Friday, 17 May 2024
ค่าน้ำมัน

‘เคอรี่ เอ็กซ์เพรส’ ประกาศยกเลิกการเรียกเก็บค่าน้ำมันส่วนเพิ่ม หลังรัฐบาลมีมติเห็นชอบตรึงราคาดีเซลต่ำกว่า 30 บาท/ ลิตร

(2 ต.ค.66) เคอรี่ เอ็กซ์เพรส แจ้งยกเลิกการเรียกเก็บค่าน้ำมันส่วนเพิ่ม หลังรัฐบาลได้มีมติเห็นชอบให้ตรึงราคาน้ำมันดีเซลต่ำกว่า 30 บาท/ ลิตร

จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้ทางบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านธุรกิจจัดส่งพัสดุด่วนทั่วไทย จำเป็นจะต้องเก็บค่าน้ำมันส่วนเพิ่ม เพื่อรักษาคุณภาพการให้บริการตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา 

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทางรัฐบาลได้มีมติเห็นชอบให้ตรึงราคาน้ำมันดีเซลต่ำกว่า 30 บาท/ ลิตร ฉะนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จึงขอแจ้งยกเลิกการเรียกเก็บค่าน้ำมันส่วนเพิ่มตามเงื่อนไขที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้า จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยมีผลตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

อนึ่งก่อนหน้านี้ บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KERRY ได้ออกประกาศเรื่องการจัดเก็บค่าน้ำมันส่วนเพิ่ม (Additional Fuel Charge) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2565

ประกาศดังกล่าวระบุว่า เนื่องด้วยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษามาตรฐานการให้บริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า บริษัทฯ มีความจำเป็นต้องจัดเก็บค่าน้ำมันส่วนเพิ่มตามรายละเอียดดังนี้ จนกว่าราคาน้ำมันจะเข้าสู่ภาวะปกติ..

1. ราคาน้ำมันดีเซล ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 30 บาทต่อลิตร ไม่เก็บค่าน้ำมันส่วนเพิ่ม
2. ราคาน้ำมันดีเซล สูงกว่า 30 บาทต่อลิตร โดยปลายทางผู้รับในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เก็บค่าน้ำมันส่วนเพิ่ม 2 บาทต่อกล่องพัสดุ และปลายทางผู้รับในต่างจังหวัด เก็บค่าน้ำมันส่วนเพิ่ม 3 บาทต่อกล่องพัสดุ
3. ราคาน้ำมันดีเซล สูงกว่า 34 บาทขึ้นไป ต่อลิตร ทุก ๆ 2 บาท จากราคาน้ำมัน 34 บาทขึ้นไป เก็บค่าน้ำมันส่วนเพิ่ม 1 บาท (จากค่าน้ำมันส่วนเพิ่มในข้อ 2)

‘พีระพันธุ์’ เผยข่าวดี!! ครม.ไฟเขียวตรึงค่าดีเซล-ก๊าซหุงต้ม 3 เดือน พร้อมลดค่าไฟกลุ่มเปราะบาง 3.99 บ./หน่วย เป็นของขวัญปีใหม่

(19 ธ.ค.66) นายพีระพันธ์ุ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ได้มีการนำเสนอมาตรการเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน โดยจะมีการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร เป็นเวลา 3 เดือน ค่าก๊าซแอลพีจีและก๊าซหุงต้ม ตรึงไว้ที่ 423 บาทต่อ 15 กิโลกรัม เป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งเคยเป็นมาตรการเดิมภัยที่เคยช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางไปแล้ว

ขณะที่ค่าไฟฟ้า สำหรับกลุ่มเปาะบางที่ใช้ไฟไม่เกิน 300 บาทต่อหน่วย ตรึงราคาค่าไฟที่ 3.99 บาทต่อหน่วย ซึ่งจะช่วยเหลือได้ 17 ล้านราย ทั้งนี้ ต้องขออภัยกลุ่มภาคครัวเรือน ไม่สามารถยืนอยู่ที่ 3.99 บาทต่อหน่วยได้ แต่รัฐบาลได้พยายามเต็มที่ไม่ให้เกิน 4.20 บาทต่อหน่วย

ส่วนจะได้ตัวเลขได้เท่าไร ขอดูตัวเลข 1 ม.ค. 67 ก่อน เพราะพบว่ามีแนวโน้มราคาก๊าซในตลาดโลกเริ่มลดลง ดังนั้น ณ วันที่ 1 ม.ค. อาจต่ำกว่าราคาในวันนี้ ซึ่งตอนแรกตนเองเตรียมราคาที่กำหนดไว้ แต่หากกำหนดไปแล้วยังลดค่าไฟลงไปได้อีก ซึ่งจะไม่เป็นไปตามมติ ดังนั้นจึงขอดูราคาสถานการณ์ก๊าซ ณ วันที่ 1 ม.ค. 67 ก่อน

ทั้งนี้ มาตรการที่ออกมาถือเป็นมาตรการระยะสั้น ภายใต้โครงสร้างเดิมที่ใช้มานานกว่า 40 ปี ซึ่งส่วนตัวคิดว่า ไม่เหมาะสม และตนเองได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษารื้อระบบโครงสร้างราคาค่าไฟและน้ำมันแล้ว ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ และถือเป็นมาตรการระยะยาวที่ต้องใช้เวลา ระหว่างนี้ที่รอมาตรการระยะยาวสิ่งไหนทำได้ก็ทำก่อนภายใต้โครงสร้างแบบเดิม และทำให้ดีที่สุดทุกเรื่อง เพื่อลดภาระค่าครองชีพประชาชน

