอุดีอาระเบียในขณะนั้น

หลังจากนั้นพล.อ.ประยุทธ์ ยังได้พบกับเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมซาอุดีอาระเบีย ในช่วงการประชุมผู้นำจี 20 ที่นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2562

ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่าย ได้มีการพบหารือกันเป็นระยะๆ เพื่อหารือรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน โดยนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียตามคำเชิญของเจ้าชายฟัยศ็อล บิน ฟัรฮาน อัลซะอูด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซาอุดีอาระเบีย เมื่อเดือนมกราคม 2563

การเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียของพล.อ.ประยุทธ์ในครั้งนี้ นับเป็นการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตของทั้งสองประเทศ หลังเกิดเหตุการกระทบความสัมพันธ์หลังเกิดกรณีคดีเพชรซาอุฯ สังหารนักการทูต และนักธุรกิจ ตั้งแต่ปี 2532 ต่อเนื่องมาถึงปี2533 ทำให้ซาอุดีอาระเบีย ลดระดับความสัมพันธ์กับไทย โดยลดระดับตัวแทนทางการทูตเหลือแค่ระดับอุปทูต ห้ามชาวซาอุดีอาระเบียเดินทางมาไทย และ ไม่ตรวจลงตราให้คนไทยไปทำงานในซาอุดีอาระเบียเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการไปมาหาสู่ระหว่างกัน และความร่วมมือที่สองประเทศมีอยู่เดิม โดยเฉพาะในด้านแรงงาน และการค้าและการลงทุน

รู้จัก 'เจ้าชาย มุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด' เจ้าของฉายา 'มิสเตอร์ เอเวอรีธิงส์' ผู้เปิดประตู 'ไทย-ซาอุฯ' หลังล้างรานาน 32 ปี

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย ในฐานะผู้นำประเทศ เพื่อฟื้นสัมพันธ์เป็นครั้งแรกในรอบ 32 ปี โดยระบุว่า “มิสเตอร์ เอเวอรีธิงส์ ผู้เปิดประตู ไทย-ซาอุฯ หลังจาก 32 ปี ที่หายไป”

สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด เป็นพระมหากษัตริย์ซาอุดีอาระเบียองค์ปัจจุบัน พระชนมพรรษา 79 พรรษา เสด็จขึ้นครองราชย์ หลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

ทรงมีพระมเหสี 3 พระองค์ พระราชบุตร 9 พระองค์

เมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ใหม่ เจ้าชาย มุฮัมมัด บิน ซัลมาน พระชันษาเพียง 36 ปี ผู้เป็นโอรสองค์ที่เจ็ดของกษัตริย์ซัลมาน และบุตรชายคนโตในจำนวนหกคนอันที่เกิดจากภรรยาคนที่ 3 ของกษัตริย์ซัลมาน ได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาทแห่งซาอุฯ 

ซึ่งทำให้พระองค์ขึ้นครองอำนาจเบ็ดเสร็จในหลายส่วน กล่าวคือ นอกจากเป็นมกุฏราชกุมารแล้ว เจ้าชาย มุฮัมมัด บิน ซัลมาน ยังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ประธานสภากิจการฝ่ายเศรษฐกิจและพัฒนา เป็นประธานสภากิจการการเมืองและความมั่นคงเป็นที่ปรึกษาพิเศษของกษัตริย์และยังเป็นประธานกองทุนความมั่งคั่งซาอุฯ PIF

เจ้าชายซัลมานมีทรัพย์สินส่วนตัวอยู่ที่ราว 17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 600,000 ล้านบาท 

ทรงเป็นเจ้าของ ”เดอะชาโต หลุยส์ ที่ 14” ในลูฟวร์เซียนส์ ใกล้กับพระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส บ้านที่มีมูลค่าแพงที่สุดในโลก ด้วยราคา 313 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราว 10,600 ล้านบาท

นอกจากพระองค์ได้ประมูลภาพเขียนล้ำค่า “ซัลเวเตอร์มุนดี” ของเลโอนาร์โด ดา วินชี ในราคาประมูล 450 ล้านดอลลาร์ หรือราว 15,300 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาประมูลภาพวาดที่สูงที่สุดในโลก

