Friday, 17 May 2024
ขีปนาวุธ

เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธ 8 ลูก  หลังเกาหลีใต้-สหรัฐฯ เสร็จสิ้นภารกิจซ้อมรบ

เกาหลีเหนือยิงทดสอบขีปนาวุธ 8 ลูก ไปตกนอกชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรเกาหลี หลังจากการซ้อมรบร่วมระหว่างเกาหลีใต้กับสหรัฐอเมริกาปิดฉากลง

วันนี้ (5 มิ.ย. 65) สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า คณะเสนาธิการร่วมเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธพิสัยใกล้อย่างน้อย 8 ลูกจากฐานยิงใกล้กับกรุงเปียงยางไปตกนอกชายฝั่งตะวันออกของประเทศ หลังจากสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้เสร็จสิ้นภารกิจซ้อมรบร่วมกัน

ด้านรัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น ยืนยันว่า การทดสอบขีปนาวุธของเกาหลีเหนือเป็นการกระทำที่ยอมรับไม่ได้

'เกาหลีเหนือ' ยิงขีปนาวุธครั้งที่ 2 ในรอบ 48 ชม. 'น้องสาวคิม' ขู่!! เปลี่ยนภูมิภาคแปซิฟิกเป็นสนามซ้อมยิง

(20 ก.พ. 66) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธทิ้งตัวพิสัยใกล้ 2 ลูกในเช้าของวันนี้ (20 ก.พ. 66) นับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 48 ชั่วโมง ด้านน้องสาวของผู้นำเกาหลีเหนือ เตือน ว่า จะทำให้ภูมิภาคแปซิฟิกตกอยู่ในพิสัยยิงของเกาหลีเหนือ

กองทัพเกาหลีใต้แถลงว่า ตรวจพบว่ามีการยิงขีปนาวุธทิ้งตัวพิสัยใกล้ 2 ลูกขึ้นจากย่านซุกชอน จังหวัดพย็องอันใต้ของเกาหลีเหนือ ในช่วงเวลา 07:00-07:11 น. วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลา 05:00-05:11 น. วันนี้ตามเวลาไทย ขณะที่สำนักนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นแถลงว่า เกาหลีเหนือได้ยิงสิ่งที่น่าจะเป็น 'ขีปนาวุธทิ้งตัว' ด้านหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่นประกาศเตือนว่า มีการยิงวัตถุหลายครั้ง หลังจากนั้นไม่นานเกาหลีเหนือแถลงว่า ได้ใช้เครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องขนาด 600 มิลลิเมตรยิงจรวด 2 ลูกตกลงในทะเลตะวันออก หรือที่ญี่ปุ่นเรียกว่า 'ทะเลญี่ปุ่น'

‘ไต้หวัน’ จ่อซื้อ ‘ฮาร์พูน’ ขีปนาวุธของสหรัฐฯ กว่า 400 ลูก มูลค่ากว่า 1.1 พันล้านบาท เตรียมพร้อมรับภัยคุกคามจากจีน

ไต้หวันจะซื้อ ‘ฮาร์พูน’ ขีปนาวุธยิงจากภาคพื้นของสหรัฐฯ สูงสุด 400 ลูก ในยามที่ต้องเผชิญภัยคุกคามจากจีนมากขึ้นเรื่อย ๆ 

เมื่อวันที่ (17 เม.ย.66) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (เพตากอน) เคยแถลงเกี่ยวกับสัญญามูลค่า 1,170 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับขายขีปนาวุธต่อต้านเรือ 400 ลูก เมื่อวันที่ 7 เมษายน แต่ไม่ได้ระบุชื่อผู้ซื้อ โดยบอกแต่เพียงว่าคาดหมายว่าการผลิตจะเสร็จสิ้นภายในเดือนมีนาคม 2029 อย่างไรก็ตาม บลูมเบิร์กรายงานล่าสุด บอกว่าผู้ซื้อรายดังกล่าวได้แก่ไต้หวัน

'อิสราเอล' ยิงขีปนาวุธใส่ 'ซีเรีย' โดยใช้เครื่องบินรบ บินขึ้นโจมตีฐานป้องกันภัยทางอากาศ

