Wednesday, 2 July 2025
กองทัพเมียนมา

'บุเรงนองโมเดล' กลศึกแห่งกองทัพเมียนมา เอาคืนฝ่ายต่อต้านแบบ 'บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น'

แทบจะเรียกได้ว่า 'มันจบแล้ว' ระหว่างศึกกะเหรี่ยงกับกองทัพเมียนมา เมื่อนายพลชิตตูเคลื่อนพลมาช่วยเหลือกองทัพเมียนมา จนสามารถนำทัพเข้ามายึดเมียวดีคืนได้สำเร็จ ไม่เพียงแค่นั้นฝั่งกองทัพเมียนมายังไล่ตะเพิดกลุ่ม PDF ที่ซ่อมตัวในหุบเขาแล็ตคัดต่อง จนราบคาบ และนำมาสู่การเปิดด่านพรมแดนอย่างเป็นทางการอีกครั้ง

หากเทียบกลศึกของพม่าในปัจจุบันมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ในพงศาวดารระบุไว้เรื่องกลศึกของบุเรงนอง จะเห็นว่ามีหลายส่วนมีความเหมือนกันอยู่ไม่น้อย ... วันนี้ 'เอย่า' จะมาถอดกลศึกของกองทัพเมียนมาว่าเหมือนกลศึกสมัยบุเรงนองเรื่องใดบ้าง?

1. นำศัตรูมาเป็นพวกตน : กลศึกนี้จะเห็นได้ว่าในพงศาวดารระบุชัดเจนว่า มีการนำฝ่ายที่เป็นศัตรูของตนมาจัดการฝ่ายเดียวกัน ซึ่งในกรณีชิตตูก็เป็นโมเดลนี้

2. กลยุทธ์องค์ประกัน : ในอดีตพระนเรศถูกนำตัวไปเป็นองค์ประกันเพื่อบังคับพระธรรมราชาอยู่ใต้อำนาจหงสาวดี แต่ในปัจจุบันทางกองทัพนำเมืองฉ่วยก๊กโก มาเป็นตัวประกันในการดึงนายพลชิตตูเข้าสู่เกมส์ศึกครั้งนี้

3. สิ่งที่เห็นได้ชัดคือกองทัพเมียนมาจัดการกลศึกในการรับใช้ที่มุ่งเน้นให้เกิดการเจรจามากกว่าต้องการที่จะใช้กองกำลังเข้ายึด โดยสังเกตจากการส่งกำลังพลและการใช้ยุทโธปกรณ์ในการรบนั้น ส่วนใหญ่ใช้กองทหารราบและยานเกราะเคลื่อนพลยึดพื้นที่เป็นหลักและยังไม่ได้รับรายงานว่ามีการใช้ขีปณาวุธพื้นสู่พื้นเลย อนึ่งเพื่อจำกัดวงรบให้อยู่วงจำกัดเท่านั้น เช่นเดียวกับที่บุเรงนองพยายามรบแบบมุ่งเน้นการเจรจา

และนี่เป็นจุดใหญ่ๆ ในกลยุทธ์ของกองทัพเมียนมาที่เหมือนกับกลยุทธ์ของบุเรงนองในอดีต

เปิดใจ!! แอดมินเพจมองพม่า (LOOK Myanmar) ในวันที่ถูกมองว่าเป็นไอโอของกองทัพเมียนมา

วันนี้มีบทสัมภาษณ์ที่เอ็กคลูซีฟส่งตรงจากย่างกุ้งมาถึง เอย่า เมื่อทางทีมงานของเราได้บทสัมภาษณ์สุดเอ็กคลูซีฟของทีมแอดมินเพจมองพม่า (LOOK Myanmar) มาให้อ่านกัน...

