Wednesday, 26 June 2024
จดหมายปรีดี

'จรัล' พลิกวิกฤต 'จดหมายผิดซอง' บอกเป็นสถานการณ์การเมืองที่สำคัญ

(3 ม.ค.67) นายจรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ประธานสมาคมนักประชาธิปไตยชาวไทยไร้พรมแดน ซึ่งลี้ภัยในประเทศฝรั่งเศส โพสต์เฟซบุ๊กในกรณีจดหมายปรีดี ซึ่งเป็นบันทึกของนายปรีดี พนมยงค์ ที่ฝากไว้ ณ หอจดหมายเหตุ กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส (Centre des Archives diplomatiques du ministère des Affaires étrangères) โดยมีเวลาปิดผนึกยาวนานถึง 60 ปี และมีกำหนดการเปิดต่อสาธารณชนในปี 2024 ว่าต้องขอโทษที่เปิดแฟ้มเอกสารปรีดีได้ชุดเดียว แล้วก็เป็นชุดเก่า มิใช่ชุดใหม่ที่หอจดหมายเหตุการทูตเปิดให้อ่านได้

ที่เราเปิดอ่าน น่าสนใจมาก ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ฟังไลฟ์หลายหมื่นคนคงเพิ่งได้เห็น และที่สำคัญมีผู้ติดตามข่าวทางทวิตเตอร์และเฟซนับล้านคน คึกคักอย่างมาก นับเป็นสถานการณ์การเมืองแรกๆ ต้อนรับปีใหม่ นี่คือความหมายทางการเมืองสำคัญ

'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' เย้ยจดหมายผิดซอง หวังให้เป็นข่าวใหญ่ แต่สุดท้ายไม่มีอะไรในกอไผ่

(3 ม.ค. 67) นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ ‘จดหมายผิดซอง’ ว่า กะจะให้เป็นข่าวใหญ่ แต่สุดท้ายจดหมายผิดซอง ดี้ด้าจะเอาจดหมายพระเจ้าเห่ามาแฉ หน้าแหก ไม่มีอะไรในกอไผ่ เป็นรายงานของสถานทูตฝรั่งเศส ส่งกลับกระทรวงต่างประเทศฝรั่ง

ไลฟ์สดกะว่าดังแน่ ไม่น่าเชื่อระดับแถวหน้าจะมั่ว แตกไม่รับเย็บ แก้ตัวหยิบผิดแฟ้ม อยากแก้ไขประวัติศาสตร์หน้าไหน

‘อั้ม เนโกะ’ ฟาด!! เปิดจดหมายสำคัญยังผิดซอง ประชาชนคงไม่ต้องหวังฝากเรื่องสำคัญใดๆ ได้ 

(3 ม.ค.67) ศรันย์ ฉุยฉาย หรือ ‘อั้ม เนโกะ’ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่หลบหนีคดีอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โพสต์เฟซบุ๊กสั้นๆ ว่า “ไม่แปลกใจเลยค่ะว่าทำไมการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไทยไปไม่ถึงไหน เปิดจดหมายยังเปิดผิดซอง นี้ยังไม่ต้องคิดว่าเรื่องสำคัญๆ ขนาดนี้ยังทำนัด คุย และอธิบายกับเจ้าพนักงานไม่รู้เรื่องขนาดนี้ ชีวิตจริงประชาชนสามารถฝากฝังอะไรเป็นเรื่องเป็นราวได้บ้าง ?”

'อัษฎางค์' ซัด!! จดหมายปรีดีที่ไม่มีอยู่จริง เป็นแค่อาวุธในจินตนาการที่ฝันจะใช้ล้มเจ้า

(5 ม.ค. 67) นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง 'จดหมายปรีดี (ที่ไม่มีอยู่จริง) อาวุธในจินตนาการที่ฝันจะใช้ล้มเจ้า' มีรายละเอียดหาดังนี้...

