Friday, 26 April 2024
ของแพง

โฆษกรัฐบาลเผย “นายกฯ” ห่วงสถานการณ์ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้น กระทบค่าครองชีพของประชาชน มอบ พาณิชย์-พลังงาน หารือผู้ประกอบการ ตรึงราคาสินค้าจำเป็นเร่งด่วน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์การปรับราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ขณะนี้ โดยเฉพาะในหมวดอาหารสดหลายประเภทที่มีการทยอยปรับราคาสูงขึ้น พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แสดงความห่วงกังวล และได้เร่งให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงาน เร่งติดตาม หารือกับผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เพื่อตรึงราคาสินค้าในการช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการติดตามมาตรการช่วยเหลือประชาชนอย่างเร่งด่วนนั้น หลายหน่วยงานได้เร่งดำเนินการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดย กระทรวงพาณิชย์ได้มีการหารือกับบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ตรา “มาม่า”  เพื่อไม่ให้มีการปรับขึ้นราคามาม่าซองประเภทที่เป็นสินค้ามวลชน และเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมในท้องตลาดทั้งประเทศ เพื่อเป็นการช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนในสถานการณ์ปัจจุบัน

ขณะที่ กระทรวงพลังงาน โดยคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติตรึงราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ต่ออีก 2 เดือนที่ราคา 318 บาทต่อถังขนาด 15 กิโลกรัม จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2565 เป็นวันที่ 31 มีนาคม 2565 พร้อมทั้งขอความร่วมมือ บมจ.ปตท. (PTT) พิจารณาช่วยเหลือส่วนลดราคาก๊าซ LPG แก่ผู้มีรายได้น้อยที่เป็นร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ ปตท. ดำเนินการต่อไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 อีกทั้ง ให้คงราคาขายปลีกก๊าซ NGV ที่ 15.59 บาท/กิโลกรัม และคงราคาขายปลีกก๊าซ NGV โครงการ “เอ็นจีวี เพื่อลมหายใจเดียวกัน” ให้กับผู้ประกอบอาชีพขับขี่รถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ 13.62 บาท/กิโลกรัม ต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 1 เดือน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2565

'นายกฯ' สั่งเข้ม ห้ามกักตุนสินค้า ระหว่างที่ รัฐบาลกำลังเร่งแก้ปัญหาหมูแพง หวั่น ซ้ำเติมความเดือดร้อนประชาชน  

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามการแก้ปัญหาราคาหมูแพง โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการปัญหาเกี่ยวกับหมูทั้งระบบ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้มีหลายมาตรการต่างๆ ควบคู่กัน เพื่อลดปัจจัยปัญหาราคาหมูแพง ทั้งการห้ามส่งออกสุกรมีชีวิตไปนอกราชอาณาจักรทุกกรณี เป็นเวลา 3 เดือน  ผู้เลี้ยง ผู้จำหน่าย ผู้ส่งออก ผู้ครอบครองต้องจัดทำบัญชีคุมสินค้า แสดงปริมาณการเลี้ยง ปริมาณการซื้อ ราคาซื้อ ราคาจำหน่าย ปริมาณคงเหลือ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ทุกเวลา  ทั้งนี้ หากพบเห็นว่า มีการฉวยโอกาสหรือฝ่าฝืนกฎหมาย ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการขั้นเด็ดขาด 

นายธนกร กล่าวว่า กรมปศุสัตว์ ได้รายงานการดำเนินการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ตรวจสอบกรณีอาจมีการกักตุนสินค้าประเภทเนื้อสุกรเพื่อผลประโยชน์ทางการค้านั้น ซึ่งล่าสุด ชุดเฉพาะกิจกรมปศุสัตว์ โดยด่านกักกันสัตว์สงขลา ได้เข้าตรวจสอบห้องเย็นแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา พบ ณ วันที่เข้าตรวจสอบมีซากสุกรคงเหลือในคลัง 201,650.90 กิโลกรัม โดยไม่สามารถระบุแหล่งที่มาของซากสุกรได้ จึงได้อายัดซากสุกรไว้  พร้อมมีแผนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบห้องเย็นทุกแห่งในพื้นที่จังหวัดสงขลาระหว่างวันที่ 21-31 มกราคม นี้ ด้วย วานนี้ (20 ม.ค. 2565) ชุดเฉพาะกิจด่านกักกันสัตว์จันทบุรี ได้เข้าตรวจสอบห้องเย็นเอกชนแห่งหนึ่ง พบซากสุกรแช่แข็งเข้าพักฝากที่ห้องเย็น ยอดคงเหลือ ณ. 20 มค.65 จำนวน 267,650.62 กก. ถือว่ามีความผิดปกติ 

