Sunday, 19 May 2024
กรมโรงงาน

'สุริยะ' กำชับ กรอ.ดูแลถ่ายโอนภารกิจกำกับโรงงาน จำพวก 1 และ 2 ให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

'สุริยะ' กำชับ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เป็นพี่เลี้ยงดูแลการถ่ายโอนภารกิจกำกับโรงงานจำพวกที่ 1 และจำพวกที่ 2 ให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จนกว่าบุคลากร อปท. จะสามารถดูแล 1,860 โรงงาน ที่ได้รับการถ่ายโอนได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ตามที่กฎหมายกำหนด

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) รับนโยบายรัฐบาล ในการถ่ายโอนภารกิจกำกับดูแลโรงงานจำพวกที่ 1 และจำพวกที่ 2 ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เทศบาล และเมืองพัทยา ซึ่งปัจจุบันถ่ายโอนภารกิจให้ อปท. เรียบร้อยแล้ว จำนวน 1,860 โรงงาน เพื่อให้ อปท. มีบทบาทอำนาจในการควบคุมดูแลกิจการโรงงานในพื้นที่ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. โดยแต่งตั้งให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นของ อปท. เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน จึงกำชับกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ เป็นพี่เลี้ยง โดยการสนับสนุนให้คำปรึกษาแนะนำแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของ อปท. ให้ปฏิบัติภารกิจตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานได้อย่างถูกต้อง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติงาน และเกิดประสิทธิผลสูงสุด

นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า กรอ. เดินหน้าสนับสนุนแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ อปท. ในการควบคุมดูแลโรงงานจำพวกที่ 1 และ จำพวกที่ 2 โดยได้ถ่ายโอนภารกิจการกำกับดูแล ให้แก่ กทม. เทศบาล และเมืองพัทยา ไปแล้วทั้งสิ้น 1,860 โรงงาน โดยในส่วนของ กทม. 660 โรงงาน เทศบาลและเมืองพัทยา 1,200 โรงงาน ที่ผ่านมา กรอ. ได้ให้การสนับสนุน แนะนำและให้คำปรึกษาทางเทคนิควิชาการ และดำเนินการฝึกอบรมแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ กทม. เทศบาล และเมืองพัทยา ในการปฏิบัติภารกิจตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ กรอ. ได้จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้งานระบบสารสนเทศ เพื่อออกใบรับแจ้งการประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 สำหรับข้าราชการ กทม.” เพื่อให้ข้าราชการ กทม. มีความเข้าใจ สามารถใช้งานระบบสารสนเทศในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รับแจ้งการประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 และการติดตามชำระค่าธรรมเนียมรายปีได้อย่างถูกต้อง เป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานรายเดิม และเตรียมความพร้อมให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานรายใหม่

'สุริยะ' สั่งกรมโรงงานฯ เดินหน้าตรวจโรงงานเชิงรุก ช่วยรับมือ PM 2.5 ย้ำ!! ไม่ปรับปรุง สั่งปิดทันที

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมรับมือในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) มอบนโยบายดำเนินการต่อเนื่องตาม 3 มาตรการ คือ 1. มาตรการเร่งด่วน เข้มงวด กรณีตรวจพบโรงงานปล่อยเกินมาตรฐาน ให้ออกคำสั่งปรับปรุงแก้ไขทันที 2. มาตรการระยะกลาง พัฒนาระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยมลพิษทางอากาศระยะไกล (Pollution Online Monitoring System: POMS) และ 3. มาตรการระยะยาว ทบทวนและปรับปรุงมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยมอบหมายกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันนโยบายสู่การดำเนินการอย่างบูรณาการ และให้เน้นตรวจเชิงรุกด้านฝุ่นละอองโรงงานที่มีกระบวนการเผาไหม้ โรงงานที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง โรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำ โรงงานหลอมเหล็กหรือโลหะ โรงงานผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ และโรงงานผลิตแอสฟัลติก ที่มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 896 โรงงาน แบ่งเป็นโรงงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 260 โรงงาน โรงงานในเขตปริมณฑล (สมุทรปราการ ปทุมธานี นครปฐม และนนทบุรี) จำนวน 636 โรงงาน หากพบการกระทำผิด จะให้สั่งปรับปรุงแก้ไขหรือหยุดประกอบกิจการทันที

'สุริยะ' สั่ง!! กรมโรงงานฯ เฝ้าระวังฝุ่น PM 2.5 จากโรงงาน หากพบเกินค่า สั่งหยุดและดำเนินคดีทันที

(9 ก.พ. 66) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) และอุตสาหกรรมจังหวัดในปริมณฑล 5 จังหวัด เร่งดำเนินการมาตรการป้องกันและกำกับการตรวจฝุ่น PM2.5 จากการประกอบกิจการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ 3 มาตรการ คือ...

1.) มาตรการเร่งด่วน เข้มงวด กรณีตรวจพบโรงงานปล่อยเกินมาตรฐาน ให้ออกคำสั่งหยุดปรับปรุงแก้ไข และส่งดำเนินคดีทันที 

2.) มาตรการระยะกลาง พัฒนาระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยมลพิษทางอากาศระยะไกล (Pollution Online Monitoring System: POMS) 

และ 3.) มาตรการระยะยาว ทบทวนและปรับปรุงมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล 

หลังดำเนินการตรวจเชิงรุกด้านฝุ่นละอองโรงงานที่มีกระบวนการเผาไหม้ โรงงานที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง โรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำ โรงงานหลอมเหล็กหรือโลหะ โรงงานผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ และโรงงานผลิตแอสฟัลติก ที่มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 896 โรงงาน ผลจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศรอบพื้นที่เขตประกอบการ และชุมชนอุตสาหกรรม ในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 พบว่าค่า PM2.5 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คือ ค่าเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และในปีนี้โรงงานมีความตื่นตัวเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็กมากยิ่งขึ้น ด้วยการกำกับการประกอบกิจการของตนเองให้ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top