Saturday, 11 May 2024
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

‘สุริยะ’ สั่งเร่งฟื้นฟูผู้ประกอบการใต้ฝั่งอันดามัน ชู 4 ประเด็นเร่งด่วน - ยกระดับ BCG Model

‘สุริยะ’ สั่งการ ‘ดีพร้อม’ ฟื้นฟูผู้ประกอบการพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน พร้อมชู 4 ประเด็นเร่งด่วนหนุนอุตฯ ศักยภาพ พร้อมรุกนโยบายเสริมแกร่ง ‘BCG Model’

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งติดตามการดำเนินงานผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน พร้อมมอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม ปรับแผนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้พื้นที่ดังกล่าวมีความเข้มแข็ง ทั้งในด้านการยกระดับเศรษฐกิจชีวภาพ - เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green Economy รวมถึงการเร่งฟื้นฟูอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของพื้นที่ ผ่าน 4 แนวทางหลัก ได้แก่ 

1.) เพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 
2.) การยกระดับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน 
3.) การดึงอัตลักษณ์ประจำถิ่นกระตุ้นความต้องการของตลาด 
และ 4.) การพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าชุมชน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2564 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา ระนอง และสตูล) ณ จังหวัดกระบี่ และได้มีการติดตามการดำเนินงานในส่วนของการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รวมถึงการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ซึ่งได้แก่ จังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา ระนอง และสตูล โดยในการดำเนินงานดังกล่าว ได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กำกับและมีบทบาทการยกระดับศักยผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม  

ขณะเดียวกัน ยังร่วมรับฟังความต้องการของผู้ประกอบการ พร้อมนำไปปรับเป็นแผนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งเขตเศรษฐกิจที่เข้มแข็งของประเทศ นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้เร่งปฏิบัติงานด้านการเพิ่มประสิทธิภาพเศรษฐกิจชีวภาพ - เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green  Economy : BCG Model รวมถึงสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ การขยายช่องทางการตลาดออนไลน์ และพัฒนานวัตกรรมการผลิตในธุรกิจที่มีศักยภาพเพื่อก้าวไปสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0

ด้าน นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาดีพร้อม มีแนวทางและแผนการยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน รวมถึงได้มีการติดตามการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการในหลากหลายสาขา โดยเฉพาะที่เป็นกลุ่มไมโครเอสเอ็มอี ซึ่งมีอยู่กว่า 5 แสนราย ไม่ว่าจะเป็น การประมง การปศุสัตว์ การทำเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การประกอบธุรกิจอาหารและเกษตรแปรรูป รวมถึงวิสาหกิจชุมชน ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าและมีอานิสงส์ต่อการจ้างงานของประชากรในพื้นที่ โดยหลังจากได้รับข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ดีพร้อมได้เร่งเตรียมฟื้นฟูและยกระดับผู้ประกอบการด้วยแนวทางที่สำคัญหลากหลายรูปแบบ ดังนี้   

‘ดีพร้อม’ ปล่อยสินเชื่อพิเศษช่วยเอสเอ็มอี เร่งเสริมสภาพคล่องผู้ได้รับผลกระทบโควิด

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ปล่อยสินเชื่อพิเศษดีพร้อมเพย์ เร่งเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 วางกรอบสินเชื่อ สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อราย 

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากนโยบายของท่าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหาแนวทางและมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้กลับมาดำเนินกิจการได้อีกครั้ง โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ได้เสนอแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ผ่านการอนุมัติสินเชื่อพิเศษ “ดีพร้อมเพย์” ภายใต้กรอบวงเงิน 30 ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ และต่อยอดธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยเริ่มยื่นคำขออนุมัติฯ ได้แล้วตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2565

นายณัฐพล กล่าวเพิ่มเติมว่า กลุ่มเป้าหมายของผู้ขออนุมัติสินเชื่อดังกล่าว คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการของดีพร้อม ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 จำนวนไม่น้อยกว่า 30 ราย กำหนดวงเงินสูงสุดไม่เกิน 5,000,000 บาทต่อราย โดยให้ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 3 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นแบบขั้นบันไดเริ่มต้นที่ 3% ต่อปี

ดีพร้อม จับมือพันธมิตร ชวนชาวเหนือช็อปสนุก ในงาน ‘DIPROM MOTOR SHOW 2022’