อัลจาซีรา รายงานว่า ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อิสราเอลได้โจมตีสนามบินและฐานทัพอากาศของซีเรียอย่างเข้มข้น เพื่อขัดขวางการใช้สายส่งทางอากาศที่เพิ่มขึ้นของ #อิหร่านในการส่งมอบอาวุธให้กับพันธมิตรในซีเรียและเลบานอน รวมถึง #ฮิซบอลเลาะห์ ของ #เลบานอน

การที่อิสราเอลโจมตี เป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับความขัดแย้งที่เลี้ยงความรุนแรงมานานหลายปี เป้าหมายไม่ให้อิหร่านยึดที่มั่นมากขึ้น 
นับแต่อิทธิพลของอิหร่านเติบโตขึ้นในซีเรีย เริ่มสนับสนุนประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ในสงครามกลางเมืองที่เริ่มต้นในปี 2554

‘เกาหลีเหนือ’ โชว์แสนยานุภาพ!! ยิงขีปนาวุธพิสัยไกล ลงทะเลญี่ปุ่น หลังขู่จะยิงเครื่องบินสอดแนมสหรัฐฯ ที่บินรุกล้ำน่านฟ้าประเทศ

(12 ก.ค. 66) สำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานว่า เกาหลีเหนือได้ทำการยิงขีปนาวุธที่คาดว่าจะเป็นขีปนาวุธทิ้งตัวข้ามทวีป (ไอซีบีเอ็ม) ตกลงในทะเลตะวันออก หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘ทะเลญี่ปุ่น’ เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 12 กรกฎาคมตามเวลาท้องถิ่น เพียงไม่กี่วันหลังเกาหลีเหนือขู่ว่าจะยิงเครื่องบินสอดแนมของสหรัฐฯ ที่บินรุกล้ำน่านฟ้าเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา และประณามแผนของสหรัฐฯ ที่จะส่งเรือดำน้ำติดขีปนาวุธนิวเคลียร์ เยือนท่าเรือของเกาหลีใต้เป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ

กองทัพเกาหลีใต้ระบุว่า สามารถตรวจจับการปล่อยขีปนาวุธพิสัยไกลที่ยิงจากกรุงเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือเมื่อเวลาราว 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น คณะเสนาธิการร่วมของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า “ขีปนาวุธทิ้งตัวถูกยิงในวิถีโค้งและบินเป็นระยะทาง 1,000 กิโลเมตรก่อนที่จะตกลงในทะเลตะวันออก”

สถานีโทรทัศน์ทีวีอาซาฮีของญี่ปุ่น รายงานโดยอ้างอิงเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมของญี่ปุ่น ว่า ขีปนาวุธลูกดังกล่าวได้บินเป็นระยะเวลา 74 นาทีที่ระดับความสูง 6,000 กิโลเมตร โดยถือเป็นระยะเวลาการบินที่นานที่สุดของขีปนาวุธเกาหลีเหนือ

คณะเสนาธิการร่วมของเกาหลีใต้ระบุอีกว่า การยิงขีปนาวุธดังกล่าวของเกาหลีเหนือเป็นการยั่วยุอย่างร้ายแรงที่ทำลายสันติภาพและความมั่นคงของคาบสมุทรเกาหลีและเป็นการละเมิดมาตรการคว่ำบาตรขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ต่อเกาหลีเหนือ พร้อมกับเรียกร้องให้เกาหลีเหนือยุติการกระทำในลักษณะดังกล่าว

ด้านนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะของญี่ปุ่น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างร่วมประชุมสุดยอดผู้นำองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ที่ประเทศลิทัวเนีย ได้สั่งให้คณะทำงานของเขารวบรวมข้อมูลและเฝ้าระวังเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ตามรายงานของสำนักนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น

การปล่อยขีปนาวุธไอซีบีเอ็มในครั้งนี้มีขึ้นหลังโฆษกของกระทรวงกลาโหมของเกาหลีเหนือ ระบุว่า สหรัฐฯ ได้เพิ่มกิจกรรมการจารกรรมเหนือกว่าระดับในช่วงสงคราม โดยอ้างถึงการบินของเครื่องบินสอดแนมสหรัฐฯ ตลอดระยะเวลา 8 วันติดต่อกันในช่วงเดือนนี้ ขณะที่คิม โย จอง น้องสาวของนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือเผยว่าเครื่องบินสอดแนมของสหรัฐฯ ได้บินรุกล้ำน่านฟ้าทางทิศตะวันออกของประเทศ 2 ครั้งในช่วงเช้าวันที่ 10 กรกฎาคม

ระบบสกัดกั้นขีปนาวุธอัจฉริยะ เกราะป้องกันภัยหมื่นล้านของ ‘อิสราเอล’ ตรวจจับอันตรายด้วยเรดาร์ พร้อมหน่วยยิง Tamir คล่องตัว-แม่นยำสูง

‘Iron Dome’ เกราะป้องกันขีปนาวุธของอิสราเอล… ทำงานอย่างไร?

