Friday, 17 May 2024
คาร์บอน

กฟผ.- เชลล์ หนุนนโยบายโลกลดการปล่อยคาร์บอน ร่วมศึกษาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดและการกักเก็บคาร์บอน

กฟผ. และ บ. เชลล์แห่งประเทศไทย ร่วมลงนาม MOU แลกเปลี่ยนและศึกษา Clean Energy Development มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เดินหน้าประเทศไทยสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี ค.ศ. 2065

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และนายปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อแลกเปลี่ยนและศึกษาเทคโนโลยีพลังงานสะอาด อาทิ เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์และกักเก็บคาร์บอน Carbon Capture Utilization and Storage (CCUS) และเทคโนโลยีเชื้อเพลิงทางเลือกในการผลิตไฟฟ้า เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 ณ อาคาร 50 ปี กฟผ. สำนักงานใหญ่ จ. นนทบุรี

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า ประเทศไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 (COP26) โดยตั้งเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065  เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายดังกล่าว กฟผ. ได้ขับเคลื่อนองค์กรภายใต้กลยุทธ์ ‘Triple S’ คือ Sources Transformation เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน พัฒนาเทคโนโลยีทางเลือก และเทคโนโลยีเพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน Sink Co-creation เพิ่มแหล่งดูดซับกักเก็บคาร์บอน ผ่านโครงการปลูกป่าล้านไร่ และการศึกษาเทคโนโลยี CCUS และ Support Measures Mechanism ส่งเสริมการมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกในภาคประชาชน ผ่านโครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 โครงการห้องเรียนสีเขียว และส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า 

'มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน' ผนึกกำลัง 'ภาครัฐ-เอกชน' จัดแข่งขันพัฒนาแอปฯ มุ่งชดเชยคาร์บอนในหน่วยธุรกิจ SMEs

เมื่อวันที่ 10-11 ส.ค. 66 มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน ผนึกกำลังร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนดำเนินโครงการแข่งขันการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการชดเชยคาร์บอนในหน่วยธุรกิจขนาดเล็ก ครั้งที่ 1/2566 โดยมี ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมกล่าวเปิดโครงการฯ ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการพัฒนาระบบการชดเชยคาร์บอนสำหรับหน่วยธุรกิจขนาดเล็กในธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจขนส่งสาธารณะ และสถานประกอบการขนาดเล็ก ซึ่งจะเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับ SMEs ในการปรับตัวเข้าสู่ตลาดคาร์บอนเครดิต เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเป้าหมายประเทศไทยในการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065

ดร.สุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานกรรมการมูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน กล่าวว่า มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชนมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนเป้าหมาย Net Zero โดยเฉพาะการนำระบบดิจิทัลเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการการซื้อขายคาร์บอนที่กำลังเป็นกระแสของโลก ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการนี้ จะเปิดโอกาสให้น้อง ๆ นักศึกษาได้ใช้ความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนากลไกเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ซึ่งต้องขอขอบคุณหน่วยภาครัฐและเอกชนทั้ง 8 หน่วยงาน ที่ให้การสนับสนุนโครงการครั้งนี้ อาทิ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก สถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท เอสโคโพลิส จำกัด

คุณพรอรัญ สุวรรณพลาย กรรมการมูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน กล่าวว่า โครงการแข่งขันการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการชดเชยคาร์บอนในหน่วยธุรกิจขนาดเล็ก ครั้งที่ 1/2566 มีเยาวชน นิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป สมัครเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 13 ทีม และมีผู้ได้รับรางวัล ดังนี้

-รางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษา 200,000 บาท ได้แก่ ทีม Greenie จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการเงิน 

-รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ทุนการศึกษา 100,000 บาท ได้แก่ ทีม Carbonzero จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ 

-รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ทุนการศึกษา 50,000 บาท ได้แก่ ทีม Chestnut จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 

-รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 3 ทุนการศึกษา 20,000 บาท ได้แก่ ทีม CC Da Rock!!! จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาสิ่งแวดล้อม

-รางวัลชมเชย มูลค่ารางวัลละ 10,000 บาท 3 รางวัล ได้แก่ 1.ทีม Deviate จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง สาขาคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 2.ทีม Viridis จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล 

นอกจากนี้ภายในงานนี้ มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชนจัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือกับ หน่วยงานเอกชน ในการส่งเสริมให้ธุรกิจขนาดเล็กได้มีส่วนร่วมในการตระหนักถึงความเป็นสังคมคาร์บอนต่ำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero ร่วมกับ 3 หน่วยงาน ดังนี้