จดหมายปรีดีมีที่มาจากคนที่ใช้ชื่อว่า ‘ดิน บัวแดง’ โดยในสมัยที่เขาไปเรียนที่ฝรั่งเศส ได้ไปค้นเอกสารและไปเจอเอกสารที่ชื่อว่า Dossier de Pridi ซึ่งตัวเขาเองก็ไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร

แต่เมื่อเขาส่งเรื่องนี้ไปให้ ‘สมศักดิ์ เจียม’ ศาสดาแห่งการสร้างคอนเทนต์บั่นทอนสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกสาร Dossier de Pridi ก็ถูกอุปโลกน์ให้กลายเป็นจดหมายลับของปรีดี แล้วถูกต่อยอดสร้างพล็อตให้น่าตื่นเต้นเหมือนในหนังหรือนิยาย ว่าถูกเก็บไว้จนเพื่อรอวันเปิด จนฝ่ายปฏิกษัตริย์นิยมที่มีปัญญาน้อยนิดฝันว่า นี่จะเป็นอาวุธสำคัญในการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะในหลวงรัชกาลที่ 9

ถ้าจะขอพูดกันตรงๆ ว่า พวกล้มเจ้าสร้างพล็อตแต่เรื่องให้ร้ายในหลวงรัชกาลที่ 9 ว่าฆ่าพี่ชิงบัลลังก์ ทั้งที่เราก็ทราบโดยทั่วกันว่าครอบครัวราชสกุลมหิดล ซึ่งมีกันแค่ 4 พระองค์นั้นรักใคร่กลมเกลียว โดยเฉพาะในหลวงทั้ง 2 พระองค์เป็นพี่น้องที่แนบแน่นกันมาก โดยมีพระราชกระแสรับสั่งของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ตราตรึงอยู่ในหัวใจคนไทยเสมอมาว่า

“อดคิดถึงพี่ไม่ได้เลยแม้แต่ขณะเดียว ฉันเคยคิดว่า ฉันจะไม่ห่างจากพี่ตลอดชีวิต แต่มันเป็นเคราะห์กรรม ไม่คิดเลยว่าจะเป็นกษัตริย์ คิดแต่จะเป็นน้องของพี่เท่านั้น”

พล็อตเรื่องการฆ่าแกงเพื่อชิงราชสมบัติระหว่างพี่น้องมีแต่ในหนังจีนและเหตุการณ์จริงสมัยอยุธยาเท่านั้น ซึ่งเป็นบริบทหรือวิถีชีวิตของคนโบราณเมื่อหลายร้อยปีก่อน แต่เรื่องแบบนี้หมดไปพร้อมกับการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา

บริบทเรื่องการชิงราชสมบัติระหว่างพี่น้องหรืออาหลาน เกิดขึ้นจากความไม่ชัดเจนของกฎหมายหรือกฎมณเฑียรบาลในเรื่องการสืบราชสมบัติในยุคสมัยโบราณ ที่ปกติเมื่อพี่ได้ครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แล้วก็มักแต่ตั้งน้องเป็นอุปราช ซึ่งเป็นตำแหน่งรัชทายาท แต่เมื่อพระมหากษัตริย์มีพระราชโอรสแล้วก็มักต้องการให้พระราชโอรสได้สืบราชสมบัติต่อไป หรือเมื่อพระมหากษัตริย์แต่งตั้งพระราชโอรสพระองค์ใดพระองค์หนึ่งแล้วลูกๆ ที่เหลือบางพระองค์ไม่พอใจ ก็วางแผนฆ่าพี่น้องเพื่อชิงบัลลังก์

แต่ปัญหานั้นหมดไปในยุครัตนโกสินทร์ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ในยุคการครองราชย์ของพี่น้องรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 ก็ไม่มีเรื่องฆ่าแกง

สมัยรัชกาลที่ 5 ก็นำระบบสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชแบบชาติตะวันตกมาใช้ ให้พระราชโอรสองค์โตเป็นรัชทายาท

และสมบูรณ์ยิ่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่ได้ทรงตรากฎหมายเป็นกฎมณเฑียรบาลที่ระบุชั้นการสืบสันตติวงศ์เป็นระบบอย่างชัดเจน

ที่สำคัญ ราชสกุลมหิดล ซึ่งมีกันอยู่เพียง 4 พระองค์นั้น ถูกอบรมสั่งสอนโดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระมารดาเลี้ยงเดี่ยวในวิถีแห่งการดำเนินวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและไม่แสวงหาอำนาจ

