Tuesday, 14 May 2024
การนิคมอุตสาหกรรม

‘กนอ.’ เปิดพื้นที่ ‘นิคมฯ อมตะซิตี้ ชลบุรี’ ให้ชาวสวนขายผลไม้ แก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จับมือกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ แก้ปัญหาผลไม้ล้นตลาดให้เกษตรกร ใช้พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะ ซิตี้ ชลบุรี ดัน “มะม่วง มังคุด ทุเรียน ลำไย” ขายตรงถึงมือผู้บริโภค เล็งเปิดแพลตฟอร์มออนไลน์ สั่งผลไม้แบบ “Pre-Oder” เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคง่ายขึ้น

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา ได้หารือกับนายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ถึงมาตรการบริหารจัดการผลไม้เชิงรุก ปี 2565 เพื่อขยายช่องทางการจำหน่ายและการกระจายผลผลิต ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ในการแก้ปัญหาผลไม้ล้นตลาด รวมถึงกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก (Peak) โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ไม่มีช่องทางจำหน่าย และนักท่องเที่ยวเดินทางไปยังพื้นที่ลดลง 

'กนอ.' เปิดเอกชนยื่นเสนอพื้นที่จัดตั้งนิคมฯ 'ราชทัณฑ์' ปักหมุด 5 จังหวัดเป้าหมาย เล็งอยุธยาเป็นที่แรก 

กนอ. ชวนเอกชนเสนอพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ เล็งพื้นที่เป้าหมาย 5 จังหวัด “สมุทรปราการ สมุทรสาคร ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง” ปักหมุดพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่แรก

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า จากการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ ครั้งที่ 1/2565 ที่มีนายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการฯ เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาแนวทางการขับเคลื่อนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในส่วนของ กนอ. ได้ออกประกาศเชิญชวนเอกชนเพื่อเสนอพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมทั่วไปและนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ร่วมกับ กนอ. ในพื้นที่เป้าหมาย 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร และพื้นที่อีอีซี 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดระยอง แล้ว ซึ่งจากนี้จะดำเนินการประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะเรื่องของสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมเป็นผู้พัฒนากับ กนอ.จะได้รับ

“พื้นที่ที่จะจัดตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรม ต้องมีขนาดพื้นที่ไม่น้อยกว่า 500 ไร่ และตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับการประกอบกิจการ ต้องไม่ขัดต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ไม่อยู่ในเขตหวงห้ามการตั้งโรงงาน หรือแหล่งน้ำ หรือเขตที่มีการประกาศเป็นแหล่งอนุรักษ์ธรรมชาติ และพื้นที่โครงการต้องมีพื้นที่ดินติดต่อกันเป็นผืนเดียว รวมถึงมีความเหมาะสมต่อการประกอบอุตสาหกรรม มีแหล่งน้ำใช้ แหล่งรองรับน้ำทิ้ง และมีสภาพที่เอื้อต่อการป้องกันปัญหามลพิษ ที่สำคัญต้องเป็นพื้นที่สีม่วงที่สามารถประกอบกิจการอุตสาหกรรมได้จากการพิจารณาของผังเมืองจังหวัด ซึ่งที่ผ่านมามีเอกชนเสนอพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม 1 ราย พื้นที่โครงการประมาณ 4,131 ไร่ ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการตามหลักเกณฑ์ของ กนอ.” นายวีริศ กล่าว

‘สุริยะ’ สั่ง กนอ.สำรวจความพร้อมรับมือน้ำท่วม คลายกังวลให้นักลงทุน - ชุมชนใกล้เคียงนิคมฯ

‘สุริยะ’ สั่ง กนอ.สำรวจความพร้อมรับมือน้ำท่วมในทุกนิคมฯ อย่างใกล้ชิด ด้าน ‘วีริศ’ มั่นใจ ทุกนิคมอุตสาหกรรมบริหารจัดการสถานการณ์ได้ แม้ปีนี้มีแนวโน้มปริมาณฝนมากกว่าปีก่อน 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สั่งการให้ทุกหน่วยงานในกระทรวงอุตสาหกรรม ติดตามสถานการณ์ พร้อมทั้งเตรียมมาตรการป้องกันน้ำท่วม เพื่อลดผลกระทบจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย โดยได้ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กำชับไปยังนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 67 แห่งทั่วประเทศ ให้ติดตามและเฝ้าระวังการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยง เช่น นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) และนิคมอุตสาหกรรมนครหลวง ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มต่ำและติดแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ที่พื้นที่อยู่ใกล้ทะเล อาจจะเกิดน้ำทะเลหนุนได้ในบางช่วง และยังอยู่ใกล้กับชุมชนอีกด้วย

“ผมได้สั่งการไปยัง กนอ.ให้กำชับทุกนิคมอุตสาหกรรมติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วม รวมถึงกรณีที่อาจมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้นักลงทุน ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงเกิดความวิตกกังวล โดยเฉพาะแรงงานที่ต้องเดินทางมาทำงานในนิคมฯ นั้น ต้องหาแนวทางเพื่ออำนวยความสะดวกให้เท่าที่สามารถจะทำได้ ทั้งนี้ได้รับรายงานจาก กนอ.ว่าแต่ละนิคมอุตสาหกรรมมีมาตรการป้องกันน้ำท่วมอย่างชัดเจน และบางนิคมอุตสาหกรรมยังมีการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมไว้ล่วงหน้าแล้ว ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะสามารถรับมือกับสถานการณ์น้ำได้อย่างแน่นอน ขณะเดียวกันได้มีการติดตามข้อมูลการระบายน้ำจากทั้ง 3 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเขื่อนพระราม 6 อย่างใกล้ชิด พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตรวจสอบระดับน้ำและปริมาณน้ำฝนตลอด 24 ชั่วโมง” นายสุริยะ กล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top