Thursday, 16 May 2024
ความหลากหลายทางชีวภาพ

'สว.วีรศักดิ์' กระตุกมุมคิดด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านเวที 'Finance for Biodiversity' ชี้!! ไม่มีกิจกรรมใดของมนุษย์ที่ไปต่อได้ หากระบบนิเวศ 'ล่มสลาย-ขาดตอนลง'

เมื่อไม่นานมานี้ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา รองประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ได้ขึ้นกล่าวปาฐกถาพิเศษสรุป ก่อนพิธีปิดการเสวนา ในหัวข้อ 'Finance for Biodiversity: Towards a Nature-Positive Pathway' ณ อาคาร C-ASEAN ถนนพระราม 4 มีวิทยากรที่มีชื่อเสียงได้รับเชิญมาร่วมเวทีมากมาย ทั้งจากผู้เชี่ยวชาญในประเทศและต่างประเทศ

โดยเวทีนี้จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย กองทุน AFD แห่งรัฐบาลฝรั่งเศส สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการสนับสนุนของ IUCN UN ESCAP / ธนาคารแห่งประเทศไทย / กลต. / BOI / ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย / สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย / สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย / สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง / สำนักสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ / Global Compact Thailand / ธนาคารกรุงไทย / BEDO เป็นต้น 

ทั้งนี้ เวที Finance for Biodiversity นับเป็นเวทีที่วงการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและวงการการเงินการคลังทั้งในและระหว่างประเทศได้มาพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวคิดกัน เพื่อระดมพลังเตรียมตัวสำหรับประกอบท่าทีไทยในการเข้าร่วมประชุมอนุสัญญาคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ COP 16 ที่จะมีขึ้นในปีนี้ที่ประเทศ โคลัมเบีย

สาระสำคัญหนึ่งจาก นายวีระศักดิ์ ในเวทีนี้ ระบุว่า ความจำเป็นที่ภาคส่วนอื่น นอกเหนือจากวงการอนุรักษ์ โดยเฉพาะภาคการเงินและธุรกิจควรจะเข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อน เพื่อการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพเอาไว้ให้ได้ เพราะไม่มีกิจกรรมใดของมนุษย์ที่สามารถดำเนินต่อได้ ถ้าวงจรของระบบนิเวศจะล่มสลายหรือขาดตอนลง

"เราอาจใช้ดาวเทียมตรวจจับอุณหภูมิ ตรวจจับการรั่วไหลของก๊าซเรือนกระจก ไฟป่า หรือการใช้ผิวดิน สำรวจทรัพยากรใต้ดินได้ แต่ดาวเทียมไม่อาจตรวจจับการขาดตอนลงของระบบนิเวศ การพึ่งพากันของเผ่าพันธุ์พืช หรือเผ่าพันธุ์สัตว์ใดๆ ได้ ดังนั้นเราจึงไม่อาจรู้เลยว่า Tipping Points ของปัญหาการสูญเสียเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในธรรมชาติจะอยู่ที่จุดไหน...

"หากผึ้งหายไปหมด สัตว์และมนุษย์แทบจะสูญพันธุ์ตามไปในเวลาไม่ถึง 6 ปี เพราะทุกชีวิตบนแผ่นดินทุกทวีปอาศัยแกล่งอาหารจากพืชมาเป็นจุดเริ่มทั้งสิ้น..

"ถ้าวาฬในมหาสมุทรสูญพันธุ์ไปจากที่เหลือล้านตัวสุดท้าย แพลงตอนพืชที่ได้ปุ๋ยจากมูลวาฬอันอุดมด้วยแร่ธาตุที่แพลงตอนต้องใช้ประกอบการสังเคราะห์แสง แปลงคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาเป็นออกซิเจนกว่า 65% บนโลกใบนี้ก็จะหายไป แล้วสัตว์และมนุษย์จะหายใจได้อย่างไร" นายวีระศักดิ์ กล่าว

ปิดท้ายด้วยคำกล่าวที่เรียกเสียงปรบมืออย่างยาวนานก่อนจบการปาฐกถาว่า...

"...How do you put a price on saving the earth 
We are putting trillions of dollars to rescue our economies 
Our countries 
Our communities 

But healthy proporous communities also depend on a healthy planet 
The food we eat
The water we drink
The air we breathe 

They all depend on 
Nature 

So how do we ensure the investments we make now
Are good for the future 

If we dug into the numbers creatively and bravely,
We can have great thriving economies and a thriving planet 
But we need some changes 
We will have to stop investing in ways that degrade the planet 
Get creative with new investments 
from both the public and private sectors 
And we have to spend the money we have more efficiently 
Putting our money to work for People and Nature 
We can’t return to business as usual 

It’s time to do better 
It’s time to be better 
It’s time for nature  

And the time is Now…"

ประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุด

‘ความหลากหลายทางชีวภาพ’ หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด นานาพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือกล่าวง่าย ๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ สายพันธุ์ และระบบนิเวศ ที่แตกต่างหลากหลายบนโลก อย่างไรก็ตาม ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ความหลากหลายทางชีวภาพลดลงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียที่อยู่อาศัย การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไป ตลอดจนมลพิษ และการใช้ยาฆ่าแมลง

การจัดอันดับจาก Mongabay คำนวณจากสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ภายในประเทศ เช่น พืชมีท่อลำเลียง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน นก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และปลา

‘บราซิล’ เป็นที่รู้จักและโดดเด่นในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ และมักได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก ส่วน ‘ประเทศไทย’ ในปี 2023 ความหลากหลายทางชีวภาพอยู่อันดับที่ 18 ขยับขึ้นจากอันดับ 20 ในปี 2022


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top