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ‘ดีพร้อม’ จับมือพันธมิตรภาครัฐและเอกชน เชิญชวนทุกท่านร่วมช็อปสินค้าดีมีคุณภาพ กับครั้งแรกในงาน ‘DIPROM MOTOR SHOW 2022’ พื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งภายในงานจะพบกับรถยนต์และจักรยานยนต์ กว่า 20 ค่ายดัง ยกขบวนพาเหรดโปรโมชันพิเศษสุดมาให้เลือกสรรภายในงานไม่ต่ำกว่า 10% พร้อมดาวน์ 0% 
 

‘รมว.ปุ้ย’ ส่ง ‘ดีพร้อม’ เร่งเดินหน้าผุดงานแฟร์ ปลุก ศก.ไทยทั่วประเทศ หลังงานแฟร์นครศรีฯ ตอบรับดี-คนแห่เที่ยวนับแสน รายได้สะพัดกว่า 340 ลบ.

(27 ธ.ค. 66) กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ‘ดีพร้อม’ (DIPROM) เดินหน้าต่อเนื่อง จัดงานแฟร์ ปักหมุด 5 ภาค หวังกระตุ้นเศรษฐกิจทั่วประเทศ หลังกระแสตอบรับ ‘อุตสาหกรรมแฟร์ เมืองใต้ 2023 นครศรีธรรมราช-ชอป ชิม เที่ยวเพลิน เดินหลาด’ ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับจากกลุ่มเป้าหมาย และประชาชนในพื้นที่เข้าชมงานตลอด 5 วัน อย่างล้นหลาม เผยยอดผู้เข้าชมงานกว่า 1 แสนคน โดยเฉพาะผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง ให้ความสนใจเข้ารับบริการโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ กว่า 5,600 คน และเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมกว่า 340 ล้านบาท

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ‘ดีพร้อม’ เป็นหน่วยงานหลักในการเดินหน้าจัดงาน ‘อุตสาหกรรมแฟร์เมืองใต้ 2023 นครศรีธรรมราช’ ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2566 ณ ลานอเนกประสงค์ ตลาดเสาร์อาทิตย์ ถนนพัฒนาการคูขวาง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยผนึกกำลังระดมสุดยอดผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง หน่วยงานพันธมิตรภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน และหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยี สินค้าและบริการที่ทันสมัย ภายใต้แนวคิด ‘การส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจเขตพื้นที่ภาคใต้’ (Southern Industrial Fair) เพื่อแสดงศักยภาพของผู้ประกอบการไทยและกระตุ้นเศรษฐกิจในเชิงพื้นที่ จากการออกร้านของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม เอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชนกว่า 300 ร้านค้า

รวมถึงเป็นการมอบของขวัญปีใหม่ส่งท้ายปีและช่วยลดค่าครองชีพ ให้กับประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนช่วยพัฒนาพี่น้องประชาชนชาวใต้สู่การเป็นผู้ประกอบการ พร้อมสร้างความเข้มแข็งในชุมชน อันจะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย

สำหรับผลการจัดงานอุตสาหกรรมแฟร์เมืองใต้ 2023 นครศรีธรรมราช ที่ผ่านมา รวมจำนวน 5 วัน ได้รับการตอบรับจากผู้เข้าชมงานเป็นอย่างดี โดยมียอดผู้เข้าร่วมชมงานกว่า 1 แสนคน ยอดผู้เข้าร่วมฟังการสัมมนาเพิ่มองค์ความรู้ จำนวนกว่า 3,000 ราย ขณะที่ยอดขายภายในงาน ซึ่งเน้นการนำสินค้ามาทดสอบตลาดของผู้ประกอบการ ที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับศักยภาพการประกอบการสู่ยุค ‘Now Normal’ มียอดการจำหน่ายรวมทั้งสิ้นกว่า 8 ล้านบาท ยอดรับบริการขอสินเชื่อภายในงาน รวมจำนวนทั้งสิ้น 212 ล้านบาท

ยอดผู้ขอรับบริการคำปรึกษาแนะนำโครงการ/กิจกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรม จำนวน 2,520 ราย แบ่งเป็น โซนสุขสันต์วันทำธุรกิจ Happiness & Business จำนวน 600 ราย โซนดีพร้อมดิจิทัลสร้างฝันให้ธุรกิจเป็นจริง จำนวน 640 ราย โซน AGRO Solution จำนวน 260 ราย โซนสร้างสรรค์เติมฝันให้ดีพร้อม จำนวน 40 ราย โซนขยายธุรกิจด้วยสถาบันการเงิน จำนวน 15 ราย และยอดขอรับบริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องฟรี จำนวนทั้งสิ้น 965 คัน