ในท้องฟ้ายามค่ำคืนมองเห็นจรวดที่ยิงจาก Beit Lahiya ทางตอนเหนือของฉนวน Gaza ไปยังอิสราเอล เส้นแสงที่โค้งไปมาคือ ‘ระบบสกัดกั้น’ (Iron Dome)

ความรุนแรงที่เลวร้ายที่สุดในรอบหลายปี ระหว่างอิสราเอลและฮามาสที่ปกครองฉนวน Gaza ทำให้เกิดการเผชิญหน้าอันน่าตื่นตะลึง โดยฮามาสและกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์อื่น ๆ ยิงจรวดถล่มใส่อิสราเอลมากกว่า 5,000 ลูก ในช่วงไม่กี่วันผ่านมา แต่จรวดของฮามาสและกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์อื่น ๆ ยิงประมาณ 90% ถูกสกัดกั้นโดย ‘ระบบป้องกันขีปนาวุธ’ (Iron Dome) จากแถลงการณ์ของกองทัพอิสราเอล 

‘ระบบป้องกันขีปนาวุธ’ (Iron Dome) ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อป้องกันภัยคุกคามจากจรวดและปืนใหญ่ ในระยะตั้งแต่ 4 กม. ถึง 70 กม. (2.5 ไมล์ ถึง 43 ไมล์) ซึ่งกำลังได้รับการพัฒนาเพื่อขยายระยะไปถึง 250 กม.

ระบบนี้เกิดจากการที่อิสราเอลสู้รบกับ ‘ขบวนการฮิซบอลเลาะห์’ (Hezbollah) กลุ่มติดอาวุธในเลบานอนในปี 2006 มีการยิงจรวดหลายพันลูกเข้าสู่อิสราเอล ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง มีการอพยพผู้คนจำนวนมาก และมีผู้เสียชีวิตหลายสิบราย หลังจากนั้น อิสราเอลจึงเริ่มการพัฒนาเกราะป้องกันจรวดขึ้น

‘Iron Dome’ ซึ่งสร้างขึ้นโดย ‘Rafael Advanced Defense Systems’ บริษัทอิสราเอล ร่วมกับ ‘Israel Aerospace Industries’ โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินและทางเทคนิคจากสหรัฐฯ เริ่มประจำการในปี 2011 Iron Dome ถือเป็นระบบป้องกันจรวดที่ทันสมัยที่สุดในโลก ใช้เรดาร์เพื่อตรวจจับ ประเมิน และสกัดกั้นเป้าหมายระยะสั้นที่หลากหลาย เช่น จรวด ปืนใหญ่ และปืนครก รวมถึงภัยคุกคามที่เข้ามาก่อนที่จะสร้างความเสียหาย เช่น จรวดที่ยิงจากฉนวน Gaza ระบบป้องกันขีปนาวุธ Iron Dome ใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ตลอดจนถึงในทุกสภาพอากาศ รวมถึงเมฆต่ำ ฝน พายุฝุ่น และหมอก 

‘Iron Dome’ ใช้งบประมาณในการพัฒนาสูงมาก แต่ผู้ผลิตกล่าวว่ามีความคุ้มค่า เนื่องจากเทคโนโลยีที่ใช้มีความสามารถในการแยกความแตกต่างระหว่าง จรวดที่มีแนวโน้มที่จะโจมตีพื้นที่ที่จะสร้างความเสียหาย และไม่สกัดกั้นจรวดที่จะตกในพื้นที่ที่ไม่สร้างความเสียหาย ขีปนาวุธจะถูกยิงเพื่อสกัดกั้นสิ่งใดก็ตามที่ถูกระบุความว่า ‘สร้างความเสียหายจนเป็นอันตราย’ เท่านั้น

