Monday, 20 May 2024
กรมสุขภาพจิต

"แรมรุ้ง" รองปลัดกระทรวง พม. เปิดใจรับฟังผู้นำคนพิการ และกรมสุขภาพจิต

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 "นางสาวแรมรุ้ง วรวัธ" รองปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมคณะกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้โอกาส "อ.ชูศักดิ์ จันทยานนท์" ประธานสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยนำคณะ "กรมสุขภาพจิต" โดย ”หมอจ๋า” คุณมธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีธัญญา และทีมผู้บริหารที่ดูแลงานด้านสุขภาพจิต เข้าพบเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดวางแนวทางการทำงานอย่างบูรณาการร่วมกัน ทั้งระบบสังคม / ระบบสุขภาพจิต / ระบบเครือข่ายคนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ และชุมชนเครือข่ายสถาบันและโรงพยาบาลที่จัดบริการด้านสุขภาพจิต 20 แห่ง พร้อมสนับสนุนการทำงานร่วมกันแนวคิดสำคัญ คือ การร่วมมือทำงานภายใต้กฎหมายสุขภาพจิต กฎหมายคนพิการ เพื่อขับเคลื่อนแผนงาน Long Term Care สำหรับกลุ่มเปราะบาง 

โดยในส่วนคนพิการ อาจจัดทำชุด #Mental Health and Psycho-Social Support Package ทั้งระบบ และการเตรียมความพร้อมบุคลากรในเครือข่ายที่จัดบริการกลุ่มเปราะบางให้สามารถจัดบริการตามมาตรฐาน การรวมพลังทีมสหวิชาชีพ การประสานส่งต่อ เชื่อมต่อ(Transition) การทำงานร่วมกับครอบครัว ชุมชน ตามแนวCommunity Base โดยอาจสนับสนุนให้มี Comunity Service Center สำหรับกลุ่มออทิสติก พัฒนาการและจิตเวชในชุมชน โดยสถานพยาบาลระดับทุติยภูมิที่มีความเชี่ยวชาญมาเสริมหนุน และพัฒนาให้เป็น “ศูนย์บริการคนพิการเฉพาะทางด้านPsycho-Social รวมทั้งการสานต่อการทำงานระหว่าง กองทุนหลักประกันสุขภาพ / กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพขีวิตคนพิการ และกองทุนท้องถิ่น

ทั้งนี้ อ.ชูศักดิ์ จันทยานนท์ ได้นำเสนอแนวคิดในการนำ มาตรา 20 วรรค 3 แห่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ 2550 มาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมเพื่อสนับสนุน การจัดศูนย์บริการคนพิการเฉพาะทาง โดยจัดทำระเบียบการสนับสนุนคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล ให้ได้รับสิทธิด้านสวัสดิการที่อยู่อาศัยและการเลี้ยงดู รวมถึงระเบียบการอุดหนุนสถานสงเคราะห์เอกชนจัดที่อยู่อาศัยและสวัสดิการ เพื่อรองรับระบบซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ และพร้อมเชื่อมองค์กรและภาคีเครือข่ายผู้ปกครอง และคนพิการที่สนใจร่วมดำเนิน

เด็กไทยฉลาดขึ้น!! กรมสุขภาพจิต เผยผลสำรวจ เด็ก ป 1. ไทยฉลาดขึ้น ไอคิวเฉลี่ย 102.8 ไอคิวสูงเกิน 130 มากกว่าละ 10

เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2565 ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ กทม. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต แถลงผลการสำรวจไอคิว อีคิว "เด็กไทย" ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปี 2564 ภายในงาน “เดินหน้า...สร้างเด็กไทยไอคิวดี” พร้อมมอบประกาศเกียรติคุณแก่บุคคลที่ร่วมดำเนินงานพัฒนาเด็กไทยและพัฒนาสติปัญญาเด็กไทยดีเด่น จำนวน 18 รางวัล

นายอนุทิน กล่าวว่า จากการสำรวจระดับสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประจำปี 2564 ทั่วประเทศ พบว่า มีระดับสติปัญญา (ไอคิว) เฉลี่ย 102.8 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติและผ่านเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่กำหนดให้เด็กไทยมีไอคิวไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 100 และเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2559 พบว่า เด็กไทยมีไอคิวเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 4.5 จุด ส่วนเด็กที่ไอคิวต่ำกว่า 90 ลดลงจาก 31.8% เหลือ 21.7% สะท้อนความสำเร็จจากความร่วมมือของทุกฝ่ายในการพัฒนาเด็กไทยให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ 