หากย้อนกลับไปในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร์ 2475 คนกลุ่มนี้วางแผนมาอย่างดี โดยมีเป้าหมายที่ต้องการเปลี่ยนการปกครองไปจนถึงระบอบที่ไม่มีกษัตริย์หรืออย่างน้อยถ้ามีก็แค่เป็นสัญลักษณ์ ไม่มีบทบาทอะไรใดๆ ต่อการปกครอง

แต่ขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านไปถึงจุดนั้น จะหักดิบเลยก็ไม่ได้ เพราะอาจจะมีการต่อต้านจากประชาชน เลยต้องเอาอำนาจมาในมือให้ได้ก่อน แล้ว *** “ค่อยๆ ลดทอนความสำคัญของราชวงศ์ลง จนคนส่วนใหญ่ของประเทศคล้อยตามกับระบอบที่คณะนี้ต้องการ”

ก่อนปฏิวัติ คณะราษฎรศึกษาเรื่องลำดับการสืบสันตติวงศ์มาเป็นอย่างดีแล้ว ว่าใครคือ กษัตริย์พระองค์ต่อไป เพราะถ้าในหลวงรัชกาลที่ 7 ไม่ยอมเปลี่ยนและมีการต่อสู้ อาจจะต้องมีการเปลี่ยนรัชกาลตั้งแต่ปีนั้น

ซึ่งคณะนี้เชื่อว่าจะเป็นงานง่ายเพราะ อีก 2 พระองค์ยังทรงพระเยาว์ พระชนนีก็เป็นสามัญชน น่าจะคุมได้ไม่ยาก และยังมีเวลาริดรอนพระราชอำนาจได้อีกนาน จนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ มีเวลาเหลือเฟือจัดระบบที่เขาต้องการให้อยู่ในรูปในรอยได้อีกหลายปี เข้าทางอย่างที่สุด

เมษายน 2476 ณ เวลานั้นราชสกุลมหิดลทรงพำนักที่วังสระปทุมกับสมเด็จพระพันวัสสา ในขณะนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 8 ไปโรงเรียนก็มีเพื่อนมาเรียกว่าองค์โป๊ย (ถือเป็นชื่อที่ใช้ล้อเลียน ในหลวงรัชกาลที่ 8 ของลูกหลานคณะราษฏร์) ยิ่งทำให้สมเด็จพระพันวัสสายิ่งเห็นอันตรายที่เข้าใกล้พระนัดดามากขึ้นเป็นลำดับ ดังนั้นสมเด็จพระพันวัสสาจึงรับสั่งให้สมเด็จย่า (สังวาลย์) พาพระโอรสและพระธิดาไปเรียนต่อที่โลซานน์ให้ห่างไกลการเมือง

2 มีนาคม 2478 ในหลวงรัชกาลที่ 7 ประกาศสละราชสมบัติ และให้สภาหาผู้สืบสันตติวงศ์ต่อเอง ทุกอย่างเข้าทางตามแผนคณะราษฏร์ และคณะราษฎร์จึงส่งโทรเลขมาเชิญในหลวงรัชกาลที่ 8 รับราชสมบัติ ตามที่คาดหมายไว้

แผนต่อของคณะราษฎร์ คือการให้ในหลวงรัชกาลที่ 8 เสด็จนิวัติประเทศไทยโดยเร็ว เพื่อมาทำพระราชพิธีราชาภิเษกและให้ประชาชนเห็นว่า ระบอบนี้ยังมีกษัตริย์อยู่ และคณะราษฎรไม่ได้ทำลายสถาบันฯ

โดยมีจดหมายที่สมเด็จย่าเขียนจดหมายถึงสมเด็จพระพันวัสสา เล่าถึงการโต้ตอบกับคณะราษฏรไว้ดังนี้

หม่อมฉันก็บอกให้เป็นที่เข้าใจอีกว่า ทั้งลูกและหม่อมฉันไม่มีความต้องการยศและลาภเลย แต่การที่นันทต้องรับเป็นพระเจ้าแผ่นดินก็เพราะเห็นว่าเป็นหน้าที่ต่อบ้านเมือง เพราะฉะนั้นจะทำอะไรต่อไปขอให้พูดกันดีๆ อย่าบังคับและตัดอิสรภาพจนเหลือเกิน