ส่วนทรัพย์สินของราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย มีมูลค่าประมาณ 1.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 57 ล้านล้านบาท ซึ่งมากกว่าราชวงศ์อังกฤษที่มีมูลค่า 425 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

พระองค์ทรงได้รับเสียงชื่นชมจากหลายชาติตะวันตกจากการเดินหน้าปฏิรูปสังคมซาอุดีอาระเบียในหลายด้าน โดยเฉพาะเปิดเสรีแก่สตรีมากขึ้น ท่ามกลางสังคมซาอุฯ ซึ่งเป็นแบบอนุรักษ์นิยมมาโดยตลอด

พระองค์เป็นผู้ริเริ่มแผนยุทธศาสตร์ Saudi Vision 2030 ซึ่งเป็นแผนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการลดการพึ่งพาการส่งออกน้ำมัน แล้วหันไปเพิ่มความหลากหลายทางเศรษฐกิจ เช่น 

การพัฒนาภาคบริการสาธารณะ พัฒนาซาอุฯ ให้เป็น hub แห่ง logistic การเปิดกว้างด้านการท่องเที่ยว ส่งเสริมการลงทุน การเพิ่มการค้าระหว่างประเทศอื่นๆ ที่นอกเหนือจากอุตสาหกรรมน้ำมัน 

32 ปี ที่รอคอย!! 'ไทย' ได้อะไรคืนมา หลังความสัมพันธ์ 'ซาอุดีอาระเบีย' กลับมาหวานชื่น

สัมพันธ์ไทย - ซาอุดีอาระเบีย แตกร้าวยาวนานกว่า 30 ปี 

ตลอด 3 ทศวรรษ ทุกรัฐบาลพยายามลบปมร้าว
แต่...ไม่สำเร็จสักรัฐบาล

ส่งผลให้ไทยสูญเสียโอกาสอย่างมหาศาล โดยเฉพาะในด้านแรงงาน และการค้า - การลงทุน จากการที่ซาอุดีอาระเบียลดระดับความสัมพันธ์ ทั้งการลดระดับตัวแทนทางการทูตเป็นระดับอุปทูต, ห้ามชาวซาอุดีอาระเบียเดินทางมาไทย และเปิดรับคนไทยไปทำงานในซาอุดีอาระเบีย 

'นันทิวัฒน์' ยกเครดิต 'ดอน' มิตรภาพใหม่ 'ไทย-ซาอุฯ' ไม่เข้าใจ 'คนติ' ทั้งๆ ที่สิ่งดีๆ กำลังจะตามมา

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ครั้งใหม่ โดยมีข้อความ ระบุว่า...

สิ่งดีๆ กำลังจะตามมา

วันนี้ลุงตู่ได้เขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย ความสำเร็จของการปรับความสัมพันธ์ครั้งนี้ต้องยกเครดิตให้ท่านดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.กต. ที่เพียรพยายามมาหลายปี
 

32 ปีที่รอคอย! ‘ไทย-ซาอุฯ’ ฟื้นสัมพันธ์ กระตุ้นภาคแรงงาน-ท่องเที่ยว | Click on Clear THE TOPIC EP.136

📌 ฟื้นสัมพันธ์ครั้งนี้..ดีอย่างไร?! หาคำตอบไปกับ  ‘ทิพานัน ศิริชนะ’ ข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี! 
📌ใน Topic : 32 ปีที่รอคอย! ‘ไทย-ซาอุฯ’ ฟื้นสัมพันธ์ กระตุ้นภาคแรงงาน-ท่องเที่ยว

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

ททท.เร่งหาช่องการตลาดดึงคนซาอุฯ เที่ยวไทย

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยถึงสถานการณ์ท่องเที่ยวของไทยและซาอุดิอาระเบีย หลังจากทั้ง 2 ประเทศกลับมาการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทวิภาคีอีกครั้งในรอบ 30 ปี ว่า ททท.จะเร่งเดินหน้าวางแผนจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และเสนอขายการท่องเที่ยว เพื่อดึงให้นักท่องเที่ยวในซาอุดีอาระเบียได้เดินทางมาเที่ยวประเทศไทย เพราะผ่านมาทางการซาอุดิอาระเบีย ไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวชาวซาอุดิอาระเบีย เดินทางไปยังประเทศไทย สำหรับการท่องเที่ยว แต่อนุญาตให้เดินทางเพื่อการรักษาพยาบาล การติดต่อเจรจาธุรกิจหรือทางราชการเท่านั้น 

สำหรับแผนการทำการตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ ททท.จะร่วมมือกับ 3 สายการบินหลักในพื้นที่ตะวันออกกลาง ทั้งเอมิเรตส์ แอร์ไลน์ ,กาตาร์ แอร์เวย์ และ เอทิฮัด แอร์เวย์ส ที่มีเที่ยวบินเชื่อมโยงมาประเทศไทย เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มที่เคยเดินทางมาไทย โดยลงโฆษณาผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ โซเชียล มีเดีย การจัดทริปท่องเที่ยวให้กับเอเย่นต์ทัวและสื่อมวลชนของซาอุดิอาระเบีย และการใช้ Arab KOLs ซึ่งปัจจุบันมีอิทธิพลทางความคิดในการช่วยประชาสัมพันธ์ประเทศไทย

ทั้งนี้จากการพิจารณาข้อมูลพบว่า ชาวซาอุดิอาระเบีย นิยมเดินทางท่องเที่ยวกับครอบครัวที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ 7-8 คนขึ้นไป และนิยมไปเที่ยวทะเล ชายหาด สถานบันเทิง ธรรมชาติ (ขี่ช้าง เที่ยวชมน้ำตก) ส่วนกิจกรรมท่องเที่ยวที่นิยมมากที่สุด คือ การจับจ่ายสินค้าโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวกลุ่มเดินทางซ้ำ นิยมเดินทางมาช้อปปิ้ง ทั้งสินค้าทั่วไปและสินค้าแบรนด์เนม 

ผลักดันจนสำเร็จ!! เปิดเนื้อหา ฟื้นสัมพันธ์ ไทย-ซาอุฯ สู่ผลงานชิ้นโบว์แดง ‘รัฐบาลลุงตู่’ 

หลังพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เสร็จสิ้นการเดินทางเยือนประเทศซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกันให้กลับมาเป็นปกติอีกครั้ง หลังความสัมพันธ์ตกต่ำมาตลอด 32 ปีที่ผ่านมา 

การเดินทางไปเยือนซาอุดีอาระเบียในครั้งนี้ นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศแล้วผ่านพิธีการต้อนรับอย่างสมเกียรติ ในขณะเดียวกันยังมีการเจรจาในแบบทวิภาคีอีกหลายเรื่อง

แน่นอนว่า การเดินทางไปเยือนซาอุดีอาระเบียของ พล.อ.ประยุทธ์ ในครั้งนี้ ย่อมถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เป็นการเปิดประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์หน้าใหม่ระหว่างสองประเทศในรอบกว่า 30 ปี ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับกันว่า นี่คือ ผลงานชิ้นโบว์แดงของรัฐบาล ภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ อย่างปฏิเสธไม่ได้ 

การไปเยือนซาอุดีอาระเบียในครั้งนี้ มีรายละเอียดที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ สรุปไว้น่าสนใจหลายอย่าง ลองไปดูว่ามีอะไรบ้าง เหตุใดจึงสร้างอิมแพค ทั้งในไทยและทั่วโลก ต่างจับตามอง

1.) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยได้เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 มกราคม 2565 ตามคำเชิญของเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด (His Royal Highness Prince Mohammad bin Salman bin Abdulaziz Al Saud) มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

2.) มกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียทรงให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย และทั้งสองฝ่ายได้ประชุมหารืออย่างเป็นทางการ โดยทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันความตั้งใจร่วมกันในการสะสางประเด็นที่คั่งค้างทั้งหมดระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบียและปรับความสัมพันธ์ระหว่างสองราชอาณาจักรให้เป็นปกติ ทั้งสองฝ่ายยังได้ย้ำความสำคัญของการส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรของสองราชอาณาจักรและการเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยย้ำว่า ไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับความสัมพันธ์ฉันมิตรกับซาอุดีอาระเบีย และแสดงความเสียใจยิ่งต่อโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นที่ประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2532-2533 (ค.ศ. 1989-1990)

นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยยืนยันว่า ไทยได้พยายามอย่างที่สุดแล้วในการสะสางกรณีต่างๆ และหากมีหลักฐานใหม่เกี่ยวกับเรื่องเหล่านั้น ก็พร้อมที่จะนำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยพิจารณา นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยยังได้ยืนยันความมุ่งมั่นของไทยในการให้ความคุ้มครองที่เหมาะสมแก่บุคคลในคณะผู้แทนของสถานเอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียที่กรุงเทพฯ ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต ปี ค.ศ. 1961 ทั้งสองฝ่ายยังได้ยืนยันความมุ่งมั่นในการดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อดูแลความปลอดภัยของคนชาติของกันและกันในแต่ละประเทศ

3.) ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคและระหว่างประเทศต่างๆ และได้หารือถึงแนวทางในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีในทุกสาขา ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องที่จะเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์และการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนของแต่ละฝ่ายเพื่อยกระดับความสัมพันธ์ทวิภาคีเพื่อประโยชน์ร่วมกันของราชอาณาจักรทั้งสอง

4.) โดยคำนึงถึงจิตวิญญาณของความร่วมมือและความตั้งใจร่วมกันเพื่อฟื้นฟูมิตรภาพและความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างสองราชอาณาจักรและประชาชน ภายใต้การนำและพระราชวิสัยทัศน์อันเข้มแข็งของผู้พิทักษ์ สองมหามัสยิดอันศักดิ์สิทธิ์ สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด (His Majesty King Salman bin Abdulaziz Al Saud) และมกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และวิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันให้ปรับความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันให้เป็นปกติอย่างสมบูรณ์ ความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์นี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากความพยายามในหลายระดับของทั้งสองฝ่ายที่มีมาอย่างยาวนานเพื่อฟื้นฟูความไว้เนื้อเชื่อใจและความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกัน

5.) ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกับขั้นตอนสำคัญต่างๆ ที่จะดำเนินการเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ทวิภาคี ซึ่งรวมถึงการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำเมืองหลวงของทั้งสองประเทศในอนาคตอันใกล้ และการจัดตั้งกลไกการปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคี การติดต่อประสานงานอย่างเต็มที่จะเริ่มต้นขึ้นในช่วงหลายเดือนข้างหน้าเพื่อหารือความร่วมมือทวิภาคีในสาขายุทธศาสตร์ที่สำคัญ

6.) ทั้งสองฝ่ายได้หารือแนวทางในการส่งเสริมและเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างสองราชอาณาจักรโดยการแสวงหาโอกาสในด้านการลงทุนและอื่นๆ ในบริบทของวิสัยทัศน์ ค.ศ. 2030 ของซาอุดีอาระเบียและวาระการพัฒนาแห่งชาติของไทย กล่าวคือ นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio - Circular - Green Economy) ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องที่จะแสวงหาความร่วมมือในสาขาใหม่ๆ อาทิ พลังงานทดแทน สิ่งแวดล้อม การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนา และความมั่นคงทางไซเบอร์ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เน้นย้ำความสำคัญของการส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชน ซึ่งจะเป็นรากฐานสำหรับความสัมพันธ์ที่กำลังเติบโตระหว่างทั้งสองราชอาณาจักร รวมทั้งการส่งเสริมการสนทนาแลกเปลี่ยนระหว่างศาสนาและพหุวัฒนธรรม

เปิดใจ! ‘คนไทยในซาอุฯ’ อยู่อย่างไร ในวันที่ความสัมพันธ์ยังไม่ฟื้น! |Click on Clear THE TOPIC EP.137

📌ย้อนวันวานก่อนคืนสัมพันธ์! ฟังชัด ๆ จากปาก ‘คนไทยในซาอุฯ’ ไปกับ ‘นายสมศักดิ์ ชุ่มชื่น’ รองประธานชมรมคนไทยในภาคตะวันตกซาอุดีอาระเบีย!!

📌ใน Topic : เปิดใจ! ‘คนไทยในซาอุฯ’ อยู่อย่างไร ในวันที่ความสัมพันธ์ยังไม่ฟื้น!

