Friday, 10 May 2024
กรมศิลปากร

'การรถไฟ' แก้แบบสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยาใหม่ ช่วยลดผลกระทบต่อโบราณสถานและมรดกโลก

(28 ก.พ. 66) เพจ 'โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure' ได้ Update ข้อมูลสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ระบุว่า...

สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา จะอยู่ตรงไหน มีหน้าตาอย่างไร มาช่วยกันหาทางออก เพื่อพัฒนาเมืองในการศึกษา HIA 10 มีนาคม 2566 นี้!!! ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ อยุธยา

ติดตามและแสดงความคิดเห็นได้ที่ Line
https://lin.ee/WU1GxB7 

HIA Historic City of Ayutthaya

เพื่อน ๆ ยังจำการที่ ‘กรมศิลปากร’ ออกมาคัดค้านในการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ด้วยเหตุผลการกระทบกับโบราณสถาน และมรดกโลก ซึ่งขอให้การรถไฟ ทำการศึกษา HIA (ศึกษาผลกระทบกับโบราณสถาน) ซึ่งทำให้โครงการเกิดการชะงัก และกับมาพิจารณากันใหม่

โดย กรมศิลปากรเป็นห่วงในเรื่องความสูงของทางวิ่ง และตัวอาคารสถานี ที่อาจจะสูงมากจนทำให้เป็นทรรศนะอุจาด ของเมืองอยุธยาได้

แต่ถ้าดูตามบริบทของพื้นที่ สถานีรถไฟอยุธยา ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับสถานีรถไฟความเร็วสูง อยู่นอกเขตเกาะเมืองอยุธยา ซึ่งจากเขตของมรดกโลก มากกว่า 1 กิโลเมตร

ซึ่งปัจจุบัน การรถไฟได้จ้างที่ปรึกษามาทำการศึกษา HIA (ศึกษาผลกระทบกับโบราณสถาน) เพื่อหารูปแบบ และป้องกันผลกระทบในทุกด้านกับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน

คนอยุธยาช่วยกันออกมาแสดงความคิดเห็น เพื่อจะได้สิ่งที่คนอยุธยาต้องการจริง ๆ นะครับ

เผื่อใครยังไม่ได้อ่านรายละเอียด ประเด็นปัญหาสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา

ซึ่งผมเคยพูดถึงดรามานี้ไปจนใหญ่โต เรื่อง สถานีอยุธยา VS กรมศิลป์ฯ ตามลิงก์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1201611603610650/ 

การทำ HIA ตามที่กรมศิลป์ฯ และ UNESCO ต้องการ ตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1202420353529775/?d=n 

การเปรียบเทียบ โครงการอื่นๆ ที่ผ่านใกล้กับมรดกโลก จากทั่วโลก
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1286300595141750/?mibextid=BfDkjB

ซึ่งหลังจากที่กรมศิลปากร มีข้อเป็นห่วงกับการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ก็มีการปรับปรุงรายละเอียดเพื่อลดผลกระทบ

โดยจะแก้ไขรายละเอียดสถานีและทางวิ่งช่วงผ่านเมืองอยุธยา คือ...

- ปรับลดคานทางวิ่งของทางรถไฟยกระดับลง 
จาก 21.62 เมตร >>> เหลือ 17 เมตร 

- ใช้ระยะสูงสุดของอาคารตาม EIA เดิม

หลังคากลางอาคารสูงสุด อยู่ที่ 37.45 เมตร...
ระดับชั้น 3 ชานชาลารถไฟความเร็วสูง 21.62 เมตร
ระดับชั้น 2 ชานชาลาพื้นที่ยานตั๋วและรอรถ 12.00 เมตร
ระดับชั้น 1 สถานีเดิม ชานชาลารถไฟทางไกล และชานชาลารถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงในอนาคต 1.50 เมตร

🔍เปิด 5 สถานที่สำคัญ ที่ ‘กรมศิลปากร’ ประกาศรายชื่อ ฉบับที่ 2 ขึ้นบัญชีให้เป็น ‘โบราณสถาน’ ในเขตกรุงเทพมหานคร จะมีที่ไหนบ้าง? และแต่ละที่มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ไปดูกันเลย!!