นอกจากนี้ ยังมีการจับคู่ทางธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการ (Business Matching) จำนวน 60 คู่ ก่อให้เกิดมูลค่ามากกว่า 120 ล้านบาท โดยสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในภาพรวมได้กว่า 340 ล้านบาท

นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวว่า “การจัดงานอุตสาหกรรมแฟร์ฯ ในครั้งนี้ ได้รับกระแสตอบรับจากผู้ประกอบการ และพี่น้องประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างดี นอกจากเป็นของขวัญปีใหม่ส่งท้ายปีให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพื่อช่วยลดค่าครองชีพแล้ว ยังถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการตลาดที่ช่วยผลักดัน ฟื้นฟู และกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในเชิงพื้นที่ให้เติบโตมากขึ้น รวมทั้งสอดรับกับ 6 นโยบายสำคัญเพื่อการพัฒนา และยกระดับภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย”

“ทั้งนี้ ในปี 2567 กระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากจะเดินหน้ายกระดับศักยภาพภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องด้วยแนวทางการผลักดันอุตสาหกรรมสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้เศรษฐกิจ และสังคมยุคใหม่ รวมทั้งการพัฒนาชุมชน โดยบริบทของอุตสาหกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น กระทรวงอุตสาหกรรม ยังได้วางแผนเดินหน้าจัดงานแฟร์ในพื้นที่ 5 ภาค ทั่วประเทศ เพื่อฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยให้กลับมาคึกคัก โดยจะดึงเอาจุดเด่นและศักยภาพของแต่ละพื้นที่มาเป็นแนวคิดของการจัดงานแฟร์ในแต่ละภาค อันจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับภูมิภาคได้เป็นอย่างดี และคาดว่า จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นกว่า 1,000 ล้านบาท” นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวทิ้งท้าย

‘รมว.ปุ้ย’ สั่งการดีพร้อม ดึงโตโยต้า นำ ‘คาราคูริ ไคเซน’ มาประยุกต์ใช้ เพื่อขับเคลื่อนการเกษตรไทย ไปสู่เกษตรอุตสาหกรรมสมัยใหม่

(7 เม.ย.67) นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สั่งการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม เดินหน้าบูรณาการความร่วมมือ (DIPROM Connection) ผนึกกำลังกับ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เชื่อมโยงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve)สู่ชุมชน เพื่อยกระดับการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่ธุรกิจชุมชนครอบคลุมทุกมิติ ดึงกลไกคาราคูริ ไคเซน (Karakuri Kaizen) เพิ่มประสิทธิภาพ
กระบวนการผลิตและลดต้นทุน หวังเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชนผ่านแนวคิดชุมชนเปลี่ยน พร้อมชูต้นแบบเครื่องทุ่นแรงให้กลุ่มผู้สูงอายุ

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทองให้แก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด จ.ชุมพร ว่า ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้สามารถผลิตและส่งออกอาหารได้หลายประเภท อีกทั้ง ยังมีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและ อาหารแปรรูปด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ในระบบการผลิตภาคเกษตรเพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อกระบวนการแปรรูปในภาคอุตสาหกรรม ดังนั้น การพัฒนาภาคเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรมยุคใหม่ จึงมีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรมเข้ามาปรับใช้ในกระบวนการผลิต หรือแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ประกอบกับรัฐบาลเร่งหาแนวการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกรผ่านนโยบายเร่งด่วนต่าง ๆ เชิงพื้นที่ รวมถึงการขับเคลื่อนภาคเกษตรไทยไปสู่เกษตรอุตสาหกรรมสมัยใหม่

ที่เติมเต็มองค์ความรู้และทักษะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้กับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรให้มีความพร้อมในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และยกระดับศักยภาพการแข่งขันภาคเกษตรไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะการเสริมศักยภาพภาคเกษตรไทยสู่เกษตรอุตสาหกรรมด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ตั้งแต่แต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยสนับสนุนองค์ความรู้สมัยใหม่ที่ครอบคลุมทุกมิติควบคู่ทักษะที่จำเป็นด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ เช่น การบริหารจัดการธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และ มีมูลค่าเพิ่ม การพัฒนากระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อนำไปสู่การขยายโอกาสทางการตลาด เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม เร่งเดินหน้าส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างต่อเนื่อง

