Sunday, 12 May 2024
ชิลี

ชิลีคาดยอดส่งออก ‘ต้นคีไย’ พุ่ง หลังเป็นองค์ประกอบสำคัญวัคซีนโควิด-19 โนวาแวกซ์ แต่หวั่นทรัพยากรร่อยหรอในเวลาอันสั้น

ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ชิลีเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผู้ติดเชื้อไม่น้อย มีผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 1.6 ล้านราย เสียชีวิตกว่า 37,000 ราย ในขณะเดียวกัน ชิลีก็เป็นประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19 อยู่ในระดับสูง โดยประชากรมากกว่า 70% ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว

เมื่อพูดถึงวัคซีนโควิด-19 ก็จำเป็นต้องพูดถึง ‘ต้นคีไย (Quillay)’ พืชพื้นเมืองของชิลีที่เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 โนวาแวกซ์ ซึ่งเป็นความหวังของใครหลาย ๆ คน

บางคนเรียกต้นคีไยว่า ‘ต้นเปลือกสบู่ (Soapbark Tree)’ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Quillaja Saponaria เป็นพันธุ์ไม้หายากในป่าดิบที่มีถิ่นกำเนิดในชิลี ซึ่งชาวมาปูเช (Mapuche) หรือชนพื้นเมืองในชิลีใช้ในการทำสบู่และยารักษาโรคมาอย่างยาวนาน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ต้นคีไยถูกนำมาใช้เพื่อผลิตวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดและวัคซีนมาลาเรียตัวแรกของโลก ตลอดจนสารทำให้เกิดฟองสำหรับผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และเหมืองแร่

โดยโมเลกุลซาโปนิน (Saponin) 2 ตัว ซึ่งสร้างจากเปลือกกิ่งต้นคีไยที่มีอายุได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของบริษัทโนวาแวกซ์ โดยนำมาใช้ทำสารเสริมที่ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน

สำหรับสารเสริมของวัคซีนโควิด-19 โนวาแวกซ์ ที่เรียกว่า Matrix-M จะประกอบด้วยโมเลกุลซาโปนินที่สำคัญ 2 โมเลกุล หนึ่งในนั้นเรียกว่า QS-21 ซึ่งจัดหาได้ยากเพราะส่วนใหญ่พบในต้นคีไยที่มีอายุอย่างน้อย 10 ปี

ในบรรดาบริษัทยารายใหญ่ มีเพียงโนวาแวกซ์ และ GSK ผู้พัฒนาวัคซีนป้องกันมาลาเรียรายแรกของโลก เพียง 2 เจ้านี้เท่านั้นที่ใช้ QS-21 เป็นส่วนผสมในการพัฒนายาและวัคซีน

โดยในอีก 2 ปีข้างหน้า โนวาแวกซ์วางแผนที่จะผลิตวัคซีนจำนวนหลายพันล้านโดส ซึ่งจะทำให้เป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

แต่เนื่องจากไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับจำนวนต้นคีไยที่เหลืออยู่ในชิลีที่จะนำไปใช้สำหรับทำวัคซีนโควิด-19 ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ในอุตสาหกรรมจึงไม่แน่ใจว่า ทรัพยากรต้นคีไยในชิลีจะหมดลงเมื่อไร แต่เกือบทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า ในบางอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาสารสกัดจากคีไยอาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้ต้นไม้อื่นแทน เพื่อสงวนคีไยไว้สำหรับการทำวัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะ

จากการวิเคราะห์ของรอยเตอร์เกี่ยวกับข้อมูลการส่งออกจากผู้ให้บริการข้อมูลการค้า ImportGenius แสดงให้เห็นว่า ทรัพยากรต้นคีไยอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้น เพราะเดิมทีการส่งออกคีไยก็เพิ่มขึ้นเป็น 3,600 ตันต่อปีในช่วงก่อนโควิด-19 ระบาดอยู่แล้ว หากต้องมีการส่งออกคีไยเพิ่มเติมสำหรับวัคซีนก็อาจไม่เพียงพอ

โจรชาวชิลีเหิม บุกปล้นเครื่องบินกลางวันแสก ๆ หวังโกยเงินกว่า 30 ล้านดอลลาร์ฯ ที่มาจากไมอามี