Iron Dome มีส่วนประกอบหลัก 3 อย่าง :
1.) เรดาร์ตรวจจับและติดตาม : ระบบเรดาร์สร้างโดย Elta ของอิสราเอล และบริษัทในเครือของ Israel Aerospace Industries และ IDF

2.) การจัดการการรบและการควบคุมอาวุธ (BMC) : ศูนย์ควบคุมถูกสร้างขึ้นสำหรับ Rafael โดย mPrest Systems ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ของอิสราเอล

3. ) หน่วยยิงขีปนาวุธ : หน่วยยิงขีปนาวุธสกัดกั้น Tamir ซึ่งติดตั้งเซ็นเซอร์ไฟฟ้าออปติกและครีบบังคับเลี้ยวหลายอันเพื่อความคล่องตัวสูง ขีปนาวุธนี้สร้างโดย Rafael โดย EL/M-2084 เรดาร์ของระบบจะตรวจจับการปล่อยจรวดและติดตามวิถีของมัน BMC จะคำนวณจุดผลกระทบตามข้อมูลที่รายงาน และใช้ข้อมูลนี้เพื่อพิจารณาว่าเป้าหมายถือเป็นภัยคุกคามต่อพื้นที่ที่กำหนดหรือไม่ เฉพาะเมื่อมีการระบุภัยคุกคามแล้ว ขีปนาวุธสกัดกั้นจะถูกยิงเพื่อทำลายจรวดที่เข้ามาก่อนที่จะถึงพื้นที่ที่คาดการณ์ไว้ว่าจะชน

กว่าหนึ่งทศวรรษนับตั้งแต่ Iron Dome เข้าประจำการ ปัจจุบันอิสราเอลมีชุดยิงของ Iron Dome 10 ชุดที่ประจำการอยู่ทั่วประเทศ โดยแต่ละชุดยิงของ Iron Dome ประกอบด้วย 20 ท่อยิงขีปนาวุธ ซึ่งสามารถสกัดกั้นจรวดได้ราว 1 ต่อ 5 โดยมีความแม่นยำราว 96.5% ระบบ Iron Dome สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกมากและใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงในการติดตั้ง และขีปนาวุธสกัดกั้น Tamir มีความคล่องตัวสูง มีความยาว 3 เมตร (เกือบ 10 ฟุต) มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว (15 ซม.) และมีน้ำหนัก 90 กิโลกรัม (198 ปอนด์) แต่ค่าใช้จ่ายในการใช้งาน Iron Dome อาจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในขณะที่จรวดของฮามาสแม้ว่าจะดูหยาบและไม่มีระบบนำทาง แต่จำนวนที่แท้จริงและต้นทุนที่ต่ำของจรวดเหล่านี้ก็เป็นข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับ Iron Drome ด้วยจรวดของฮามาสอาจมีราคาเพียงไม่กี่ร้อยดอลลาร์ แต่ราคาขีปนาวุธที่ใช้ในระบบ Iron Drome แต่ละลูกมีราคาประมาณ 40,000 เหรียญสหรัฐฯ ดังนั้น การสกัดกั้นจรวดที่เข้ามานับพันลูก อิสราเอลจึงมีค่าใช้จ่ายมหาศาล ที่ผ่านมารัฐบาลสหรัฐฯ ได้ทุ่มเงินกว่า 1.6 พันล้านดอลลาร์ให้แก่อิสราเอล เพื่อสนับสนุนโครงการ Iron Dome มาแล้ว

เวอร์ชันกองทัพสหรัฐฯ ในปี 2019 กองทัพสหรัฐฯ ได้ประกาศความตั้งใจที่จะซื้อระบบ Iron Dome 2 ชุดยิง เพื่อเติมเต็มความต้องการความสามารถในการป้องกันจรวด ด้วยความสนใจในความสามารถเฉพาะตัวของ Iron Dome ของสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ ‘Raytheon’ จึงได้เปิดตัวระบบ SkyHunter โดยความร่วมมือกับ ‘Rafael’ ด้วยพื้นฐานจาก Iron Dome ทำให้ SkyHunter สามารถผลิตได้ในสหรัฐอเมริกา เพื่อขยายความพร้อมใช้งานและขีดความสามารถสำหรับสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร ระบบเหล่านี้ป้องกันระดับพื้นฐาน โดย Raytheon ยังร่วมมือกับ Rafael ในระบบ David's Sling System ซึ่งป้องกันในระดับที่มีความก้าวหน้ากว่า


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top