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

ส่อง Saudization ยุทธศาสตร์แห่งซาอุดีอาระเบีย ภารกิจเพื่อยกระดับชีวิตและสังคมทั้งประเทศ

หลังจากความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบียกลับสู่ภาวะปกติ หนึ่งในข่าวที่น่าสนใจ คือ การที่แรงงานไทยจะมีโอกาสก้าวเข้าไปสู่ตลาดงานในซาอุฯ ได้มากขึ้น ซึ่งอันที่จริงเรื่องนี้เป็นทั้งเรื่อง ‘ดีที่ปกติ’ ไม่ได้น่าตื่นเต้นพอจะไปมองเป็นประเด็นให้ต้องดิสเครดิต หรือดูแคลนการรื้อฟื้นความสัมพันธ์นี้แต่อย่างใด 

นั่นก็เพราะ หากใครพอจะทราบ ย่อมรู้ดีว่าซาอุดีอาระเบียได้มีการประกาศนโยบาย Saudization หรือนโยบายที่ว่าด้วยวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราการจ้างงานของแรงงานต่างชาติลง และกำหนดให้ต้องจ้างคนซาอุดีอาระเบียเข้าทำงาน ที่กำหนดให้ภาครัฐและเอกชนต้องจ้างคนซาอุดีอาระเบียเข้าทำงานร้อยละ 20 ของคนงานทั้งหมด

ทว่าพลันที่นโยบายนี้ถูกประกาศ ก็ทำให้หลายๆ ประเทศเริ่มชะลอการส่งแรงงานไปซาอุฯ ไม่ว่าจะเป็น ฟิลิปปินส์หรือแม้แต่ปากีสถาน ซึ่งถือว่ามีจำนวนแรงงานที่ไปทำงานยังซาอุฯ นับล้านชีวิต และนั่นก็เริ่มส่งผลให้ซาอุดีอาระเบียเจอปัญหาขาดแคลนแรงงาน เพราะคนท้องถิ่นเองก็ไม่นิยมทำงานหนัก ทั้งไม่มีการอบรมทักษะอาชีพและการศึกษาที่ดี รวมถึงวัฒนธรรมประเพณีที่เคร่งครัด จึงทำให้สูญเสียโอกาสการแข่งขันในเวทีเศรษฐกิจโลก

ฉะนั้นความสัมพันธ์ครั้งใหม่ของไทยกับซาอุฯ ภายใต้ เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด เจ้าชายหัวทันสมัยที่มองข้ามเรื่องเก่าๆ และดราม่าน้ำเน่าที่หาได้อัดแน่นด้วยสาระ จึงไม่น่าจะหยิบมาเป็นสาระสำคัญไปกว่าหมุดหมายในการพาประเทศของตนเดินหน้าไปในแนวทางที่ถูกต้องเท่าไรนัก

ฉะนั้นในเรื่องของแรงงาน ก็คงเป็นองค์ประกอบหนึ่งในเชิงยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า Win-Win กันทั้งไทยและซาอุฯ ที่ฝ่ายหนึ่งก็ขาดแคลนแรงงาน ส่วนอีกฝ่ายก็สามารถส่งแรงงานในยังประเทศที่มีความต้องการตลาดสูงกว่าในประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ ทางด้าน พัฒนพงศ์ (แพท) แสงธรรม อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ (ภาควิชาภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ได้โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับ Saudization หรือยุทธศาสตร์ของซาอุดีอาระเบียจนทำให้พอเข้าใจว่า สัมพันธ์ไทย-ซาอุฯ ในครั้งนี้ เป็นสาระสำคัญที่เหมาะสมและก็ไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกอันใด ว่า…

Saudization เป็นยุทธศาสตร์ของซาอุดีอาระเบีย ที่เริ่มขึ้นมากว่า 10 ปีแล้ว เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และสังคมให้กับชาวซาอุฯ ทั้งในมิติของการว่าจ้างงาน สิทธิพลเมือง สิทธิสตรี และสวัสดิการต่างๆ เช่น…

>> เพิ่มจำนวนลูกจ้างและพนักงานชาวซาอุฯ ในบริษัทและภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งที่ผ่านมาเป็นคนซาอุฯ ทำงานเองโดยเฉลี่ย ประมาณ 20% เท่านั้น

>> ตำแหน่งภาครัฐ จ้างแต่ชาวซาอุฯ อยู่แล้ว ซาอุฯ สงวนอาชีพในบางสาขาไว้ให้ชาวซาอุฯ เท่านั้น เช่น ภาคเกษตรกรรม, อสังหาริมทรัพย์, การบริหารสาธารณูปโภค, ไฟฟ้า, น้ำประปา, การสื่อสาร ฯลฯ