Q : เพจนี้มีจุดเริ่มต้นยังไง?
A : เพจนี้เริ่มจากพี่คนหนึ่งที่แกมาทำงานในพม่ายุคแรก ๆ สมัยที่เทคโนโลยียังไม่เอื้ออำนวยมากนัก แกบอกว่าในสมัยที่แกมาอยู่ 3G ในพม่าช้ากว่า Edge ในไทยเสียอีก จากนั้นพี่เขาจึงเปิดเพจมาเพื่อบันทึกเรื่องราวสิ่งที่พี่เขาไปพบเจอตลอดการที่ทำงานที่พม่า

Q : แล้วทีมงานที่ทำอยู่ปัจจุบันมาจากไหน?
A : หลังจากพี่เขาปิดเพจไปหลังจากรัฐประหาร ทางทีมงานเราที่เป็นคนทำงานอยู่ที่นี่หลายคนและกระจายอยู่ในหลายเมืองก็ได้คุยกันเรื่องนี้ จากที่เคยเป็นแฟนเพจของพี่เขา เราเลยขอมาทำเพจแทนพี่เขาเสียเลย

Q : ทำไมอยู่ดี ๆ เพจนี้กลายเป็นเพจการเมือง?
A : ความจริงเราไม่ได้ต้องการให้มันเป็นเพจการเมืองนะ เพียงแต่ทีมงานเราอยู่กันมาก่อนเกิดรัฐประหารมาหลายปี พอมาเกิดรัฐประหาร เราก็อยู่ในเหตุการณ์ หลังรัฐประหารมันก็มีข่าวเรื่องการเมืองพม่าส่วนมาก แต่ในความจริง เรายังคงเหมือนเดิมคือ นำเรื่องราวในพม่ามาสู่สายตาคนไทย

Q : แล้วที่ใคร ๆ บอกว่าเพจนี้เป็น 'ไอโอพม่า' ในฝั่งแอดมินมีความเห็นว่าไง?
A : ฮาๆๆๆๆๆ (ขำกันใหญ่) ถามว่าถ้าเป็นไอโอจริงป่านนี้พวกเรากลุ่มแอดมินคงมีชีวิตสบายกว่านี้แล้ว แต่เปล่าเลย เราก็ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับคนพม่านี่แหละ ใช้ชีวิตเหมือนเขา เจอความทุกข์เหมือนเขาเช่นกัน

Q : อ้าวแล้วทำไมทำตัวเป็นกระบอกเสียงให้รัฐบาลทหารละ? 
A : ความจริงเราไม่ได้เป็นกระบอกเสียงให้ฝ่ายไหนนะ อย่างเรื่องธรรมกายในพม่าก็เป็นกลุ่มพระวีระธูที่กองทัพสนับสนุน เราก็ด่า!! เพราะมันกัดกินบ่อนทำลายศาสนาเขา ในขณะเดียวกันความฉิบหายในบ้านเมืองนี้จะโทษฝั่งทหารฝ่ายเดียวก็ไม่ใช่ ต้องโทษทุกฝ่ายนั่นแหละ เพราะนี่คือตัวอย่างของบ้านเมืองที่คนในชาติแตกความสามัคคี ทำให้ต่างชาติที่อ้างว่าหวังดีจะเข้ามาชักใยได้ ดังที่เห็นจากสื่อของพม่าทั้งภาษาอังกฤษและพม่า รวมถึงแปลไปยังสื่อต่างประเทศที่เป็นกลุ่มเดียวกันด้วย 

ในขณะที่ฝ่ายต่อต้าน เวลาทำไม่ดีอะไร แทบไม่มีคนนอกรับรู้เลย มีแค่สื่อภาษาพม่าเท่านั้นที่ออกข่าว พอเราเห็นแบบนั้น เราเลยคิดว่า เราคนไทยหวังอย่างเดียวคือ ให้พม่าอยู่รอดได้ ถ้าพม่ามีชีวิตที่ดีขึ้นไม่รบกัน คนหันมาปรองดองทำมาหากินคนก็จะมีเงิน เราจึงให้คนนอกพม่าได้รู้ว่า คนที่ทำพม่าพังไม่ได้มีแค่ฝ่ายทหารฝ่ายเดียว มันทั้งสองฝ่ายนั่นแหละเราก็แค่นำเสนอข่าวอีกฝั่งให้เห็นก็เท่านั้น

Q : แต่มีหลายคนบอกเพจนี้อวยทหารพม่านะ?
A : เราเอาข่าวส่วนใหญ่มาจากเว็บข่าวต่าง ๆ และข้อมูลตามเพจที่ลงไว้ถามว่าคนที่เขากล่าวหาเรานั่น เพราะเขาเสียประโยชน์ใช่ไหมจะดีกว่า

