Tuesday, 14 May 2024
VAT

‘ร้านหม่าล่า’ ยอมรับศึกษาเรื่อง VAT ไม่ละเอียด หลังลูกค้าโวย เก็บ VAT ทั้งที่ร้านไม่จดทะเบียนภาษีฯ

จากกรณีมีชาวเน็ตรายหนึ่งได้ออกมาโพสต์เตือนภัย ร้านหม่าล่าแห่งหนึ่งย่านอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ที่เพิ่งเปิดใหม่ ได้มีการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากยอดค่าอาหาร แต่เมื่อลูกค้าขอใบกำกับภาษีด้วยเพื่อที่จะได้นำไปเป็นค่าใช้จ่าย แต่ทางร้านแจ้งว่ายังไม่ได้จด VAT จึงออกใบกำกับภาษีให้ไม่ได้

ล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. เพจ ‘หม่าล่าหม้อไฟฉ่งชิง 重庆麻辣火锅’ ซึ่งเป็นร้านอาหารดังกล่าวได้ออกมาโพสต์ชี้แจง ระบุว่า "เนื่องจากทางร้านไม่ได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการเก็บ vat 7% อย่างละเอียดและดีพอ ทางร้านขอน้อมรับผิดกับสิ่งที่เกิดขึ้น ทางร้านต้องกราบขอโทษและขออภัยลูกค้าทุกๆ ท่าน

สำหรับลูกค้าท่านใดที่เคยจ่ายเงิน 7% ไป สามารถเข้ามาแสดงหลักฐานการโอน หรือใบเสร็จ เพื่อขอคืนเงิน 7% ที่ร้านได้เลยนะคะ เพื่อเป็นการขอไถ่โทษ ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2566 ทางร้านจึงลดราคาให้ลูกค้าทุกๆ ท่าน 10% และสำหรับลูกค้าที่เคยจ่ายเงิน 7% ไป ถ้าจะเข้ามารับประทานที่ร้านแล้วเอามาเป็นส่วนลดรวมเป็น 17% ก็จักเป็นพระคุณอย่างสูง

ชาวเน็ต โวย กลุ่มบิดเบืยนข้อเท็จจริง ปมปรับขึ้น VAT ชี้!! หากไม่ปรับขึ้น รัฐฯ อาจแบกรับภาระทั้งหมดไม่ไหว

(27 ส.ค. 66) ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับประเด็นการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จาก 7% เป็น 10% โดยระบุว่า…

“คนกลุ่มหนึ่งเรียกร้องอยากได้รัฐสวัสดิการแบบประเทศในกลุ่ม Scandinavia เลี้ยงดูกันไปตั้งแต่เกิดจนตาย โดยอ้างว่า ตัวเองจ่าย VAT เยอะแล้ว… พอมีแนวคิดจะขึ้น VAT เป็น 10% (ซึ่งเป็นอัตราปกติ ที่เราจ่าย 7% นี่เป็นอัตราลดมาเนิ่นนาน) ก็โวยวายว่า VAT เป็นภาษีแห่งความเหลื่อมล้ำ ควรจัดเก็บภาษีแบบขั้นบันได 😅

ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า
1.) Income Tax เก็บเป็นขั้นบันไดอยู่แล้ว แต่มีคนจ่ายแค่ 4 ล้านคน ต้องแบกรับภาระคนทั้งประเทศ

2.) VAT ที่ไหนก็เก็บเป็น flat rate แล้วมันก็ยุติธรรม เพราะคนรวยที่ซื้อของเยอะ ก็ต้องจ่าย VAT เยอะ ธุรกิจที่ขายของได้เยอะ ก็ต้องนำส่ง VAT เยอะ

3.) ถ้าอยากได้รัฐสวัสดิการแบบ Scandinavia ก็ช่วยดูด้วยว่า เขาจ่าย VAT กัน 25%... ไหวไหมล่ะ นี่ยังไม่นับ Income Tax ที่เขาจ่ายกันเกิน 50% แถมยังมีฐานภาษีที่กว้างมากด้วย

4.) หลายคนไม่ยอมศึกษาระบบประกันสังคมของไทย ซึ่งออกแบบมาดูแลแรงงานในระบบตั้งแต่เกิดจนตาย โดยใช้หลักคิด co-pay ร่วมกันจ่าย 3 ฝ่าย : รัฐบาล นายจ้าง ลูกจ้าง… เมื่อคน 10+ ล้านคนอยู่ในระบบนี้แล้ว รัฐฯ จึงมีภาระดูแลเฉพาะคนที่ไม่มีสวัสดิการใดๆ ซึ่งรัฐฯ ต้องจ่ายฝ่ายเดียว

