Sunday, 19 May 2024
Y2K38

'รมว.ชัยวุฒิ' เขียนเฟซบุ๊กให้ความรู้เรื่อง Millennium Bug ด้านชาวเน็ตคอมเมนต์ชวนโพสต์ท่าแบบ Y2K

(18 ก.พ.66) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก กล่าวถึงกระแส Y2K ที่กำลังฮิตในโลกโซเชียล โดยระบุว่า...

ช่วงนี้กระแส Y2K หรือยุคปี 2000 กำลังกลับมา ทั้งแฟชั่น ทั้งไลฟ์สไตล์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาดี ๆ ที่ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คนคงรำลึกถึงวันคืนในอดีตด้วยอารมณ์ที่แตกต่างกัน 

ส่วนในมุมของโลกดิจิทัลที่ผมจำได้ดี คือเรื่องของ Y2K Bug หรือ 'Millennium Bug' ที่โปรแกรมเมอร์ทั่วโลกต้องแก้ปัญหาในเรื่องของค่ารหัสสองหลักคือ 19 ที่ต้องเปลี่ยนไปเป็น 00 ซึ่งอาจจะเกิดการอ่านค่าผิดพลาดจาก 2000 ไปเป็น 1900 เพราะเรานับค่า 19 มาตลอด แต่สุดท้ายปัญหานี้ก็ถูกแก้ไปได้อย่างไม่ยากเย็นนัก พร้อมกับการเกิดมาตรฐานการแก้ Y2KBug ที่เรียกกันในยุคนั้นว่า 'Y2K Passed" ซึ่งถูกระบุไว้บนฉลากของทุกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ IT และระบบดิจิทัล 

แล้วมันจะมีปัญหาแบบ Y2K อีกไหม ? แล้วถ้ามีมันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่กันนะ ? 

จากคำถามนี้ ผมเลยลองไปหาข้อมูลและได้พบเรื่องที่น่าสนใจใน www.credibledev.com ซึ่งเขาเล่าถึงการเกิด Y2K38 ซึ่งมีที่มาจากปัญหาด้านการคำนวณเวลาในระบบที่เรียกว่า UNIX Timestamp ซึ่งเป็นการคำนวณที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมหลาย ๆ ตัวในโลก โดยการคำนวณแบบ UNIX นี้ ได้คำนวณเวลามาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 ซึ่งระบบการคำนวณนี้ เป็นพื้นฐานสำหรับการคำนวณวันและเวลาในหลายระบบทั่วโลก ทีนี้ปัญหาก็คือ UNIX Timestamp ถูกจัดเก็บเป็นหมายเลขระบบ 32 บิต คือ 2,147,483,647 ไล่ไปเรื่อย ๆ โดยเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างใหญ่ ในแง่ของวิธีใช้ ตัวเลขเหล่านี้ถูกแสดงเป็นวินาที ปัจจุบันนี้เรากำลังเข้าใกล้ค่าสูงสุดของตัวเลขระบบ 32 บิตแล้ว ซึ่งเมื่อถึงค่าสูงสุดมันจะเหมือนย้อนเวลากลับไป ทำให้ค่าต่าง ๆ อยู่ในรูปแบบของการ 'ติดลบ' ซึ่งเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2038 ซึ่งทั่วโลกเรียกกันว่า Y2K38 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top