นายธนกร กล่าวว่า ยังมีรายงานด้วยว่า พล.ต.ท.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร ผบช.ภ.1 พาณิชย์จังหวัด ปศุสัตว์จังหวัดพร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังได้ลงพื้นที่ตรวจสอบห้องเย็นแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี พบมีการกักตุนเนื้อสุกร เกินกว่า 5,000 กิโลกรัม โดยไม่ได้แจ้งให้พาณิชย์จังหวัดทราบ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542  มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากมีการขนย้ายซากสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาต เข้าข่ายความผิด ตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558  มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน  20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยจะได้มีการสอบสวนเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย

Meet THE STATES TIMES 'เดอะ ดีเบต' | EP.5

📌ร่วมถกประเด็นร้อนในรอบสัปดาห์ ผ่านมุมมองสร้างสรรค์ และคมคิดที่น่าสนใจ ในรายการ Meet THE STATES TIMES ‘เดอะ ดีเบต’

🔥 ในประเด็นร้อน 🔥

1.) ทิศทางโควิดสู่โรคประจำถิ่น 

2.) ของแพงทั่วไทย...ทำไงดี? 

3.) แรงดีด!! แซงชั่น รัสเซีย 

4.) มอง ‘สิทธิสตรี’ ในยุคความแห่งหลากหลายทางเพศ

🔥ไปกับ ‘โบว์ - ณัฏฐา มหัทธนา’ ดำเนินรายการโดย ‘หยก THE STATES TIMES’

ในรายการ Meet THE STATES TIMES ‘เดอะ ดีเบต’ ร่วมถกประเด็นสุด​ Exclusive​ ระหว่าง​ THE​ STATES​ TIMES​ และ​ 'โบว์​ ณัฏฐา'​

Liveสดทุกวันเสาร์ 20.00 น.

.

.

‘กรณ์’ เตือนรัฐบาล รับมือของแพงระลอกใหม่ แนะผันงบประกันราคาปาล์มช่วยเหลือผู้บริโภค

“กรณ์” ชี้ อินโดฯ ระงับส่งออกปาล์มน้ำมัน กระทบราคาน้ำมันขวดพุ่ง เตือนรัฐบาล รับของแพงระลอกใหม่ แนะผันงบประกันราคามาชดเชยช่วยเหลือผู้บริโภค

เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2565 นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า อดีต รมว.คลัง กล่าวถึงกรณีรัฐบาลอินโดนีเซีย ประกาศระงับส่งออกปาล์มน้ำมัน โดยระบุว่า อินโดนีเซีย เป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกปาล์มน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลก การประกาศระงับการส่งออกครั้งนี้ เพื่อกดราคาน้ำมันปาล์มที่ประชาชนชาวอินโดบริโภค ซึ่งความจริงแล้วน้ำมันไม่ได้ขาดตลาด ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้น ส่วนไทยเรานั้นเป็นทั้งผู้ผลิต ผู้ส่งออก และผู้บริโภค ราคาที่สูงขึ้นเป็นข่าวดีสำหรับเกษตรกร แต่ไม่ดีสำหรับผู้บริโภค ในสภาวะที่ประชาชนเดือดร้อนอยู่แล้วจากภาวะของแพง รัฐบาลต้องเตรียมรับมือ