5.) ประเทศที่ล้มละลายเพราะให้สวัสดิการมากไปก็มี แม้แต่ Sweden เองก็ต้องทยอยลดสวัสดิการลง เพราะรัฐฯ แบกภาระไม่ไหว

การที่ Influencer นำเสนอข้อมูลบิดเบือน ก็ไม่ต่างอะไรกับ Propaganda ที่หวังผลทางการเมือง แล้วเราก็จะอยู่กันในโลกที่ถกเถียงกันด้วยข้อมูลผิดๆ แบบนี้ไปอีกนาน”

‘Free YOUTH’ เหน็บ!! ‘VAT’ คือภาษีที่สร้างความเหลื่อมล้ำ หากเพิ่มจาก 7% เป็น 10% คนรายได้น้อยแบกภาระเต็มๆ

เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 66 ภายหลังจากมีกระแสข่าวว่าสภาพัฒน์เสนอจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT จากเดิม 7% เพิ่มเป็น 10% ก็ได้มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในโลกออนไลน์ รวมถึงเพจ ‘เยาวชนปลดแอก - Free YOUTH’ กลุ่มนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นด้วยเช่นกัน โดยระบุว่า…

“VAT คือภาษีที่สร้างความเหลื่อมล้ำ”

การที่ไม่นานมานี้สภาพัฒน์เสนอขึ้นภาษี VAT จาก 7% เป็น 10% นั้น โดยอ้างว่าต้องการเก็บเพื่อนำมาจัดสรรสวัสดิการให้คนสูงวัยในอนาคต คือการพยายามขูดรีดคนรากหญ้า แทนที่จะเป็นการลดงบกองทัพ หรืองบที่ไม่ได้มีความจำเป็นแก่การพัฒนาประเทศเพื่อนำมาสร้างรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าให้กับคนทุกวัย

VAT คือภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าหรือบริการ โดยอัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินค้าหรือบริการนั้น สาเหตุที่ VAT ถูกวิจารณ์ว่าเป็นภาษีที่ไม่เป็นธรรม เพราะ ‘ผู้ที่มีรายได้ต่ำจะต้องจ่ายภาษีในอัตราสูงเท่ากับผู้ที่มีรายได้สูง’ ทำให้หากมีการขึ้นภาษี VAT ไปมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้ที่มีรายได้ต่ำได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ เราจึงสามารถเรียกได้ว่า VAT คือ ‘ภาษีแห่งความเหลื่อมล้ำ’

หากยกกรณีตัวอย่าง 
คุณซื้อสินค้าหนึ่งในราคา 40 บาท
หาก VAT เป็น 10% คุณจะเสียอีก 4 บาท
จากอัตราปัจจุบันที่ 7% คุณจะจ่ายอีกประมาณ 2.8 บาท

ความต่างในด้านเงินจำนวนนี้ดู ๆ แล้วอาจไม่เยอะมาก แต่หากนึกถึงคนจนที่มีรายได้น้อยมาก ๆ หากสิ่งของหลายรายการ นั่นก็อาจเป็นเงินหลายบาทสำหรับผู้มีรายได้น้อยที่ในวันหนึ่ง เขาอาจหาเงินได้ไม่กี่บาท

‘การเก็บภาษีขั้นบันได’ คือภาษีที่เรียกเก็บจากผู้มีรายได้โดยอ้างอิงตามช่วงของรายได้นั้น ๆ ผู้ที่มีรายได้ต่ำจะต้องจ่ายภาษีในอัตราต่ำ และผู้ที่มีรายได้สูงจะต้องจ่ายภาษีในอัตราสูง ทำให้เป็นกลไกหนึ่งที่สามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

ด้วยค่าครองชีพที่สูงเกินกว่าใครหลายคนจะรับไหว การเพิ่มภาษี VAT ให้มากไปกว่าเติม จึงยิ่งเป็นการตอกย้ำความเหลื่อมล้ำให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก ‘ภาษีขั้นบันได’ จึงถือว่าเป็นคำตอบให้กับการแก้ไขความเหลื่อมล้ำที่ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนเพิ่มมากขึ้นทุกทีในสังคมไทย

‘ลาว’ ลุยปรับขึ้น 'ภาษีมูลค่าเพิ่ม' จาก 7% เป็น 10% หวังหนุนงบประมาณรายรับ - พัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ

(21 มี.ค.67) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ทองลุน สีสุลิด ประธานาธิบดีลาว ออกรัฐบัญญัติที่กำหนดการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 เพื่อสนับสนุนงบประมาณรายรับ และเกื้อหนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

โดยรายงานระบุว่า รัฐบัญญัติประธานาธิบดีข้างต้น ฉบับออกวันอังคาร (19 มี.ค.) มีเป้าหมายปรับปรุงความสามารถจัดเก็บงบประมาณรายรับ เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงินที่ลาวต้องเผชิญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 10 จะถูกบังคับใช้กับการทำธุรกรรมต่าง ๆ อาทิ การนำเข้า สินค้า การบริการทั่วไป การนำเข้าแร่ธาตุ และการใช้ไฟฟ้า โดยการปรับขึ้นครั้งนี้ส่งผลให้อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มคืนสู่ระดับเดิมของปี 2010-2021

อนึ่ง ลาวปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือร้อยละ 7 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2022 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามกระตุ้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุคหลังการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)

🔎10 ชาติในเอเชียที่เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มากกว่าไทย

‘ภาษีมูลค่าเพิ่ม’ หรือ value-added tax (VAT) เป็นภาษีที่เก็บบนมูลค่าเพิ่มของสินค้า/บริการในแต่ละขั้นของห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทย เก็บ VAT อยู่ที่ 7% ถือว่าน้อยกว่าประเทศในเอเชียหลาย ๆ ประเทศ เช่น อินเดีย เก็บอยู่ที่ 18% รองลงมาคือซาอุดีอาระเบียเก็บอยู่ที่ 15%

วันนี้ THE STATES TIMES ได้รวบรวมรายชื่อ 10 ประเทศในเอเชียที่เก็บ VAT มากกว่าไทย จะมีประเทศไหนบ้าง มาดูกัน!!

คลังจ่อเก็บ VAT สินค้านำเข้าราคาต่ำกว่า 1,500 บาท หวังเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี คาดเริ่มใน พ.ค.นี้

(29 เม.ย. 67) นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ประมาณต้นเดือน พ.ค.นี้ จะมีความชัดเจนเรื่องการออกประกาศกรมศุลกากร เป็นกฎกระทรวง เกี่ยวกับแนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากการนำเข้าสินค้าที่มีมูลค่าราคาไม่เกิน 1,500 บาท (Low-Value Goods)

ทั้งนี้ หากสรุปประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากการนำเข้าสินค้าที่มีมูลค่าราคาไม่เกิน 1,500 บาท (Low-Value Goods) จะประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้...

>> มีผลเมื่อไหร่:
- คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในเดือน พฤษภาคม 2567

>> ใครต้องเสียภาษี:
- แพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- บุคคลอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
- สินค้าที่ต้องเสียภาษี: สินค้าที่นำเข้าที่มีมูลค่าราคาไม่เกิน 1,500 บาท

>> อัตราภาษี: 7%

>> วิธีการเสียภาษี:
- แพลตฟอร์มจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร
- แพลตฟอร์มจะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ขายในต่างประเทศ
- แพลตฟอร์มจะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกรมสรรพากรเป็นรายเดือน

>> เป้าหมาย:
- เพื่อความเป็นธรรมกับผู้ขายในประเทศไทยที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี
- เพื่อป้องกันสินค้าที่หลุดรอดจากการเสียภาษี

“กรมสรรพากร และกรมศุลกากร กำลังร่วมมือกันดำเนินการอยู่ คาดว่าภายในต้นพ.ค. น่าจะมีความชัดเจน การดำเนินการเรื่องนี้ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ การแก้ไขแบบถาวร คือ แก้ที่ประมวลรัษฎากร ตรงนี้ใช้เวลา ซึ่งกรมสรรพากรกำลังดำเนินการอยู่ โดยระหว่างที่ประมวลรัษฎากรยังแก้ไขไม่เสร็จ ก็จะมีโครงการเร่งด่วนระยะสั้น โดยกรมศุลกากรจะออกประกาศ เป็นกฎกระทรวงในการจัดเก็บภาษี VAT กับสินค้านำเข้าที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,500 บาท จากแต่ก่อนที่ไม่ต้องเสียภาษี ต่อไปก็จะต้องเสียภาษี คาดว่าจะมีผลภายในพ.ค.นี้” นายลวรณ กล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top