อุกอาจ!! มือปืน 10 คนบุกปล้นบนเครื่องบินที่มาจากไมอามี จอดอยู่กลางสนามบินใหญ่สุดในชิลี หวังปล้นเงินกว่า 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐบนเครื่องบิน ดวลปืนกับเจ้าหน้าที่ความมั่นคง เจ้าหน้าที่พลีชีพ 1 คน โจรเสียชีวิต 1 คน

เกิดเหตุปล้นอุกอาจกลางสนามบินกลางวันแสก ๆ ในเมืองหลวงชิลี โจร 10 คนบุกปล้นบนเครื่องบินที่บินมาจากเมืองไมอามีของสหรัฐฯ เมื่อวานนี้ (8 มีนาคม) ขณะที่เครื่องบินจอดอยู่ที่สนามบินใหญ่สุดของชิลี ในกรุงซานติอาโก เมืองหลวงชิลี หวังปล้นเงินสด 32.5 ล้านดอลลาร์ที่อยู่บนเครื่องบิน 

เหตุเกิดที่สนามบินนานาชาติอาร์ทูโร เมริโน เบนิเทซ สนามบินใหญ่สุดของชิลี เครื่องบินดังกล่าวเป็นของสายการบินลาแทม บินมาจากเมืองไมอามีในสหรัฐฯ ขนเงินสดมา 32.5 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1,120 ล้านบาท) โดยมีบริษัทรักษาความปลอดภัยชื่อ บริงคส์ (Brinks) จะมารับเงินสดนี้ เพื่อส่งต่อไปยังจุดหมายอื่นในชิลีต่อไป

‘ชิลี’ ประกาศภาวะฉุกเฉิน หลังยังไม่สามารถควบคุมเหตุไฟป่าได้ ถือเป็นภัยพิบัติร้ายแรงที่สุด นับตั้งแต่เหตุแผ่นดินไหวเมื่อปี 2010

(4 ก.พ.67) สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานสถานการณ์ไฟป่าในประเทศชิลี ที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ โดยสำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ทางการชิลีแจ้งเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากไฟป่าที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ของประเทศชิลี ทั้งตอนกลางและตอนใต้ ได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างน้อย 51 รายแล้ว และคาดว่ายอดผู้เสียชีวิตจะเพิ่มสูงขึ้นไปอีก ขณะที่ไฟป่าเริ่มลุกลามเข้าพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นแล้ว

วันเดียวกัน ประธานาธิบดี ‘กาเบรียล บอริก’ แห่งชิลี ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินขึ้น ในภูมิภาคตอนกลางและตอนใต้ของประเทศ เนื่องจากสถานการณ์ไฟป่าที่ลุกลามและยังควบคุมไม่ได้ ท่ามกลางสภาพอากาศที่แห้ง และอุณหภูมิที่สูงขึ้นเป็น 40 องศาเซลเซียส ยิ่งส่งผลให้สถานการณ์ไฟป่าในชิลีย่ำแย่ลงไปอีก

ข่าวระบุว่า พื้นที่โดยรอบของเมืองริมชายหาดอย่าง ‘วินา เดล มาร์’ ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบหนักสุดจากเหตุไฟป่า ซึ่งเจ้าหน้าที่กู้ภัยเร่งเข้าไปช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนแล้ว

โดยก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีบอริก แจ้งว่า มีผู้เสียชีวิตจากเหตุไฟป่าแล้ว 46 ราย ก่อนที่จะมีการปรับยอดเพิ่มขึ้นเป็น 51 ราย ซึ่ง ‘นางคาริลินา โทฮา’ รัฐมนตรีมหาดไทยของชิลี เปิดเผยว่า ยอดผู้เสียชีวิตได้เพิ่มขึ้น หลังจากมีการพบร่างผู้เสียชีวิตบนท้องถนนเพิ่มขึ้นอีก 5 ราย และคาดว่า จะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีก โดยเฉพาะที่เมืองวาลปาไรโซ ที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์เปราะบางมากที่สุด โดยนางโทฮายังกล่าวด้วยว่า ชิลี กำลังเผชิญกับภัยพิบัติที่ร้ายแรงที่สุด นับตั้งแต่เหตุแผ่นดินไหวรุนแรงเมื่อปี 2010 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 500 ราย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top