Q : คำถามสุดท้ายแล้ว อะไรที่ทำให้ทีมงานยังยืนหยัดทำเพจทั้งที่คนส่วนใหญ่มองว่า โปรเผด็จการ เป็นไอโอ ไม่รักชาติไทยบ้างก็มี?
A : ถ้าใครตามเพจจริงจะทราบว่าเพจเรารักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์แค่ไหน เราแค่ต้องการให้พม่าดีขึ้น คนพม่ามีความเป็นอยู่ดีขึ้น เพจเราคงทำให้คนพม่ากลับมารักกันไม่ได้ แต่ทำให้คนไทยได้ทราบปัญหาที่แท้จริงของพม่าได้ว่ามันเกิดมาจากทั้งสองฝ่ายไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

"สุดท้ายปัญหาของพม่าก็ต้องให้คนพม่าเป็นคนแก้ เราแค่เป็นคนนอกที่มีหน้าที่บอกคนนอกด้วยกันให้ทราบว่าปัญหาเขา เขาต้องแก้เองและเรียนรู้ถึงปัญหาในบ้านเขาเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแบบเดียวกันในบ้านของเรา" นี่คือคำกล่าวทิ้งท้ายของแอดมินเพจมองพม่า เพจที่ใคร ๆ เขาก็ว่า คือ ไอโอทหารพม่า

อดีต ตชด. สะท้อนปัญหากะเหรี่ยง หนังเก่าวนฉายซ้ำ คนกะเหรี่ยงยังเป็นฝ่ายรับกรรม

(25 พ.ค. 68) ไม่นานมานี้บนเฟสบุ๊กของอดีต ตชด. ท่านหนึ่งออกมาวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ที่ KNU ตีฐานของกองทัพเมียนมาแตกว่า เหมือนหนังเก่าที่วนมาฉายซ้ำไม่ต่างจากละครดาวพระศุกร์ หรือคู่กรรม  แต่ต่างตรงที่ในโลกความเป็นจริงคนกะเหรี่ยงคือคนรับกรรมและไทยก็คือแหล่งกบดาน

ในข้อความเอ่ยว่าในอดีตกองกำลังกะเหรี่ยงมีฐานตามแนวชายแดนไทยตั้งแต่สบเมยไปจนถึงน้ำพุร้อน  ในอดีตทำการค้าดีโดยเฉพาะการเก็บเงินจากสัมปทานไม้สัก เหมืองทองและเหมืองหยก โดยอู้ฟู่ที่สุดคือยุคนายพลโบ เมี๊ยะครองอำนาจ

จากนั้นหลังจากปี 2537 ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนในกลุ่มกะเหรี่ยงสูงขึ้นจนเกิดความขัดแย้งภายใน  ว่ากันว่ามีการคอร์รัปชั่นในกลุ่มกองกำลังกะเหรี่ยงจนแยกตัวออกมาเป็น DKBA จนสุดท้ายก็ไปรวมกลายเป็น BGF ในที่สุด

มาจนถึงวันนี้กะเหรี่ยงหลายคนคิดว่ากองกำลังที่เขาต่อสู้คือกองทัพเมียนมาแต่ความเป็นจริง กองกำลังนี้คือกองกำลังประจำถิ่นอันประกอบด้วยคนเชื้อสายกะเหรี่ยงเป็นส่วนใหญ่

ตลอด 75 ปีที่รบกันมา ฝ่ายกะเหรี่ยงก็พยายามสร้างวิวาทะ ขายฝันหลอกคนรุ่นใหม่ของกะเหรี่ยงมาเป็นทหารออกรบเพื่อชาติตนเอง ทั้งๆที่การสร้างชาติที่แท้จริงสามารถจบได้บนโต๊ะเจรจา

สุดท้ายคงปฏิเสธไม่ได้ว่าสงครามในขณะนี้กองกำลังกะเหรี่ยงก็ไม่ต่างอะไรกับทหารรับจ้างของพวกตะวันตกที่พยายามสร้างประเด็นในเมียนมาเพื่อป้องกันการรุกคืบของจีนและรัสเซียในภูมิภาคนี้

กอทูแล ณ วันนี้คนกะเหรี่ยงคงไม่มีโอกาสได้เห็นและจะไม่มีวันได้เห็นหากสุดท้ายคนกะเหรี่ยงเองเลือกที่จะจับอาวุธเข้ายึดแทนที่จะเลือกหนทางสันติวิธี