หม่อมฉันวิตกอยู่ก็ถึงเรื่องที่นันทจะไม่ได้มีความสุขอย่างเด็กมาก และกลัวการศึกษาจะได้ไม่เต็มที่ ที่หม่อมฉันไม่ใคร่กลัวอันตรายภายนอกก็เพราะว่าเราไม่ได้อยากจะเป็น แต่ต้องรับเพราะเห็นแก่บ้านเมืองที่อาจไม่สงบได้”

จากตรงนี้จะเห็นได้ว่าการย้ายมาสวิสเซอร์แลนด์มีประโยชน์ เพราะการที่รัฐบาลไม่มีกษัตริย์กลับไปให้ราษฎรเห็น ยิ่งสร้างความน่ากังขาให้กับราษฎรว่า การปกครองที่คณะราษฎรยึดมาจากเจ้านี้จะเป็นระบอบที่มีกษัตริย์อยู่ต่อจริงหรือ หลอก

อย่าลืมว่าเพิ่งจะผ่านการเปลี่ยนแปลง 2475 มายังไม่ทันครบ 3 ปี คนที่ยังไม่พร้อมกับการไม่มีกษัตริย์นั้นมีอยู่มาก อีกทั้งสมเด็จย่าทรงพระปรีชามากในการต่อรองกับรัฐบาลคณะราษฎร์

ส่วนคณะราษฎร์ใช่ว่าจะราบรื่นมีการแย่งชิงอำนาจกันภายในคณะ มีการยึดอำนาจกันไปมา เริ่มมีอำนาจเป็น 2 ขั้วและขัดกันเองตลอด จนสุดท้ายใช้การสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 เพื่อทำลายอีกฝ่ายหนึ่ง รวมไปถึงทำลายความน่าเชื่อถือของในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จย่าด้วย

ซึ่งหากย้อนกลับไปในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร์เมื่อ 2475 นั้น คณะราษฎรวางแผนมาอย่างดี เป้าหมายสูงสุดของคนกลุ่มนี้ คือต้องการเปลี่ยนการปกครองไปสู่การไม่มีกษัตริย์ หรืออย่างน้อยถ้ามีก็แค่เป็นสัญลักษณ์ ไม่มีบทบาทอะไรใดๆ ต่อการปกครอง นั่นคือเป้าหมายใหญ่ของเขา

จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมถึงมีการสร้างข่าวบั่นทอนทำร้ายในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยอาศัยการสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 ซึ่งเป็นฝีมือการวางแผนฆาตกรรมของใครหรือฝ่ายใดคงเดาได้ไม่อยาก ว่าใครได้ผลประโยชน์จากการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ คนนั้นหรือฝ่ายนั้นย่อมคิดลงมือทำ

กลับมาสู่ยุคปัจจุบัน กับกลุ่มคนที่ประกาศจะมาสานต่อภารกิจของคณะราษฎร ซึ่งภารกิจสำคัญของคณะราษฎรคือ การล้มเจ้าเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ย่อมจะทำให้เห็นภาพชัดเจนว่า ภารกิจบั่นทอนและให้ร้ายในหลวงรัชกาลที่ 10 ก็เป็นแผนการต่อเนื่องของพวกเขา

การสร้างพล็อตเรื่องจดหมายปรีดี เป็นความหวังว่ามันจะเป็นอาวุธสำคัญในการหาหลักฐานปลอมมาใส่ร้ายในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งย่อมจะมีผลกระทบมาถึงในหลวงรัชกาลที่ 10 โดยอาศัยการสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 ซึ่งเป็นฝีมือการวางแผนฆาตกรรมของใครหรือฝ่ายใดคงเดาได้ไม่ยาก

เป้าหมายใหญ่ที่สุดของคณะราษฎรในการก่อการ ว่ากันว่า คือ ความต้องการเปลี่ยนการปกครองไปสู่การไม่มีกษัตริย์ ซึ่งใครในยุคปัจจุบันประกาศจะมาสานต่อ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top