อดีต รมว. คลัง กล่าวอีกว่า ด้วยสถานการณ์พิเศษนี้ ที่น้ำมันจากดอกทานตะวันขาดตลาดเพราะยูเครนเลิกผลิต บวกกับอินโดนีเซียระงับการส่งออกน้ำมันปาล์ม เราเจอสองเด้งนี้ราคาน้ำมันปาล์มมีแต่ขึ้น ผู้เชี่ยวชาญได้คำนวณให้ตนเห็นว่า ตามราคาต้นทุนน้ำมันดิบในปัจจุบัน ราคาน้ำมันขวดควรต้องอยู่ที่ประมาณลิตรละ 75 บาท (ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 64 บาท) ซึ่งที่ผู้ผลิตยังอยู่ได้เพราะสต๊อกปาล์มน้ำมันในราคาเดิมยังมีอยู่ และเพราะสะสมกำไรมาพอควรในอดีต หากสถานการณ์ในยูเครนและอินโดฯ ปรับกลับสู่ปกติโดยเร็วก็จะไม่มีปัญหาแต่ถ้ายืดเยื้อหรือเลวร้ายลง บวกกับปริมาณน้ำมันถั่วเหลืองต่ำกว่าที่คาดการณ์ รัฐบาลอาจต้องเข้ามาแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค

‘สิงคโปร์’ เหนียวแน่น!! เมืองที่มีค่าครองชีพสูงสุดในโลก 9 ปีติด เหตุ!! ‘ราคาสินค้าทุกกลุ่ม-ค่าเดินทางในประเทศ’ พุ่งสูงไม่แผ่ว

(1 ธ.ค. 66) การจัดอันดับของ Economist Intelligence Unit (EIU) เผยแพร่เมื่อวันที่ 30 พ.ย. ชี้ว่า วิกฤตค่าครองชีพทั่วโลก นั้นยังห่างไกลจากคำว่า ‘สิ้นสุด’ โดยในปีนี้ ‘สิงคโปร์’ ยังคงครองแชมป์เป็น เมืองที่ค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก ต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 ตลอดช่วง 11 ปีที่ผ่านมา จากการที่ราคาสินค้าพุ่งสูงในทุกประเภท อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการเดินทางในสิงคโปร์ก็สูงที่สุดในโลก เนื่องจากการควบคุมของรัฐในการจำกัดปริมาณรถยนต์ในสิงคโปร์ และยังเป็นประเทศที่มีราคาเสื้อผ้า สินค้าอุปโภคบริโภค และแอลกอฮอล์ แพงที่สุดในโลกด้วย

ทางด้าน เมืองซูริค จาก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่ก้าวกระโดดขึ้นอันดับมาครองแชมป์ร่วมกับสิงคโปร์ในปีนี้ได้ เป็นผลมาจากค่าเงินฟรังก์สวิสที่แข็งค่าขึ้น และราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ถีบตัวสูง

ส่วนอันดับ 3 นั้นตกเป็นของเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่ครองอันดับร่วมกันกับ มหานครนิวยอร์ก ของสหรัฐอเมริกา ขณะที่อันดับ 5 ตกเป็นของฮ่องกง

มาที่อันดับ 6 ได้แก่ เมืองลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา อันดับ 7 กรุงปารีส ฝรั่งเศส อันดับ 8 โคเปนเฮเกน เดนมาร์ก อันดับ 9 เทลอาวีฟ อิสราเอล และอันดับ 10 ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ทาง EIU ประเมินในฝั่งเอเชียจะเริ่มเห็นการปรับขึ้นของราคาสินค้าที่ลดลงเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ในโลก โดยจะเห็นว่า เมืองใหญ่ในจีนและญี่ปุ่นต่างก็ไม่ติดอันดับเมืองค่าครองชีพสูงในปีนี้

ในรายงานของ EIU ยังพบว่า หลายเมืองทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาราคาสินค้าที่แพงขึ้นเนื่องจากเงินเฟ้อเพิ่มสูง สินค้าและบริการมากกว่า 200 รายการ แพงขึ้น 7.4% เมื่อเทียบแบบปีต่อปี ตามสกุลเงินท้องถิ่น แม้อัตราราคาสินค้าดังกล่าวต่ำกว่าปีก่อน 0.7% แต่ก็ยังถือว่าสูงกว่าระดับราคาสินค้าในช่วงปี ค.ศ. 2017-2021 (พ.ศ. 2560-2564) อยู่ดี


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top