บริษัท เอสโคโพลิส จำกัด, บริษัท เคเชอร์ เพย์เมนท์ จำกัด และบริษัท เอสโคโพลิส จำกัด ในการขยายช่องทางการซื้อคาร์บอนเครดิตรองรับการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ เพื่อสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติ ได้มีโอกาสส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ หรือ Green Tourism ผ่านการซื้อคาร์บอนเครดิตพร้อมกับการชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการ เพื่อชดเชยจำนวนคาร์บอนเครดิตจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเข้าพักในโรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น ซึ่งบจก.เอสโคโพลิส เป็นโบรกเกอร์ซื้อ-ขาย คาร์บอนเครดิต ในแพลตฟอร์ม FTIX โดยมีพันธกิจมุ่งเน้นให้เกิดความโปร่งใสในการซื้อ-ขาย คาร์บอนเครดิต เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถนำไปชดเชยได้ตามวัตถุประสงค์ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเดินหน้าสู่ Net Zero

'เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า' กระหึ่มอาเซียน ปลื้ม หม้อแปลงไทย ลดพลังงาน - ลดคาร์บอน กระทรวงพลังงานอาเซียน ยอมรับ มอบรางวัลนวัตกรรม หม้อแปลงเทคโนโลยี ล้ำสมัย ASEAN Energy Awards (Energy Efficiency Building)

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด โดย คุณประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ นำหม้อแปลงไทย ลดพลังงาน - ลดคาร์บอน ได้รับรางวัลด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ระดับภูมิภาคอาเซียน ASEAN Energy Awards 2023 ณ Bali Nusa Dua Convention Center เกาะบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดย บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวด ประเภท Cutting Edge Technology (เทคโนโลยีล้ำสมัย) จากผลงาน "หม้อแปลง Low Carbon" ด้านการอนุรักษ์พลังงานและการประหยัดพลังงาน พร้อมกันนี้ได้รับเกียรติจาก คุณกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย คุณประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ร่วมแสดงความยินดี

ดร. ประเสริฐ กล่าว ความสำเสร็จเหล่านี้เกิดจากทุกหน่วยงาน ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการลดใช้พลังงานและนี่ คือต้นทางแห่งความสำเร็จของหน่วยงานที่จะเป็นตัวอย่างในการขับเคลื่อน ผลักดัน และสานต่อนโยบานด้านพลังงานเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero)

คุณประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์  กล่าว ขอขอบพระคุณ ทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)  โดยหม้อแปลงดังกล่าว ตอบโจทย์ การประหยัดพลังงาน ของภาคอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการอาคารสถานที่ ที่สามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 11.5% และลดคาร์บอนมากกว่า 100 ล้านตันคาร์บอน คืนทุนภายใน 2-5 ปี เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการประหยัดพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนสร้างความมั่นคงและความยืดหยุ่นด้านพลังงาน เพื่อผลัดดันการเปลี่ยนผ่านไป สู่พลังงานสะอาด ความยั่งยืนนี้จะส่งเสริมการเติบโตสีเขียวในภูมิภาค ทั้งนี้สถานการณ์ดังกล่าวทำให้รัฐบาลต้องประกาศนโยบายการลดคาร์บอน โดยประกาศเป้าหมายความเป็นกลางของแผนลดก๊าซคาร์บอนในปี 2575 จะเห็นภาพการใช้พลังงานทั้งด้านอุตสาหกรรมและภาคประชาชน ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญกับการ ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ดังนั้น หม้อแปลงที่กล่าวข้างต้นจึงตอบโจทย์ทุกหน่วยงาน ภาครัฐ และเอกชน ด้านการประหยัดพลังงานและลดคาร์บอน (คืนทุน 2-5 ปี) 

หม้อแปลง Low Carbon เป็นหม้อแปลงบริหารระบบจัดการพลังงาน ที่บริหารจัดการสิ้นเปลืองให้เกิดประสิทธิภาพและมีความเสถียรภาพกับการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มั่นคงและยั่งยืน ทำให้โรงงานอุตสาหกรรม ,อาคาร สถานประกอบการ ลดค่าไฟฟ้า 5-20% (Energy Saving) ลดคาร์บอน 5-20% (Low Carbon) มากกว่า 100 ล้านตัน ลดมลพิษ (Low Emission) ทำให้อุปกรณ์อายุการใช้งานยาวนานขึ้น (Long Life Equipment) เพื่อเป็นการตอบโจทย์ให้กับ ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม สถานประกอบการ เจ้าของอาคาร ตามนโยบายของรัฐบาล ในการลดก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อน”