อย่างไรก็ตาม ยังมีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีไอคิวในเกณฑ์บกพร่อง ต่ำกว่า 70 อยู่ถึง 4.2% ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานสากลที่กำหนดให้ไม่เกิน 2% แสดงว่ายังมีเด็กกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่ส่งผลต่อสติปัญญาในช่วงแรกเกิดถึง 5 ปี ซึ่งพบในกลุ่มขาดโอกาสทางสังคม เช่น ครอบครัวที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ เด็กที่เกิดจากมารดาวัยรุ่น ครอบครัวขาดความพร้อมในการเลี้ยงดูเด็กขณะที่ตั้งครรภ์

สำหรับเด็กที่มีระดับสติปัญญาในเกณฑ์ฉลาดมาก คือ "ไอคิวสูง" มากกว่า 130 พบสูงถึง 10.4% เป็นผลจากได้รับการส่งเสริมศักยภาพอย่างเต็มที่จากครอบครัวและสังคม ซึ่งทุกหน่วยงานควรนำมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาให้ครอบคลุมทั้งประเทศ

ส่วนผลสำรวจความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว) พบอยู่ในเกณฑ์ปกติ 83.4% แสดงว่าเด็กยังมีความสามารถในการรู้จัก เข้าใจ ควบคุมอารมณ์ สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เอาชนะอุปสรรคในชีวิต และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จและความสุขในอนาคต

“การที่เด็กไทยมีระดับไอคิวสูงขึ้น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระราชทานแนวทางแก้ปัญหาขาดแคลนสารไอโอดีนในเด็ก ทำให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยมากขึ้น จึงขอให้กรมสุขภาพจิตและกรมอนามัยเพิ่มเรื่องความรอบรู้ด้านไอโอดีนให้แก่ อสม. เพื่ออธิบายต่อกับชาวบ้านถึงความสำคัญในการให้เด็กได้บริโภคอาหารที่มีสารไอโอดีน” นายอนุทินกล่าว

'รัฐบาล' ห่วงใยสภาพจิตใจปชช. หลังเกิดเหตุกราดยิงฯ ด้านกรมสุขภาพจิต แนะนำ 5 ข้อ 'ลดเครียด-ดูแลจิตใจ'

เมื่อวันที่ 8 ต.ค. นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีเหตุโศกนาฏกรรมที่จังหวัดหนองบัวลำภู ก่อให้เกิดความเสียใจแก่คนไทยทั้งประเทศ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิด และเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้เกิดความเครียดทางด้านจิตใจกับประชาชนทุกคน ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความห่วงใยในสภาพจิตใจของผู้ที่เผชิญเหตุการณ์ที่รอดชีวิต ผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก รวมทั้งประชาชนคนไทยที่เกิดความเครียดทางด้านจิตใจจากเหตุการณ์ดังกล่าว

กรมสุขภาพจิตชี้ มุมมองทางการเมืองของแต่ละบุคคลแตกต่างกันได้ วอน สื่อสารด้วยความเข้าใจ แตกต่างแต่ไม่แตกแยก

วันนี้ (15 พฤษภาคม 2566) กรมสุขภาพจิต ขอให้สังคมติดตามการรายงานผลการเลือกตั้งด้วยสติ ใช้เวลาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผลการเลือกตั้งอย่างเหมาะสม เนื่องจากทุกบุคคลมีพื้นฐานความชื่นชม ศรัทธาและประสบการณ์ต่างกัน ย่อมมีความคาดหวังที่หลากหลาย ทำให้มีทั้งผู้ที่มีความเห็นแตกต่างและไม่สมหวังในผลของการเลือกตั้งฯ ครอบครัวและชุมชนควรสื่อสารกัน ด้วยความเข้าใจ ยอมรับ และป้องกันความขัดแย้งอันจะนำไปสู่ความรุนแรงทั้งในครอบครัวหรือในสังคม

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากกระแสความใส่ใจในการเมืองที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566  กรมสุขภาพจิตได้ติดตามสถานการณ์ทางอารมณ์และสุขภาพจิตของประชาชนอย่างใกล้ชิดเช่นเดียวกับในทุกครั้งที่มีเหตุการณ์สำคัญในสังคม และจากรายงานทางระบบ Mental Health Check In ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 พบว่า ประชาชนมีระดับความเครียดเริ่มขยับตัวสูงขึ้นจาก ร้อยละ 2.17 ตั้งแต่ต้นปี 2566 และในระยะสองสัปดาห์ก่อนเลือกตั้ง ระดับความเครียดขยับเพิ่มถึง ร้อยละ 3.07 และมีระดับสูงขึ้นเท่าตัว คือสูงกว่าร้อยละ 6.0 ในบางวัน และในช่วงเวลาการรอคอยผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการนี้ มีแนวโน้มที่ความเครียดของประชาชนจะสูงขึ้นต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในครอบครัวหรือกลุ่มต่างๆในสังคมที่มีสมาชิกหลายกลุ่มวัย ที่อาจมีผลต่อมุมมองทางการเมืองที่แตกต่างได้มากขึ้น 