นายภาสกร ชัยรัตน์ กล่าวว่า จากข้อสั่งการของ รมว.อุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อมได้ลงพื้นที่สำรวจความต้องการผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดชุมพร และได้รับทราบข้อมูลจากกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด จ.ชุมพร ผู้ผลิตและส่งออกกล้วยหอมทองปลอดสารพิษไปยังประเทศญี่ปุ่น ว่าปัจจุบันได้ประสบปัญหาการลำเลียงกล้วย เนื่องจากทางกลุ่มมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และการลำเลียงกล้วยมีลักษณะที่ใช้เป็นรางลาก ซึ่งต้องใช้แรงจำนวนมากในการเคลื่อนย้าย ส่งผลให้กระบวนการผลิตเกิดความล่าช้าและไม่เป็นไปตามกำลังการผลิตที่ควรจะเป็น จึงมีความต้องการขอรับการสนับสนุนด้านกระบวนการผลิตกล้วยหอมทองเพื่อส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น รวมถึงระบบการผลิต ลำเลียง และคัดแยกกล้วยหอมทองควบคู่กับการใช้แรงงานคนอีกด้วย

ดีพร้อม จึงเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ด้วยการมุ่งเน้นการขยายเครือข่ายความร่วมมือ (DIPROM Connection) และบูรณาการความร่วมมือกับ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพรเพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัดผ่านโครงการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรมด้วยการพัฒนากระบวนการผลิตกล้วยหอมทอง โดยการนำหลักการคาราคูริ (Karakuri) ซึ่งเป็นระบบกลไกอัตโนมัติที่ใช้หลักกลศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ หรือกระบวนการผลิตกล้วยหอมทองของกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด อันจะช่วยผ่อนแรงการทำงานได้เป็นอย่างดี

นายภาสกร กล่าวต่อว่า ดีพร้อม ได้ร่วมมือกับ บริษัท โตโยต้าฯ ในการพัฒนาระบบลำเลียงกล้วยผ่านการใช้กลไกคาราคูริ ไคเซน (Karakuri Kaizen) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต การลำเลียง และทุ่นแรงขนย้ายกล้วย ขณะเดียวกัน ยังได้ร่วมมือกันออกแบบและพัฒนาต้นแบบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทอง ซึ่งใช้หลักการทำงานของคาราคุริ (Karakuri) ในการลำเลียงกล้วยจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยไม่ต้องใช้แรงในการลากทำให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตกล้วยหอมทองจากเดิมใช้ระยะเวลาการลำเลียงกล้วยหอมทอง 400 เครือ ต่อ 8 ชั่วโมง มาเป็นลำเลียงได้ 400 เครือ ต่อ 4 ชั่วโมง แทน รวมถึงสามารถลดเวลา ช่วยในการผ่อนแรงสำหรับสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุ และเป็นไปตามมาตรฐานเพื่อการส่งออก ช่วยให้ลดต้นทุนการผลิตลงได้กว่าร้อยละ 30 – 50 ต่อเดือน นอกจากนี้ ยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรในหลักสูตร “คาราคุริและการประยุกต์ใช้งาน การดูแลบำรุงรักษา” เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ดีพร้อมได้วางเป้าหมายขยายผลการบูรณาการความร่วมมือในการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยังผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนทั่วประเทศ รวมทั้งเชื่อมโยงและเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ในรูปแบบพี่ช่วยน้อง หรือ Big Brother เข้ามามีส่วนร่วมและบทบาทในการเปลี่ยนชุมชนด้วยเครื่องมือ กระบวนการ หรือเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับระดับศักยภาพของชุมชนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริม และพัฒนาทักษะการประกอบการในทุก ๆ มิติ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ปรับใช้ให้เหมาะสมเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่เกษตรอุตสาหกรรม อันจะเป็นการสร้างโอกาสทางการตลาดและขยายไปสู่ตลาดสากล รวมถึงการสร้างรายได้ให้ชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก และก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 40 ล้านบาท นายภาสกร กล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top