>> อย่างไรก็ตาม การจ้างแรงงานต่างชาติ และการจ้างแรงงานคนซาอุฯ ทำคู่ขนานกันไปตาม Demand ของงาน ไม่ได้แย่งกัน เช่นเดียวกับที่ประเทศไทยใช้แรงงานต่างชาติ ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าคนไทยมีงานทำที่นั่นทุกคน

>> ซาอุฯ มีประชากร 36 ล้านคน มีแรงงานต่างชาติอยู่ราว 14 ล้านคน ถ้าจ้างคนซาอุฯ แทนประชากรต่างชาติ เท่ากับพลเมืองครึ่งหนึ่งต้องมาทำงานแทน 

>> ตำแหน่งงาน 8 ล้านคน ที่ซาอุฯ ต้องการ ไม่ได้หมายถึงจ้างคนไทย 8 ล้านตำแหน่ง หากแต่รับทุกชาติ!!

'กระทรวงแรงงาน' เตือน 'แรงงานไทย' อย่างหลงเชื่อนายหน้าเถื่อนแอบอ้างพาทำงานซาอุฯ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สั่งการ กรมการจัดหางาน แนะวิธีเดินทางทำงานต่างประเทศถูกกฎหมาย หลังนายหน้าเถื่อน ระบาดเหนือ – อีสาน หลอกคนหางาน

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากการร่วมคณะกับท่านนายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย และได้มีการเจรจาหารือ เพื่อเปิดโอกาสให้แรงงานไทยได้เดินทางไปทำงาน ซึ่งทางการของซาอุดีอาระเบียให้การตอบรับเป็นอย่างดี โดยที่ซาอุดีอาระเบียมีความต้องการแรงงานจากต่างชาติเข้าไปทำงานถึง 8 ล้านคน

ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาข้อตกลงความร่วมมือด้านการจัดส่งแรงงาน ในส่วนของประเทศไทย กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน มีการพิจารณาร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย สำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ หากได้ข้อสรุปก็จะมีการลงนามระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคม แห่งซาอุดีอาระเบีย โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์

“การดำเนินการเพื่อให้เกิดการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานซาอุดีอาระเบีย เป็นเรื่องที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงานให้ความสำคัญมาก เพราะถือเป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทย และแรงงานไทยจำนวนมากที่ต่างรอคอยการเดินทางไปทำงานที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งทำให้มีกลุ่มมิจฉาชีพ ฉวยโอกาสหลอกลวงคนหางานว่าสามารถพาไปทำงานต่างประเทศได้ โดยกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้กำลังระบาดมากแถบภาคเหนือและอีสาน ซึ่งล่าสุดได้สั่งการกรมการจัดหางานประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการหลอกลวงดังกล่าวในทุกช่องทาง”

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มอบหมาย  นายสันติ นันตสุวรรณ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน ประชุมการเตรียมความพร้อมในการจัดส่งคนหางานไปทำงานที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย และแนวทางป้องกันการหลอกลวง รวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องกลวิธีที่กลุ่มมิจฉาชีพใช้หลอกลวงประชาชนคนหางาน ร่วมกับกองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กองบริหารแรงานไทยไปต่างประเทศ สำนักงานจัดหางานจังหวัดภาคเหนือและสำนักงานจัดหางานจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือทุกจังหวัด

โดยเจ้าหน้าที่กรมการจัดหางาน จะลงพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการถูกหลอกลวงสูง เพื่อให้คำแนะนำ และชี้แจง ให้ความรู้กับประชาชนที่สนใจการไปทำงานต่างประเทศ และผู้นำท้องถิ่นให้มีความเข้าใจขั้นตอนการเดินทางไปทำงานต่างประเทศอย่างถูกต้อง ทราบถึงกลวิธีการหลอกลวงของกลุ่มผู้หลอกลวงคนหางาน โดยเป็นการสร้างแนวร่วมระหว่างชุมชนกับหน่วยราชการเพื่อทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลให้ แก่ประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนสอดส่องดูแล แจ้งข้อมูล เบาะแส พฤติการณ์ของสาย / นายหน้าเถื่อน 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top