แพทย์หญิงอัมพร กล่าวต่ออีกว่า  สิ่งที่จะมองข้ามไม่ได้ คือ สถานการณ์การรายงานผลการเลือกตั้งฯ ที่ประชาชนหลายภาคส่วนยังคงตั้งใจ จดจ่อเพื่อติดตามว่าพรรคหรือบุคคลที่ตนเองเลือก จะประสบความสำเร็จหรือไม่ ซึ่งในวงจรของการเลือกตั้งย่อมมีทั้งผู้ที่ลงคะแนนเลือกแล้วเป็นไปตามที่หวังและไม่สมหวัง หากผู้ที่ติดตามข่าว ไม่สามารถดูแลอารมณ์ของตนได้ อาจเกิดปัญหาการมีปากเสียงหรือความรุนแรงที่เกิดขึ้นหลังจากการเลือกตั้งได้ กรมสุขภาพจิตเสนอข้อแนะนำเพื่อการดูแลสุขภาพจิตและสัมพันธภาพกับคนรอบข้างในช่วงของการรอผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ด้วยหลัก 4 ไม่ 4 ต้อง โดย 4 ไม่ ได้แก่ 1. ไม่กดดัน ตำหนิ ผู้ที่มีความเห็นแตกต่าง 2. ไม่เยาะเย้ย ดูถูก หรือถากถาง ผู้ที่ผิดหวัง 3. ไม่ใส่อารมณ์ ความรู้สึกกับข่าวมากเกินไป 4. ไม่ล้อเลียน ไม่ซ้ำเติมความผิดหวังของผู้ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ และ 4 ต้อง ประกอบด้วย 1. ต้องรับฟังอย่างเปิดใจ 2. ต้องหลีกเลี่ยงการรับข่าวสารมากเกินไป 3. ต้องหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจตนเอง 4. ต้องให้กำลังใจ พูดคุย ด้วยสติและถ้อยคำที่สุภาพแสดงความห่วงใย ซึ่งโอกาสนี้นอกจากผู้ที่ไม่สมหวังจะต้องยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง ผู้ที่สมหวังเองก็ต้องแสดงออกถึงการให้เกียรติ มีน้ำใจนักกีฬาโดยยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อให้ครอบครัวหรือญาติมิตรได้ปรับปรุงสายใยความผูกพันและสังคมก็สามารถดำเนินพัฒนาการทางการเมืองระดับมหภาคต่อไปได้ ด้วยความสงบและสันติสุข

กรมสุขภาพจิต ขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารผลของการลงคะแนนการเลือกตั้งฯ อย่างมีสติและปล่อยใจให้สงบ แต่หากรู้สึกเครียดสามารถสำรวจสุขภาพใจด้วย Mental Health Check-In (MHCI)เพื่อรับทราบแนวทางการดูแลตนเอง หรือรับการปรึกษาที่สถานบริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้านหรือโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง 
 
เสริมสร้างสุขภาพใจ และสายใยครอบครัว ในช่วงลุ้นผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ
นภาพร/เชียงใหม่

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวถึงแนวทางการดูแล ‘หยก ธนลภย์’ เพื่อป้องกันความขัดแย้งบานปลายในสังคม โดยกล่าวว่า…

“สิ่งที่ต้องเร่งทำ คือการหาตัวผู้ปกครองที่เหมาะสมกับเด็ก ตามกลไลทางกฎหมาย เพื่อคุ้มครองเด็ก ตามสิทธิเด็กที่พึงมี โดยไม่อาจปล่อยให้เด็กเป็นเหยื่อ ขณะเดียวกันเห็นว่าบรรดาพรรคการเมือง ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับเด็ก และควรหยุดนำเด็กมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง แบบรายบุคคล แต่ควรกลับไปคิดเชิงระบบของการแก้ไขปัญหาเด็ก ว่าควรจะทำอย่างไรให้เยาวชนเป็นพลเมืองที่ดีมีภูมิคุ้มกันทางสังคม

ทั้งนี้ จะเห็นว่า คำว่า ‘ชุดนักเรียน’ หรือการแต่งกาย ไม่ได้เป็นข้อจำกัดทางการศึกษาอยู่แล้ว บริบทของปัญหามีความหลากหลายไม่มีถูกผิด เช่น ในตามพื้นที่ห่างไกล ยากไร้ การใส่ชุดนักเรียน เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่าย และในโรงเรียนที่ร่ำรวย และเด็กส่วนใหญ่มีเศษสถานะที่ดี การสวมชุดนักเรียน ช่วยให้เด็กอยู่ระเบียบ และลดความเหลื่อมล้ำในแต่ละครอบครัว”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top