🔍เปิด 5 สถานที่สำคัญ ที่ ‘กรมศิลปากร’ ประกาศรายชื่อ ฉบับที่ 2 ขึ้นบัญชีให้เป็น ‘โบราณสถาน’ ในเขตกรุงเทพมหานคร จะมีที่ไหนบ้าง? และแต่ละที่มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ไปดูกันเลย!!

 

27 มีนาคม พ.ศ. 2454 ‘ในหลวง ร.6’ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา ‘กรมศิลปากร’ เป็นครั้งแรก ‘ดูแลคุ้มครอง-อนุรักษ์-เผยแพร่องค์ความรู้’ ด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ

ในทุกวันที่ 27 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันที่สำคัญยิ่งสำหรับบุคลากรที่ทำงานในหน่วยงานที่สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เพราะเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกการช่างจากกระทรวงโยธาธิการและกรมพิพิธภัณฑ์จากกระทรวงธรรมการ ที่ตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มารวมไว้ด้วยกันเป็นกรมใหม่ และพระราชทานนามว่า ‘กรมศิลปากร’ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2454 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ทรงเป็นผู้บัญชาการกรมศิลปากรคนแรก

ต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบกรมศิลปากร โดยรวมเข้ากับราชบัณฑิตยสภาและเรียกกรมศิลปากรว่า ‘ศิลปากรสถาน’ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2469 แต่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ได้มีประกาศพระราชบัญญัติตั้งกระทรวงและกรม เมื่อ พ.ศ.2476 จัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นมาใหม่ โดยให้สังกัดกระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ด้วยเหตุนี้ กรมศิลปากรจึงได้กำหนดเอาวันที่ประกาศจัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นมาใหม่ เป็นวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากร ในเอกสารจดหมายเหตุ ชุด กระทรวงศึกษาธิการ ศธ.0701.9.6/4 เรื่อง วันสถาปนากรมศิลปากร พ.ศ. 2496 ได้กล่าวถึงการจัดงานวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากร ในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 ภายในเอกสาร มีการกล่าวอวยพรข้าราชการในกรมศิลปากร โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น มีการจัดงานทำบุญ และเชิญพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ช่วงท้ายของงานมีการจัดรายการนิยายอิงประวัติศาสตร์ประกอบดนตรีไทยออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง เรื่อง ราเมศวร ซึ่งเอกสารชุดนี้สะท้อนให้เห็นถึงการจัดงานระลึกวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากรในช่วงเวลานั้น

ใน พ.ศ. 2522 นายเดโช สวนานนท์ อธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้น ได้มอบหมายให้กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับประวัติกรมศิลปากรใหม่ และในที่ประชุมกรมศิลปากร เมื่อวันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 จึงมีมติให้กำหนดวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากร โดยยึดตามวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนากรมศิลปากรขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งก็คือ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2454 นับตั้งแต่นั้น วันที่ 27 มีนาคม ของทุกปี จึงกลายเป็นวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากร

เนื่องในโอกาสครบรอบ 113 ปี วันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากรใน พ.ศ. 2567 กรมศิลปากรในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแล คุ้มครอง อนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติมาอย่างยาวนาน ด้วยคุณูปการที่หน่วยงานแห่งนี้สร้างเอาไว้ ทำให้ในวันที่ 27 มีนาคม ของทุกปี จึงเป็นวันที่ชาวกรมศิลปากรจะระลึกถึงการก่อตั้งกรมศิลปากร หน่วยงานที่เป็นเสาหลักในการธำรงไว้ซึ่งมรดกวัฒนธรรมของชาติ ให้คนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญทางศิลปวัฒนธรรมของชาติสืบไป


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top