ส่วนไทยคงต้องตอบคำถามให้หนักว่าเราเลยจุดที่เอากะเหรี่ยงเป็นรัฐกันชนหรือยัง  เพราะอย่าลืมว่า ณ วันนี้ยาเสพติดส่วนหนึ่งเข้ามาประเทศไทยโดยทางช่องทางธรรมชาติในพื้นที่กะเหรี่ยงนั่นเอง

ถอดรหัสกองพันพิฆาตของเมียนมา ปรับกระบวนทัพให้เหมาะกับทุกสมรภูมิรบ

(2 มิ.ย. 68) เราจะเห็นข่าวว่ากองกำลังชาติพันธุ์ตีกองทัพเมียนมาแตก ยึดค่ายได้ บลาๆ  แต่ถามว่านับจากรัฐประหารมาตั้งแต่ 4 ปีก่อนจนปัจจุบันดูแล้วทำไมท่าทีของกองทัพเมียนมาไม่ได้ดูเหมือนผู้ปราชัยเลย วันนี้เอย่าจะมาถอดรหัสกองรบเมียนมาให้ได้ทราบกัน

พูดถึงทหารราบในเมียนมาแล้วที่เราเห็นส่วนใหญ่หากใครเคยไปต่างเมืองในประเทศเมียนมาแล้วเจอด่านตรวจหรือด่านเก็บส่วยของกองทัพ  ทหารเหล่านั้นเรียกว่าทหารประจำถิ่น  คำว่าทหารประจำถิ่นไม่ได้หมายความว่าทหารพวกนี้เกิดที่นี่เท่านั้น แต่ทหารกลุ่มนี้เวลากำลังพลย้ายไปประจำที่ไหนก็จะยกพาครอบครัวไปด้วย  ดังนั้นเราจะเห็นทหารพวกนี้บางด่านจะมีผู้หญิง หรือเด็กออกมาขายของเวลารถติดเข้าด่าน คนเหล่านี้คือครอบครัวของพลทหารนั่นเอง  กองทัพเมียนมามีทหารประจำถิ่นเหล่านี้จำนวนมากและใช้กองกำลังกลุ่มนี้ในการเฝ้าค่าย ตั้งด่านตรวจและรบในระยะทางไม่ไกลเป็นครั้งคราว

ทหารประจำถิ่นพวกนี้ไม่ได้มีแค่ระดับพลทหารแต่รวมถึงทหารระดับชั้นที่เป็นหัวหน้าบังคับกองร้อยด้วยเช่นกัน

จุดแข็งของทหารกลุ่มนี้คือชำนาญพื้นที่การศึกแต่ข้อเสียคือหากความเสียหายดังกล่าวเกิดกับครอบครัวมักจะยอมแพ้หรือหนี  ในหลายข่าวที่เราเห็นมีการสังหารผู้หญิงและเด็กส่วนใหญ่คือลูกเมียและครอบครัวของทหารประจำถิ่นทั้งสิ้น

กลศึกของทหารประจำถิ่นไม่ได้มีแค่กองทัพเมียนมาเท่านั้นแต่ยังเป็นลักษณะนี้เช่นกันในกองกำลังชาติพันธุ์ด้วย

กองกำลังที่ 2 ถูกเรียกว่ากองกำลังรบหลักเป็นกองกำลังที่มีประมาณ 10 กองพล  กองทัพนี้จะเดินทางไปยังภูมิภาคต่างๆที่มีการสู้รบเปรียบได้กับกองกำลังทหารพรานหรือกองกำลังรบพิเศษอะไรประมาณนั้น 

กองทัพนี้จะไม่มีครอบครัวติดตามไปมาเป็นเอกเทศและรบแบบเล็งผลเป้าหมาย  ดังนั้นในหลายปฏิบัติการที่เอาคืนพื้นที่จะมีกองพลกลุ่มนี้เป็นแนวหน้าเข้าประทะ  แต่อย่างที่บอกด้วยกองพลกลุ่มนี้ไม่ได้มีจำนวนมากหากเกิดสงครามก็ต้องวนไปรบในพื้นที่ต่างๆ และนั่นก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่กองทัพเมียนมาอ่อนแอเพราะไม่สามารถผลิตทหารกลุ่มนี้ให้มากพอกับกองกำลังที่มีอยู่ได้นั่นเอง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top