'เทย์เลอร์ สวิฟต์' อาจครองแชมป์คนดัง ที่ปล่อย CO2 มากสุดในโลก 2 ปีซ้อน

(22 ธ.ค.66) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เทย์เลอร์ สวิฟต์ ศิลปินสาวชื่อดังก้องโลก อาจรั้งที่ 1 ถึง 2 ปีซ้อนคนดังปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ มากที่สุดในโลก จากการขึ้นเจ็ทส่วนตัว หลังจากที่สื่อนอกรายงานว่าที่ผ่านมานั้นเธอบินไปหาแฟนหนุ่มดีกรีนักกีฬาอเมริกันฟุตบอลอย่าง'ทราวิส เคลซี' จากทีม Kansus City Chiefs ถึง 12 ครั้งในห้วง 3 เดือนที่ผ่านมา

สื่อนอกรายงานว่า การปล่อยก๊าซคาร์บอนของนักร้องดังแห่งยุคอย่าง เทย์เลอร์ สวิฟต์ เกิดขึ้นจากการที่เธอนั้นได้นั่งเครื่องบินส่วนตัวเพื่อนบินไปเชียร์แฟนหนุ่มนักกีฬาแบบติดขอบสนามทั้งหมด 12 ครั้ง ในช่วงเวลาเพียงแค่ 3 เดือนเท่านั้น

สำหรับ เทย์เลอร์ นั้น เธอได้ครอบครองเครื่องบินเจ็ทส่วนตัวถึง 2 ลำ คือ Dassault Falcon 7x จดทะเบียนในชื่อ N621MM ภายใต้บริษัทIsland Jet Inc. และ Dassault Falcon 900 จดทะเบียนในชื่อ N898TS ภายใต้บริษัท SATA LLFC การเดินทางด้วยเครื่องบินเจ็ทส่วนตัวของเทย์เลอร์ ผลาญเชื้อเพลิงไปแล้วประมาณ 12,622 แกลลอน ตีเป็นเงิน 70,779 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 2,471,602 บาท 

โดยข้อมูลจาก Jets รายงานว่า นักร้องสาวชื่อดังได้ปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนถึง 138 ตัน หากตัวเธอนั้นต้องการที่จะชดเชยปริมาณก๊าซคาร์บอนที่เธอปล่อยออกไปจากการนั่งเจ็ทส่วนตัว เธอจะต้องปลูกต้นไม้ถึง 2,282 ต้น และต้องรอให้ต้นไม้เหล่านั้นเติบโตระยะเวลาถึง 10 ปีถึงจะชดเชยได้

ทั้งนี้ เมื่อย้อนกลับไปปีที่ผ่านมานั้น เทย์เลอร์ สวิฟต์ ขึ้นแท่นอันดับ 1 คนดังที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมากที่สุดในโลกอยู่ที่ประมาณ 8,293 ตัน แซงหน้า'ฟลอยด์ เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์'ที่ตามมาติดๆ ถึงประมาณ 7,076 ตัน จากการนั่งเครื่อบินเจ็ทส่วนตัวเช่นกัน ซึ่งข้อมูลการปล่อยก๊าซคาร์บอนนั้นเมื่อเทียบง่ายๆ จะมีปริมาณเทียบเท่ากับการใช้พลังงานไฟฟ้าของบ้านเรือนประมาณ 26 หลังในรอบ 1 ปี

อย่างไรก็ตาม ทางด้านเทย์เลอร์ สวิฟต์ เอง ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยเธอได้ส่งโฆษกส่วนตัว ออกมาเทคแอคชันถึงประเด็นดังกล่าว ซึ่งทางโฆษกส่วนตัวของเธอระบุว่า กำลังเร่งดำเนินการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากเครื่องบินส่วนตัวให้ได้มากที่สุด ด้วยการเดินทางให้น้อยลงกว่าปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังระบุอีกว่า ก่อนที่คอนเสิร์ต Eras Tour 2023 จะเริ่มต้นขึ้น เทย์เลอร์ สวิฟต์ ได้ควักกระเป๋าซื้อคาร์บอนเครดิตมากกว่าปกติถึง 2 เท่า เพื่อชดเชยปริมาณการปล่อยก๊าซ Co2 ระหว่างที่เธอได้ทัวร์คอนเสิร์ตในครั้งนี้อีกด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top