นายพีระพันธุ์ ยังชี้แจงที่ไม่สามารถกำหนดที่ชัดเจนได้ว่า การผลิตไฟฟ้ามีวัตถุดิบที่นำมาผลิตไฟฟ้า 3 อย่างหลักๆ คือ 1.ถ่านหิน ซึ่งไทยยังมีใช้อยู่ เป็นราคาที่ถูกที่สุดและมีการใช้พลังน้ำบ้างบางส่วน 2.ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ ซึ่งยังเป็นประเด็นใหญ่ในวันนี้ 3.พลังงานสะอาด จากพลังงานแสงแดด ลม ชีวมวลต่างๆ โดยทั้ง 3 อย่างคือวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้าและมีต้นทุนแตกต่างกัน ที่สำคัญมีสัญญาเดิมที่ทำไว้กับผู้ประกอบการระยะเริ่มต้น เมื่อหลาย 10 ปีที่แล้ว ตนเองกำลังแก้ไขอยู่ รวมถึงแก้ไขโครงสร้างของก๊าซที่ต้องปรับรูปแบบจะดำเนินการอย่างไร ให้หลุดบ่วงราคาตลาดโลก ซึ่งถือเป็นแนวโน้มในการวางระบบและโครงสร้างใหม่ของด้านวัตถุดิบที่ใช้ผลิตไฟฟ้า ซึ่งหากควบคุมตรงส่วนนี้ได้ ทำให้ราคาวัตถุดิบอยู่ภายใต้การควบคุมรัฐบาลมากขึ้น ซึ่งสามารถทำให้ลดราคาไฟฟ้าลงมาได้โดยระบบของมันเอง ไม่ใช่แบบมติครม. แต่ต้องใช้เวลาในการศึกษารูปแบบ ผลกระทบ รวมถึงส่วนที่เกี่ยวข้องต้องรับฟังความคิดเห็น ซึ่งตนเองจะพยายามทำให้เป็นรูปเป็นร่างภายในปี 2567 นี้

นายพีระพันธุ์ กล่าวถึง กรณีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีเตรียมพบหารือกับนายฮุน มาเนตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในปี 67 นี้ จะมีการหารือเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางพลังงานระหว่างไทยกับกัมพูชา หรือไม่ว่า เรื่องนี้ต้องดำเนินการต่อ เพราะเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขและผ่านมาหลายรัฐบาลแล้ว ซึ่งส่วนตัวมองว่า จะเอาเรื่องเขตแดนกับเรื่องพลังงานมารวมกันจะหาข้อยุติได้ยาก เพราะเรื่องเขตแดนเป็นเรื่องต้องใช้เวลา ซึ่งส่วนตัวมองว่า การเจรจาเรื่องเขตแดนไม่มีประเทศใดในโลกตกลงถอยหลังกันได้ง่าย แต่ไทยต้องมีความพยายามหาทางยุติลงให้ได้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นห่วงในเรื่องนี้และตนก็เป็นกังวล เนื่องจากอยากใช้พลังงานในพื้นที่ตรงนั้น เพราะก๊าซธรรมชาติที่ไทยมีก็หมดไปทุกวัน หากไม่มีแหล่งใหม่มาเสริมหรือรองรับก็จะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคต ดังนั้นเรื่องนี้เป็นสำคัญในการเจรจา

‘โซเชียลมาเลฯ’ ถาม!! ‘เหตุใด? น้ำมันในไทยแพง แต่อาหารถูก’ ตอบ!! เพราะไทยทำเกษตร-ผลิตอาหารเอง-ต้นทุนขนส่งทางถนนต่ำ

(1 เม.ย. 67) เพจ ‘World Forum ข่าวสารต่างประเทศ’ โพสต์ข้อความเรื่อง ‘ไวรัสในมาเลเซีย เกี่ยวกับค่าน้ำมันและอาหารในประเทศไทย’ โดยระบุว่า…

“ไวรัล ในมาเลเซีย 🇲🇾

**คำถาม ราคาน้ำมันในประเทศไทย ‘แพง’ แต่ทำไม อาหารถึง ‘ถูก’.......? อธิบายหน่อย

✍️จากความเห็นส่วนใหญ่ 

1.ประเทศไทย ประสบผลสำเร็จเรื่องการเกษตร ผู้ส่งออกอาหาร และวัตถุดิบ มาเลเซียต้องนำเข้า แม้แต่อาหารสัตว์ **ไทยมีพื้นที่ลุ่ม ปลูกอาหารได้ทั้งปี

2.มาเลเซีย แบ่งเป็น 2 ฝั่ง ผู้ผลิต +ต้นทุนการขนส่งไปอีกฝั่ง 

3.มาเลเซีย เสียค่าผ่านทางถนน - ไทยฟรี เมื่อคำนวนระยะจ่ายแล้วไม่ต่างกันเท่าไหร่ 

4.ในช่วงปี 2000 มาเลเซีย มุ่งเน้นไปที่ อุตสาหกรรมไฮเทค จนลืมสานต่ออุตสาหกรรมการเกษตร  ทำให้ภาคผลิตการเกษตรลดลงอย่างมาก

✍️#คุณมีความเห็นอย่างไร”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top